วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ทางภาระจำยอม khaosod

ทางภาระจำยอม

คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา

สมชาย สุรชาตรี ผู้อำนวยการสำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ



กรณีการ โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินวัดไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ให้แก่ส่วน ราชการ ต้องดำเนินการผาติกรรม แต่หากชาวบ้านขอใช้ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นทางผ่านเข้าไปยังที่ดินของตน ซึ่งไม่มีทางออก (ที่ตาบอด) หรือมีแต่อยากจะผ่านที่ดินของวัด เพื่อเป็นทางเข้าออก

วัดและชาวบ้านต้องจัดทำสัญญาภาระจำยอม เรียกทางหรือถนนนั้นว่าทางภาระจำยอม

มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาระจำยอมอยู่ 2 ประการด้วยกัน

ประเภท แรก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 บัญญัติว่า "อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม โดยเจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ"

ประการที่สอง มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 18/2540 วันที่ 30 มิถุนายน 2540 มีมติให้วัดต่างๆ ถือปฏิบัติพอสรุปได้ว่า หากวัดใดมีผู้ขอทำสัญญาเช่าที่ดินวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ของวัด เพื่อเป็นทางเข้าออกไม่ว่าจะกำหนดระยะเวลาเช่ากี่ปีก็ตาม ให้วัดจัดทำในลักษณะสัญญาภาระจำยอมเท่านั้น ในกรณีที่มีผู้ขอทำสัญญาและจดทะเบียนทางภาระจำยอมผ่านที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์

มีขั้นตอนดำเนินการ คือ เจ้าอาวาสจัดส่งแผนที่สังเขป ประกอบด้วย ตำแหน่งที่ตั้งวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ ที่ดินแปลงที่ขอทางภาระจำยอม ขนาดกว้างยาวของทางภาระจำยอม ระบุจำนวนเนื้อที่มีมาตราส่วนที่ชัดเจน สำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เงินบำรุงวัด หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินที่เป็นปัจจุบัน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือยิน ยอมจากเจ้าอาวาสวัด ผ่านผู้ปกครองสงฆ์ตามลำดับจนถึงเจ้าคณะจังหวัด เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณางบประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ (พศป.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ

เมื่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจ้งมติให้วัดทราบแล้ว จึงจัดทำสัญญาภาระจำยอม

ข้อ แนะนำสำหรับวัดในการขอทางภาระจำยอม ก็คือ ทางภาระจำยอมซึ่งผ่านที่วัดหรือ ที่ธรณีสงฆ์ควรอยู่ชิดด้านใดด้านหนึ่งของเนื้อที่ทั้งหมด ถ้าผ่านกลางเนื้อที่จะทำให้วัดสูญเสียภูมิทัศน์หรือเสียเนื้อที่ไปโดยไม่จำ เป็น

บางรายผู้ขอทางภาระจำยอมมีที่ดินหลายแปลงที่ติดกับที่ดินวัด แต่แจ้งกับวัดว่ามีโฉนดเดียวแปลงเดียว ทำให้วัดเสียประโยชน์ในการคิดค่าบำรุง

หากส่วนราชการทำถนนผ่านที่วัด เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นสาธารณะ ควรดำเนินการผาติกรรม มิใช่ทางภาระจำยอม ถ้าเอกชนขอทางเข้าออกผ่านที่วัดหรือที่ธรณี สงฆ์ เรื่องนี้เป็นเรื่องขอทางภาระจำยอม ซึ่งต้องดำเนินการตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 18/2540 ดังได้กล่าวมาแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น