สังคมจะมีสุขได้...เพราะเมตตา
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร / www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
พูด ถึงคำว่า เมตตา หลายท่านหลายคนก็คงจะได้ยินกันประจำ เพราะเรื่องของเมตตาธรรมถือได้ว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่จะค้ำจุนจรรโลงโลกของเราให้งดงาม โลกร้อนเพราะสงคราม แต่โลกก็งามด้วยเมตตา คำว่างามด้วยเมตตา ได้แก่การเอื้อเฟื้อเจือจานซึ่งกันและกัน เรียกว่า อุดหนุนจุนเจือ ดั่งคำโบราณที่ท่านได้กล่าวไว้ว่า
"วัดจะร้างช่วยกันสร้างอย่าร้าง วัด คนเซซัดอย่าไปซ้ำกรรมของเขา การช่วยเหลือเจือจุนเป็นบุญเรา เด็กยังเยาว์ช่วยพยุงจูงเด็กไป" ที่โบราณท่านกล่าวไว้อย่างนี้ ก็แสดงให้เห็นถึงการเอื้อเฟื้อเจือจุนซึ่งเป็นคุณ ไม่ได้เป็นโทษ หันกลับมาดูประเทศชาติของเราในปัจจุบันนี้ ต้องการเมตตา ความรัก และความสามัคคีเป็นอย่างมาก ในทางพุทธศาสนาหลักที่จะทำให้เราเกิดความสามัคคีกันได้ในสังคม ในประเทศชาติ ก็อยู่ที่หลักเมตตานั่นเอง คือ
1. ให้ทุกคนคิดดี มองกันในแง่ดี มีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน ไม่อิจฉาริษยา ไม่คิดอคติ ไม่พยาบาท ไม่โกรธแค้นเคืองกัน รู้จักให้โอกาสและให้อภัยต่อกันและกันกันอยู่เสมอ
2. ให้ทุกคนพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดีต่อกัน รู้จักการพูดให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ไม่นินทาว่าร้ายกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดแนะนำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ 3. ให้ทุกคนทำความดีต่อกัน สนับสนุนช่วยเหลือกันทางด้านกำลังกาย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนหรือรังแกกัน ไม่ทำร้ายกัน ให้ได้รับความทุกขเวทนา ทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อกันอยู่เสมอ
4. ให้ทุกคนช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เอารัดเอาเปรียบ และมีความเสมอภาคต่อกัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันอยู่เสมอ
5. ให้ทุกคนปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับหรือวินัยต่างๆ อย่างเดียวกัน เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล
6. ให้ทุกคนมีความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน ปรับมุมมองให้ตรงกัน ไม่ยึดถือความคิดของตนเป็นใหญ่ รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เสมอ
อานุภาพแห่งเมตตาย่อม ทำให้คนอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข สมควรอย่างยิ่งที่จะเจริญเมตตา คือ ทำ พูด คิด ด้วยการไม่เบียดเบียนกัน ไม่ข่มเหงกัน ไม่ปรารถนาทุกข์ให้แก่กัน เมตตาจึงเป็นหนทางที่จะนำไปสู่ความสุขทั้งแก่ตนและสังคมตลอดไป
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น