วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ไม่ คบคนพาล (ข่าวสด)

ไม่ คบคนพาล

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

คนพาล คือ คนชั่ว คนทุจริต คนหากินทางผิดกฎหมาย และผิดศีลธรรม ก่อให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายทั้งแก่ตนเอง ครอบครัวและสังคมส่วนรวม

คน พาล มีหลักพอสังเกตได้ คือ มักคิดชั่ว พูดชั่ว และทำชั่วอยู่เนืองนิจ แม้ว่าเราจะไม่รู้ความคิดของคนพาล แต่เราก็ย่อมจะตัดสินความเป็นพาลของคนได้ ที่การแสดงออกมาทางกายหรือวาจา นอกจากนี้ เรายังสามารถดูลักษณะที่แสดงออกแห่งความเป็นคนพาล หรือคนชั่วอีกประการหนึ่ง คือการชอบคบแต่คนชั่วด้วยกัน

การคบกับคนพาลมีทุกข์ โทษ และภัยมาก ในมงคล 38 ท่านได้ระบุการไม่คบคนพาล ไว้เป็นอันดับแรก เปรียบเสมือนบันไดขั้นแรกของชีวิต ถ้าก้าวขั้นนี้ผิดพลาด ขั้นอื่นๆ ก็ย่อมจะต้องพลาดหรือผิดพลาดไป

การคบกับคนพาลนั้น แม้ว่าเราจะไม่คบถึงสนิทสนมด้วย แต่ก็ย่อมจะเป็นที่ระแวง หรือรังเกียจของคนดี และการได้ใกล้ชิดกับคนพาลนั้นแม้ว่าในระยะแรกๆ เราจะนึกรังเกียจเขา แต่เมื่อได้เข้าใกล้ชิดกันนานไป ใจก็ย่อมจะยินดีในความเป็นพาลนั้นตามลำดับ ตรงกับสุภาษิตว่า "คบคนเช่นใด ก็ย่อมเป็นเช่นคนนั้น" และพุทธภาษิต อีกแห่งหนึ่งว่า "ผู้คบคนเลว ย่อมพลอยเลวลง" เป็นต้น

สิ่งสำคัญที่ไม่ควรจะมองข้ามไปก็คือ อย่ามัวไปเพ่งมองความพาลที่คนอื่นฝ่ายเดียว ให้ระวังใจเราเอง มันจะไปเป็นพาลเสียเอง เมื่อจิตของเรามันเป็นพาลเสียเองแล้ว คนหมดทั้งโลกนี้ก็ไม่มีใครจะช่วยเราได้

ผู้มีปัญญาจงหมั่นตรวจสอบ หมั่นพิจารณาดูจิตของตนเอง ว่ามีเชื้อสัมมาทิฐิอยู่มากน้อยเพียงใด โดยสังเกตได้จากจิตที่มันแสดงออก คือ ถ้าจิตนิยมชมชอบในคนดี ในความดีหรือคนทำดี ก็แสดงว่าจิตมีเชื้อของสัมมาทิฐิควรจะหล่อเลี้ยงเอาไว้

แต่ ถ้าจิตเกิดนิยมชมชอบในความชั่วหรือคนชั่ว ก็ให้เร่งระวังว่า เชื้อมิจฉาทิฐิ กำลังลุกลามเข้ามาสู่ใจแล้ว จงรีบกำจัดหรือชำระล้างเสียด้วยพระธรรมโดยเร็วเถิด ขืนปล่อยไว้จะเป็นมารทำลายความสุขเสียเอง โดยที่ไม่มีคนอื่นมาทำให้

ฉะนั้น บัณฑิตผู้มีปัญญา เมื่อปรารถนาความสุขความเจริญให้เกิดขึ้นในชีวิตแล้ว จะต้องงดเว้นให้ห่างไกลเสียจากคนพาลให้ได้ ต้องตัดสัมพันธ์ให้ขาด ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม เพราะคนพาลจะนำแต่อัปมงคลมาให้แก่ผู้คบหาสมาคมด้วย โดยประการทั้งปวง

พระ เทพคุณาภรณ์

เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร,

รองเจ้าคณะภาค ๑๓

สิ่ง ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ จากข่าวสด

สิ่ง ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสมาธิ
คอลัมน์ ศาลาวัด
สิงที่เป็น ปฏิปักษ์ต่อสมาธิ จำเป็นที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือเป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้
สิ่งเหล่านี้ในภาษาพระ เรียกว่า นิวรณ์ จัดเป็นกิเลสอย่างหนึ่ง

นิวรณ์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง หมายถึงสิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิต หรือกล่าวในความหมายชั้นสูง คือสิ่งที่กั้นจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม แต่เป็นอกุศลธรรมที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี ทำจิตให้เศร้าหมอง

กล่าว ง่ายๆ ว่า นิวรณ์ก็คือสนิมใจของคนเรานั่นเอง มีทั้งหมด 5 อย่าง คือ

1.กาม ฉันทะ ความพอใจในกาม ความอยากได้อยากเอา เป็นกิเลสที่มีรากฐานมาจากโลภะ (ความโลภอยากได้มาง่ายๆ) โดยจิตจะถูกกล่อมด้วยอารมณ์กำหนัดรักใคร่ ติดใจโน่นติดใจนี่ไปเรื่อยไม่มีที่สิ้นสุด จนไม่เป็นอันตั้งมั่น

2.พยาบาท ความคิดปองร้ายผู้อื่น ความขัดเคืองแค้นใจ เป็นกิเลส ที่มีรากฐานมาจากโทสะ ซึ่งผลักดันให้เกิดความขัดใจ เกลียดชัง การ มองคนในแง่ร้าย คิดหาทางทำลายระบายความแค้นเคือง จิตที่ถูกความพยาบาทครอบงำ จิตย่อมไม่ราบเรียบสงบเป็นปกติสุข ไม่อาจตั้งมั่นเป็นสมาธิ

3.ถีน มิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หมายถึงความที่จิตท้อแท้ ง่วงเหงา หรือเกิดความท้อถอย เบื่อ เซ็ง อาการซึมเฉาที่เป็นไปทางกาย จิตที่ถูกถีนมิทธะครอบงำย่อมไม่เข้มแข็ง ไม่คล่องตัว จึงไม่อาจตั้งมั่นเป็นสมาธิได้

4.อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและรำคาญใจ หมายถึงความที่จิตกลัดกลุ้มและเดือดร้อนใจ เมื่อคิดถึงสิ่งที่ทำลงไป หรือเกิดความ เครียด จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำย่อมพล่าน ย่อมคว้างฟุ้งซ่านไป ไม่สงบ จึงไม่อาจตั้งมั่นเป็นสมาธิได้

5.วิจิกิจฉา ความลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ความไม่แน่ใจ ความสงสัยเกี่ยวกับพระบรมพุทธศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขาหรือผลของการปฏิบัติ หมายถึงความที่จิตสงสัยไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย ในคุณธรรมความดีหรือเกิดความไม่เชื่อในผลบุญ ผลบาป เช่น ตัดสินไม่ได้ว่าสมาธิภาวนาหรือการปฏิบัติธรรมนี้มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงหรือไม่ จิตที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำย่อมมีอาการเหมือนถูกขัดไว้กวนไว้ให้ค้าง ให้ลังเลสงสัยอยู่ต่อไป จึงไม่อาจตั้งมั่นเป็นสมาธิ

นิวรณ์ทั้ง 5 อย่างนี้ พึงระวัง เพราะเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับสมาธิ

ดังนั้น พระพุทธองค์ ได้ทรงกล่าวว่า การปฏิบัติสมถกัมมัฏฐาน สามารถทำให้นิวรณ์กิเลส 5 สงบระงับดับไปจากจิตได้

หรืออย่างน้อยก็ทำให้เบาบางลงได้

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การพูด จากข่าวสด

การพูดคอลัมน์ ธรรมะวันหยุดพระเทพคุณาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร, รองเจ้าคณะภาค 13ขึ้นชื่อว่าการพูด ทุกคนต่างก็มีเสรีภาพอย่างเต็มที่ที่จะทำได้อย่างไม่มีจำกัดและขัดข้อง แต่ต้องให้อยู่ภายใต้ขอบเขตแห่งหลักปฏิบัติ คือ พระธรรมวินัยและกฎหมาย ไม่จงใจล่วงละเมิดสิทธิ เสรีภาพของคนอื่นให้เสียหาย คำพูดของทุกคนจึงมีมากมายหลายเรื่อง แต่คำพูดทั้งหมด เป็นเพียงขั้นธรรมดาสามัญหาสารประโยชน์ไม่ได้ จึงไม่ค่อยมีคนสนใจจดบันทึกไว้การพูดนั้น นับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญและมีปัญหามาก ทั้งนี้ คนจะดีก็อยู่ที่ปาก จะลำบากก็อยู่ที่วาจา พูดดีเป็นศรีแก่ตัว พูดชั่วก็เป็นภัย การพูดจึงควรระมัดระวังอย่าให้บกพร่อง หรือพลาดพลั้งได้ โดยถือภาษิตเป็นเครื่องคอยสะกิดเตือนใจว่า "จงสำรวมระวังวาจาให้ดี" เมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องพูด ก็ให้ระลึกนึกถึงภาษิตที่ว่า "การพูดวาจาที่ดีงาม ยังประโยชน์ให้สำเร็จ" เมื่อทุกคนมีคุณธรรมสำหรับประคองรองรับวาจาได้เช่นนี้ ก็จะเป็นการแก้ปัญหาในเรื่องของคำที่ควรพูดได้ดี ด้วยวิธีที่มีในพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงทรงเลือก สรรวิธี ตรัสวาจาที่มีสาระสำคัญและเป็นประโยชน์ไว้มีใจความว่า 1.วาจาใด เราตถาคตทราบว่า เป็นวาจาไม่จริง ไม่แท้ ไม่มีประโยชน์ ทั้งไม่เป็นที่นิยมชมชอบของคนทั่วไป เราตถาคตจะไม่กล่าววาจาเช่นนั้น 2.วาจาใด เราตถาคตทราบว่า เป็นวาจาจริง แท้ แต่ไม่มีประโยชน์ ทั้งไม่เป็นที่นิยมชมชอบของคนทั่วไป เราตถาคตจะไม่กล่าววาจาเช่นนั้น 3.วาจาใด เราตถาคตทราบว่า เป็นวาจาจริง แท้และมีประโยชน์ แม้จะไม่เป็นที่นิยมชมชอบของคนทั่วไป เราตถาคตรู้จักกาลเวลาหาโอกาสที่จะกล่าววาจาเช่นนั้น 4.วาจาใด เราตถาคตทราบว่า ไม่จริง ไม่แท้ และไม่มีประโยชน์ แต่กลับเป็นที่นิยมชมชอบของคนทั่วไป เราตถาคตก็จะไม่กล่าววาจาเช่นนั้น 5.วาจาใด เราตถาคตทราบว่า เป็นวาจาจริง แท้ และมีประโยชน์ รวมทั้งเป็นที่นิยมและชอบใจของคนทั่วไป เราตถาคตรู้จักกาลเวลาหาโอกาสที่จะกล่าววาจาเช่นนั้น ดังนั้น ขอท่านผู้มีปัญญาทั้งหลาย ใช้วิจารณญาณของตนทบทวน พิจารณาถึงลักษณะของคำที่ควรพูด และไม่ควรพูด โดยพุทธวิธีตามที่ได้แสดงมา ก็จะเป็นผู้ที่พูดแต่คำที่ดี มีคุณ สำเร็จประโยชน์ในทุกสิ่งทุกประการแล

สามไตร (จบ) จากข่าวสด

สามไตร (จบ)คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์ป.อ.ปยุตฺโต (ป.ธ.๙)เวลาจะทำอะไรสักอย่างหนึ่ง จะประกอบกิจการอะไรอย่างหนึ่ง หรือจะแสดงออกอะไรอย่างหนึ่ง เราลองสำรวจตรวจดูซิว่าสามด้านนี้ของเราเป็นอย่างไร คือ หนึ่ง การกระทำของเราครั้งนี้ เป็นการกระทำที่เบียดเบียน ก่อความเดือดร้อนแก่ใครหรือเปล่า เป็นไปเพื่อการช่วยเหลือเกื้อกูลกันหรือไม่ นี่แง่ที่หนึ่ง คือ ศีล สอง พร้อมกันนั้น ในการกระทำอันเดียว กันนี้ ในจิตใจของเราเป็นอย่างไร จิตของเรามีความโลภ ความโกรธ ความหลงหรือไม่ เราทำด้วยความรู้สึกเห็นแก่ตัว มุ่งจะได้จะเอา โดยไม่คำนึงถึงถูกผิดหรือว่าใครจะเป็นอย่างไร หรือมีความรู้สึกเกลียดชังใคร จะทำเพื่อปองร้ายหรือประทุษร้ายใครหรือเปล่า หรือว่าเราทำด้วยความมีเมตตากรุณา มีศรัทธา เป็นต้น และสภาพจิตขณะที่ทำนั้นเป็นอย่างไร มีความเดือดร้อนวุ่นวายใจไหม ขุ่นมัว เศร้าหมอง หดหู่ หรือว่ามีความสบายใจ มีความปลาบปลื้มอิ่มเอมใจ มีความผ่องใส เบิกบาน ร่าเริง สดชื่น ดูซิ ใจของเรา ในขณะที่จะทำกิจกรรมนั้น เป็นอย่างที่ว่านี้ไหม แง่นี้คือ สมาธิ สาม ในการกระทำอันเดียวกันนั่นแหละ เรารู้เข้าใจเหตุผลในการกระทำของเราไหม ว่าที่เราทำนี่เราทำเพราะอะไร เมื่อทำไปแล้วจะเกิดคุณหรือเกิดโทษอย่างไร เกิดประโยชน์หรือเกิดความเสียหายอย่างไร แล้วเราก็จะทำด้วยความรู้ความเข้าใจที่สว่างชัด แง่นี้คือ ปัญญา เราพิจารณาสามด้านในการกระทำเดียวกัน ทุกท่านจะยอมรับว่าทำได้ เมื่อพิจารณาอย่างนี้ เราก็ฝึกตัวเองทั้งสามด้าน ในการกระทำทุกอย่าง ไตรสิกขาก็ได้หมด จึงอยู่ที่ว่าเราจะปฏิบัติหรือไม่เท่านั้น บางทีเราไม่เคยคิด เราปล่อยการกระทำต่างๆ ให้ผ่านไปเรื่อยๆ ลอยๆ ไม่ได้ใช้ประโยชน์ จึงเป็นความประมาทอย่างละเอียด ถ้าญาติโยมทำตามนี้ ก็จะเป็นการปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าตลอดเวลา และมีไตรสิกขาที่ฝึกฝนพัฒนาตนเองก้าวหน้าไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นคนที่สมบรูณ์ เพราะฉะนั้น ต่อไปนี้จะทำอะไรก็ตาม ในการกระทำทุกอย่างนั้นให้เราสำรวจตรวจดูตัวเอง มองตัวเอง แล้วเตรียมตัวเองให้พร้อมใน ๓ ด้านนี้ ขอให้การกระทำของเราแต่ละอย่างนั้น ด้านที่หนึ่ง เป็นการกระทำที่เป็นไปเพื่อเกื้อกูล ช่วยเหลือกันและกัน ไม่เป็นไปเพื่อก่อความเดือดร้อน เบียดเบียน ด้านที่สอง เป็นการกระทำโดยมีจิตใจที่ประกอบด้วยคุณธรรม มีความรัก มีเมตตา มีศรัทธา มีความกตัญญู เป็นต้น และทำด้วยความรู้สึกหรือสภาพจิตที่มีความสุข ปลอดโปร่ง ผ่องใส สดชื่น ด้านที่สาม เป็นการกระทำด้วยปัญญา รู้เข้าใจเหตุผลในการกระทำของตน รู้คุณ รู้โทษ รู้ประโยชน์และผลที่จะตามมา เอาละ เท่านี้แหละ การกระทำของเราก็จะมีความสมบูรณ์ในขณะนั้นๆ และตัวเราก็จะพัฒนายิ่งขึ้นไปด้วย การกระทำของเราจะไม่เกิดโทษ จะเกิดแต่คุณประโยชน์ ไตรสิกขานี้ ถ้าขยายความอาจจะยากและมากมาย ต้องว่ากันตลอดชีวิตเลย แต่ถ้าเอาหลักนี้มาใช้ ทุกท่านปฏิบัติได้ตลอดเวลาทุกขณะ ฉะนั้นจึงเอาแค่ไตรสิกขาที่ใช้ได้ทุกขณะมาพูด "สามไตร" สามหลักนี้ พอแล้ว ๑. ไตรรัตน์ คือ พระรัตนตรัย โดยตั้งต้นจากพุทธคุณสาม กล่าวคือ ปัญญาคุณ วิสุทธิคุณ มหากรุณาคุณ๒. ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และ๓. ไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เอามาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตของเราเถิด แล้วเราจะเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดี โดยไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะต้องทำอะไรอีกบ้าง และเราก็ได้ปฏิบัติหน้าที่ทั้งต่อตนเอง และต่อส่วนรวมไปพร้อมกันเลย วันนี้ ขออนุโมทนาโยมญาติมิตรทุกท่านที่ได้มานั่งฟัง ซึ่งชักจะพูดยาวเกินไป ได้บอกไว้ตอนต้นว่าควรจะพูดนำแล้วก็มาสนทนากัน เลยกลายเป็นพูดเสียคนเดียว ขอความตั้งใจดีมีกุศลเจตนาของทุกท่าน จงเป็นปัจจัยอภิบาลรักษาโยมญาติมิตรทุกท่าน ให้มีความเจริญก้าวหน้า งอกงามในการดำเนินชีวิต ในการประกอบกิจอาชีพการงาน ให้สำเร็จผลตามความมุ่งหมายอันชอบธรรม และมีความร่มเย็นเป็นสุข ในพระธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยทั่วกันทุกท่าน

วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปฏิบัติ ธรรม แบบกว้างๆ (ข่าวสด)

ปฏิบัติ ธรรม แบบกว้างๆ
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
การปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (General Dhamma practice) มีคำจำกัดความและความมุ่งหมาย ดังนี้
การปฏิบัติ ธรรมแบบกว้างๆ หมายถึงการนำเอาหลักธรรมในระดับศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่พระ พุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้มาเป็นหลักหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน
โดย สามารถยึดเป็นหลักธรรมประจำใจ เช่น การที่คนเรามีสติ สัมปชัญญะในการทำกิจต่างๆ การมีหิริโอตตัปปะไม่กล้าทำบาปทุจริตทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เพราะกลัวผลของบาปทุจริตที่จะได้รับในภายหลัง
การมีขันติและโสรัจจะ คือ ความอดทนอดกลั้น สงบเสงี่ยมต่อสภาวะต่างๆ ที่เผชิญอยู่การมีความกตัญญูกตเวที คือ รู้คุณของผู้อื่นที่ทำแก่ตนแล้วตอบแทนคุณให้ปรากฏ หรือการรักษาศีล 5 ศีล 8 เป็นต้น
การมีหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิตประจำวันดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าการปฏิบัติธรรมแบบกว้าง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลใดก็ตามที่น้อมนำหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก คือ สติสัมปชัญญะ หลักธรรมที่คุ้มครองโลก คือ หิริโอตตัปปะ หลักพรหมวิหารธรรม 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือหลักศีลธรรมอื่นๆ ก็ตาม
บุคคลผู้นั้นได้ ชื่อว่าปฏิบัติธรรม
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมตามลักษณะนี้จึงกินความกว้างมาก สุดแล้วแต่ว่าใครจะสามารถนำเอาหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตหรือในการทำกิจ หน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหนเพียงไร
เพราะการปฏิบัติธรรมตามรูปแบบ นี้เราชาวพุทธทั้งหลายได้ใช้ตลอดเวลา เมื่อปฏิบัติกิจหรือกระทำต่อสิ่งใดๆ อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่า เป็นการปฏิบัติธรรม
ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพ ใด มีหน้าที่การงานอย่างไร เมื่อปฏิบัติตนหรือปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพหรือหน้าที่การ งานนั้นๆ ถือว่าได้ปฏิบัติธรรม
ในการทำงาน นำหลักธรรมที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ คือ อิทธิบาท 4 อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มาใช้ในการทำงาน ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
แม้แต่การ ออกไปบนท้องถนน ไปขับรถ ถ้าขับโดยรักษากฎจราจร เมาไม่ขับหรือง่วงเหงาหาวนอนก็ไม่ขับ ขับรถไปด้วยความเรียบร้อยไม่ประมาท มีความสุภาพ
หรือลงลึกเข้าไปแม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สงบ สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใสสบายใจในเวลาที่ขับรถนั้นได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
บุคคล ผู้เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการ ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้อง มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จผลก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประเทศชาติและ ประชาชน
ก็ถือได้ว่าปฏิบัติธรรมเช่นกัน
ปราณสุวีร์ อาวอร่ามรัศมิ์
กองพุทธสารนิเทศ
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่ง ชาติ

ไตรสิกขา จากข่าวสด

copy
คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ไตรสิกขา เริ่มด้วยศีลที่เป็นหลักประกันของสังคม ไตรสิกขา คือ หลักการศึกษาแบบพุทธ หรือการศึกษาแบบธรรมชาติ ญาติโยมก็รู้กันอยู่แล้วว่า ไตรสิกขามีอะไรบ้าง
1. ศีล 2. สมาธิ 3. ปัญญา
ศีลคืออะไร? ในขั้นพื้นฐาน ศีลก็คือการดำเนินชีวิตโดยมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง ในการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและเพื่อนมนุษย์ ตั้งแต่การดู การฟัง การกินอยู่ บริโภค ทำอาชีพการงาน ดังนั้น ศีลจึงมีหลายด้าน
ในที่นี้ จะพูดถึงศีลพื้นฐานในการอยู่ร่วมสังคม คือการสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ ซึ่งหมายถึงการอยู่ร่วมกันในสังคมโดยไม่เบียดเบียนกัน ไม่ก่อความเดือดร้อนแก่ใครๆ โดยเฉพาะในขั้นพื้นฐาน ซึ่งมี 5 ข้อ เรียกและรู้จักกันดี คือ ศีล 5
1. เว้นปาณาติบาต คือ เว้นจากการเบียดเบียนทำร้ายร่างกาย ทำลายชีวิตกัน
2. เว้นอทินนาทาน คือ เว้นจากการเบียดเบียนกันในด้านทรัพย์สิน
3. เว้นกาเมสุมิจฉาจาร คือ เว้นจากการเบียดเบียนล่วงละเมิดกันในเรื่องคู่ครอง ของรัก ของหวง
4. เว้นมุสาวาท คือ ไม่เบียดเบียนกันด้วยการใช้วาจาหลอกลวงตัดรอนประโยชน์ของกันและกัน
5. เว้นสุราเมรัย คือ ไม่เบียดเบียนความรู้สึกมั่นคงปลอดภัยในสังคม เช่น ไม่ทำตนให้เป็นที่น่าหวาดระแวง ที่จะทำให้คนอื่นเกิดความหวาดหวั่นว่า เมื่อเรามึนเมาไม่มีสติ อาจจะทำอะไรที่ให้เกิดความเดือดร้อน เช่น อุบัติเหตุขึ้นมา ไว้ใจไม่ได้
รวมความว่า ศีล ก็คือ การดำเนินชีวิตเป็นอยู่ที่ปราศจากการเบียดเบียน ไม่ก่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น สาระอยู่ที่นี่ พร้อมทั้งด้านตรงข้าม คือการช่วยเกื้อกูลกันในสังคมมนุษย์
ศีลขั้นต้น เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เป็นสำคัญ แล้วก็ฝึกกาย วาจา ของตนให้สุจริต
ต่อจากนั้นก็ไปสู่ข้อที่สอง คือการฝึกจิตใจของเราให้มีความสงบ อยู่ตัว หนักแน่น มั่นคง เรียกว่า สมาธิ หรือศัพท์ทางการเรียกว่า อธิจิตตสิกขา การฝึกฝนในเรื่องจิตให้ยิ่งขึ้นไป
เรื่อง ของสมาธิ ก็คือ การมีสภาพจิตที่หนักแน่นมั่นคง มีความสุข ความสงบ มีความแน่วแน่ เรียกว่าใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับงาน เป็นต้น หมายความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ไม่วุ่นวาย ไม่เดือดร้อนใจ ตลอดจนมีคุณธรรมต่างๆ
ข้อ สามคือ ปัญญา ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจเหตุผล รู้เข้าใจความจริงของโลกและชีวิต จนกระทั่งสามารถทำจิตใจให้เป็นอิสระได้ ไม่ตกอยู่ใต้การครอบงำของสิ่งทั้งหลาย
สามอย่างนี้เป็นหลักการฝึกฝน หรือการศึกษาพัฒนาคนในพระพุทธศาสนา
ธรรมะที่เรานำมาปฏิบัติกันมาก มาย หรือสอนกันเยอะแยะนั้น ไม่ว่าอะไรก็ไม่พ้นไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ กับปัญญานี้ แต่วันนี้จะไม่พูดถึงการปฏิบัติเป็นขั้นเป็นตอนที่เป็นรายละเอียดของ ไตรสิกขานั้น เพราะเป็นเรื่องใหญ่เกินเขตเวลา
ให้ชีวิตเป็นไตรสิกขา คือปฏิบัติธรรมตลอดเวลา
จะชื่อว่าเป็นชาวพุทธสมจริง
วันนี้ จะพูดรวบรัดในเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา ที่เราปฏิบัติได้ในแต่ละขณะ ทุกขณะไปเลย
หมายความว่า ในการทำกิจกรรม หรือมีพฤติกรรมอะไรก็ตาม ในการแสดงออกทุกอย่าง เราสามารถบำเพ็ญไตรสิกขาไปได้พร้อมกันทั้งหมด
เมื่อ เราทำไปพร้อมกันสามอย่างนี้ ก็เป็นการฝึกฝนพัฒนาไตรสิกขาในชีวิตประจำวัน และเราก็ชื่อว่าปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เราได้ชื่อว่าเป็นพุทธศาสนิกชนสมชื่อ
ทำอย่างไรจะได้ ปฏิบัติไตรสิกขาพร้อมกันสามอย่าง ไม่ยาก ขอให้รู้จักใช้ อย่างที่บอกแล้วว่าสาระของไตรสิกขานั้น คือ
1. ศีล อยู่ที่การไม่เบียดเบียน เกื้อกูลกัน
2. สมาธิ อยู่ที่ทำจิตของตนให้มีคุณธรรม มีความสงบ เข้มแข็ง และมีความสุข
3. ปัญญา อยู่ที่ความรู้คิด และเข้าใจความจริง

กตัญญู กตเวที(จากข่าวสด)


คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
คนดี ย่อมเป็นที่ยกย่องนับถือของคนทั่วไป เพราะอำนาจของความกตัญญูกตเวที ดังพระบาลีที่ว่า "นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา ความกตัญญูกตเวที เป็นเครื่องหมายของคนดี"
กตัญญู หมายถึง บุคคลผู้รู้คุณของคนอื่น กตเวที หมายถึง บุคคลที่ตอบแทนผู้มีคุณแก่ตน ดังนั้น คำว่า กตัญญูกตเวที จึงหมายถึง บุคคลผู้รู้คุณที่คนอื่นกระทำแล้วและทำตอบแทน

บุคคลที่มีคุณและ สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่เรานั้นมีมากมาย ยกตัวอย่างเช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ พระมหากษัตริย์ เป็นต้น
พ่อแม่ เป็นผู้ให้กำเนิดแก่ลูก เลี้ยงดูป้องกันและรักษาพ่อแม่ที่เป็นพ่อแม่จริงๆ เมื่อให้กำเนิดลูกแล้วจะไม่ทอดทิ้ง ถึงแม้จะประสบความลำบากยากจน ลำเค็ญสักเพียงใดก็ตาม ก็จะไม่ทอดทิ้งลูก กลับคอยป้องกันภัยอันตรายต่างๆ ไม่ให้เกิดแก่ลูก เมื่อมีเหตุสุดวิสัยที่จะป้องกันได้ เช่น ต้องประสบภัยคือความเจ็บไข้ได้ป่วย พ่อแม่ก็ไม่ทอดทิ้งพยายามรักษา พยาบาลด้วยตัวเองบ้าง หาหมอมารักษาบ้าง บางครั้งพ่อแม่ต้องทำงานหนัก อาบเหงื่อต่างน้ำ ยอมอด ยอมทนเพื่อลูก ต้องการให้ลูกได้ศึกษาเล่าเรียน มีความรู้ ความฉลาดเท่าทันคนอื่น พ่อแม่ นอกจากจะให้กำเนิด เลี้ยงดู ป้องกันรักษาลูกแล้ว ท่านทั้งสองยังมีจิตใจที่ประกอบด้วยคุณธรรม คือ พรหมวิหารธรรม 4 ประการ อันได้แก่ เมตตา ความรักใคร่สนิทสนม กรุณา ความปรานีสงสารในเมื่อมีความทุกข์ยากเดือดร้อน มุทิตา พลอยยินดีในความสำเร็จของลูกด้วยความจริงใจ และ อุเบกขา ความวางเฉยในเมื่อลูกมีการงานทำ สามารถเลี้ยงตนและครอบครัวได้
พ่อ แม่ได้เลี้ยงดู จึงต้องเลี้ยงท่านตอบแทน ช่วยทำการงานของท่าน รักษาวงศ์สกุลไว้ ประพฤติตนให้เป็นผู้ควรรับมรดก เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ควรทำบุญอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้ ดังนั้น พ่อแม่จึงเป็นผู้มีคุณแก่ลูกทั้งหลาย
ครูอาจารย์ เป็นผู้ประสิทธิ์ประสาทความรู้ให้ ไม่ว่าจะเป็นระดับไหน ชั้นไหนก็ตาม เรียกว่าท่านสอนให้เรามีความรู้ ความสามารถ ประกอบด้วยคุณธรรม จริยธรรม นำคุณธรรมและจริยธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือป้องกันตัวเอง นำความรู้ความสามารถไปใช้เป็นเครื่องมือในการประกอบอาชีพการงาน ครูอาจารย์นับได้ว่า เป็นครูคนที่สองรองจากพ่อแม่
ครูอาจารย์ ได้อบรมสั่งสอน จึงต้องต้อนรับด้วยความเต็มใจ เมื่ออยู่ร่วมกับท่าน ต้องเข้าไปคอยอุปัฏฐากรับใช้ เมื่อไม่ได้รับใช้ใกล้ชิดท่าน เวลาท่านมีกิจเรียกใช้ ก็ยินดีรับใช้ เชื่อฟังคำสอนของท่าน และตั้งใจศึกษาเล่าเรียน ดังนั้น ครูอาจารย์จึงเป็นผู้มีคุณแก่ศิษย์ทั้งหลาย
พระมหากษัตริย์ หมายถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระ องค์ผู้ทรงเป็นพระประมุขของประเทศ สืบเชื้อสายมาจากกษัตริย์องค์ก่อนๆ ซึ่งได้รักษาเอกราชของประเทศมา ไม่ต้องตกเป็นเมืองขึ้นของชาติอื่น มอบมรดกคือเอกราชและอธิปไตยไว้ให้แก่พวกเรา แม้ทุกวันนี้พระองค์ทรงเป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจของชนชาติไทย ทรงสละความสุขส่วนพระองค์เพื่อความสุขของพสกนิกร โดยไม่เลือกชั้นวรรณะ แม้จะอยู่ในถิ่นทุรกันดารไกลแสนไกลเพียงใด พระองค์ก็เสด็จไปบำบัดทุกข์ บำรุงสุข ช่วยเหลือและให้กำลังใจเสมอ
ดังนั้น พระมหากษัตริย์ จึงเป็นผู้มีคุณแก่พสกนิกรทั้งหลาย สมควรที่บุคคลผู้อาศัยอยู่ใต้ร่มพระบารมีต้องประพฤติตนเป็นพลเมืองดี เคารพเชื่อฟังในพระบรมราโชวาทที่ตรัสสอน
ด้วยเหตุที่พ่อแม่ ครูอาจารย์ และพระมหากษัตริย์ ได้สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ลูก จึงนับว่าเป็นผู้มีคุณ และสมควรอย่างยิ่งที่ทุกๆ คนควรที่จะตอบแทนคุณ คือ สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่ท่านเหล่านั้นบ้าง ตามสมควรแก่ความสามารถและโอกาสอำนวย

วันพุธที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วัฒนธรรม_???

วัฒนธรรมแห่งความละโมบ = กิน กาม เกียรติ
วัฒนธรรมแห่งความเกลียดชัง = โกรธ เกลียด กลัว