วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ปฏิบัติ ธรรม แบบกว้างๆ (ข่าวสด)

ปฏิบัติ ธรรม แบบกว้างๆ
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
การปฏิบัติธรรมแบบกว้างๆ (General Dhamma practice) มีคำจำกัดความและความมุ่งหมาย ดังนี้
การปฏิบัติ ธรรมแบบกว้างๆ หมายถึงการนำเอาหลักธรรมในระดับศีลธรรมหรือหลักจริยธรรมขั้นพื้นฐานที่พระ พุทธเจ้าทรงสั่งสอนไว้มาเป็นหลักหรือแนวทางในการดำเนินชีวิตประจำวัน
โดย สามารถยึดเป็นหลักธรรมประจำใจ เช่น การที่คนเรามีสติ สัมปชัญญะในการทำกิจต่างๆ การมีหิริโอตตัปปะไม่กล้าทำบาปทุจริตทั้งในที่ลับและที่แจ้ง เพราะกลัวผลของบาปทุจริตที่จะได้รับในภายหลัง
การมีขันติและโสรัจจะ คือ ความอดทนอดกลั้น สงบเสงี่ยมต่อสภาวะต่างๆ ที่เผชิญอยู่การมีความกตัญญูกตเวที คือ รู้คุณของผู้อื่นที่ทำแก่ตนแล้วตอบแทนคุณให้ปรากฏ หรือการรักษาศีล 5 ศีล 8 เป็นต้น
การมีหลักธรรมประจำใจในการดำรงชีวิตประจำวันดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าการปฏิบัติธรรมแบบกว้าง
กล่าวอีกนัยหนึ่ง บุคคลใดก็ตามที่น้อมนำหลักธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นหลักธรรมที่มีอุปการะมาก คือ สติสัมปชัญญะ หลักธรรมที่คุ้มครองโลก คือ หิริโอตตัปปะ หลักพรหมวิหารธรรม 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา หรือหลักศีลธรรมอื่นๆ ก็ตาม
บุคคลผู้นั้นได้ ชื่อว่าปฏิบัติธรรม
ดังนั้น การปฏิบัติธรรมตามลักษณะนี้จึงกินความกว้างมาก สุดแล้วแต่ว่าใครจะสามารถนำเอาหลักธรรมมาใช้ในการดำเนินชีวิตหรือในการทำกิจ หน้าที่นั้นๆ ให้ได้ผลแค่ไหนเพียงไร
เพราะการปฏิบัติธรรมตามรูปแบบ นี้เราชาวพุทธทั้งหลายได้ใช้ตลอดเวลา เมื่อปฏิบัติกิจหรือกระทำต่อสิ่งใดๆ อย่างถูกต้อง ก็เรียกว่า เป็นการปฏิบัติธรรม
ไม่ว่าจะอยู่ในสถานภาพ ใด มีหน้าที่การงานอย่างไร เมื่อปฏิบัติตนหรือปฏิบัติหน้าที่ถูกต้องเหมาะสมแก่สถานภาพหรือหน้าที่การ งานนั้นๆ ถือว่าได้ปฏิบัติธรรม
ในการทำงาน นำหลักธรรมที่ส่งผลให้ประสบผลสำเร็จ คือ อิทธิบาท 4 อันได้แก่ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา มาใช้ในการทำงาน ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
แม้แต่การ ออกไปบนท้องถนน ไปขับรถ ถ้าขับโดยรักษากฎจราจร เมาไม่ขับหรือง่วงเหงาหาวนอนก็ไม่ขับ ขับรถไปด้วยความเรียบร้อยไม่ประมาท มีความสุภาพ
หรือลงลึกเข้าไปแม้กระทั่งว่า ทำจิตใจให้สงบ สบาย ไม่เครียด มีความผ่องใสสบายใจในเวลาที่ขับรถนั้นได้ ก็เป็นการปฏิบัติธรรม
บุคคล ผู้เป็นข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐ มีหน้าที่ต้องปฏิบัติราชการ ถ้าปฏิบัติอย่างถูกต้อง มีความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียร ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จผลก่อให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประเทศชาติและ ประชาชน
ก็ถือได้ว่าปฏิบัติธรรมเช่นกัน
ปราณสุวีร์ อาวอร่ามรัศมิ์
กองพุทธสารนิเทศ
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่ง ชาติ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น