วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

มนุษย์ 5 จำพวก

มนุษย์ 5 จำพวก
1. มนุสสเนรยิโก มนุษย์สัตว์นรก ได้แก่ มนุษย์ผู้ดุร้าย หยาบคาย ฆ่าสัตว์ตัดชีวิตจี้ปล้นเอาทรัพย์สมบัติของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยฆ่าเจ้าทรัพย์ตายบ้าง ทุบตีจนบาดเจ็บสาหัสบ้าง ข่มขืนแล้วฆ่าบ้าง เบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่นทรมานผู้อื่นสัตว์อื่น เป็นคนไร้ศีลธรรม ไม่มีมนุษยธรรมคือศีล 5 ประจำตัวเลย นามว่า มนุสสเนรยิโก แปลว่า มนุษย์สตว์นรกคือเป็นมนุษย์แต่ชื่อ ส่วนความประพฤติทางกาย วาจา ใจนั้นเลวทราม ดุร้ายหยาบคายเหมือนสัตว์นรกฉะนั้น
2. มนุสสเปโต มนุษย์เปรต ได้แก่ มนุษย์ผู้มากไปด้วยความโลภ มากไปด้วยตัณหา ชอบลักเล็กขโมยน้อยโลภเอาของผู้อื่นมาเป็นของตน แย่งชิงวิ่งราวเป็นต้น แม้พวกที่เที่ยวขอทาน ก็สงเคราะห์เข้าในประเภทนี้ด้วย
3. มนุสสติรัจฉาโน มนุษย์สัตว์เดรัจฉาน ได้แก่มนุษย์ทีขวางศีลขวางธรรม มีโมหะคือความหลงมาก ไม่รู้จักบาป ไม่รู้จักบุญ ไม่รู้จักคุณ ไม่รู้จักโทษ ไม่รู้จักประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ ไม่รู้จักบุญคุณของผู้มีพระคุณ เช่น บิดามารดา ครูบาอาจารย์ เป็นต้น เป็นมนุษย์ผู้ไรศีลธรรม ดืมสุรา เสพยาบ้า กินกัญชา ทำอะไรทางกาย วาจา ใจ ก็ขวางๆผิดทำนองคลองธรรม นามว่า มนุสสติรัจฉาโน แปลว่ามนุษย์สัตว์เดรัจฉาน เดรัจฉาน แปลว่า ผู้ไปขวาง
คือเดินทอดตัว ไม่ได้เดินตั้งตัวเหมือนคน คนเดรัจฉานก็ฉันนั้น ทำอะไรก็ขวางธรรม ขวางวินัย คือขาดศีลธรรมเสมอๆ
3. มนุสสภูโต มนุษย์แท้ๆ คือเป็นคนเต็มตัว ได้แก่คนรักษาศีล 5 มั่นเป็นนิตย์ไม่ขาด ไม่ประมาทต่อศีลเพราะศีลเป็นมนุษยธรรม คือเป็นธรรมประจำมนุษย์ ธรรมที่ทำให้คนเป็นคน มนุสสภูโต แปลว่ามนุษย์แท้ๆ เพราะมีคุณธรรมของคนคือศีล ศีล ท่านแปลว่า เศียร คือ หัว ถ้าคนขาดศีล ก็คือคนหัวขาดนันเอง เพราะขาดจากคุณธรรมของความเป็นคน
5. มนุสสเทโว มนุษย์เทวดา ได้แก่มนุษย์ผู้มีศีล 5 มั่นเป็นนิตย์ แล้วยังได้พยายามบำเพ็ญกุศลเพิ่มพูนบารมีอยู่เรื่อยๆ เช่น ให้ทาน ฟังธรรม เรียนธรรม ปฏิบัติธรรม ไหว้พระสวดมนต์ มีหิริคือความละอายต่อบาป มีโอตตัปปะ คือความสดุ้งกลัวต่อผลแห่งบาปอยู่เสมอ เรียกว่าเป็นผู้มีใจสูงดุจเทวดา เพราะประกอบด้วยเทวธรรม 7 ประการคือ
-บำรงเลี้ยงมารดาบิดา
-ประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตนต่อบุคคลผู้เจริญ
-พูดจาไพเราะเสนาะหู อ่อนหวาน นุ่มนวล
- ไม่พูดส่อเสียดผู้อื่น
- ละความตระหนี่เหนียวแน่น
- รักษาคำสัตย์
- ไม่โกรธ
มนุษย์ที่มีคุณสมบัติเช่นนี้ ท่านขนานนามว่า มนุสสเทโว แปลว่า มนุษย์เทวดา

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภูมิธรรมชาวพุทธ (11) from khaosod

ภูมิธรรมชาวพุทธ (11)

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


ค.สมบัติ (ความสมบูรณ์หรือความสัมฤทธิผล) และวิบัติ (ความล้มเหลว หรือการปฏิบัติผิดพลาด ไม่สำเร็จผล)

มตตา : สมบัติ = สงบหายไร้ขัดเคือง

วิบัติ = เกิดเสน่หา

กรุณา : สมบัติ = สงบหายไร้วิหิงสา

วิบัติ = เกิดโศกเศร้า

มุทิตา : สมบัติ = สงบหายไร้ริษยา

วิบัติ = เกิดสนุกสนาน

อุเบกขา : สมบัติ = สงบหายไร้ชอบชัง

วิบัติ = เกิดความเฉยด้วยไม่รู้ (เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย)

ง.ข้าศึก คือ อกุศลคู่ปรับ ที่จะทำลายให้ธรรมข้อนั้นๆ เสียไป

เมตตา : ข้าศึกใกล้ = เกิดเสน่หา ราคะ

ข้าศึกไกล = พยาบาทคือความขัดเคือง ไม่พอใจ

กรุณา : ข้าศึกใกล้ โทมนัส คือความเศร้าโศกเสียใจ

ข้าศึกไกล = วิหิงสา

มุทิตา : ข้าศึกใกล้ = โสมนัส (เช่นดีใจว่าตนจะได้รับผลประโยชน์)

ข้าศึกใกล้ = อรติ คือความไม่ยินดี ไม่ไยดี ริษยา

อุเบกขา : ข้าศึกใกล้ = อัญญานุเบกขา (เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย)

ข้าศึกไกล = ราคะ (ความใคร่) ปฏิฆะ (ความเคือง) หรือชอบใจขัดใจ

จ.ตัวอย่างมาตรฐาน ที่คัมภีร์ทั้งหลายมักอ้าง เพื่อให้เห็นความหมายชัด

1.เมื่อลูกยังเล็กเป็นเด็กเยาว์วัย

แม่-เมตตา คือ รักใคร่เอาใจใส่ ถนอมเลี้ยงให้เจริญเติบโต

2.เมื่อลูกเจ็บไข้เกิดมีทุกข์ภัย

แม่-กรุณา คือ ห่วงใยปกปักรักษา หาทางบำบัดแก้ไข

3.เมื่อลูกเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวสวยสง่า

แม่-มุทิตา คือ พลอยปลาบปลื้มใจ หวังให้ลูกงามสดใสอยู่นานเท่านาน

4.เมื่อลูกรับผิดชอบกิจหน้าที่ของตนขวนขวายอยู่ด้วยดี

แม่-อุเบกขา คือ มีใจนิ่งสงบเป็นกลาง วางเฉยคอยดู

ทั้งนี้ พึงทราบว่า

ฉันทะ คือ กัตตุกัมยตาฉันทะ (ความอยากทำให้ดี หรือความต้องการที่จะทำให้คนสัตว์ทั้งหลายดีงามสมบูรณ์ปราศจากโทษข้อบกพร่อง เช่น อยากให้เขาประสบประโยชน์สุข พ้นจากทุกข์เป็นต้น) เป็นจุดเริ่ม (อาทิ) ของพรหมวิหารทั้ง 4

การข่มระงับกิเลส (เช่น นิวรณ์) ได้ เป็นท่ามกลางของพรหมวิหาร ทั้ง 4

สมาธิถึงอัปปนา เป็นที่จบ (สัมฤทธิ์จุดหมาย) ของพรหมวิหารทั้ง 4 นั้น

[2.14] สังคหวัตถุ 4 (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์

- Sangahavatthu: bases of social solidarity; bases of sympathy; acts of doing favours; principles of service; virtues making for group integration and leadership)

1.ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยทรัพย์สินสิ่งของ ตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน

- Dana: giving;generosity; charity)

2.ปิยวา จา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ ประกอบด้วยเหตุผล เป็นหลักฐาน ทำให้มั่นใจ และน่าชื่นชมเชื่อถือ

- Piyavaca: kindly speech; convincing speech)

3.อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริย-ธรรม

- Atthacariya: useful conduct; rendering services; life of service; doing good)

4.สมา นัตตตา* (ความมีตนเสมอ** คือ ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย ไม่เลือกรักผลักชัง ไม่ดูถูกเหยียดหยาม ไม่เอารัดเอาเปรียบ ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย และเสมอในสุขทุกข์ คือร่วมสุขร่วมทุกข์ โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี

- Samanattata: even and equal treatment; equality consisting in impartiality, participation and behaving oneself properly in all circumstances)

[2.15] ระงับ นิวรณ์ 5 พัฒนา ธรรมสมาธิ ขึ้นมาแทน

ก.นิวรณ์ 5 (ธรรมที่ขวางกั้นการเจริญจิตเจริญปัญญา, ธรรมที่ครอบงำจิตปิดบังปัญญา ทำให้ไม่ก้าวหน้าในคุณความดี ไม่ให้บรรลุคุณพิเศษทางจิต และทำให้มองสิ่งทั้งหลายเคลือบคลุมพร่ามัวเอนเอียง ไม่อาจรู้เห็นตามเป็นจริง, อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง

- Nivarana: hindrances.)

1.กามฉันทะ (ความพอใจติดใคร่กาม, ความอยากได้สิ่งเสพบำเรอผัสสะ, โดยขอบเขต หมายถึงโลภะทั้งหมด เว้นแต่รูปราคะและอรูปราคะ

- Kamachanda: sensual desire)

2.พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ, โดยขอบเขต หมายรวมโทสะทั้งหมด

- Byapada: illwill)

3.ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม, ความท้อแท้และเฉาซึม, ความห่อเหี่ยวและตื้อมึน

- Thina-middha: sloth and torpor)

4.อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล

- Uddhacca-kukkucca: distraction and remorse; flurry andworry; restlessness and anxiety)

5.วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย, ความเคลือบแคลง

- Vicikiccha: doubt; uncertainty)

เมื่อ จิตปลอดจากนิวรณ์ 5 แล้ว ธรรมสมาธิ มีปราโมทย์ เป็นต้น ก็จะเกิดขึ้นแทนที่ และจิตก็จะเป็นสมาธิแน่วสนิทถึงขั้นอัปปนา คือได้ฌาน และสามารถเจริญปัญญาให้มองเห็นตามเป็นจริง

ภูมิธรรมชาวพุทธ (10) from khaosod

ภูมิธรรมชาวพุทธ (10)

คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์


[2.13] พรหมวิหาร 4 (ธรรมเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ, ธรรมประจำใจอันประเสริฐ, หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์, ธรรมที่ต้องมีไว้เป็นหลักใจและกำกับความประพฤติ จึงจะชื่อว่าดำเนินชีวิตหมดจด และปฏิบัติตนต่อมนุษย์สัตว์ทั้งหลายโดยชอบ - Brahma vihara: holy abidings; sublime states of mind)

1.เมตตา (ความรัก ปรารถนาดีอยากให้เขามีความสุข มีจิตใจแผ่ไมตรี และคิดทำประโยชน์แก่มนุษย์สัตว์ทั่วหน้า

- Metta: loving-kindness; friendliness; goodwill)

2.กรุณา (ความสงสาร คิดช่วยให้พ้นทุกข์ ใฝ่ใจจะปลดเปลื้องบำบัดความทุกข์ยากเดือดร้อนของผู้ประสบทุกข์

- Karuna : compassion)

3.มุทิตา (ความยินดี ในเมื่อผู้อื่นอยู่ดีมีสุข มีจิตผ่องใสบันเทิง เบิกบาน ชื่นชม ต่อสัตว์ทั้งหลายผู้ประสบความสุข ความสำเร็จ พลอยยินดีด้วยเมื่อเขาได้ดีมีสุข เจริญงอกงามยิ่งขึ้นไป

- Mudita: sympathetic joy; altruistic joy)

4.อุเบกขา (ความมีใจเป็นกลาง ที่จะดำรงอยู่ในธรรมตามที่ได้พิจารณาเห็นด้วยปัญญา คือมีจิตเรียบตรงเที่ยงธรรมดุจตราชู ไม่เอนเอียงด้วยรักและชัง พิจารณาเห็นกรรมที่สัตว์ทั้งหลายกระทำแล้ว อันควรได้รับผลดีหรือชั่ว สมควรแก่เหตุอันตนประกอบ พร้อมที่จะวินิจฉัยและปฏิบัติไปตามธรรม รวมทั้งรู้จักวางเฉยสงบใจมองดู ไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรกแซง ในเมื่อไม่มีกิจที่ควรทำ เพราะเขารับผิดชอบตนได้ดีแล้ว เขาสมควรรับผิดชอบตนเอง หรือเขาควรได้รับผลอันสมกับความรับผิดชอบของตน

- Upekkha: equanimity; neutrality; poise)

ผู้ ดำรงในพรหมวิหาร ย่อมช่วยเหลือมนุษย์สัตว์ทั้งหลายด้วยเมตตากรุณา และย่อมรักษาธรรมไว้ได้ด้วยอุเบกขา ดังนั้น แม้จะมีกรุณาที่จะช่วยเหลือปวงสัตว์ แต่ก็ต้องมีอุเบกขาด้วยที่จะมิให้เสียธรรม

พรหมวิหารนี้ บางทีแปลว่า ธรรมเครื่องอยู่ของพรหม, ธรรมเครื่องอยู่อย่างพรหม, ธรรมประจำใจที่ทำให้เป็นพรหมหรือให้เสมอด้วยพรหม, หรือธรรมเครื่องอยู่ของท่านผู้มีคุณยิ่งใหญ่

- (abidings of the Great Ones)

พรหมวิหาร 4 เรียกอีกอย่างว่า อัปปมัญญา 4 (Appamanya: unbounded states of mind; illimitables) เพราะแผ่ไปสม่ำเสมอแก่มนุษย์สัตว์ทั่วทั้งหมด ไม่มีประมาณ ไม่จำกัดขอบเขต

พรหมวิหารมีในผู้ใด ย่อมทำให้ผู้นั้นประพฤติปฏิบัติเกื้อกูลแก่ผู้อื่นด้วย สังคหวัตถุ 4 เป็นต้น

อนึ่ง เพื่อให้เข้าใจและปฏิบัติพรหมวิหาร 4 ได้ถูกต้อง พึงทราบรายละเอียดบางอย่าง โดยเฉพาะสมบัติ และวิบัติ ของธรรมทั้ง 4 นั้น ดังนี้

ก.ความหมายโดยวิเคราะห์ศัพท์

1. เมตตา = (มีน้ำใจ) เยื่อใยใฝ่ประโยชน์สุขแก่คนสัตว์ทั้งหลาย หรือน้ำใจปรารถนาประโยชน์สุขที่เป็นไปต่อมิตร

2. กรุณา = เกิดความสะเทือนใจเมื่อคนอื่นประสบทุกข์, จะไถ่ถอนทำทุกข์ของผู้อื่นให้หมดไป หรือแผ่ใจไปรับรู้ต่อคนสัตว์ทั้งหลายที่ประสบทุกข์

3. มุทิตา = โมทนายินดีต่อผู้ประกอบด้วยสมบัติหรือผลดีนั้นๆ

4. อุเบกขา = คอยมองดูอยู่ โดยละความขวนขวาย และเข้าถึงความเป็นกลาง

ข.ลักษณะ (เครื่องกำหนด) รส (หน้าที่/กิจ)

ปัจจุปัฏฐาน (ผลปรากฏ) และ ปทัสถาน (เหตุใกล้)

1.เมตตา (ในสถานการณ์ที่คนอื่นอยู่เป็นปกติ)

ลักษณะ = เป็นไปโดยอาการเกื้อกูลแก่คนสัตว์ทั้งหลาย

หน้าที่ = น้อมนำประโยชน์เข้าไปให้แก่เขา

ผลปรากฏ = กำจัดความอาฆาตแค้นเคืองให้ปราศไป

ปทัสถาน = เห็นภาวะที่น่าเจริญใจของคนสัตว์ทั้งหลาย

2.กรุณา (ในสถานการณ์ที่คนอื่นตกทุกข์เดือดร้อน)

ลักษณะ = เป็นไปโดยอาการปลดเปลื้องทุกข์แก่คนสัตว์ทั้งหลาย

หน้าที่ = ไม่นิ่งดูดาย/ทนนิ่งอยู่ไม่ได้ต่อทุกข์ของคนสัตว์ทั้งหลาย

ผลปรากฏ = ไม่เบียดเบียน/อวิหิงสา

ปทัสถาน = เห็นภาวะไร้ที่พึ่ง/สภาพอนาถาของคนสัตว์ที่ถูกทุกข์ครอบงำ

3.มุทิตา (ในสถานการณ์ที่คนอื่นมีสุขสำเร็จ หรือทำอะไรก้าวไป ด้วยดี)

ลักษณะ = พลอยยินดี/ยินดีด้วย

หน้าที่ = ไม่ริษยา/เป็นปฏิปักษ์ต่อความริษยา

ผลปรากฏ = ขจัดความริษยา

ปทัสถาน = เห็นสมบัติ/ความสำเร็จของคนสัตว์ทั้งหลาย

4.อุเบกขา (ในสถานการณ์รักษาธรรม ตามความรับผิดชอบต่อกรรมที่เขาทำ)

ลักษณะ = เป็นไปโดยอาการเป็นกลางต่อคนสัตว์ทั้งหลาย

หน้าที่ = มองเห็นความเสมอภาคกันในสัตว์ทั้งหลาย

ผลปรากฏ = ระงับความขัดเคืองเสียใจและความคล้อยตามดีใจ

ปทัสถาน = มองเห็นภาวะที่ทุกคนเป็นเจ้าของกรรมของตน ไม่อาจได้สุขพ้นทุกข์ตามใจชอบของตน

ภูมิธรรมชาวพุทธ (9) from khaosod

ภูมิธรรมชาวพุทธ (9)

คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


คําอาราธนาศีล 8 :

(เหมือนกับคำอาราธนาศีล 5 เปลี่ยนแต่ ปญฺจ เป็น อฏฺฐ)

มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห, อฏฺฐ สีลานิ ยาจาม;

ทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, . . .

ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, . . .

แปลว่า : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 พร้อมทั้งไตรสรณะ

แม้ครั้งที่ 2 ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย . . .

แม้ครั้งที่ 3 ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย . . .

คำอาราธนาอุโบสถศีล

มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห, อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ, อุโปสถํ ยาจาม (ว่า 3 จบ)

แปลว่า : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ 8 พร้อมทั้งไตรสรณะ

พึงสังเกตว่า ผู้อาราธนา ขอศีล แต่พระเพียงบอกสิกขาบท ให้คฤหัสถ์ตกลงรับข้อฝึกไปปฏิบัติ เพื่อทำตัวให้มีศีลด้วยตนเอง

[2.11] หลีกเว้น อบายมุข 6 ดำเนินใน วัฒนมุข 6

ก. อบายมุข 6 (ช่องทางของความเสื่อม, ทางแห่งความพินาศ, เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์ - Apayamukha: causes of ruin; ways of squandering wealth)

1.เสพติดสุรายาเมา (addiction to intoxicants; drug addiction)

2.เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา (roaming the streets at unseemly hours)

3.จ้องหาแต่การบันเทิง (frequenting shows)

4.ระเริงเล่นติดการพนัน (indulgence in gambling)

5.พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว (association with bad companions)

6.มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน (habit of idleness)

ข. วัฒนมุข 6 (ธรรมที่เป็นปากทางแห่งความเจริญ, ธรรมที่เป็นดุจประตูชัยอันจะเปิดออกไปให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญงอกงามของ ชีวิต - Vaddhana-mukha: channels of growth; gateway to progress)

1.อาโรคยะ (ความไม่มีโรค, ความมีสุขภาพดี - Arogya : good health)

2.ศีล (ความประพฤติดี มีวินัย ไม่ก่อเวรภัย ได้ฝึกในมรรยาทอันงาม - Sila : moral conduct and discipline)

3.พุทธานุมัติ (ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต - Buddhanumata : conformity or access to the ways of great, enlightened beings)

4.สุตะ (ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ ฝึกตนให้เชี่ยวชาญและทันต่อเหตุการณ์ - Suta : much learning)

5.ธรรมานุวัติ (ดำเนินชีวิตและกิจการงานโดยทางชอบธรรม - Dhammanuvatti : practice in accord with the Dhamma; following the law of righteousness)

6.อลีนตา (เพียรพยายามไม่ระย่อ, มีกำลังใจแข็งกล้า ไม่ท้อถอยเฉื่อยชา เพียรก้าวหน้าเรื่อยไป - Alinata : unshrinking perseverance)

สำหรับเด็กๆ พึงจำง่ายๆ ว่า

1.รักษาสุขภาพดี 2.มีระเบียบวินัย 3.ได้คนดีเป็นแบบอย่าง 4.ตั้งใจเรียนให้รู้จริง 5.ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม 6.มีความขยันหมั่นเพียร

ธรรม 6 ประการชุดนี้ ในบาลีเดิมเรียกว่า อัตถทวาร (ประตูแห่งประโยชน์, ประตูสู่จุดหมาย) หรือ อัตถประมุข (ปากทางสู่ประโยชน์, ต้นทางสู่จุดหมาย) และอรรถกถาอธิบายคำ อัตถะ ว่า หมายถึง "วุฒิ" คือความเจริญ ซึ่งได้แก่ วัฒนะ ดังนั้นจึงอาจเรียกว่า วุฒิมุข หรือที่คนไทยรู้สึกคุ้นมากกว่าว่า วัฒนมุข

อนึ่ง ในฝ่ายอกุศล มีหมวดธรรมรู้จักกันดีที่เรียกว่า อบายมุข 6 ซึ่งแปลว่า ปากทางแห่งความเสื่อม จึงอาจเรียกธรรมหมวดนี้ด้วยคำที่เป็นคู่ตรงข้ามว่า อบายมุข 6 (ปากทางแห่งความเจริญ)

[2.12] อคติ 4 (ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด, ความไม่เที่ยงธรรม, ความลำเอียง - Agati : wrong course of behaviour; prejudice; bias; injustice)

1.ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ - Chandagati : prejudice caused by love or desire; partiality)

2.โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง - Dosagati : prejudice caused by hatred or enmity)

3.โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง, พลาดผิดเพราะเขลา - Mohagati: prejudice caused by delusion or stupidity)

4.ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว, เสียธรรมเพราะความขลาด - Bhaya-gati : prejudice caused by fear)

พึงเว้น อคติ 4 นี้ แต่พึงเจริญ พรหมวิหาร 4 และใช้สังคหวัตถุ 4