วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความทุกข์ จาก ข่าวสด

ความทุกข์

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด



ปัญหา ชีวิตที่คนทุกคนตั้งแต่เกิดมาล้วนประสบด้วยกัน นั่นก็คือ ความทุกข์ เช่น เกิด แก่ เจ็บ ตายก็ทุกข์ ความโศกเศร้าเสียใจก็เป็นทุกข์ ประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักที่ชอบใจก็เป็นทุกข์ พลัดพรากจากคนรักของรักก็ทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ทั้งนั้น

คำว่า ทุกข์ หมายถึง ความไม่สบายกายไม่สบายใจ หรือสภาวะที่ทนอยู่ไม่ได้ มีประจำทุกชีวิต ท่านได้รวบรวมไว้ 10 ประการ คือ

1. นิพัทธทุกข์ ทุกข์เป็นประจำ เช่น หนาวร้อน หิวกระหาย มีปรากฏทั่วไปไม่ว่าในคนหรือสัตว์ ทุกข์ประเภทนี้ เช่น ทุกข์อันเกิดจากความหิว กระหาย ต้องแก้ด้วยการเสริมสร้างเศรษฐกิจให้สมบูรณ์ มีกินมีใช้

2. พยาธิทุกข์ ทุกข์อันเกิดจากความปวดเมื่อย ถูกโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน ไม่ว่าจะเป็นทางกายหรือทางใจ ทุกข์อันเกิดจากความเจ็บปวด เช่น ปวดหลัง ปวดเอว ต้องแก้ด้วยการเปลี่ยนอิริยาบถ หากเจ็บป่วยให้รีบเยียวยา อย่าปล่อยทิ้งไว้ จะเป็นอันตรายต่อสุขภาพและชีวิต

3. อาหารปริเยฏฐิทุกข์ ทุกข์เกิดจากการแสวงหาเลี้ยงชีพ ทุกข์ประเภทนี้ ตั้งแต่เติบใหญ่ต้องแสวงหาความรู้ แสวงหางานทำ มีภาระจำต้องเลี้ยงดูครอบครัว บริวารญาติมิตร ทุกข์อันเกิดจากการแสวงหาปัจจัยมาเลี้ยงชีวิตนี้ ต้องแก้ด้วยธรรมะ 4 ประการ คือ ขยันหา รักษาทรัพย์ คบคนดีและเลี้ยงชีวิตให้พอดี

4. สภาวะทุกข์ ทุกข์ประจำ ทุกข์ที่เป็นเอง เช่น ทุกข์จากการเกิด การแก่ การเจ็บ และการตาย ทุกข์ประเภทนี้ ท่านสอนให้รู้เท่าทัน คือ รู้ว่าสิ่งเหล่านี้เป็นธรรมดาของชีวิต มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป ไม่จีรังยั่งยืน และไม่ได้มีกับเราคนเดียว

5. วิวาทมูลกทุกข์ ทุกข์เพราะการทะเลาะวิวาท เป็นทุกข์ทางสังคม หากไม่ได้ปรับความเห็นให้สอดคล้อง เข้ากันได้กับสังคม ก็จะเกิดปฏิกิริยาขัดแย้งกัน ทุกข์ประเภทนี้ ท่านสอนให้ยอมรับความจริงว่า คนทุกคนไม่เหมือนกัน และสอนให้ทำดีต่อกัน มีปัญหาก็ให้อดทนอดกลั้น รู้จักให้โอกาสและให้อภัย

6. สหคตทุกข์ ทุกข์อันเกิดจากการกังวลกับสิ่งที่ผูกพันกับชีวิต เช่น ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข มีลาภ มียศ ก็มีทั้งสุขทั้งทุกข์ เช่น บางท่านมีรถยนต์ จัดว่ามีความสุข ไปไหนมาไหนสะดวกรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็มีทุกข์แอบแฝงอยู่ด้วย ไหนจะต้องดูแลเอาใจใส่รักษา ต้องเติมน้ำมัน เป็นต้น ทุกข์ประเภทนี้ท่านสอนให้แก้ด้วยการพิจารณาให้เห็นถึงความไม่เที่ยง ทุกอย่างมีได้มีเสีย มีขึ้นมีลงตลอดเวลา

7. วิปากทุกข์ ทุกข์เกิดจากผลของกรรม คือ การกระทำของตนที่ได้ทำไว้ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เช่น ประพฤติผิดกฎหมาย ถูกจับได้ต้องติดคุก ไม่มีอิสรภาพ ทุกข์ประเภทนี้ท่านสอนว่าอย่าประมาท ให้สังวรระวังกรรมอันจะเป็นผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ตนและคนอื่น เมื่อเผลอทำความชั่ว ก็รู้จักกลับตัวกลับใจเป็นคนดี ชีวิตก็จะมีแต่ความสุข

8. ปกิณณกทุกข์ ทุกข์เบ็ดเตล็ด ทุกข์อันเกิดจากการผิดหวัง พลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การไม่สมหวังในสิ่งที่ตนปรารถนา การประสบกับสิ่งอันไม่น่าชอบใจ เป็นทุกข์เล็กน้อยทั้งสิ้น ทุกข์ประเภทนี้ท่านสอนให้เตรียมใจไว้ให้พร้อม เพราะทุกคนต้องพลัดพรากด้วยกันทั้งนั้น ไม่จากกันยามเป็นก็จากกันยามตาย ไม่วันนี้ก็วันหน้า

9. สันตาปทุกข์ ทุกข์เพราะอำนาจกิเลสมันเผาลน เช่น ถูกความโลภ ความโกรธ ความหลง ความอิจฉาริษยาเข้าครอบงำ ทำให้ทุกข์กายทุกข์ใจ ทุกข์ประเภทนี้ ท่านสอนให้แก้ด้วยให้รู้จักความพอดี มีความเมตตากรุณา มีความพลอยยินดีในเมื่อผู้อื่นได้ดี

10. ทุกขักขันธ์ ทุกข์รวบยอด คือ ขันธ์ 5 อันได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ทุกข์ประเภทนี้ ท่านสอนให้พิจารณาให้พิจารณาว่า มันไม่ใช่ของเรา แล้วให้รู้จักปล่อยวางเสียอย่ายึดถือไว้

เพราะฉะนั้น ท่านผู้มีปัญญาควรทำลายต้นตอแห่งความทุกข์ทั้ง 10 ประการ ด้วยวิธีดังกล่าวมา จักประสบแต่ความสุขความเจริญตลอดไป

พระเทพคุณาภรณ์

(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)

เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

www.watdevaraj.com

0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting

วันศุกร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความยินดี khaosod

ความยินดี

ธรรมะวันหยุด

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหารwww.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting



ปัจจุบัน การดำรงชีวิตอยู่ของประชาชนถูกกระทบด้วยเหตุปัจจัยหลายหลากซึ่งล้วนแต่มีผล ให้ความอยู่ดีมีสุขตามสมควรแก่อัตภาพพลอยได้รับผลกระทบไปด้วย

ใน สภาวะเช่นนี้ ควรที่ทุกคนจะต้องหันกลับมาทบทวนถึงแนวทางแห่งการปฏิบัติของตน เพื่อประคับประคองตนให้แคล้วคลาดจากภัยพิบัติทั้งปวง มีความร่มเย็นเป็นสุขตามสมควร ด้วยการปฏิบัติตามหลักธรรม คือ ความสันโดษ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ในธรรมบทขุททกนิกาย พร้อมทั้งทรงรับรองผลว่าสามารถจะบันดาลความสุขความเจริญแก่ผู้ปฏิบัติได้

ความ สันโดษ แปลว่า ความยินดี พอใจในสิ่งที่ตนเองมีหรือเป็นอยู่ ถือเป็นเชื้อสายประเพณีดั้งเดิมของท่านผู้ประเสริฐ เรียกว่า วงศ์อริยะ ดังความตอนหนึ่งว่า "ผู้ถือสันโดษด้วยเสื้อผ้า อาหาร และที่อยู่อาศัยตามมีตามได้ มีปกติสรรเสริญคุณแห่งสันโดษ ถือว่าเป็นผู้สถิตอยู่ในวงศ์แห่งอริยะอันเป็นประเพณีเก่าดั้งเดิม" สันโดษโดยทั่วไปมี 3 ประการ คือ

1. ยถาลาภสันโดษยินดีตามได้

2. ยถาพลสันโดษ ยินดีตามกำลัง

3. ยถาสารุปปสันโดษ ยินดีตามสมควร


ประการ ที่ 1 ยถาลาภสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามที่ตนได้มา โดยในเบื้องต้น มีความพอใจในงานที่กำลังทำ พอใจในศิลป วิทยาที่กำลังศึกษาและพอใจในคุณธรรมที่กำลังปฏิบัติอยู่ มีความมุ่งมั่นทำจริง ศึกษาจริง ปฏิบัติจริง เมื่อได้ทรัพย์สิน คุณวุฒิ คุณสมบัติมาเป็นของตนเองแล้วก็ยินดีในทรัพย์สิน คุณวุฒิ และคุณสมบัติที่ตนมีอยู่ รู้จักใช้ทรัพย์อย่างประหยัด ประพฤติตนสมกับคุณวุฒิและคุณ สมบัติที่มีอยู่

ประการที่ 2 ยถาพลสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามกำลัง คือ มีความพอใจในการจัดสรรหน้าที่การงาน จัดสรรการศึกษาศิลป วิทยา และจัดสรรคุณธรรมเพื่อปฏิบัติให้สมกับกำลังสติปัญญาของตนเอง เลือกทำในสิ่งที่ตนเองถนัดแล้วตั้งใจปฏิบัติให้ก้าวหน้าไปตามกำลังแต่ละ อย่างด้วยความขยันหมั่นเพียร อดทนสู้กับอุปสรรคต่างๆ โดยไม่ถอยหลัง

ประการ ที่ 3 ยถาสารุปปสันโดษ หมายถึง ความยินดีตามสมควร หรือพอเหมาะกับฐานะของตนเอง ไม่หวนหาคิดให้ได้ทรัพย์สมบัติที่ล้ำค่าเกินฐานะของตนเอง บางครั้งแม้จะได้สิ่งที่เกินฐานะของตนเองมาก็ไม่ลุ่มหลงว่าเป็นสิทธิ์ที่ควร จะได้ กลับเห็นว่าสิ่งที่ได้มานั้นล้ำค่า ควรให้คนอื่นได้มีส่วนร่วมดูแลรักษาหรือบริโภคใช้สอยด้วย โดยการทำให้เกิดประโยชน์แก่ตน เองและแก่สังคมรอบข้าง

ผู้มีความ สันโดษ มีความสันโดษเป็นยาวิเศษ บำรุงใจให้เอิบอิ่ม เบิกบาน และชูใจให้แข็งกล้าอยู่เสมอ ย่อมไม่เกียจคร้าน ผู้มีความสันโดษย่อมมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ได้มาแม้เล็กน้อย อันเป็นสิ่งที่ตนได้มาโดยชอบธรรม ทั้งนี้ เพราะจิตใจมากไปด้วยคำว่า ยินดี หรือ พอใจ นั่นเอง

ถ้าทุกคนต่างมีความสันโดษ พอใจยินดีใช้สอยวัตถุสิ่งของที่ผลิตได้ภายในประเทศโดยเงินทุนก็จะหมุนเวียน อยู่แต่ภายในประเทศ เท่านั้น เป็นการอุดหนุนให้ประเทศชาติได้พัฒนาสร้างความอยู่ดีกินดีให้เกิดขึ้น โดยอาศัยความรัก ความสามัคคีร่วมใจกันประหยัด มีความพากเพียรพยายามประกอบกิจด้วยความอดทน ก็เป็นเหตุให้เกิดสุข

ดังนั้น ความสันโดษ ความยินดี พอใจจึงเป็นคุณธรรมที่ทุกคนควรพินิจพิจารณา น้อมนำมาประพฤติปฏิบัติให้เกิดเป็นนิสัยติดตัวโดยแท้

วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สว่างมา สว่างไป (2) khaosod

สว่างมา สว่างไป (2)

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด



ผู้ ที่สว่างมาแล้วสว่างไป หมายถึง บุคคลผู้ที่สร้างคุณงามความดีมาก่อน แม้ปัจจุบันก็ยังสร้างสรรค์สิ่งที่ดีเป็นบุญกุศล เพื่อความสุขความเจริญในอนาคตของตนต่อไป

บุคคลผู้ที่จะเป็นเช่นนี้ ได้นั้นต้องอาศัยการปฏิบัติตามหลักธรรม ที่เรียกว่า จักร คือธรรมที่นำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมาย ซึ่งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ในจตุกกนิบาต อังคุตตรนิกาย ว่ามี 4 ประการ คือ

1.การอยู่ในประเทศที่เหมาะสม

2.การคบหาสัตบุรุษคนดี

3.การตั้งตนไว้ชอบ

4.ความเป็นผู้ทำความดีไว้แต่ปางก่อน

ประการ ที่ 1 การอยู่ในประเทศที่เหมาะสม ถิ่นที่อยู่ของบุคคลนั้นนับว่าเป็นความสำคัญชั้นต้น ถ้าบุคคลไปเกิดอยู่ในถิ่นที่ด้อยด้วยคุณธรรมและวิชาธรรม ย่อมจะเป็นไปตามพื้นเพของถิ่นนั้นโดยมาก ถิ่นที่เจริญดีนั้นได้แก่ ถิ่นที่เป็นศูนย์กลาง การคมนาคมสะดวก เป็นที่รวมของศีลธรรม วัฒนธรรมและระเบียบประเพณี มีภูมิประเทศสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพ เป็นถิ่นที่มีการศึกษารุ่งเรือง การอยู่ในประเทศที่เหมาะสมนี้เป็นเหตุให้แสวงหาคุณความดีได้ในปัจจุบันและ อนาคต

ประการที่ 2 การคบคนดี การคบหาสมาคมกันนั้นเป็นปัจจัยอันสำคัญของทุกคน เพราะบุคคลจะอยู่โดยลำพังเพียงผู้เดียวไม่ได้ ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ในทางพระพุทธศาสนาสอนว่า ไม่ควรคบคนพาล ควรคบบัณฑิต เพราะคนพาลตัดประโยชน์ทั้งฝ่ายตนและผู้อื่น ถือเอาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ คือ ทำความพินาศให้เกิดแก่ตนและผู้อื่น แม้ในอดีตกาลพระโพธิสัตว์บวชเป็นดาบสอยู่ในหิมวันตประเทศ ได้กล่าวสอนบุตรของตนผู้จะออกจากป่าไปอยู่ถิ่นมนุษย์ไว้ในหริททราคชาดก ตอนหนึ่งว่า "ลูกเอ๋ย ถ้าพื้นชมพูทวีปทั้งสิ้นจะพึงไร้มนุษย์ก็ตาม หากมีแต่เจ้ากับคนพาลเพียงสองคนเท่านั้น เจ้าก็อย่าได้คบหากับคนพาลนั้นเลย" ดังนี้

ส่วนบัณฑิต เป็นผู้ฉลาดในการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ประพฤติ ชอบด้วยกาย วาจา ใจ เป็นบุคคลควรคบหาสมาคมด้วย เพราะเป็นผู้ชักนำไปในทางที่ถูก ไม่แนะนำให้ประกอบกิจอันมิใช่ธุระ มีแต่ชักนำในทางที่เป็นประโยชน์

ประการที่ 3 การตั้งตนไว้ชอบ คือดำรงตั้งมั่นอยู่ในธรรมและทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง ให้เหมาะสมถูกต้องแก่ภาวะหน้าที่ที่ตนมีอยู่ในปัจจุบัน ประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ

ประการที่ 4 ความเป็นผู้ทำความดีไว้ในกาลก่อน อาศัยบุญเก่ากุศลก่อนที่ได้สร้างสมอบรมไว้ ส่งผลให้ได้อัตภาพร่างกายเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา มีสติปัญญา สุขภาพร่างกายดี พรั่งพร้อมด้วยสุขสมบัติ เพราะบุญเก่าที่ตนทำไว้สนับสนุนและให้ผล

บุคคลผู้ได้ปฏิบัติตามหลัก ธรรมทั้ง 4 ประการ คือ ได้อยู่ในสถานที่เหมาะสม สมาคมกับคนดีมีศีลธรรม ดำรงตนไว้ในที่ควรที่ชอบ ประกอบกับความดีที่ทำไว้ในกาลก่อนดังกล่าวมานี้ ย่อมสามารถที่จะดำเนินชีวิตให้มีแต่ความสุข ปราศจากความทุกข์ร้อนใจ มีแต่ความสงบร่มเย็นตลอดกาลนานแล

พระเทพคุณาภรณ์

(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)

เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร/

www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting

สว่างมา สว่างไป..1 khaosod

สว่างมา สว่างไป..1

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด



บุคคล ผู้สว่างมา สว่างไป หมายถึง บุคคลผู้เกิดในตระกูลสูง คือ เป็นตระกูลที่เพียบพร้อม พรั่งพร้อมไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง โภคสมบัติ บริวารสมบัติมีประการต่างๆ เป็นตระกูลที่เป็นที่นับถือของคนทั่วไป นั่นเป็นเพราะในอดีตชาติที่ผ่านมา ได้ประกอบกุศลคุณงามความดีไว้เป็นอันมาก จึงส่งผลให้มาเกิดเป็นมนุษย์ เสวยทรัพย์สมบัติ ด้วยผลบุญที่ได้กระทำไว้นั้น

บุคคลผู้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่พร้อม มูลดังว่ามานี้แล้ว มีความขยัน หมั่นประกอบอาชีพการงาน และยังประกอบคุณงามความดี ด้วยคิดว่า ที่ตนเองเกิดมามีทั้งโภคสมบัติ ทั้งบริวารสมบัตินั้น เป็นเพราะได้ทำบุญ ให้ทานมาแต่ก่อน ในชาตินี้เมื่อมีโอกาสจึงทำบุญให้ทาน ประกอบแต่กรรมดี เพื่อสั่งสมบุญกุศลเพิ่มขึ้นอีก ประพฤติแต่สุจริต คือ ทำกรรมดี อันเป็นทางนำไปสู่ทางที่ดี มีความสุข คือ

ทำความดีทางกาย เช่น ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่ลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น ไม่ประพฤติผิดในกาม

ทำ ความดีทางวาจา เช่น ไม่พูดโกหกหลอกลวงผู้อื่น ไม่พูดส่อเสียดให้ผู้อื่นเจ็บช้ำน้ำใจ ไม่พูดจาหยาบคาย ไม่พูดคำพูดเพ้อเจ้อ ที่ไม่มีประโยชน์ ไม่มีสาระ

และทำความดีทางใจ เช่น ไม่มีความโลภอยากได้ของผู้อื่น ไม่คิดพยาบาทเบียดเบียนผู้อื่น มีความเห็นชอบ คือ ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เช่น เห็นว่าทำดีได้ดี ทำบุญแล้วให้ผลที่ดี เป็นต้น

บุคคลผู้ประพฤติดังเช่นที่กล่าวมานี้ เมื่อตายแล้วย่อมเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ อันมีแต่ความสุขความเจริญอย่างเดียว

บุคคลผู้สว่างมา สว่างไปนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงยกย่องสรรเสริญว่า เป็นบุคคลผู้สูงสุดของชนทั้งหลาย

จะ ได้ยกเรื่องของบุคคลผู้ที่สว่างมา และสว่างไป เป็นอุทาหรณ์ เรื่องมีอยู่ว่า อุบาสกคนหนึ่ง เป็นผู้มีศรัทธาอย่างแรงกล้าในพระพุทธศาสนา ได้ให้ทาน รักษาศีล และทำอุโบสถกรรมเป็นประจำ ต่อมาได้สร้างศาลาจัตุรมุขขึ้นหลังหนึ่ง ถวายไว้ในพระพุทธศาสนา ซึ่งในที่สุดแห่งการทำอนุโมทนาของพระพุทธเจ้า วิมานจัตุรมุขก็ได้ผุดขึ้นในเทวโลก เพื่อต้อนรับอุบาสกนั้น

พระ มหาโมคคัลลานะได้ไปเยี่ยมเทวโลก เห็นวิมานนั้นว่างเปล่า ไม่มีเทพบุตรหรือเทพธิดาประจำอยู่ จึงไต่ถามกับเทพบุตรในวิมานใกล้เคียงก็ทราบว่า เป็นวิมานที่ผุดขึ้นเพื่อต้อนรับนันทิยอุบาสก ซึ่งยังมีชีวิตอยู่ในโลกมนุษย์ พระมหาโมคคัลลานะ จึงนำข่าวมาแจ้งแก่นันทิยอุบาสก เมื่อเขาได้ฟังแล้ว ก็เกิดปีติยินดีเป็นอย่างมาก ได้สละทรัพย์บำเพ็ญกุศลในพระพุทธศาสนาอีกเป็นจำนวนมาก เมื่อเขาสิ้นชีวิตแล้ว ก็ได้ไปบังเกิดในวิมานนั้น

ดังนั้น บุคคลผู้ที่เกิดในตระกูลที่สูง ปฏิบัติ ประพฤติสุจริตเป็นประจำ จึงนำให้ไปเกิดในสุคติภพ เปรียบได้กับบุคคลผู้ออกจากที่สว่าง ไปสู่ที่สว่าง ฉะนั้นแล



พระเทพคุณาภรณ์

(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)

เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting

คำสอนสำคัญ khaosod

คำสอนสำคัญ

คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา



พระพุทธศาสนา มีหลักธรรมคำสอนระดับสูง คือ เรื่อง อริยสัจ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดับทุกข์ อันได้แก่

1.ทุกข์ คือ เรื่องความทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน

2.สมุทัย คือ เรื่องสาเหตุของความทุกข์ทั้งปวง

3.นิโรธ คือ เรื่องความดับสนิทของความทุกข์ทั้งปวง

4.มรรค คือ เรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ทั้งปวง

ส่วน คำสอนระดับศีลธรรมนั้น ไม่ใช่คำสอนที่สำคัญของพุทธศาสนา เพราะศาสนาไหนๆ เขาก็มีคำสอนเช่นนี้กันอยู่แล้ว อีกทั้งคำสอนระดับศีลธรรม ก็ยังเจือปนอยู่กับเรื่องงมงายที่ปลอมปนเข้ามามากมายในภายหลัง ซึ่งไม่เป็นวิทยาศาสตร์ และขัดแย้งกับคำสอนระดับสูงอย่างมาก

ถ้าใครยึดถือในคำสอนระดับศีลธรรม ก็จะไม่เข้าใจคำสอนระดับสูงได้ ดังนั้น คำสอนส่วนใหญ่ของพระพุทธศาสนา จึงมุ่งเน้นมาที่เรื่องการดับทุกข์

พุทธศาสนาสอนว่า เมื่อเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนา อย่าเพิ่งสนใจเรื่องเหล่านี้ คือ

1.เรื่องว่าพระพุทธเจ้าหรือพระอริยะทั้งหลาย ว่าจะมีจริงหรือไม่?

2.เรื่องว่าสมาธิจะมีจริงหรือไม่? หรือทำให้เกิดอะไรที่น่าอัศจรรย์ขึ้นมาได้จริงหรือไม่?

3.เรื่องว่าเมื่อเราทำสิ่งใดไว้แล้ว จะต้องได้รับผลจากการกระทำนั้นในอนาคตจริงหรือไม่?

4.เรื่องที่ไร้สาระทั้งหลายของโลก ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดับทุกข์

เหตุ ที่ไม่ให้สนใจเรื่องเหล่านี้ เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการดับทุกข์ และเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีของจริงมาให้ศึกษาตามหลักวิทยา ศาสตร์ ถ้าใครหลงไปศึกษา ก็จะทำให้เสียเวลาอยู่กับเรื่องเหล่านี้ อาจเกิดความเข้าใจผิดหรือไขว้เขวขึ้นมาได้

ต่อเมื่อศึกษาตามหลักการของพุทธศาสนาจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ปัญหาเหล่านี้ก็จะหมดสิ้นไปเอง

พระ พุทธศาสนาจะสอนเฉพาะเรื่องในปัจจุบันเท่านั้น ไม่สอนเรื่องหลังจากตายไปแล้ว คือ พุทธศาสนาจะสอนให้เราศึกษาชีวิตในปัจจุบัน โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ จนเกิดความเข้าใจชีวิตอย่างแจ่มแจ้งก่อน แล้วก็จะเข้าใจเรื่องภายหลังจากความตายได้ด้วยตนเอง โดยไม่เชื่อจากใครๆ

พุทธ ศาสนาจะสอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ โดยสอนว่า อย่าเชื่อจากฟังต่อบอกต่อกันมา, อย่าเชื่อจากเห็นเขาทำตามๆ กันมา อย่าเชื่อจากคำร่ำลือ อย่าเชื่อจากตำรา อย่าเชื่อจากเหตุผลตรงๆ อย่าเชื่อจากเหตุผลแวดล้อม อย่าเชื่อจากสามัญสำนึกของเราเอง อย่าเชื่อจากมันตรงกับความเห็นที่เรามีอยู่ เป็นต้น

เมื่อได้รับคำ สอนใดมา ให้นำมาพิจารณา ดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษ ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีโทษและมีประโยชน์ ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าไม่ได้ผลก็ให้ละทิ้งไป แต่ถ้าได้ผลจึงค่อยเชื่อและรับเอามาปฏิบัติต่อไป

เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้ khaosod

เข้ากับเพื่อนร่วมงานไม่ได้

คอลัมน์ คำพระ

ว.วชิรเมธี



"พระ พุทธเจ้าเวลาท่านสอนคนท่านไม่ได้สอนคนทุกคนนะ วิธีสอนของพระองค์ก็เหมือนการฝึกม้า ม้าบางตัวฝึกได้บางตัวก็ฝึกไม่ได้ ที่ฝึกไม่ได้ก็ต้องฆ่าทิ้งคือไม่สอน"

วันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

เนื้อนาบุญ khaosod

เนื้อนาบุญ

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting



คํา ว่า "เนื้อนาบุญ" ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง ในการทำทาน ผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับผู้รับทาน หากเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง ทานที่ได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้ บุญน้อย

สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ว่า "แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้

1. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม

2. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 5 เพียงครั้งเดียวก็ตาม

3. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 5 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานแก่ผู้มีศีล 8 เพียงครั้งเดียวก็ตาม

4. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล 8 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล 10 คือสามเณรในพุทธศาสนาเพียงครั้งเดียวก็ตาม

5. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล 10 แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ เพียงครั้งเดียวก็ตาม

6. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระโสดาบัน เพียงครั้งเดียวก็ตาม

7. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี เพียงครั้งเดียวก็ตาม

8. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่พระอนาคามี เพียงครั้งเดียวก็ตาม

9. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ เพียงครั้งเดียวก็ตาม

10. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้าเพียงครั้งเดียวก็ตาม

11. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพียงครั้งเดียวก็ตาม

12. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน เพียงครั้งเดียวก็ตาม

13. การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า "การถวายวิหารทาน" เพียงครั้งเดียวก็ตาม

14. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "ธรรมทาน" เพียงครั้งเดียวก็ตาม

15. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง 100 ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" เพียงครั้งเดียวก็ตาม

ฉะนั้น การให้อภัยทาน คือ "การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู" ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ "ละโทสะกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" จึงเป็นสิ่งที่สาธุชนทั้งหลายควรบำเพ็ญให้มีขึ้นในตน เพราะมีผลานิสงส์มาก

หลักธรรมวันมาฆบูชา khaosod

หลักธรรมวันมาฆบูชา

คอลัมน์ ศาลาวัด



ในวันมาฆบูชานี้ เป็นวันคล้ายวันที่ พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ นับว่าเป็นวันที่พระพุทธศาสนาได้วางรากฐานมั่นคง

หลัก ธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติในวันมาฆบูชา ได้แก่ โอวาทปาติโมกข์ หมายถึง หลักคำสอนคำสำคัญของพระพุทธศาสนาอันเป็นไปเพื่อป้องกัน และแก้ปัญหาต่างๆ

ในชีวิตเป็นไปเพื่อความหลุดพ้น หรือคำสอน อันเป็นหัวใจพระพุทธศาสนา หลักธรรมประกอบด้วย หลักการ 3 อุดมการณ์ 4 วิธีการ 6 ดังนี้

หลักการ 3

1. การไม่ทำบาปทั้งปวง ได้แก่ การงดเว้น การลด ละเลิก ทำบาปทั้งปวง ซึ่งได้แก่ อกุศลกรรมบถ 10 ทางแห่งความชั่ว มีสิบประการ อันเป็นความชั่วทางกาย ทางวาจา และทางใจ

2. การทำกุศลให้ถึงพร้อม ได้แก่ การทำความดีทุกอย่างซึ่งได้แก่ กุศลกรรมบถ 10 เป็นแบบของการทำฝ่ายดีมี 10 อย่าง อันเป็นความดีทางกาย ทางวาจา และทางใจ

3. การทำจิตให้ผ่องใส ได้แก่ การทำจิตของตนให้ผ่องใส ปราศจากนิวรณ์ซึ่งเป็นเครื่องขัดขวางจิตไม่ให้เข้าถึงความสงบ

มี 5 ประการ ได้แก่

1. ความพอใจในกาม (กามฉันทะ)

2. ความอาฆาตพยาบาท (พยาบาท)

3. ความหดหู่ท้อแท้ ง่วงเหงาหาวนอน (ถีนะมิทธะ)

4. ความฟุ้งซ่าน รำคาญ (อุทธัจจะกุกกุจจะ) และ

5. ความลังเลสงสัย (วิกิจฉา) เช่น สงสัยในการทำความดีความชั่ว ว่ามีผลจริงหรือไม่ วิธีการทำจิตให้ปฏิบัติสมถะผ่องใสที่แท้จริงเกิดขึ้นจากการละบาปทั้งปวง ด้วยการถือศีลและบำเพ็ญกุศล ให้ถึงพร้อมด้วยการและวิปัสสนา จนได้บรรลุอรหัตผล อันเป็นความผ่องใสที่แท้จริง

อุดมการณ์ 4

1. ความอดทน ได้แก่ ความอดกลั้น ไม่ทำบาปทั้งทางกาย วาจา ใจ

2. ความไม่เบียดเบียน ได้แก่ การงดเว้นจากการทำร้าย รบกวน หรือ เบียดเบียนผู้อื่น

3.ความสงบ ได้แก่ ปฏิบัติตนให้สงบทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ

4.นิพพาน ได้แก่ การดับทุกข์ ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นได้จากการดำเนินชีวิตตามมรรคมีองค์ 8

วิธีการ 6

1. ไม่ว่าร้าย ได้แก่ ไม่กล่าวให้ร้าย หรือกล่าวโจมตีใคร

2. ไม่ทำร้าย ได้แก่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

3. สำรวมในปาติโมกข์ ได้แก่ ความเคารพระเบียบวินัย กฎกติกา กฎหมาย รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีของสังคม

4. รู้จักประมาณ ได้แก่ รู้จักความพอดีในการบริโภคอาหารหรือการใช้สอยสิ่งต่างๆ

5. อยู่ในสถานที่ที่สงัด ได้แก่ สถานที่สงบมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม

6. ฝึกหัดจิตใจให้สงบ ได้แก่ ฝึกหัดชำระจิตให้สงบ มีสุขภาพคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี

วันศุกร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คุณบิดามารดา (5) khaosod

คุณบิดามารดา (5) สุดพรรณนามหาศาล

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)



เมตตา กับ กรุณา นี่เมืองไทยใช้มาก พูดกันอยู่เสมอจนเป็นคำไทยสามัญ แต่แยกความหมายกันไม่ค่อยออก เพราะฉะนั้นตอนแรกจะต้องแยกความหมายระหว่าง เมตตา กับ กรุณา ให้ชัดเจนว่าต่างกันอย่างไร

วิธีแยกให้ชัดง่ายๆ ก็คือ ธรรมหมวดนี้เป็นท่าทีของจิตใจ สำหรับแสดงต่อผู้อื่น เมื่อเป็นธรรมสำหรับแสดงต่อผู้อื่น ความหมายของมันจะซัดด้วยการพิจารณาดูสถานการณ์ที่ผู้อื่นเขาประสบว่า เขาอยู่ในสถานการณ์ใดแล้วเราจะใช้ธรรมข้อไหน

สถานการณ์ที่ 1 คน อื่นเขาอยู่ดีเป็นปกติ ไม่มีเรื่องเดือดเนื้อร้อนใจ แต่ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรเป็นพิเศษ ในกรณีนี้เราจะต้องมีเมตตา คือ ความรัก ความปรารถนาดี ความเป็นมิตร

เมตตาก็มาจากต้นศัพท์เดียวกับคำ ว่ามิตร มิตตะ แปลง อิ เป็น เอ ก็เป็น เมตตะ เติมสระอาเข้าไปเป็นเมตตา รากศัพท์เดียวกัน เมตตาจึงแปลว่า น้ำใจมิตร คุณสมบัติของมิตร หรือความเป็นมิตร ในภาษาสันสกฤตเรียกว่า ไมตรี เป็นอันว่า สำหรับคนที่อยู่เป็นปกติ เราก็มีความเป็นมิตร มีไมตรี มีเมตตา มีความรัก ปรารถนาดี อยากให้เขาเป็นสุข

สถานการณ์ที่ 2 คนอื่นเขาตกต่ำเดือดร้อน พอเขาทรุดต่ำตกลงไปจากสถานะเดิม คือ ประสบความเดือดร้อน เราก็ย้ายไปสู่คุณธรรมข้อที่ 2 คือ กรุณา ซึ่งได้แก่ความมีใจพลอยหวั่นไหวเมื่อผู้อื่นประสบความทุกข์ แล้วก็อยากจะช่วยเหลือปลดเปลื้องความทุกข์หรือแก้ไขปัญหาของเขา ทำให้เขาขึ้นมาสู่ภาวะปกติ หายทุกข์ หายร้อน

พูดสั้นๆ ว่า เขาอยู่ดีเป็นปกติ เราเมตตา แต่ถ้าเขามีทุกข์เดือดร้อน เราก็กรุณากันบ่อย แสดงว่าคนไทยคงมีเมตตากรุณามาก แต่ข้อต่อไปคนไทยไม่ค่อยพูดถึง

สถานการณ์ที่ 3 คนอื่นเขาขึ้นสู่ภาวะที่สูงขึ้นไป คือ ประสบความสำเร็จ ทำสิ่งที่ถูกต้องดีงามน่าชื่นชม มีความก้าวหน้า หรือมีความสุข เรียกง่ายๆ ว่า เขาได้ดีมีสุข เราก็ย้ายต่อไปสู่คุณธรรมข้อที่ 3 คือ มุทิตา ซึ่งแปลว่า พลอยยินดีด้วย เอาใจส่งเสริมสนับสนุน

คนเรานี้มีประสบสถานการณ์กัน อยู่โดยทั่วไปก็ 3 อย่างนี่แหละ คือ เป็นปกติ ตกต่ำ ขึ้นสูง เราก็มีเมตตา กรุณา มุทิตา ไว้ปฏิบัติต่อเขาครบทั้ง 3 สถานการณ์ แต่แค่นี้ไม่จบ ยังมีอีกข้อหนึ่ง เป็นสถานการณ์ที่ 4 ข้อนี้น่าสงสัย เพราะ 3 สถานการณ์ก็น่าจะครบแล้ว ยังมีอะไรอีก สถานการณ์ที่ 4 คือ อะไร

สถานการณ์ที่ 4 ข้อนี้ยากหน่อย คงต้องอธิบายยาวสักนิด

จะ ต้องเข้าใจว่า สามข้อแรกนั้น เป็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ หรือคนกับคน แต่ในโลกมนุษย์เรานี้ เราไม่ได้อยู่กับมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น เราต้องอยู่กับความเป็นจริงของชีวิตในธรรมชาติด้วย หมายความว่า โลกมนุษย์นั้นต้องตั้งอยู่บนฐานของกฎธรรมชาติ หรือความเป็นจริงของธรรมชาติอีกชั้นหนึ่ง เราจึงมีความสัมพันธ์ 2 ด้าน หรือ 2 ระดับ คือ

ด้านหนึ่ง เราอยู่กับคนด้วยกัน คือเพื่อนมนุษย์ที่เรียกว่า สิ่งแวดล้อมทางสังคม เรามีความสัมพันธ์ที่ดี เรามีเมตตา กรุณา มุทิตา ช่วยเหลือกันดี ก็อยู่กันด้วยดี มีความร่มเย็นเป็นสุข

อีกด้านหนึ่ง ลึกลงไป ชีวิตของเราอยู่กับความเป็นจริงของกฎธรรมชาติ อยู่กับความเป็นจริงของโลกและชีวิต แม้แต่ร่างกายของเรานี้ ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของธรรมชาติ เป็นไปตามกฎธรรมชาติ ซึ่งไม่ฟังใครทั้งสิ้น เป็นหน้าที่ของเราเองที่จะต้องรู้เข้าใจมัน และปฏิบัติตัวให้ถูกต้องสอดคล้องกับมัน ด้านนี้แหละที่สำคัญ ซึ่งเราจะมองข้ามหรือละเลยไม่ได้

เมตตา กรุณา มุทิตา นั้นมาช่วยในด้านที่หนึ่ง ที่ชีวิตของเราไปเกี่ยวข้องกับเพื่อนมนุษย์ แต่ด้านที่สอง ชีวิตของเราต้องเกี่ยวข้องกับความเป็นจางของโลกและชีวิตที่เป็นไปตามกฎ ธรรมชาติ คือเป็นไปตามเหตุปัจจัยของมัน ในด้านนี้คนจะต้องมีปัญญา รู้จักรับผิดชอบตัวเอง ที่จะดำเนินชีวิตให้ดีงามถูกต้องด้วยตนเอง จะรอให้คนอื่นมาช่วยไม่ได้

ในข้อ 1-2-3 นั้น คนช่วยกันด้วยความรู้สึกที่ดีงาม แต่ข้อสี่ในความสัมพันธ์กับความเป็นจริงของโลกและชีวิตที่ไม่เข้าใครออกใคร นั้น เราจะต้องปฏิบัติต่อมันให้ถูกต้อง โดยใช้ปัญญา ทุกคนจึงต้องรู้จักรับผิดชอบตนเอง ไม่ใช่รอการช่วยเหลือพึ่งพา

คุณบิดามารดา (4) khaosod

คุณบิดามารดา (4) สุดพรรณนามหาศาล

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)



ใน กรณีของสามีภรรยา ถ้ามีความรักแบบแรกที่จะเอาแต่ใจฝ่ายตัวเอง ก็คือ ตัวเองต้องการเขามาเพื่อบำเรอความสุขของตน ถ้าอย่างนี้ก็ต้องตามใจตัว ไม่ช้าก็จะต้องเกิดปัญหาการทะเลาะวิวาท หรือเบื่อหน่าย แล้วก็อยู่กันไม่ได้ ไม่ยั่งยืน แต่ถ้ามีความรักแบบที่สอง คือ อยากให้เขาเป็นสุข เราก็จะมีน้ำใจ พยายามทำให้เขาเป็นสุข

ถ้ามีความรักแบบที่สองอยู่ ความรักก็จะยั่งยืนแน่นอน เพราะต่างฝ่ายต่างก็คิดว่า ทำอย่างไรจะทำให้อีกฝ่ายหนึ่งมีความสุข สามีก็คิดว่าทำอย่างไรจะให้ภรรยามีความสุข ภรรยาก็คิดแต่ว่า จะทำอย่างไรให้สามีมีความสุข คิดกันอย่างนี้ก็คือมีน้ำใจและมีแต่จะเกื้อกูลกัน ทำให้ครอบครัวอยู่ยั่งยืน ชีวิตก็มีความสุขได้

ที่พูดมานี้ก็เพื่อให้เห็นว่า เราจะต้องพัฒนาคนในเรื่องความรักให้รู้จักความรักทั้ง 2 อย่าง อย่างน้อยก็ให้มีดุลยภาพในเรื่องความรัก 2 ข้อนี้ แล้วพัฒนายิ่งขึ้น จนกระทั่งให้คนเราอยู่กันด้วยความรักประเภทที่สอง

ลักษณะของความรัก มีอยู่อย่างหนึ่ง คือมันนำความสุขมาให้ด้วย ความรักแบบที่หนึ่งก็ทำให้เกิดความสุข เมื่อได้สนองความต้องการที่ตัวจะได้ ส่วนความรักประเภทที่สอง ก็ทำให้เกิดความสุข เมื่อได้สนองความต้องการที่จะให้เขามีความสุข

ฉะนั้น คนที่ทำจิตให้มีเมตตาต่อเพื่อมนุษย์ได้หมด ก็จะมีความสุขได้มากเหลือเกิน คือเวลาเห็นเพื่อนมนุษย์มีความสุข หรือเราทำให้เขามีความสุขได้ ตัวเราเองก็มีความสุขด้วย คนประเภทนี้ก็เลยมีโอกาสที่จะมีความสุขมากยิ่งขึ้น คนที่พัฒนามาถึงระดับนี้ก็เช่น พระโสดาบัน เป็นต้น พระโสดาบันนั้นไม่มีมัจฉริยะ ไม่มีความตระหนี่ ไม่มีความหวงแหน มีความพร้อมที่จะให้ เพราะฉะนั้น คุณธรรมคือเมตตาก็เจริญมากขึ้นด้วย และท่านก็มีความสุขยิ่งขึ้นมากมาย จนกระทั่งเป็นพระอรหันต์ก็มีแต่สุข ไม่มีทุกข์เหลืออยู่เลย

ความรักของพ่อแม่ถึงแม้จะจำกัดอยู่กับลูกก็จริงอยู่ แต่ก็ไม่ใช่เป็นการหวงแหนอย่างความรักแบบที่หนึ่ง คือพ่อแม่รักลูก ความหวงนั้นจะมีแต่ในแง่ที่อยากให้ลูกมีความสุข ไม่ยอมให้ใครมาทำให้ลูกทุกข์ แต่ไม่ได้หวงแหนที่ว่าต้องการครอบครองเอาไว้เป็นของตัว เพื่อบำเรอความสุขของตัว ไม่มีความหึง คือไม่ได้หวงผัสสะไว้เพื่อตัว และไม่ได้หวงใจ แต่ตรงกันข้าม ถ้าลูกมีคู่ครองที่ดีมีความสุข พ่อแม่ก็พลอยมีความสุขไปด้วย

ทุกคนต้องเป็นพรหม เพื่ออภิบาลสังคมให้ยั่งยืน

พระคุณของพ่อแม่มากมายหลายอย่างที่พูดมานี้ รวมแล้วก็มาจากพรหมวิหาร 4 นั่นเอง เนื่องจากพรหมวิหาร 4 นี้ มีความสำคัญมาก ไม่เฉพาะพ่อแม่จะมีต่อลูกเท่านั้น แต่จะต้องขยายออกไปให้ทุกคนมีต่อเพื่อนมนุษย์ หรือเพื่อนร่วมโลกทั่วทุกตัวคน เพราะฉะนั้นจึงขอถือโอกาสอธิบายให้ละเอียดกว่าที่พูดไว้ข้างต้นนั้นอีกหน่อย

เราทุกคนอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์ เริ่มตั้งแต่พ่อแม่พี่น้องสามีภรรยาในครอบครัวเป็นต้นไป ในการอยู่ร่วมกับเพื่อนมนุษย์นั้นมีหลักธรรมประจำใจอยู่หมวดหนึ่ง สำหรับเป็นหลักในการที่จะวางใจหรือมีท่าทีแห่งจิตใจต่อผู้คนรอบด้าน ธรรมชุดนี้ที่จริงก็เป็นหลักธรรมง่ายๆ แต่บางทีเราก็ใช้ไม่เป็น นี่ก็คือ พรหมวิหาร 4 ที่พูดไว้แล้วข้างต้นนั่นเอง ได้แก่ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา บางทีที่เราดำเนินชีวิตกันมาจนบัดนี้ เราก็ยังเข้าใจและใช้ธรรมชุดนี้ได้ไม่สมบูรณ์

พรหมวิหาร แปลว่า ธรรมประจำใจของพรหม พรหมนั้น ศาสนาพราหมณ์เขาถือว่า เป็นผู้สร้างโลก เป็นเทพเจ้าผู้ดลบันดาลสิ่งทั้งหลาย เป็นผู้สร้างสรรค์และอภิบาลโลก แต่พระพุทธเจ้าทรงสอนว่าเราไม่ต้องไปรอพระพรหมให้มาสร้างโลก อภิบาลโลก เราทุกคนควรจะเป็นผู้มีส่วนรวมสร้างสรรค์อภิบาลโลกด้วยกันทุกคน เพราะฉะนั้นจึงมาทำตัวให้เป็นพรหมกันเถิด แล้วพระพุทธเจ้าก็ตรัสแสดงพรหมวิหารไว้ให้เราทุกคนปฏิบัติ เพื่อให้เราทุกคนเป็นพระพรหม คือเป็นผู้สร้างสรรค์และอภิบาลสังคม ดังนั้น เราจะเป็นพระพรหมโดยสมบูรณ์ ก็ต้องมีธรรมทั้ง 4 ข้อ คือมี

1.เมตตา รัก ปรารถนาดี อยากให้เขามีความสุข

2.กรุณา สงสาร อยากช่วยเหลือให้เขาพ้นจากทุกข์

3.มุทิตา พลอยยินดีด้วย เมื่อเขาสุขสำเร็จทำได้ดี

4.อุเบกขา วางทีเฉยเป็นกลาง ให้ทุกอย่างเป็นไปตามธรรม

คุณบิดามารดา (3) khaosod

คุณบิดามารดา (3) สุดพรรณนามหาศาล

คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์

(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)



ความ รักของพ่อแม่คืออยากทำให้ลูกเป็นสุข และมีความสุขเมื่อเห็นลูกเป็นสุข เมื่ออยากเห็นลูกมีความสุข พ่อแม่ก็หาทางทำทุกอย่างให้ลูกมีความสุข วิธีสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้ลูกมีความสุข ก็คือ การให้แก่ลูก เพราะฉะนั้นพ่อแม่ก็จะมีความสุขในการให้แก่ลูก เพราะการให้นั้นเป็นการทำให้ลูกมีความสุข

ตามปกติ การให้คือการสละหรือการยอมเสียไป ซึ่งอาจจะทำให้ฝืนใจและเป็นความทุกข์ แต่พอมีความรักแบบที่สอง คือเมตตานี้มาก็ให้ด้วยความสุข เพราะฉะนั้น ความรักคือเมตตาจึงมาสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ ทำให้การให้กลายเป็นความสุข

ความ รักแบบที่หนึ่ง เป็นความต้องการที่จะหาความสุขให้ตนเอง พอเขามีความทุกข์ลำบากเดือดร้อน หรืออยู่ในภาวะที่ไม่สามารถสนองความต้องการของเราได้ เราก็เบื่อหน่าย รังเกียจ แต่ความรักแบบที่สองต้องการให้เขามีความสุข พอเขามีความทุกข์เดือดร้อน เราสงสารอยากจะช่วยปลดเปลื้องความทุกข์ ให้เขาพ้นจากความลำบากเดือดร้อนนั้น

ความรักประเภทที่หนึ่งนั้น ต้องได้จึงจะเป็นสุข ซึ่งเป็นกระแสกิเลสของปุถุชนทั่วไป มนุษย์อยู่ในโลกนี้ เมื่อยังเป็นปุถุชนก็ต้อง การได้ต้องการเอา เมื่อได้เมื่อเอาแล้ว ก็มีความสุข แต่ถ้าต้องให้ต้องเสีย ก็เป็นทุกข์ วิถีของปุถุชนนี้ จะทำให้ไม่สามารถพัฒนาในเรื่องของคุณธรรม เพราะว่าถ้าการให้เป็นทุกข์เสียแล้ว คุณธรรมก็มาไม่ได้ มนุษย์จะต้องเบียดเบียนกัน แก้ปัญหาสังคมไม่ได้ แต่ถ้าเมื่อไรเราสามารถมีความสุขจากการให้ เมื่อไรการให้กลายเป็นความสุข เมื่อนั้นปัญหาสังคมจะถูกลดน้อยลงไป หรือแก้ไขได้ทันที เพราะมนุษย์จะเกื้อกูลกัน ความรักแบบที่สอง ทำให้คนมีความสุขจากการให้ จึงเป็นความรักที่สร้างสรรค์และแก้ปัญหา

เมื่อมนุษย์มีความสุขจากการ ให้ จะเป็นความสุขแบบสองฝ่ายสุขด้วยกัน คือ เราผู้ให้ก็สุขเมื่อเห็นเขามีความสุข ส่วนผู้ได้รับก็มีความสุขจากการได้รับอยู่แล้ว สองฝ่ายสุขด้วยกัน จึงเป็นความสุขแบบประสาน ความสุขแบบนี้ดีแก่ชีวิตของตนเองด้วย คือ ตนเองก็มีทางได้ความสุขเพิ่มขึ้น แล้วก็ดีต่อสังคม เพราะเป็นการเกื้อกูลกัน ช่วยให้เพื่อนมนุษย์มีความสุข ทำให้อยู่ร่วมกันด้วยดี

ความรักของ พ่อแม่ต่อลูกเป็นความรักแบบที่อยากเห็นลูกมีความสุข แล้วก็พยายามทำอะไรต่างๆ ให้ลูกมีความสุข เมื่อเห็นลูกมีความสุขพ่อแม่ก็มีความสุขด้วย ดังนั้น พ่อแม่จึงมีความสุขในการที่ได้ให้แก่ลูก ในขณะที่คนทั่วไปต้องได้จึงจะมีความสุข แต่พ่อแม่ให้แก่ลูกก็มีความสุข แม้ตัวเองจะต้องทุกข์เดือดร้อนพ่อแม่ก็ยอม

บางทีตัวเองต้องลำบาก เดือดร้อน แต่พอเห็นลูกมีความสุขก็มีความสุข ในทางตรงข้ามถ้าเห็นลูกไม่สบายหรือตกทุกข์ลำบาก พ่อแม่ก็มีความสงสาร ไม่มีความรังเกียจ ไม่มีความเบื่อหน่าย แล้วยังทนทุกข์ทนลำบากเพื่อลูกได้ด้วย

รักของพ่อแม่นี้เป็นรักแท้ที่ยั่งยืน ลูกจะขึ้นสูง ลงต่ำ ดีร้าย พ่อแม่ก็รัก ตัดลูกไม่ขาด ลูกจะไปไหนห่างไกล ยาวนานเท่าใด จะเกิดเหตุการณ์ผันแปรอย่างไร แม้แต่จะถูกคนทั่วโลกรังเกียจ ไม่มีใครเอาด้วยแล้ว พ่อแม่ผู้ให้กำเนิดก็ยังเป็นอ้อมอกสุดท้ายที่จะโอบกอดลูกไว้

นี้แหละ ที่ว่า เป็นการแยกความหมายของความรักเป็น 2 แบบ พ่อแม่มีความรักแบบที่ 2 ซึ่งเป็นรักแท้ คนทั่วไปเริ่มต้นก็มีความรักแบบแรก คืออยากได้เขามาทำให้ตัวเรามีความสุข แต่คนควรจะพัฒนาจากความรักแบบที่หนึ่งไปสู่ความรักแบบที่สอง คือ ให้ความ รักแบบที่สองเกิดมีขึ้นมาเพื่อช่วยสร้างดุลยภาพในเรื่องความรัก เช่น ระหว่างหนุ่มสาว ถ้ามีความรักแบบที่หนึ่งอย่างเดียวจะไม่ยั่งยืน ไม่ช้าไม่นานก็จะต้องเกิดปัญหาแน่นอน เพราะว่าความรักแบบที่หนึ่งนั้น ต้องการที่จะเอาเขามาเป็นเครื่องบำรุงบำเรอตัวเองเท่านั้น ถ้าเมื่อไรตนไม่สมใจปรารถนา เมื่อนั้นก็จะเกิดโทสะ มีความชิงชัง หรือไม่ก็เบื่อหน่าย แล้วปัญหาก็จะเกิดขึ้น

ฉะนั้น คนเราอาจจะเริ่มต้นด้วยความรักแบบที่หนึ่งได้ ตามเรื่อง ของปุถุชน แต่จะต้องรีบพัฒนาความรักแบบที่สองให้เกิดขึ้น พออยู่เป็นคู่ครองกันแล้ว ถ้ามีความรักแบบที่สองเข้ามาหนุน ก็จะทำให้อยู่กันได้ยั่งยืน ความรักแบบที่สองจะเป็นเครื่องผูกพันสำคัญที่ช่วยให้ชีวิตครองเรือนมีความ มั่นคง ดังนั้น ปุถุชนนี้อย่างน้อยก็มีความรัก 2 แบบมามีดุลยภาพกันก็ยังดีขอให้ได้แค่นี้ก็พอ

คุณบิดามารดา (2) khaosod

คุณบิดามารดา (2) สุดพรรณนามหาศาล

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)



จาก คุณธรรมในใจที่มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา พ่อแม่ก็แสดงออกมาภายนอก ด้วยการลง มือทำ คือปฏิบัติต่อลูกโดยการเลี้ยงดู และฝึกหัดอบรมสั่งสอน พร้อมทั้งทำหน้าที่ต่างๆ อย่างที่กล่าวมาข้างต้น 5 ข้อนั้น การปฏิบัติทั้งหมดนี้เรียกว่าการสงเคราะห์ ซึ่งสรุปได้ตามหลักสังคหวัตถุ เป็น 4 อย่าง คือ

1.พ่อแม่มีแต่การให้แก่ลูก ที่เรียกว่า ทาน

2.พ่อแม่พูดจาด้วยน้ำใจปรารถนาดี และอบรมสั่งสอนให้คำแนะนำชี้แจงบอกเล่าสิ่งที่เป็นประโยชน์เรียกว่า ปิยวาจา

3.พ่อ แม่ลงมือลงแรง เอาแรงกายของท่านทำโน่นทำนี่ให้โดยเฉพาะเมื่อลูกยังเล็กอยู่ทำอะไรเองไม่ได้ พ่อแม่ก็ทำให้ตั้งแต่อุ้มเรา จูงเรา ป้อนข้าว อาบน้ำ แต่งตัวให้ ฯลฯ การเลี้ยงดูต่างๆ ท่านต้องลงมือปฏิบัติโดยใช้เรี่ยวแรงของท่านช่วยเราทั้งนั้น การเอาแรงกายเข้าช่วยนี้ เรียกว่า อัตถจริยา

4.พ่อแม่อยู่กับลูก ร่วมสุขร่วมทุกข์กับลูก ทำตัวเข้ากับลูกได้ปฏิบัติต่อลูกทุกคนอย่างเสมอภาค เสมอต้นเสมอปลายกับลูก ไม่ถือเนื้อถือตัว อย่างลูกสมัยปัจจุบันนี้ บางทีเล่นศีรษะพ่อแม่ข้ามไปข้ามมา ท่านก็ไม่ถือสา แต่คนอื่นมาทำอย่างนั้นไม่ได้พ่อแม่จะโกรธเอา ข้อนี้เรียกว่า สมานัตตตา

อัน นี้เป็นหลักปฏิบัติที่ท่านเรียกว่า สังคหวัตถุ 4 ประการ ซึ่งพ่อแม่มีต่อลูกเป็นประจำ แต่ทั้งหมดนั้น โดยสรุปแล้วก็รวมเป็นการสงเคราะห์ 2 ประเภทคือ

1.อามิสสงเคราะห์ สงเคราะห์ด้วยอามิสคือวัตถุสิ่งของ เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เป็นต้น ข้อนี้ชัดเจนอยู่แล้ว

2.ธรรม สงเคราะห์ สงเคราะห์ด้วยธรรม คือการแนะนำสั่งสอนให้รู้จักชั่วดี บาปบุญ เหตุผล ให้เจริญด้วยคุณธรรมความดี มีสติปัญญา พัฒนายิ่งขึ้นไป รวมทั้งการแสดงเมตตากรุณาที่ท่านปฏิบัติต่อลูกอยู่ตลอดเวลา มีความรักความเอาใจใส่ มีความอดทนต่อลูก ลูกจะทำอะไรเป็นเหตุให้พ่อแม่ต้องวุ่นวายยุ่งยาก ท่านก็อดทน เป็นต้น

จาก การสงเคราะห์ของพ่อแม่นี่แหละ ลูกก็จะเอาไปเป็นแบบอย่างในการสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน สิ่งที่ควรย้ำไว้ก็คือ การสงเคราะห์นั้น ประการสำคัญอยู่ที่ต้องให้ครบทั้งสองอย่างคือ อย่ามีเพียงอามิสสงเคราะห์ ซึ่งเป็นการสงเคราะห์ด้วยวัตถุสิ่งของอย่างเดียว ต้องมีธรรมสงเคราะห์ด้วย จึงจะมีความเจริญพัฒนาที่สมบูรณ์

"รักของพ่อแม่ เป็นรักแท้ที่ยั่งยืน"

ได้บอกแล้วว่า ที่พ่อแม่ทำทุกอย่างเพื่อลูกนั้น ก็ด้วยความรัก เราจึงควรรู้จักความรักของพ่อแม่ให้ดีสักหน่อย

ความรัก ถ้าแยกตามหลักพระพุทธศาสนา ก็แบ่งง่ายๆ ก่อนว่ามี 2 แบบ

ความ รักแบบที่ 1 คือ ความชอบใจในบุคคลหรือสิ่งที่จะเอามาบำรุงบำเรอความสุขของเรา ชอบใจคนนั้นเพราะว่า จะมาสนองความต้องการช่วยบำรุงบำเรอ ทำให้เรามีความสุขได้ อะไร ที่จะทำให้เรามีความสุข เราชอบใจ เราต้องการมัน นี่คือ ความรักแบบหนึ่ง ซึ่งมีมากทีเดียว

ความรักแบบที่ 2 คือ ความต้องการให้คนอื่นมีความสุข หรือความปรารถนาให้คนอื่นมีความสุข ความรักของพ่อแม่เป็นแบบที่ 2 นี้ คือ อยากให้ลูกมีความสุข

ความรัก 2 อย่างนี้ แทบจะตรงข้ามกันเลย แบบที่ 1 อยากได้เขามาบำเรอความสุขของเรา (จะหาความสุขจากเขา หรือเอาเขามาทำให้เราเป็นสุข) แต่แบบที่ 2 อยากให้เขาเป็นสุข (จะให้ความสุขแก่เขา หรือทำให้เขาเป็นสุข) ความรักมี 2 แบบอย่างนี้ซึ่งเห็นได้ในชีวิตประจำวัน

ความรักที่เด็กหนุ่มสาวพูด กันมาก คือ ความรักแบบที่ว่า ชอบใจอยากได้เขามาสนองความต้องการของตน ทำให้ตนมีความสุข แต่ในครอบครัวจะมีความรักอีกแบบหนึ่งให้เห็น คือ ความรักระหว่างพ่อแม่กับลูก โดยเฉพาะความรักของพ่อแม่ต่อลูก คือความอยากให้ลูกเป็นสุข

ฉะนั้น ตอนแรกจะต้องแยกระหว่างความรัก 2 แบบนี้เสียก่อน ความรักชอบใจอยากให้คนอื่นมาบำเรอความสุขของเรานี้ ทางพระเรียกว่า ราคะ ส่วนความรักที่อยากให้คนอื่นเป็นสุข ท่านเรียกว่า เมตตา อะไรจะตามมาจากความรักทั้ง 2 แบบนี้ ความรัก 2 แบบนี้ มีลักษณะต่างกัน และมีผลต่างกันด้วย

ถ้ามีความรักแบบที่ 1 ก็ต้องการได้ ต้องการเอาเพื่อตนเอง เมื่อทุกคนต่างคนต่างอยากได้ ความรักประเภทนี้ ก็จะนำมาซึ่งปัญหา คือการเบียดเบียนแย่งชิงกันและกัน พร้อมด้วยความเห็นแก่ตัว

ส่วนความรักแบบที่ 2 อยากให้ผู้อื่นเป็นสุข เมื่ออยากให้ผู้อื่นเป็นสุข ก็จะพยายามทำให้เขาเป็นสุข เหมือนพ่อแม่รักลูก ก็จะพยายามทำให้ลูกเป็นสุข และเมื่อทำให้ลูกเป็นสุขได้ ตัวเองจึงจะเป็นสุข

คุณบิดามารดา (1) khaosod

คุณบิดามารดา (1) สุดพรรณนามหาศาล

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)



พ่อ แม่นั้นมีอุปการคุณแก่เรามากมาย ในทางพระศาสนาท่านบรรยายไว้นานัปการ แม้กวีทั้งหลายก็ได้เขียนบรรยายกันไว้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ปรากฏเป็นคำกลอนและคำประพันธ์ต่างๆ ที่บรรยายถึงคุณของบิดามารดา เพื่อให้ลูกได้รู้ตระหนักมองเห็นความสำคัญและแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อท่าน

เมื่อว่าโดยย่อ ตามหลักพระศาสนา พ่อแม่นั้นทำหน้าที่สำคัญ คือ

1.ท่านห้ามปรามเราไม่ให้ทำความชั่วช้าเสียหาย ป้องกันเราไม่ให้ตกไปในทางที่ต่ำทรามมีอันตราย

2.ท่านสั่งสอนแนะนำเราให้ตั้งอยู่ในความดี ชักนำเราให้มุ่งไปในทางที่จะพบความสุขความเจริญ

3.ท่านให้เราได้เล่าเรียนศิลปวิทยามีความรู้ที่จะไปประกอบอาชีพการงานเพื่อตั้งตัวให้เป็นหลักฐานต่อไป

4.ถึงเวลาถึงวัยที่จะมีครอบครัวท่านก็เป็นธุระเอาใจใส่จัดแจงช่วยเหลือ โดยรับที่จะทำด้วยความเต็มใจ


5.ทรัพย์สมบัติของท่าน ก็เป็นของลูกนั่นเอง ซึ่งท่านจะมอบให้ในเวลาอันสมควรเป็นระยะๆ ไป จนครั้งสุดท้ายที่เรียกว่ามรดก

ทั้ง หมดนี้ เป็นที่รู้กันตามหลักการของพระศาสนา แต่ที่จริงนั้นท่านเพียงวางไว้ให้เป็นหัวข้อหรือรายการปฏิบัติที่สำคัญๆ เท่านั้น การปฏิบัติปลีกย่อย ยังมีอีกมากมาย รวมความก็คือ พ่อแม่นั้นทำทุกอย่างเพื่อลูกด้วยความรัก ว่าโดยคุณธรรมก็คือ การกระทำที่ออกมาจากพรหมวิหาร 4 ประการนั่นเอง คือ

1.ใจของพ่อแม่นั้นประกอบด้วยความรักความปรารถนาดีเอาใจใส่เลี้ยงดูลูกให้เจริญเติบโตและงอกงามมีความสุข คือเมตตา

2.ประกอบด้วยกรุณา มีความสงสาร คอยช่วยเหลือให้พ้นจากความยุ่งยากเดือดร้อน ช่วยแก้ไขปัญหาและปลดเปลื้องความทุกข์

3.มีมุทิตา คอยส่งเสริม ให้กำลังใจ และพลอยยินดีเมื่อลูกประสบความสำเร็จ ประสบความก้าวหน้า หรือทำความดีงามถูกต้อง

4.มี อุเบกขา ในเวลาที่สมควร เช่น เมื่อลูกจะต้องรับผิดชอบตัวเอง หรือควรรู้จักฝึกหัดทำอะไรด้วยตนเอง ท่านก็จะให้โอกาสแก่ลูกที่จะพัฒนาตัวเอง คือ ไม่ใช่จะทำให้ไปหมดทุกอย่างจนกระทั่งลูกทำอะไรไม่เป็น อันนี้เรียกว่า วางอุเบกขา

นี่คือหลัก พรหมวิหาร 4 เรารู้กันว่าพ่อแม่นั้น เป็นตัวอย่างของคนที่มีพรหมวิหารธรรม 4 ประการ แต่ในเรื่องนี้มีข้อสังเกตว่า เราเน้นกันมากในพรหมวิหารข้อที่ 1 เมื่อพูดถึงผู้ใหญ่ ว่าผู้ใหญ่จะต้องมีเมตตาแล้วก็มักจะตามด้วยข้อ 2 คือกรุณา ว่ามีเมตตากรุณา และบุคคลผู้มีเมตตากรุณา ที่แสดงออกอย่างชัดเจน ก็คือ พ่อแม่ของเรานี่แหละ

ข้อสังเกตสำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ พ่อแม่ในเมืองไทยเรานี้แสดงเมตตา กรุณา และมุทิตา ได้ง่าย หรือพร้อมที่จะแสดงพรหมวิหาร 3 ข้อแรกนี้ได้ตลอดเวลา แต่มักวางอุเบกขาไม่เป็น หรือแม้แต่ไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิดต่อข้ออุเบกขา ทำให้ลูกเติบโตอย่างไม่สมบูรณ์ เช่น ไม่รู้จักโต ทำอะไรไม่เป็น และไม่รู้จักรับผิดชอบ พรหมวิหารข้อสุดท้ายนี้จะปฏิบัติได้ถูกต้องจะต้องใช้ปัญญา จึงต้องศึกษาให้ดี ตอนแรกจะพูดเป็นแนวไว้ก่อน

พ่อแม่มีเมตตา ในยามปกติ เมื่อลูกเจริญเติบโตอยู่ดีตามที่ควรจะเป็น (เขาปกติ)

พ่อแม่มีกรุณา ยามลูกมีทุกข์ เช่น เจ็บป่วย หรือมีเรื่องลำบากเดือดร้อน (เขาตกต่ำ)

พ่อ แม่มีมุทิตา ยามเมื่อลูกทำอะไรได้ดีมีสุขหรือประสบความสำเร็จ เช่นสอบได้ที่ดีๆ สอบเข้างานได้ หรือได้เลื่อนยศเลื่อนตำแหน่ง (เขาขึ้นสูง)

แต่ในบางกรณี พ่อแม่ไม่อาจใช้เมตตา กรุณา หรือมุทิตา เพราะจะทำให้เกิดความเสียหาย เช่น อาจจะเสียหายแก่ชีวิตของลูกเอง หรือเสียธรรม ในกรณีอย่างนั้น จะต้องรู้จักวางอุเบกขา โดยเฉพาะในกรณีที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบ คือ

พ่อแม่มีอุเบกขา เมื่อลูกสมควรต้องรับผิดชอบการกระทำของเขา เช่น ลูกทำความผิด ลูกทะเลาะกัน พ่อแม่วางตัวเป็นกลาง เพื่อให้มีการพิจารณา วินิจฉัย ตัดสิน และให้เขาปฏิบัติหรือได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม

พ่อแม่มีอุเบกขา เมื่อลูกรับผิดชอบตนเองได้ เช่น เรียนจบแล้ว มีการงานทำเป็นหลักฐาน ออกเรือนมีครอบครัวของตัวเขาเองพ่อแม่รู้จักวางตัววางเฉย ไม่เข้าไปก้าวก่ายแทรก แซงในชีวิตส่วนตัวของครอบครัวของเขา

คนดี khaosod

คนดี

ธรรมะวันหยุด

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting



คน มีจิตใจที่ดีงาม มีคุณธรรมจริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทั้งด้านจิตใจและพฤติกรรมที่แสดงออก เรียกว่า เป็นสัตบุรุษ คือ คนดี จะต้องประกอบด้วยธรรม 7 ประการ คือ สัทธา หิริ โอตตัปปะ พาหุสัจจะ วิริยะ สติ และ ปัญญา

สัทธา คือ เชื่อเหตุผลที่ควรเชื่อถือ เช่น เชื่อในกรรมและผลของกรรมว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว สัทธานี้เป็นคุณให้บุคคลประ พฤติความดีมั่นคง ไม่เช่นนั้น ความประ พฤติก็จะผันแปรไป เพราะเหตุการณ์นั้นๆ เข้ามายั่วยวนหรือคุกคามให้ลังเลใจหรือหวั่นกลัว จึงมีพระพุทธภาษิตสรรเสริญไว้ว่า "ศรัทธาตั้งมั่นแล้วยังประโยชน์ให้สำเร็จ"

หิริ คือ ความละอายแก่ใจ ไม่กล้าทำบาป คู่กับ โอตตัปปะ คือ ความเกรงกลัวต่อความผิด ธรรม คือ หิริโอตตัปปะ ทั้งสองประ การนี้มีพระพุทธภาษิตสรรเสริญว่า "เป็นธรรมอันผ่องแผ้วและรักษาสัตว์โลกไว้เป็นอันดี" เมื่อเกิดมีในสันดานของผู้ใด ย่อมเป็นคุณอุดหนุนผู้นั้นให้ประพฤติกาย วาจา ใจ ในทางบริสุทธิ์ ทั้งในที่ลับและที่แจ้ง รักษาคุ้มครองผู้นั้นไว้มิให้ตกไปในที่ชั่ว

พาหุสัจจะ คือ การได้ยินได้ฟังมาก ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก ทรงจำธรรมไว้ได้มาก รู้จักบาป บุญ คุณ โทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ คุณข้อนี้เป็นทางดำเนินแห่งความประพฤติของบุคคล ให้ได้สำเร็จตามความประสงค์ เป็นปทัฏฐานแห่งการดำเนินชีวิต หากขาดการได้ยินได้ฟัง ขาดการศึกษา ก็ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ยากที่จะประพฤติ กาย วาจา ให้ถูกต้องได้ ฉะนั้นคุณข้อนี้จึง "เป็นธรรมเครื่องทำที่พึ่งของบุคคล"

วิริยะ คือ ความเพียรอันให้กล้าหาญ ในอันที่จะระมัดระวัง ละเว้นความชั่วต่างๆ ในสิ่งที่จะทำและรักษาความดีนั้นๆ คุณข้อนี้ "เป็นเหตุยังบุคคลให้ล่วงพ้นจากทุกข์ได้" บุคคลที่ไร้ความเพียร ย่อมไม่ได้รับความสุข ย่อมตกอยู่ในความทุกข์เสมอไป กิจการทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นไปทางโลกก็ตาม ทาง ธรรมก็ตาม จำต้องอาศัยความเพียรช่วยอุปถัมภ์ จึงจะสำเร็จลุล่วงได้เป็นอย่างดี

สติ คือ ความระลึกได้ ในเมื่อจะทำ จะพูด จะคิด หรือกำลังทำ พูด คิด ถ้าบุคคลไม่มีสติกำกับ กิจที่ต้องทำ ถ้อยคำที่ต้องพูด เรื่องที่ต้องคิด ก็มักผิดพลาดไปหมด คุณข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญทั้งทางโลกทั้งทางธรรม

ปัญญา คือ ความรู้เหตุผลนั้นๆ โดยถ่องแท้ คนผู้เกิดมาในโลก ถ้าไร้ปัญญา คือ ความรอบรู้เข้าใจในเหตุผล ก็ไม่สามารถหลีกพ้นจากความวิบัติ และถึงความเกษมสำราญได้ คุณข้อนี้เป็นสิ่งสำคัญของบุคคล ทำให้ได้ประสบอิฐผล อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ยังความยินดีปรีดาให้เกิดขึ้น และทำคนให้บริสุทธิ์ สมด้วยพระพุทธภาษิตว่า "ปัญญาเป็นแก้วของนรชน บุคคลย่อมบริสุทธิ์ได้เพราะปัญญา"

ธรรม 7 ประการ ดังกล่าวมานี้ มีอยู่ในคนดีที่เรียกว่า สัตบุรุษ จึงได้ชื่อ ธรรมของสัตบุรุษ ต่างเป็นอุปการะให้ประพฤติเป็นคนสงบเสงี่ยม สุภาพเรียบร้อย

ผู้ ที่ประกอบด้วยคุณธรรมเหล่านี้ แม้ชีวิตดับลับล่วง คนทั้งปวงก็ยังยก ย่องต่อคุณธรรมของบุคคลนั้น พากันสรรเสริญผู้นั้นตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ประดุจดังว่าไม่แก่และไม่ตาย

วันพุธที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คุณธรรมของนักการเมืองที่ดี โสเครติส oknation

คุณธรรมของนักการเมืองที่ดีตามแนวคิดของ โสเครตีส ได้แก่

(1) ปัญญา (Wisdoms) หมาย ถึงความรู้เกี่ยวกับความดี คือรู้ว่าอะไรดีไม่ดี ความดี สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล และเหตุผลของความดีจะทำให้มนุษย์มีความสุข มนุษย์ส่วนมากทำความชั่วเพราะความโง่เขลา ไม่รู้ว่าความดีคืออะไร ถ้ามนุษย์รู้ว่าความดีคืออะไร จะไม่ทำความชั่ว เพราะความชั่วทำให้เป็นทุกข์ มนุษย์ที่เกิดมาในโลกนี้ต้องการความสุข ถ้ามนุษย์รู้ว่าความดีคืออะไร เขาก็จะทำแต่ความดี เพราะความดีทำให้เกิดความสุข ผู้ปกครองจะต้องเป็นผู้ประพฤติดีและเว้นความชั่วเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม ให้ประชาชนมั่นใจว่าการประพฤติดีละเว้นความชั่วทำให้ชีวิตมีความสุข การประพฤติชั่วถูกปฏิเสธจากสังคมและทำให้ชีวิตเป็นทุกข์

(2) ความกล้าหาญ (Courage) หมาย ถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งที่เราควรกลัวและไม่ควรกลัว มีความกล้าหาญที่จะทำความดีในทุกสถานการณ์ ทุกสถานที่ แม้การกระทำความดีนั้นจะเสี่ยงด้วยชีวิตก็ตามไม่ได้กล้าแบบบ้าปิ่น แต่มีเหตุผลที่จะรักษาความดีให้ดำรงอยู่ต่อไป เช่น ผู้ปกครองกล้าที่จะทำในสิ่งที่ดี กล้าปราบปรามในสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย ไม่ทำอะไรที่มีสองมาตรฐาน การที่ปล่อยความชั่วให้คงอยู่เพื่อเอาตัวรอด ทำให้ความดีสูญหายไปเป็นการกระทำที่ไม่ใช่วิสัยของผู้ปกครอง

(3) ควบคุมตนเอง (Temperance) หมาย ถึง การมีชีวิตตามทำนองคลองธรรมคุณงามแห่งความดี การไม่ปล่อยให้ชีวิตต้องตกเป็นทาสของอารมณ์และความปรารถนาต่างๆ ที่ไม่ใช่ความดี การได้ควบคุมตนเองทำให้ได้ใช้สติปัญญาในการแก้ปัญหาได้อย่างเต็มที่ การใช้ปัญญาในการแสวงหาเหตุผลเพื่อรักษาตนให้ดำรงความดีอยู่ตลอดเวลา ผู้ปกครองเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน ต้องเป็นคนสาธารณะ ฉะนั้นการได้รู้จักควบคุมตนเองมีโอกาสทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนมาก ที่สุด ผู้ปกครองต้องทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีตลอดเวลา

(4) ความยุติธรรม (Justice) หมาย ถึง การแสดงออกในรูปของการกระทำที่เคารพสิทธิของคนอื่น และการไม่ยอมทำความชั่วต่อผู้อื่น คนที่ยุติธรรมไม่จำเป็นต้องตอบแทนการกระทำที่อยุติธรรมด้วยความอยุติธรรม ผู้ปกครองต้องแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้รักความยุติธรรม และทำให้สังคมมีความยุติธรรมและสามารถให้ความยุติธรรมกับสังคม กล้าที่จะดำรงความยุติธรรมไว้ให้ได้ ถ้าผู้ปกครองในสังคมใดไม่มีความยุติธรรมหรือไม่กล้าที่จะทำให้ความยุติธรรม เป็นที่เชื่อถือของสังคม หรือมีสองมาตรฐานสังคมนั้นย่อมไม่มีความสุข วุ่นวาย

(4) การปฏิบัติหน้าที่ทางศาสนา (Piety) หมาย ถึง การกระทำความดี และยกย่องสิ่งที่ควร ยกย่องศาสนาทุกศาสนาสอนให้กระทำความดี ผู้ปกครองต้องนับถือศาสนาและยึดมั่นในหลักศาสนาที่ตนนับถือโดยเคร่งครัด เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับสังคม ทะนุบำรุงศาสนาโดยไม่มีอคติให้เจริญรุ่งเรือง

โส เครตีส เชื่อในหลักธรรมและความดี โสเครตีส นั้นเชื่อว่าผู้ปกครองนั้นต้องมาจากผู้ที่มีความรู้หรือเป็นปราชญ์ เพราะผู้ที่มีความรู้หรือปราชญ์ย่อมทำแต่ความดีและรักษาความดี เพราะความดีทำให้สังคมตลอดจนประชากรของสังคมมีความสุข

From: http://www.oknation.net/blog/piya88/2010/09/12/entry-1

คนดีแต่พูด oknaion

คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔

. เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย.

. อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย.

. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้

. ออกปากพึ่งไม่ได้.

ลักษณะของคนดีแต่พูด มีเท่าไร อะไรบ้าง ?

มี ๔ จำพวก คือ

. เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย

. อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย

. สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้

. ออกปากพึ่งมิได้

เก็บเอาของล่วงแล้วมาปราศรัย คืออย่างไร ?

คือ พูดแต่ของที่ล่วงมาแล้ว เช่น มีลาภสักการะที่ควรจะแบ่งปันเพื่อน แต่ไม่แบ่ง กลับพูดว่า เมื่อวานนี้เราได้สิ่งนั้น ๆ เราคิดจะแบ่งให้เพื่อนแต่รอเพื่อนไม่เห็นมาเวลานี้หมดเสียแล้ว

.อ้างเอาของที่ยังไม่มีมาปราศรัย คืออะไร ?

คือ พูดปรารภถึงข้างหน้า เพื่อปลุกปลอบเพื่อนให้ช่วยธุระของตน เช่น พูดว่า เอาเถอะเพื่อน เมื่องานสิ่งนี้สำเร็จ เราจะให้เพื่อนเท่านั้นเท่านี้.

สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ หมายถึงอย่างไร ?

หมายถึง พูดแต่สิ่งไม่มีประโยชน์ เช่น พูดว่า เพื่อนรักของสิ่งนี้เรามีเฉพาะอันเดียว ถ้าหากเรามีมากกว่านี้ เราจะแบ่งให้.

ออกปากพึ่งไม่ได้ หมายความว่าอย่างไร ?

หมายความว่า คอยพูด แสดงความขัดข้องต่าง ๆ เมื่อเพื่อนมาออกปากขอความช่วยเหลือ

FROM: http://www.oknation.net/blog/Duplex/2009/03/26/entry-7

วันอังคารที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การอยู่ในถิ่นอันสมควร (ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ)

ลั ก ษ ณ ะ ข อ ง ถิ่ น ที่ เ ห ม า ะ ส ม

๑. อาวาสเป็นที่สบาย หมายถึง เป็นที่ที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์ดี เช่น ถ้าเป็นบ้าน ก็ต้องให้มีต้นไม้ร่มรื่น น้ำไฟสะดวก ถ้าเป็นโรงเรียน ก็ต้องมีสุขลักษณะดี มีอากาศถ่ายเทสะดวก ไม่มีเสียงอึกทึก มีบริเวณกว้างขวาง มีสนาม กีฬา ถ้าเป็นที่ตั้งร้านค้า ก็ต้องเป็นบริเวณที่อยู่ในย่านชุมชน การคมนาคมสะดวก ถ้าเป็นจังหวัดหรือภาค ก็ต้องเป็นบริเวณที่สภาพภูมิศาสตร์ดี เช่น ไม่ลุ่มไม่ดอนเกินไป ไม่หนาวไม่ร้อนจนเกินไป เป็นต้น

๒. อาหารเป็นที่สบาย หมายถึง เป็นบริเวณที่สามารถจัดหาอาหารได้สะดวก เช่น อยู่ใกล้ตลาด หรือบริเวณที่มีการเกษตรกรรมสามารถผลิตอาหารได้เองอย่างพอเพียง และเป็นที่ที่สามารถประกอบธุรกิจการงานหารายได้มาเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ดี

๓. บุคคลเป็นที่สบาย หมายถึง บริเวณที่อยู่นั้นต้องไม่มีนักเลงอันธพาล โจรผู้ร้ายไม่ชุกชุม คนส่วนใหญ่ในละแวกนั้นเป็นคนดี มีศีลธรรม มีวินัย ใฝ่หาความก้าวหน้า

๔. ธรรมะเป็นที่สบาย หมายถึง ความดีงาม ความเหมาะสม ใน ๒ ลักษณะคือ ในทางโลก หมายถึง ในถิ่นนั้นมีโรงเรียน สถานศึกษาสำหรับให้ความรู้ได้อย่างดี ตลอดจนมีหลักการปกครอง การบริหารราชการบ้านเมืองที่ดีอีกด้วย

ในทางธรรม หมายถึง ในถิ่นนั้นมีพระภิกษุ หรือฆราวาสผู้รู้ธรรม เป็นบัณฑิต สามารถให้การอบรมสั่งสอนศีลธรรมได้อย่างดี หรือถิ่นที่พระพุทธ-ศาสนาแผ่ไปถึง สามารถให้ทาน รักษาศีล ฟังเทศน์ ทำสมาธิภาวนาได้เป็นนิจ

FROM : http://gotoknow.org/blog/favorable38/321915