วันเสาร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คำสอนสำคัญ khaosod

คำสอนสำคัญ

คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา



พระพุทธศาสนา มีหลักธรรมคำสอนระดับสูง คือ เรื่อง อริยสัจ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการดับทุกข์ อันได้แก่

1.ทุกข์ คือ เรื่องความทุกข์ของจิตใจมนุษย์ในปัจจุบัน

2.สมุทัย คือ เรื่องสาเหตุของความทุกข์ทั้งปวง

3.นิโรธ คือ เรื่องความดับสนิทของความทุกข์ทั้งปวง

4.มรรค คือ เรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้ถึงความดับทุกข์ทั้งปวง

ส่วน คำสอนระดับศีลธรรมนั้น ไม่ใช่คำสอนที่สำคัญของพุทธศาสนา เพราะศาสนาไหนๆ เขาก็มีคำสอนเช่นนี้กันอยู่แล้ว อีกทั้งคำสอนระดับศีลธรรม ก็ยังเจือปนอยู่กับเรื่องงมงายที่ปลอมปนเข้ามามากมายในภายหลัง ซึ่งไม่เป็นวิทยาศาสตร์ และขัดแย้งกับคำสอนระดับสูงอย่างมาก

ถ้าใครยึดถือในคำสอนระดับศีลธรรม ก็จะไม่เข้าใจคำสอนระดับสูงได้ ดังนั้น คำสอนส่วนใหญ่ของพระพุทธศาสนา จึงมุ่งเน้นมาที่เรื่องการดับทุกข์

พุทธศาสนาสอนว่า เมื่อเริ่มต้นศึกษาพุทธศาสนา อย่าเพิ่งสนใจเรื่องเหล่านี้ คือ

1.เรื่องว่าพระพุทธเจ้าหรือพระอริยะทั้งหลาย ว่าจะมีจริงหรือไม่?

2.เรื่องว่าสมาธิจะมีจริงหรือไม่? หรือทำให้เกิดอะไรที่น่าอัศจรรย์ขึ้นมาได้จริงหรือไม่?

3.เรื่องว่าเมื่อเราทำสิ่งใดไว้แล้ว จะต้องได้รับผลจากการกระทำนั้นในอนาคตจริงหรือไม่?

4.เรื่องที่ไร้สาระทั้งหลายของโลก ที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องการดับทุกข์

เหตุ ที่ไม่ให้สนใจเรื่องเหล่านี้ เพราะเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับเรื่องการดับทุกข์ และเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ ไม่มีของจริงมาให้ศึกษาตามหลักวิทยา ศาสตร์ ถ้าใครหลงไปศึกษา ก็จะทำให้เสียเวลาอยู่กับเรื่องเหล่านี้ อาจเกิดความเข้าใจผิดหรือไขว้เขวขึ้นมาได้

ต่อเมื่อศึกษาตามหลักการของพุทธศาสนาจนเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งแล้ว ปัญหาเหล่านี้ก็จะหมดสิ้นไปเอง

พระ พุทธศาสนาจะสอนเฉพาะเรื่องในปัจจุบันเท่านั้น ไม่สอนเรื่องหลังจากตายไปแล้ว คือ พุทธศาสนาจะสอนให้เราศึกษาชีวิตในปัจจุบัน โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ จนเกิดความเข้าใจชีวิตอย่างแจ่มแจ้งก่อน แล้วก็จะเข้าใจเรื่องภายหลังจากความตายได้ด้วยตนเอง โดยไม่เชื่อจากใครๆ

พุทธ ศาสนาจะสอนให้ใช้ปัญญานำหน้าความเชื่อ โดยสอนว่า อย่าเชื่อจากฟังต่อบอกต่อกันมา, อย่าเชื่อจากเห็นเขาทำตามๆ กันมา อย่าเชื่อจากคำร่ำลือ อย่าเชื่อจากตำรา อย่าเชื่อจากเหตุผลตรงๆ อย่าเชื่อจากเหตุผลแวดล้อม อย่าเชื่อจากสามัญสำนึกของเราเอง อย่าเชื่อจากมันตรงกับความเห็นที่เรามีอยู่ เป็นต้น

เมื่อได้รับคำ สอนใดมา ให้นำมาพิจารณา ดูก่อน ถ้าเห็นว่ามีโทษ ให้ละทิ้งเสีย แต่ถ้าเห็นว่าไม่มีโทษและมีประโยชน์ ก็ให้นำมาทดลองปฏิบัติดูก่อน ถ้าไม่ได้ผลก็ให้ละทิ้งไป แต่ถ้าได้ผลจึงค่อยเชื่อและรับเอามาปฏิบัติต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น