ภูมิธรรมชาวพุทธ (11)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ค.สมบัติ (ความสมบูรณ์หรือความสัมฤทธิผล) และวิบัติ (ความล้มเหลว หรือการปฏิบัติผิดพลาด ไม่สำเร็จผล)
มตตา : สมบัติ = สงบหายไร้ขัดเคือง
วิบัติ = เกิดเสน่หา
กรุณา : สมบัติ = สงบหายไร้วิหิงสา
วิบัติ = เกิดโศกเศร้า
มุทิตา : สมบัติ = สงบหายไร้ริษยา
วิบัติ = เกิดสนุกสนาน
อุเบกขา : สมบัติ = สงบหายไร้ชอบชัง
วิบัติ = เกิดความเฉยด้วยไม่รู้ (เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย)
ง.ข้าศึก คือ อกุศลคู่ปรับ ที่จะทำลายให้ธรรมข้อนั้นๆ เสียไป
เมตตา : ข้าศึกใกล้ = เกิดเสน่หา ราคะ
ข้าศึกไกล = พยาบาทคือความขัดเคือง ไม่พอใจ
กรุณา : ข้าศึกใกล้ โทมนัส คือความเศร้าโศกเสียใจ
ข้าศึกไกล = วิหิงสา
มุทิตา : ข้าศึกใกล้ = โสมนัส (เช่นดีใจว่าตนจะได้รับผลประโยชน์)
ข้าศึกใกล้ = อรติ คือความไม่ยินดี ไม่ไยดี ริษยา
อุเบกขา : ข้าศึกใกล้ = อัญญานุเบกขา (เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย)
ข้าศึกไกล = ราคะ (ความใคร่) ปฏิฆะ (ความเคือง) หรือชอบใจขัดใจ
จ.ตัวอย่างมาตรฐาน ที่คัมภีร์ทั้งหลายมักอ้าง เพื่อให้เห็นความหมายชัด
1.เมื่อลูกยังเล็กเป็นเด็กเยาว์วัย
แม่-เมตตา คือ รักใคร่เอาใจใส่ ถนอมเลี้ยงให้เจริญเติบโต
2.เมื่อลูกเจ็บไข้เกิดมีทุกข์ภัย
แม่-กรุณา คือ ห่วงใยปกปักรักษา หาทางบำบัดแก้ไข
3.เมื่อลูกเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวสวยสง่า
แม่-มุทิตา คือ พลอยปลาบปลื้มใจ หวังให้ลูกงามสดใสอยู่นานเท่านาน
4.เมื่อลูกรับผิดชอบกิจหน้าที่ของตนขวนขวายอยู่ด้วยดี
แม่-อุเบกขา คือ มีใจนิ่งสงบเป็นกลาง วางเฉยคอยดู
ทั้งนี้ พึงทราบว่า
ฉันทะ
คือ กัตตุกัมยตาฉันทะ (ความอยากทำให้ดี
หรือความต้องการที่จะทำให้คนสัตว์ทั้งหลายดีงามสมบูรณ์ปราศจากโทษข้อบกพร่อง
เช่น อยากให้เขาประสบประโยชน์สุข พ้นจากทุกข์เป็นต้น) เป็นจุดเริ่ม (อาทิ)
ของพรหมวิหารทั้ง 4
การข่มระงับกิเลส (เช่น นิวรณ์) ได้ เป็นท่ามกลางของพรหมวิหาร ทั้ง 4
สมาธิถึงอัปปนา เป็นที่จบ (สัมฤทธิ์จุดหมาย) ของพรหมวิหารทั้ง 4 นั้น
[2.14] สังคหวัตถุ 4 (ธรรมเครื่องยึดเหนี่ยว คือยึดเหนี่ยวใจบุคคล และประสานหมู่ชนไว้ในสามัคคี, หลักการสงเคราะห์
-
Sangahavatthu: bases of social solidarity; bases of sympathy; acts of
doing favours; principles of service; virtues making for group
integration and leadership)
1.ทาน (การให้ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือกันด้วยทรัพย์สินสิ่งของ ตลอดถึงให้ความรู้และแนะนำสั่งสอน
- Dana: giving;generosity; charity)
2.ปิยวา
จา หรือ เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก วาจาดูดดื่มใจ หรือวาจาซาบซึ้งใจ
คือกล่าวคำสุภาพไพเราะอ่อนหวานสมานสามัคคี
ให้เกิดไมตรีและความรักใคร่นับถือ ตลอดถึงคำแสดงประโยชน์ ประกอบด้วยเหตุผล
เป็นหลักฐาน ทำให้มั่นใจ และน่าชื่นชมเชื่อถือ
- Piyavaca: kindly speech; convincing speech)
3.อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์ คือ ขวนขวายช่วยเหลือกิจการ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ ตลอดถึงช่วยแก้ไขปรับปรุงส่งเสริมในทางจริย-ธรรม
- Atthacariya: useful conduct; rendering services; life of service; doing good)
4.สมา
นัตตตา* (ความมีตนเสมอ** คือ ปฏิบัติสม่ำเสมอกันในชนทั้งหลาย
ไม่เลือกรักผลักชัง ไม่ดูถูกเหยียดหยาม ไม่เอารัดเอาเปรียบ
ทำตนเสมอต้นเสมอปลาย และเสมอในสุขทุกข์ คือร่วมสุขร่วมทุกข์
โดยร่วมรับรู้ร่วมแก้ไขปัญหา ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล
เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี
- Samanattata:
even and equal treatment; equality consisting in impartiality,
participation and behaving oneself properly in all circumstances)
[2.15] ระงับ นิวรณ์ 5 พัฒนา ธรรมสมาธิ ขึ้นมาแทน
ก.นิวรณ์
5 (ธรรมที่ขวางกั้นการเจริญจิตเจริญปัญญา, ธรรมที่ครอบงำจิตปิดบังปัญญา
ทำให้ไม่ก้าวหน้าในคุณความดี ไม่ให้บรรลุคุณพิเศษทางจิต
และทำให้มองสิ่งทั้งหลายเคลือบคลุมพร่ามัวเอนเอียง
ไม่อาจรู้เห็นตามเป็นจริง,
อกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง
- Nivarana: hindrances.)
1.กามฉันทะ (ความพอใจติดใคร่กาม, ความอยากได้สิ่งเสพบำเรอผัสสะ, โดยขอบเขต หมายถึงโลภะทั้งหมด เว้นแต่รูปราคะและอรูปราคะ
- Kamachanda: sensual desire)
2.พยาบาท (ความคิดร้าย, ความขัดเคืองแค้นใจ, โดยขอบเขต หมายรวมโทสะทั้งหมด
- Byapada: illwill)
3.ถีนมิทธะ (ความหดหู่และเซื่องซึม, ความท้อแท้และเฉาซึม, ความห่อเหี่ยวและตื้อมึน
- Thina-middha: sloth and torpor)
4.อุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่านและร้อนใจ, ความกระวนกระวายกลุ้มกังวล
- Uddhacca-kukkucca: distraction and remorse; flurry andworry; restlessness and anxiety)
5.วิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย, ความเคลือบแคลง
- Vicikiccha: doubt; uncertainty)
เมื่อ
จิตปลอดจากนิวรณ์ 5 แล้ว ธรรมสมาธิ มีปราโมทย์ เป็นต้น ก็จะเกิดขึ้นแทนที่
และจิตก็จะเป็นสมาธิแน่วสนิทถึงขั้นอัปปนา คือได้ฌาน
และสามารถเจริญปัญญาให้มองเห็นตามเป็นจริง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น