วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ภูมิธรรมชาวพุทธ (9) from khaosod

ภูมิธรรมชาวพุทธ (9)

คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


คําอาราธนาศีล 8 :

(เหมือนกับคำอาราธนาศีล 5 เปลี่ยนแต่ ปญฺจ เป็น อฏฺฐ)

มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห, อฏฺฐ สีลานิ ยาจาม;

ทุติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, . . .

ตติยมฺปิ มยํ ภนฺเต, . . .

แปลว่า : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอศีล 8 พร้อมทั้งไตรสรณะ

แม้ครั้งที่ 2 ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย . . .

แม้ครั้งที่ 3 ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย . . .

คำอาราธนาอุโบสถศีล

มยํ ภนฺเต, ติสรเณน สห, อฏฺฐงฺคสมนฺนาคตํ, อุโปสถํ ยาจาม (ว่า 3 จบ)

แปลว่า : ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุโบสถ อันประกอบด้วยองค์ 8 พร้อมทั้งไตรสรณะ

พึงสังเกตว่า ผู้อาราธนา ขอศีล แต่พระเพียงบอกสิกขาบท ให้คฤหัสถ์ตกลงรับข้อฝึกไปปฏิบัติ เพื่อทำตัวให้มีศีลด้วยตนเอง

[2.11] หลีกเว้น อบายมุข 6 ดำเนินใน วัฒนมุข 6

ก. อบายมุข 6 (ช่องทางของความเสื่อม, ทางแห่งความพินาศ, เหตุย่อยยับแห่งโภคทรัพย์ - Apayamukha: causes of ruin; ways of squandering wealth)

1.เสพติดสุรายาเมา (addiction to intoxicants; drug addiction)

2.เอาแต่เที่ยวไม่รู้เวลา (roaming the streets at unseemly hours)

3.จ้องหาแต่การบันเทิง (frequenting shows)

4.ระเริงเล่นติดการพนัน (indulgence in gambling)

5.พัวพันมั่วสุมมิตรชั่ว (association with bad companions)

6.มัวจมอยู่ในความเกียจคร้าน (habit of idleness)

ข. วัฒนมุข 6 (ธรรมที่เป็นปากทางแห่งความเจริญ, ธรรมที่เป็นดุจประตูชัยอันจะเปิดออกไปให้ก้าวหน้าสู่ความเจริญงอกงามของ ชีวิต - Vaddhana-mukha: channels of growth; gateway to progress)

1.อาโรคยะ (ความไม่มีโรค, ความมีสุขภาพดี - Arogya : good health)

2.ศีล (ความประพฤติดี มีวินัย ไม่ก่อเวรภัย ได้ฝึกในมรรยาทอันงาม - Sila : moral conduct and discipline)

3.พุทธานุมัติ (ศึกษาแนวทาง มองดูแบบอย่าง เข้าถึงความคิดของพุทธชนเหล่าคนผู้เป็นบัณฑิต - Buddhanumata : conformity or access to the ways of great, enlightened beings)

4.สุตะ (ใฝ่เล่าเรียนหาความรู้ ฝึกตนให้เชี่ยวชาญและทันต่อเหตุการณ์ - Suta : much learning)

5.ธรรมานุวัติ (ดำเนินชีวิตและกิจการงานโดยทางชอบธรรม - Dhammanuvatti : practice in accord with the Dhamma; following the law of righteousness)

6.อลีนตา (เพียรพยายามไม่ระย่อ, มีกำลังใจแข็งกล้า ไม่ท้อถอยเฉื่อยชา เพียรก้าวหน้าเรื่อยไป - Alinata : unshrinking perseverance)

สำหรับเด็กๆ พึงจำง่ายๆ ว่า

1.รักษาสุขภาพดี 2.มีระเบียบวินัย 3.ได้คนดีเป็นแบบอย่าง 4.ตั้งใจเรียนให้รู้จริง 5.ทำแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงาม 6.มีความขยันหมั่นเพียร

ธรรม 6 ประการชุดนี้ ในบาลีเดิมเรียกว่า อัตถทวาร (ประตูแห่งประโยชน์, ประตูสู่จุดหมาย) หรือ อัตถประมุข (ปากทางสู่ประโยชน์, ต้นทางสู่จุดหมาย) และอรรถกถาอธิบายคำ อัตถะ ว่า หมายถึง "วุฒิ" คือความเจริญ ซึ่งได้แก่ วัฒนะ ดังนั้นจึงอาจเรียกว่า วุฒิมุข หรือที่คนไทยรู้สึกคุ้นมากกว่าว่า วัฒนมุข

อนึ่ง ในฝ่ายอกุศล มีหมวดธรรมรู้จักกันดีที่เรียกว่า อบายมุข 6 ซึ่งแปลว่า ปากทางแห่งความเสื่อม จึงอาจเรียกธรรมหมวดนี้ด้วยคำที่เป็นคู่ตรงข้ามว่า อบายมุข 6 (ปากทางแห่งความเจริญ)

[2.12] อคติ 4 (ฐานะอันไม่พึงถึง, ทางความประพฤติที่ผิด, ความไม่เที่ยงธรรม, ความลำเอียง - Agati : wrong course of behaviour; prejudice; bias; injustice)

1.ฉันทาคติ (ลำเอียงเพราะชอบ - Chandagati : prejudice caused by love or desire; partiality)

2.โทสาคติ (ลำเอียงเพราะชัง - Dosagati : prejudice caused by hatred or enmity)

3.โมหาคติ (ลำเอียงเพราะหลง, พลาดผิดเพราะเขลา - Mohagati: prejudice caused by delusion or stupidity)

4.ภยาคติ (ลำเอียงเพราะกลัว, เสียธรรมเพราะความขลาด - Bhaya-gati : prejudice caused by fear)

พึงเว้น อคติ 4 นี้ แต่พึงเจริญ พรหมวิหาร 4 และใช้สังคหวัตถุ 4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น