ศีล227ข้อ-ระวังอาบัติ
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
คนที่เข้าวัดบ่อยๆ อาจเคยได้ยินพระภิกษุพูดกันว่า "ปลงอาบัติ" หลายคนอาจจะงงว่า อาบัติ คืออะไร?
'อาบัติ' คำนี้มาจากภาษาบาลีว่า 'อาปตฺติ' แปลว่า การต้อง ในที่นี้หมายถึงการต้องอาบัติของพระภิกษุ ซึ่งพระภิกษุที่บวชในพระพุทธศาสนาจะต้องถือศีล 227 ข้อ อย่างเคร่งครัดและระมัดระวัง
ศีล 227 ข้อ ประกอบด้วยครุกาบัติ (อาบัติหนัก) ถุลลัจจยาบัติ (อาบัติชั่วหยาบ) และลหุกาบัติ (อาบัติเล็กๆ น้อยๆ)
ครุ กาบัติ อาบัติหนัก ได้แก่ ปาราชิก 4 ข้อประกอบด้วย 1.ห้ามภิกษุเสพเมถุน 2.ห้ามถือสิ่งของที่เจ้าของไม่ให้ตั้งแต่ราคา 5 มาสกหรือหนึ่งบาทในยุคพุทธกาล (ปัจจุบันค่าเงินเปลี่ยนไป) 3.ห้ามมิให้ฆ่ามนุษย์ 4.ห้ามภิกษุอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน (หมายถึงความเป็นพระอริยบุคคล 8 ระดับ อาทิ โสดาปัตติมรรค-โสดาปัตติผล ฯลฯ)
อาบัติทั้ง 4 ข้อนี้ ภิกษุเมื่อต้องแล้วจะขาดความเป็นพระ ทันที คือไม่ใช่พระอีกต่อไป ไม่ว่าจะมีผ้าเหลืองสวมกายหรือไม่ก็ตามที
แต่ ทั้งนี้ การวินิจฉัยความผิดอาบัตินั้น มีองค์ประกอบหลายอย่าง อาทิ รู้ว่าเป็นมนุษย์ มีเจตนาคิดจะฆ่า วางแผนฆ่า พยายามฆ่า และทำจนสำเร็จ เป็นต้น
ส่วนสังฆาทิเสส 13 ข้อ อาทิ ห้ามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน, ห้ามจับต้องกายหญิง, ห้ามพูดเกี้ยวหญิง, ห้ามพูดล่อให้หญิงบำเรอตนด้วยกาม ฯลฯ ทั้ง 13 ข้อนี้เมื่อพระภิกษุต้องอาบัติข้อใดข้อหนึ่งแล้วต้องประกาศต่อที่ประชุมสงฆ์ จตุรวรรค (4 รูป) ว่าตนต้องอาบัตินั้นแล้วอยู่มานัตคือการนับราตรีอีก 6 วัน จากนั้นก็ประกาศให้พระภิกษุวีสติวรรค (20 รูป) เพื่อทำอัพภาน (การเรียกเข้าหมู่) ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์
สำหรับกรณีที่ปกปิดไว้หลาย วันจะต้องอยู่ปริวาสชดใช้ครบจำนวนวันที่ปกปิดแล้วอยู่มานัตอีก 6 ราตรี แจ้งประชุมสงฆ์เรียกเข้าหมู่หรือวุฏฐานวิธี เพื่อเป็นผู้บริสุทธิ์คือเป็นพระต่อไปได้
สำหรับอาบัติหยาบได้แก่ ถุลลัจจัย 4 อนิยต 2 เช่นอยู่ในที่ลับหูลับตาสองต่อสองกับสีกา
ลหุกาบัติซึ่งประกอบด้วยนิสัคคียปาจิตตีย์ 30 ปาจิตตีย์ 92 ปาฏิเทสนียะ 4 ทุกกฎ 1 ทุพภาสิต 2 เสขิยวัตร 75 รวมเป็น 227 ข้อ
อาบัติทั้ง 227 ข้อ อาบัติปาราชิกเมื่อพระภิกษุต้องแล้วถือว่าขาดจากความเป็นพระทันที ที่เหลือยังไม่ขาดจากความเป็นพระ
อย่าง ไรก็ตาม การจะตัดสินว่าผิดหรือไม่ผิดวินัยอย่างไรต้องดูทั้งปัณณัติวัชชะและโลกวัชชะ เป็นองค์ประกอบ บางกรณีผิดปัณณัติวัชชะแต่ไม่ผิดโลกวัชชะ บางกรณีผิดโลกวัชชะแต่ไม่ผิดปัณณัติวัชชะ ต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
ต้อง เข้าใจด้วยว่าพระถือกฎหมาย 3 อย่าง คือ 1.พระวินัย 2.พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 3.กฎหมายบ้านเมือง การจะวินิจฉัยหรือกระทำการใดต้องดูองค์ประกอบทั้ง 3 อย่าง
หาไม่แล้วคงไม่เหลือพระดีให้เรากราบ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น