การถวายกฐินราษฎร์
คอลัมน์ ศาลาวัด
การ ถวายกฐิน เป็นทานอีกประเภทหนึ่ง มีลักษณะเป็นสังฆทาน คือ ถวายไม่เจาะจงพระสงฆ์รูปใดรูปหนึ่ง แต่มีสิ่งของถวายที่สำคัญ คือ ผ้ากฐิน เรียนกันว่า กฐินทาน
ทานชนิดนี้มีเวลาถวายจำกัด ในปีหนึ่งๆ จะถวายได้ในเวลา 1 เดือน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 เดือน 12 เท่า นั้น
ถ้า ถวายในเวลาอื่นจากที่กล่าวนี้ จะไม่เรียกว่าถวายกฐิน และในวัดหนึ่งๆ ปีหนึ่งจะรับกฐินได้ครั้งเดียว และพระสงฆ์ที่จะรับกฐินนี้ ต้องเป็นพระสงฆ์ที่อยู่จำพรรษาถ้วนไตรมาสในวัดนั้น ขาดพรรษาก็รับไม่ได้
กฐินมี 2 ประเภท คือ กฐินหลวง คือ กฐินที่พระมหากษัตริย์ทรงถวายในวัดที่เป็นพระอารามหลวง
และ กฐินราษฎร์ ได้แก่ กฐินที่ถวายตามวัดทั่วไปที่มิได้เป็นพระอารามหลวง
ทั้งนี้ การถวายกฐินราษฎร์ เริ่มจากนัดวัน เวลา ที่จะถวายกฐินกับพระสงฆ์ ที่เราเรียกกันว่า จองกฐิน
จาก นั้น จัดพิธีสมโภชกฐิน โดยจัดแบบงานมงคล (จะจัดหรือไม่จัดก็ได้) จัดสถานที่วางเครื่องบริวารกฐินในอุโบสถ ด้านท้ายอาสน์สงฆ์ จัดโต๊ะตั้งพานแว่นฟ้าวางผ้ากฐิน และจัดพานเทียนพระปาติโมกข์ วางไว้หน้าอาสน์สงฆ์ตรงพระสงฆ์รูปที่ 2
เมื่อถึงวัน-เวลา ที่จะถวายกฐิน พระสงฆ์ลงมาพร้อม เจ้าภาพและญาติมิตรพร้อมกันในอุโบสถ หรือสถานที่ที่จะทำพิธีถวายกฐิน
ศาสน พิธีกรเริ่มพิธี ด้วยการเชิญเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย อาราธนาศีล รับศีล จากนั้น เจ้าภาพอุ้มประคองผ้ากฐินประนมมือ หันหน้าไปทางพระพุทธรูปประธาน ว่า นะโม ... (3 จบ)
หันมาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายกฐิน (การถวายกฐินราษฎร์ นิยมให้เจ้าภาพกล่าวนำ ผู้ร่วมพิธีกล่าวตาม เพราะส่วนใหญ่เป็นกฐินสามัคคี) คำถวายกฐินควรพิมพ์ติดไว้ที่ผ้ากฐิน เวลาถวายจะได้อ่านสะดวก
จบแล้ว วางผ้ากฐินบนพานแว่นฟ้า ยกพานประเคน พระสงฆ์รูปที่ 2 ประเคนพานเทียนพระปาติโมกข์ด้วย (ที่เรียกเทียนพระปาติโมกข์ เพราะพระสงฆ์จะใช้เทียนนี้จุดในเวลาทำสังฆกรรมสวดพระปาติโมกข์)
เจ้าภาพกลับไปนั่งที่เก้าอี้ ในระหว่างนี้ พระสงฆ์กระทำอปโลกน กรรม ลงไปครองผ้ากลับขึ้นมานั่ง
ศาสน พิธีกร ยกบาตรและสิ่งของบริวารอื่นๆ มาเชิญประธานถวายแด่พระสงฆ์รูปที่ 1 โดยส่งต่อๆ กันเข้าไปให้เจ้าภาพถวาย จากนั้นเชิญผู้มาร่วมงานถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ปวารณาปัจจัยบำรุงวัด ถวายองค์ครอง คู่สวดและพระสงฆ์ แล้วถวายใบรายการที่ปวารณาแก่ประธานสงฆ์ พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำ รับพร
ถ้ามีบริจาคบำรุงการศึกษาทำพิธีในตอนนี้
แต่ถ้าเป็นสิ่งของนิยมมอบภายนอกอุโบสถ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น