วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

แก่นสาร (ข่าวสด)

แก่นสาร

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด

พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร / watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting


ในพระพุทธศาสนาตรัสถึงสาระแก่นสารที่เป็นประโยชน์ประเภทเนื้อแท้ แก่นแท้ มิใช่เปลือกหรือกระพี้ 2 ประเภท คือ

1. แก่นสารที่เป็นภายใน

2. แก่นสารที่เป็นภายนอก

แก่น สารภายใน หมายถึง การท่องเที่ยวไปเพื่อแสวงหากุศลภายใน เช่น การแสวงหาสถานที่อันสงบเพื่อประพฤติปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิวิปัสสนาซึ่งเป็นการแสวงหาบุญกุศลจากภายในตัวของตัวเอง นอกจากนี้ยังมีแก่นสารภายในอีกอย่างหนึ่งซึ่งน่าจะถือว่าเป็นแก่นสารภายใน ที่แท้จริง นั่นคือ การหลุดพ้นทางใจด้วยปัญญา อย่างต่ำ ก็คือ การปล่อยวางทุกข์ได้ อย่างสูง ก็คือ การเว้นจากสรรพกิเลสทั้งปวงด้วยมรรคปฏิปทา เพราะการปฏิบัติมรรคปฏิปทาเป็นทางสายกลางให้รู้และเข้าถึงอริยสัจธรรม คือ ทุกข์ สาเหตุแห่งทุกข์ การดับทุกข์ และวิธีดับทุกข์ทั้งปวง ทั้งนี้เพราะมรรค เป็นองค์นำให้รู้จักทุกข์ นำให้ละสมุทัย นำให้แจ้งในการดับทุกข์และธรรมวิธีที่จะนำมาดับทุกข์

แก่นสารภายนอก หมายถึง การแสวงหาบุญกุศลโดยการท่องเที่ยวไปอย่างที่เรียกกันว่าธรรมจาริกหรือการหา บุญกุศลจากกิจกรรมภายนอก เช่น การถวายกฐิน ผ้าป่า ผูกพัทธสีมาหรือฝังลูกนิมิต เป็นต้น

การที่จะมองเห็นว่าอะไรเป็น สาระหรือไม่เป็นสาระก็ต้องอาศัยธรรมมาประคับประคองจิตให้อยู่ในครรลองของ ธรรม เพราะหากไร้ธรรมเสียแล้วก็อาจทำให้เห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระไปก็ ได้ ซึ่งเป็นผลมาจากการขาดธรรมช่วยนำทางนั่นเอง

บุคคลผู้ที่เห็นสิ่ง ที่ไม่เป็นสาระว่าเป็นสาระ เห็นสิ่งที่เป็นสาระว่าไม่เป็นสาระ ชื่อว่าเป็นผู้มีความดำริผิดท่องเที่ยวไป ผู้นั้นย่อมมีแต่จะประสบสิ่งที่ไม่เป็นสาระแก่ ชีวิต การไม่มีแก่นสารทั้งภายในภายนอก การไม่มีแก่นสารภายนอก คือ การไม่เอื้อเฟื้อ ไม่เห็นชอบในทางให้ทาน รักษาศีล และการเจริญภาวนา เป็นต้น ส่วนการไม่มีแก่นสารภายใน คือ เป็นผู้ไม่มีธรรมเป็นที่พึ่งแห่งใจ ไม่ละวางกิเลสบาปธรรม ทั้งปล่อยจิตให้ไหลไปสู่ทางชั่วด้วยอำนาจความโลภ ความโกรธ และความหลง ดำเนินชีวิตแบบแล้วแต่กิเลส ตัณหา จะนำพาไป เป็นผู้มีความเห็นผิดไปจากกุศล ขาดการทำทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น เป็นผู้ที่ไม่อาจพบสัจธรรมแห่งพระพุทธศาสนา ย่อมห่างเหินไกลออกไปจากพระพุทธศาสนาผู้ที่มีความดำริชอบย่อมสามารถประสบ แก่นสารและถือเอาแก่นสารของชีวิตไว้ได้ ส่วนผู้ที่มีความดำริผิดก็มีแต่จะประสบสิ่งที่หาแก่นสารอันใดมิได้เลย

เพราะ ฉะนั้น ผู้หวังความไพบูลย์แห่งตนพึงสังวรระวังและดำรงมั่นในศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นแก่นสารทางพระพุทธศาสนา อันมีผล คือ อำนวยความสงบร่มเย็นและเป็นสุขแก่ชีวิตของผู้ปฏิบัติในการทุกเมื่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น