วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การสงเคราะห์ญาติ khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
คํา ว่าญาติ หมายถึงคนที่เป็นเชื้อสายเดียวกัน เป็นเหล่ากอเดียวกัน เป็นสายโลหิตเดียวกัน หรือคนที่รู้จักคุ้นเคย สนิทสนมกันระหว่างเรากับเขาโดยตรงบ้าง เกิดแต่ความสนิทสนมกับญาติทางสายโลหิตของเราบ้าง ได้ประพฤติและปฏิบัติธรรมร่วมกันบ้าง
ญาติที่มีความรักใคร่ ความนับถือกันและความสามัคคีกัน ร่วมใจดำรงวงศ์ตระกูล ตลอดจนถึงสังคมและประเทศชาติให้เจริญ ย่อมเป็นที่นิยมนับถือของคนทั่วไป ทำให้มีความมั่นคงและเป็นที่เกรงขามของคนผู้ประสงค์ร้าย ทำให้ไม่สามารถเข้ามาเบียดเบียนได้ง่าย เหมือนความหนาทึบของกอไผ่ ที่มีหนามแวดล้อมอยู่รอบข้าง ไม่มีใครสามารถที่จะตัดได้ง่ายๆ
ฉะนั้น ญาติจะมีความรักใคร่นับถือกันและมีความสามัคคีกันอย่างมั่นคงได้ ต้องมีธรรมะสำหรับประพฤติปฏิบัติต่อกัน เพื่อส่งเสริมความรัก ความนับถือ ความสามัคคีให้แน่นแฟ้นมั่นคงยิ่งขึ้น
ธรรมะอันเป็นอุบายเครื่องยึด เหนี่ยวน้ำใจญาติ ให้ร่วมกลุ่มกันได้ด้วยความเคารพ รักใคร่กันนั้น ได้แก่ ญาติธรรม คือ การสงเคราะห์ญาติด้วยธรรม 4 ประการ คือ
1.ทาน การอุดหนุนจุนเจือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ แบ่งปัน ช่วยเหลือหรือสงเคราะห์อนุเคราะห์ด้วยทรัพย์วัตถุสิ่งของ ตลอดจนให้ความรู้ ความเข้าใจ และศิลปวิทยา
2.ปิยวาจา การกล่าวคำสุภาพ ไพเราะ น่าฟัง ชี้แจง แนะนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ มีเหตุผล เป็นหลักเป็นฐาน ชักจูงในทางที่ดีงาม หรือคำพูดที่แสดงความเห็นอกเห็นใจ ให้กำลังใจ รู้จักพูดให้เกิดความเข้าใจดี สมานสามัคคี เกิดไมตรี ทำให้รักใคร่นับถือและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
3.อัตถจริยา การช่วยเหลือด้วยแรงกาย และขวนขวายช่วยเหลือกิจการต่างๆ บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ รวมทั้งช่วยแก้ไขปัญหาและช่วยปรับปรุงส่งเสริมในด้านจริยธรรม
4.สมา นัตตตา การทำตัวให้เข้ากับเขาได้ วางตนเสมอต้นเสมอปลาย ให้ความเสมอภาค ปฏิบัติสม่ำเสมอกันต่อคนทั้งหลาย คือ ร่วมสุข ร่วมทุกข์ ร่วมรับรู้ ร่วมแก้ไขปัญหา เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขร่วมกัน ตลอดถึงวางตนเหมาะแก่ฐานะ ภาวะ บุคคล เหตุการณ์และสิ่งแวดล้อม ให้ถูกต้องตามธรรมในแต่ละกรณี
การ สงเคราะห์ด้วยการประพฤติญาติธรรม 4 ประการ คือ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ให้แก่ญาติตามสมควร การพูดจาด้วยถ้อยคำน่ารัก การรู้จักทำประโยชน์แก่กันตามสมควร และการรู้จักวางตัวเสมอต้นเสมอปลายกับทุกคนดังกล่าวมาย่อมเป็นปัจจัยส่ง เสริมให้เกิดความสามัคคีในวงศาคณาญาติ ตลอดจนสังคมและประเทศชาติให้มีความเจริญก้าวหน้ามั่นคง
ดังนั้น บุคคลผู้มีทรัพย์แล้วไม่รู้จักใช้สอย ไม่ทำบุญกุศล ไม่สงเคราะห์ญาติของตน ถึงแม้จะมีทรัพย์มากมายก็ไม่มีประโยชน์สำหรับตนและคนทั้งปวง เพราะมีจิตคิดหวงแหนเก็บไว้ ทำให้ลูกหลานคนสนิทชิดใกล้ต่างพากันแย่งชิงจนเกิดคดีฟ้องร้องกัน เพราะทรัพย์เป็นเหตุ คนมีความโลภแล้วยังให้ผู้อื่นมีความโลภต่อไปอีกเช่นนี้ หาประโยชน์อะไรไม่ได้ในชาตินี้และชาติหน้าแล
พระเทพคุณาภรณ์
(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
สัจจะ khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
สัจจะ ได้แก่ ความจริง ความซื่อตรง หรือความซื่อสัตย์ ซึ่งตรงกันข้ามกับความไม่จริง ความเท็จ ความคดโกง ทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ ต่างต้องการความจริง ความซื่อตรงหรือความซื่อสัตย์ด้วยกันทั้งนั้น ไม่มีใครต้องการความไม่จริง ความเท็จ ความคดโกงเลย
ความจริง ความซื่อตรงหรือความซื่อสัตย์ เป็นของมีอยู่ตามธรรมดา ไม่แปรผันเปลี่ยนแปลงเป็นอื่นไปได้ จะปรากฏออกมาให้รู้ให้เห็นได้ ต้องอาศัยคนหรือวัตถุเป็นเครื่องแสดงให้ปรากฏ
ความจริง ความซื่อตรงนี้ ต้องประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปพร้อมด้วยลักษณะ 6 ประการ คือ
1. สัจจะต่อตนเอง ได้แก่ ความซื่อตรงต่อตนเอง ไม่เบียดเบียนตนเองด้วยการประพฤติปฏิบัติในทางเสื่อมเสีย พยายามวางตน คุ้มครองรักษาตนให้ดี คบหาสมาคมกับเพื่อนที่ดี อดทนขยันหมั่นเพียรประกอบกิจการงาน ไม่เกียจคร้าน
2. สัจจะต่อคำพูดของตนเอง ได้แก่ ซื่อตรงต่อคำพูด รักษาและปฏิบัติต่อคำพูดของตนเองที่ได้ให้คำมั่นสัญญากับคนอื่นไว้ ไม่ทำให้เสียสัตย์
3. สัจจะต่อหน้าที่ ได้แก่ ความซื่อตรงต่อหน้าที่ที่ตนได้รับมอบหมายให้ทำ ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของกันและกัน ไม่ละทิ้งหน้าที่ และไม่ทำในสิ่งที่ไม่ใช่หน้าที่ของตน
4. สัจจะต่อการงาน ได้แก่ ความซื่อตรงต่อการงาน มีความพอใจ สนใจทำการงานให้สำเร็จ ไม่ละทิ้งปล่อยให้คั่งค้าง งานที่ควรทำให้เสร็จไม่ว่าจะเป็นงานที่ยากหรือง่าย ก็รีบจัดทำให้เรียบร้อยด้วยดี ด้วยความอาจหาญร่าเริง
5. สัจจะต่อบุคคล ได้แก่ ความซื่อตรงต่อกันและกัน ระหว่างพ่อแม่กับลูก สามีกับภรรยา ผู้ปกครองกับผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อนกับเพื่อน และระหว่างชุมชนตลอดถึงประเทศชาติ
6. สัจจะต่อสังคม ได้แก่ ความซื่อตรงต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่สังคมตั้งไว้เป็นหลักสำหรับทำความประพฤติของคนในสังคม เพื่อป้องกันคนชั่ว ปกป้องคนดีและเพื่อการอยู่ร่วมกันโดยความสงบร่มเย็น ตลอดถึงซื่อตรงต่อกฎระเบียบประเพณีที่คนส่วนมากให้การยอมรับ
เมื่อ ทุกคนต่างมีสัจจะ ความจริง ความซื่อตรงตามลักษณะดังกล่าวมา ย่อมเป็นสัจจะที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรมแก่ผู้ประพฤติปฏิบัติตาม ย่อมอำนวยความสำเร็จกิจให้ตลอดกาลยาวนาน เกียรติศัพท์ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ที่ประกอบด้วยสัจจะ ย่อมขจรขจายไปทั่วทุกทิศ เพราะความซื่อสัตย์จริงใจนั่นเองเป็นสำคัญ
ดัง นั้น จึงควรตามรักษาสัจจะไว้ประจำจิตใจอยู่เสมอ อันจะเป็นเหตุให้เกิดความสามัคคีปรองดอง ไว้วางใจกันและอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยความสงบ เป็นสุขแล
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
วันพฤหัสบดีที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2553
Sompope Sungsuwan wants you to join foursquare!
|
วันเสาร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2553
จิตคงที่ทำให้เกิดสุข khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
มนุษย์ เราทุกคน ในเมื่อเวลาได้ประสบกับอารมณ์ที่น่าปรารถนา อันได้แก่ ลาภ ยศ สรร เสริญ สุข ก็ไม่เห่อเหิมทะเยอทะยาน รู้จักสงบใจ ครั้นได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา อันได้แก่ ความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ก็รู้จักมี สติ อดกลั้น ไม่เสียใจ คร่ำครวญ ซึ่งการทำจิตให้อาจหาญต่อสู้กับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนานั้น เมื่อยังตกอยู่ในอำนาจกิเลสตัณหา ล้วนยังปรารถนาอยากได้ลาภยศ สรรเสริญ สุขทั้งนั้น ส่วนความเสื่อมลาภ ความเสื่อมยศ นินทา ทุกข์นั้น ไม่มีใครปรารถนา แต่สิ่งเหล่านี้ไม่อาจสำเร็จได้ เพราะความปรารถนาและการอ้อนวอนแต่เพียงอย่างเดียว ยังต้องเกี่ยวกับการประกอบกิจโดยอุบายที่ชอบ จึงจะได้สมความปรารถ นา ซึ่งลาภนั้น ก็คือ ความได้ข้าวของ เงินทอง อันเป็นที่พึ่งทางใจ มีทางให้เกิดได้ 2 สถาน คือ
1. อาศัยบุญเก่าที่เรียกว่า "ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้มีบุญที่ตนได้ทำไว้ก่อน"
2. อาศัยความขยันหมั่นเพียร ดังคำพระว่า "ผู้มีธุระทำให้เหมาะเจาะ เป็นคนขยันหมั่นเพียร ย่อมหาทรัพย์ได้"
ความ สรรเสริญก็ดี เกียรติยศชื่อเสียงก็ดี ล้วนเกิดจากเหตุที่มีจริงบ้าง ไม่มีจริงบ้าง คนพาลเมื่อได้รับอุปการะจากท่านผู้ใด แม้ผู้นั้น จักไม่มีคุณความดีอยู่ในตัวเลย ก็กล่าวยกย่องสรรเสริญได้
อารมณ์ที่ น่าปรารถนา ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ส่วนอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ได้แก่ ความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ รวมเป็น 2 แยกกระจายออกไปก็เป็น 8 ประการ หมุนเวียนไปตามสัตว์โลกทั่วไป ไม่เลือกหน้า แม้ถึงสัตว์โลกเล่า ก็หมุนเวียนไปตามธรรม 8 ประการนี้ คือ ยินดีในส่วนที่ปรารถนา ยินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา ธรรมทั้ง 8 ประการนี้ จึงได้ชื่อว่า โลกธรรม ซึ่งแปลว่า ธรรมของโลก ธรรมเวียนไปตามโลก
เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติจึงควรบำเพ็ญความ ไม่ประมาทในโลกธรรม คือ ระวังอย่าให้กำหนัดในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ระวังใจอย่าให้ขัดเคืองในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ระวังใจอย่าให้มัวเมาในอารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา
ผู้มี ปัญญาพิจารณาเห็นตามความเป็นจริงว่าโลกธรรม 8 ประการนี้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปร ปรวนเป็นธรรมดาอย่างนี้แล้ว โลกธรรมนั้น ย่อมไม่ครอบจิตให้แปรผันไปต่างๆ ได้คือ ย่อมไม่มีความยินดีในลาภ ยศ สรรเสริญ สุข อันเกิดขึ้นแล้ว และย่อมไม่ถึงความยินร้ายในความเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์อันเกิดขึ้นแล้ว เมื่อละความยินดียินร้ายได้อย่างนี้แล้ว ย่อมพ้นไปจากทุกข์ทั้งปวง
ดังนั้น เมื่อเราทุกคนเล็งเห็นความไม่แน่นอนอันจักเกิดขึ้นแล้ว ก็ควรทำใจไว้แต่เบื้องต้น จะได้ไม่ต้องรู้สึกเสียใจในภายหลัง
พระเทพคุณาภรณ์
(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ความสงบสุข khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
ทุก คนต้องการความสงบ ไม่มีใครต้องการความทุกข์ พยายามแสวงหาความสุขด้วยกันทั้งนั้น คิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะมีความสุข พระพุทธเจ้าทรงแสดงความสุขของฆราวาสไว้ 4 อย่าง คือ
1. ความสุขเกิดจากการมีทรัพย์
2. ความสุขเกิดจากการจ่ายทรัพย์บริโภค
3. ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
4. ความสุขเกิดจากการทำงานที่ไม่มีโทษ
ฆราวาส คือ ผู้ครองเรือน ผู้มีครอบครัว ต้องการความสุขก็ต้องพยายามแสวงหาทรัพย์ให้ได้ ถ้าไม่มีทรัพย์ก็ไม่มีความสุข เมื่อแสวงหาทรัพย์มาได้แล้ว ก็ต้องจ่ายทรัพย์บริโภค คือจ่ายเพื่อเลี้ยงชีวิตและครอบครัว จ่ายเพื่อเครื่องนุ่งห่ม เพื่อที่อยู่ที่อาศัย เพื่อรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จึงจะเป็นสุข ถ้ามีทรัพย์แต่ตระหนี่ ไม่จ่ายดังที่กล่าวมาแล้ว ก็ไม่มีความสุข
การจ่ายทรัพย์บริโภค ก็ต้องระวังไม่ให้เป็นหนี้ ถ้าจ่ายจนเป็นหนี้ก็ต้องเป็นทุกข์ ไม่มีความสุข การแสวงหาทรัพย์ ก็ต้องแสวงหาในทางที่ชอบธรรม จึงจะมีความสุข ถ้าแสวงหาโดยไม่ชอบธรรม ก็ไม่มีความสุข พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "ความสุขเกิดจากการทำงานที่ไม่มีโทษ"
ความ สุขที่กล่าวมานี้ เป็นความสุขโดยทั่วไป ส่วนความสุขโดยรวบยอด พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "นตฺถิ สนฺติปรํ สุขํ ความสุขอย่างอื่นนอกจากความสงบไม่มี" ความสุขอย่างอื่นแม้จะมีอยู่ก็จริง แต่ก็ยังไม่เท่าความสุขที่เกิดจากความสงบ
ผู้ใดไม่มีความสงบ ผู้นั้นไม่มีความสุข แม้จะมีทรัพย์ จ่ายทรัพย์บริโภค ไม่มีหนี้ ทำงานที่ไม่มีโทษ แต่ตัวเองไม่มีความสงบ มีความวุ่นวายที่เกิดจากตัวเองบ้าง เกิดจากครอบครัวบ้าง เกิดจากบุคคลอื่นบ้าง ก็ไม่มีความสุข สถานที่ใดไม่มีความสงบ มีแต่ความวุ่นวายยุ่งยาก ที่นั้นก็ไม่มีความสุข
เรา ยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ก็ต้องต่อสู้เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ด้วยดี มีคำกล่าวว่า "ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยาชูกำลัง อุปสรรคคือหนทางแห่งความสำเร็จ ความลำบากในวันนี้ คือความสุขที่จะมีในวันหน้า"
การต่อสู้ก็ต้องมีการแพ้การชนะ ผู้แพ้ก็ต้องมีความทุกข์ด้วยคิดว่า เมื่อไรเราจึงจะชนะได้บ้าง ผู้ที่ทำกิเลสในตัวให้สงบลงได้ ไม่ให้กิเลสกำเริบ เรียกว่าเอาชนะตัวเองได้ ชื่อว่าละความชนะ ละความแพ้ได้ ย่อมมีความสุข เราชนะกิเลส ชนะตัวของตัวเองได้เพียงคนเดียว ดีกว่าเอาชนะคนอื่นตั้งร้อยคนพันคน แม้ว่าจะเอาชนะคนอื่นมากๆ ได้ แต่ยังแพ้กิเลส แพ้ความชั่วของตัวเอง ยอมให้กิเลสให้ความชั่วครอบงำตัวเอง บังคับตัวเองให้ทำความชั่วได้ต่างๆ นานา ก็ชื่อว่าเป็นผู้แพ้จะต้องประสบแต่ความทุกข์ตลอดไป เมื่อใดเอาชนะกิเลส ชนะความชั่ว ไม่ให้ครอบงำตนเองให้ทำความชั่วได้ เมื่อนั้นจึงมีความสุข
ถ้าต้องการความสุขที่แท้จริง ก็ต้องสร้างความสงบขึ้นในตน โดยอาศัยพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าดังที่ได้กล่าวมาแล้วแล
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร / www.watdevaraj.com 02-281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 02-281-2430 end_of_the_skype_highlighting
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
"กำลังใจ" ห้ามหมด (๒) khaosod
โลกนี้ไม่สิ้นกลิ่มธรรม
โดยศิษย์ อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก - พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา
เสียอะไรก็เสียได้ แต่อย่าเสียกำลังใจ
บ้านไหม้ไฟ หมดทั้งหลังช่างปะไร
กำลังใจ เอ่อล้น คนเดินต่อฯ
อุบายที่ ๓ (ต่อ จากตอนที่แล้ว) การมองด้านบวกเสมอ นั้นเป็นกลไกหนึ่งในการสร้างกำลังใจได้อย่างไม่คาดฝัน แต่ต้องเป็นคนช่างสังเกต แล้วน้อมพิจารณามาใช้กับตัวเราได้ด้วยตัวเอง เพราะจะมัวรอให้ใครเขามาเฝ้าสอน เฝ้าแนะ ตลอดเวลานั้นคงเป็นไปไม่ได้หรอกครับ อย่างเรื่องนี้ เดลคาร์เนกี้ (Dale Carnegie) นักเขียนขวัญใจตลอดกาลของผม เคยเขียนไว้...
นักธุรกิจถัง แตกที่เพิ่งเจ๊งคนหนึ่ง เดินโซซัดโซเซ ออกมา กลางถนน ไม่มีแม้รองเท้าใส่ กำลังสับสนกับชีวิต คิดยอมแพ้แล้ว ปรากฏว่าเดินไปพบกับขอทาน ผู้พิการไร้ขาทั้ง ๒ ข้าง มีเพียงลำตัวกับหน่อขากุดๆ นั่งอยู่บนกระดานล้อเลื่อน เคลื่อน ไหวได้ด้วยมือเข็นไปกับพื้น ขอทานผู้นี้ มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เงยหน้าสบตานักธุรกิจหนุ่ม พร้อมทักทายว่า
"อรุณสวัสดี...เช้าวันนี้ อากาศช่างแจ่มใสจริงๆ เลยนะครับ"
นัก ธุรกิจรู้สึกสะกิดใจดังโป้ง ก้มไปมองดูเท้าเปล่าเปลือยของตัวเอง ที่ดำเขลอะเพราะเดินมาหลายร้อยเมตร แล้วก็คิดขึ้นได้ด้วยตัวเขาเองว่า...
ถึง แม้วันนี้ ฉันไม่มีเงิน แม้แต่จะซื้อรองเท้าใส่ได้ แต่ฉันก็ยังมีเท้าทั้ง ๒ ข้าง และขาที่สมบูรณ์ ซึ่งยังดีกว่าขอทานผู้ไร้ขาคนนั้น แล้วไยจะมาท้อแท้สิ้นหวังอยู่ได้ น่าอายต่อขอทานผู้ยิ้มให้กับชีวิตจริงคนนั้นเสียนี่กระไร
ที่ชายคนนี้คิดได้ เพราะเขาหัดมองด้านบวกอยู่เสมอนั่นเอง
อุบายที่ ๔ : เจริญอิทธิบาท ๔
อย่า ได้เสียที ที่เป็นชาวพุทธ พระพุทธเจ้าขิงเราท่านสอนธรรมะไว้มากมายก่ายกอง ตลอด ๔๕ พรรษาที่พระองค์ทรงประกาศพระศาสนา ทุกถ้อยธรรม ล้วนแล้วแต่มีคุณค่า ไม่ขึ้นกับกาลเวลา (Timeless) ใช้ได้ผลจริงๆ ทั้งทางโลก และทางธรรม
ที่ คนเรามักท้อใจง่าย เลิกล้มภารกิจรวดเร็วก่อนเวลาอันควร ก็เพราะไม่มีอิทธิบาท ๔ ไม่กล้าแม้แต่จะคิดเป้าหมายของชีวิต (Goals of life) ให้ตัวเอง พลังวัตรในการขับเคลื่อนไปสู่ผลสำเร็จ จึงอ่อนแอมาก
อิทธิบาท ๔ คืออะไร? ใช้อย่างไร? (How to)
อิทธิบาท ๔ ความหมาย อุบาย (เทคนิค)
๑. ฉันทะ ความพอใจ รักใคร่ในสิ่งนั้น "ทำในสิ่งที่รัก" หรือหากเลือกไม่ได้ในชีวิตจริงก็ปรับใจให้ "รักในสิ่งที่ทำ"
๒. วิริยะ ความเพียรพยายามทำสิ่งนั้น เมื่อเราพอใจในสิ่งที่เราทำ ธรรมชาติก็จะเอื้อให้เรามีความเพียร ขยันทำในสิ่งนั้น อย่างไม่รู้เหน็ดเหนื่อยเอง
๓. จิตตะ ความเอาจิตฝักใฝ่ในสิ่งนั้น เมื่อขยันแล้ว ก็ต้องไม่ใช่ขยันแบบโง่ๆ แบบไม่มีสมาธิ เราต้องทำด้วยการโฟกัส มีสมาธิในการทำงานชิ้นนั้นๆ จึงไม่ ผิดพลาด
๔. วิมังสา ความพิจารณาใคร่ครวญหาเหตุผลในสิ่งนั้น เพื่อพัฒนา ชาวพุทธเป็นศาสนาแห่งปัญญา ทำไปแล้ว ก็ต้องหมั่นคิดวิเคราะห์ พัฒนาปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งๆ ขึ้น
อิทธิบาท ๔ ถือเป็นทางแห่งความสำเร็จ หรือบาทฐานแห่งความสำเร็จ (Law of success) เรื่องง่ายๆ ที่พระพุทธเจ้าสอนแค่นี้ คนไทยหลายคนทำเป็นไม่เข้าใจ ดัดจริตไปหาวิชาการ เรื่องการประสบความสำเร็จจากเมืองนอก หรือจ้างฝรั่งมาทำเป็นคอร์สสัมมนาแพงๆ หัวละ ๒-๓ หมื่น สุดท้ายก็มาค้นพบความจริง หลังจากเสียตังค์ไปแล้ว ที่แท้สิ่งที่ได้ร่ำเรียนมา ก็อยู่ภายใต้กฎแห่งอิทธิบาท ๔ นี้นั่นเอง
สังคม ไทย อ่อนแอเรื่องนี้มาก ๘๐% คนทำงานด้วยความฝืนใจ ไม่เต็มใจทำ ไม่มีความสุข หรือไม่เรียนรู้ที่จะเป็นสุขขณะเมื่อทำงาน สังเกตง่ายๆ
ผมเคยไปสั่งก๋วยเตี๋ยวร้านข้างถนนทานตอนบ่าย ๒ ซึ่งเป็นเวลาที่ไม่ค่อยมีคนแล้ว ขณะนั้นทั้งร้านมีผู้เขียนนั่งเป็นลูกค้าอยู่คนเดียว
"เส้นเล็กเย็นตาโฟ ไม่ใส่เห็ด ไม่ใส่ปลาหมึก - โอเลี้ยงแก้ว"
แม่ค้าตอบ "ได้ๆ รอเดี๋ยว"
สักพัก หันมาถาม "เส้นใหญ่หรือเส้นเล็กนะ?"
"เส้นเล็ก"
"ฮ่อๆ ไม่เห็ด ไม่หมึก ใช่ไหม?"
"ครับ"
สัก พัก ก๋วยเตี๋ยวก็มาเสิร์ฟ เป็นเส้นเล็กน่ะ ถูกแล้ว แต่มาทั้งปลาหมึก ทั้งเห็ดเลย แถมน้ำที่มาส่งให้ ก็ไม่ใช่โอเลี้ยง แต่กลับเป็นชาดำเย็นเสียฉิบ!
นี่เป็นตัวอย่างการทำงานโดยปราศจาก อิทธิบาท ๔ เพราะลูกค้าแค่คนเดียว ยังผิดพลาดได้ถึงขนาดนี้ มิหนำซ้ำ รสชาติก็ไม่อร่อยเลย (ขนาดว่าผู้เขียนนับเป็นหนึ่งในพวกลิ้นจระเข้แล้วนะ) ทั้งที่เป็นร้านเก่าแก่ ขายก๋วยเตี๋ยวชนิดเดียวกันนี้มาร่วม ๑๐ ปี แสดงว่าไม่มี วิมังสา ไม่พัฒนาปรับปรุงเลย ภาษาอังกฤษว่า No learning curve
แม้ร้านอาหารใหญ่ๆ ก็เถอะ พนักงานก็ดูจะทำงานไปแบบซังกะตายไปวันๆ ถามไถ่เขามากไปหน่อย จะพาลฟาดเรากลับด้วยน้ำเสียงที่ไม่เป็นมิตรเอาเสียเลย, คนขับรถเมล์ที่ระบายอารมณ์ด้วยการขับซิ่ง ปาดไปปาดมา, พนักงานขายในห้างสรรพสินค้า ที่เอาแต่มองดูนาฬิการอคอยเวลาที่จะเลิกงาน แม้ขณะเวลาทำงาน ก็เอา แต่คุยโทรศัพท์มือถือกัน ฯลฯ หากจะกล่าวโดยสรุป ก็ต้องพูดว่า เมืองพุทธเรา ใช้หลักอิทธิบาท ๔ มาใช้กับวิถีชีวิตประจำวัน ในสัมมาอาชีพนั้นน้อยมาก
อุบายที่ ๕ : จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง
เหลือบ ตาไปดู ตรงที่ผมจดโน้ตไว้ในปฏิทิน โอ้โห...บทความที่เขียนใน "ข่าวสด" นี้เกือบ ๕๐ ชิ้นแล้ว แม้ผู้เขียนจะตั้งหัวคอลัมน์ไว้ด้วยเป้าประสงค์อันถ่อมตัว ว่าที่ทำๆ อยู่นี้ เพียงเพื่อไม่อยากให้โลกนี้ สิ้นกลิ่นธรรมเท่านั้น แต่ยอมรับตรงๆ ว่า เขียนไป บางครั้ง บางอารมณ์ก็อ่อนกำลังใจได้เหมือนกัน เพราะกระแสกิเลสมันแรงกว่าหลายเท่า ในโลกแห่งวัตถุนิยมที่อุดมไปด้วยอวิชชาชน คนขี้เหม็นและเห็นแก่ตัว...อดรำพึงรำพันกับตัวเองไม่ได้ว่า...
เราจะสู้ไหวหรือ? แล้วเราจะเปลี่ยนให้คนมาสนใจธรรมได้บ้างหรือ?
เขียนไป จะมีคนอ่านกันสักกี่หยิบมือ? เลิกเขียนเสียดีกว่าไหม? ฯลฯ
โชคดี บังเอิญได้ย้อนนึกถึงคำครูบาอาจารย์ ท่านพุทธทาสภิกขุ กล่าวไว้ว่า เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๑ ว่า
"เรา ไม่สามารถถึงกับพลิกแผ่นดิน เราสามารถเพียงทำไปเรื่อยๆ ตามสติกำลัง มีผลเท่าไร ก็เอาเท่านั้น แต่เราหวังอยู่ว่า การกระทำด้วยความจงรักต่อพระศาสนาของเรานี้ อาจมีคนเอาไปคิดไปนึก แล้วอาจมีคนทำตามขึ้นมา จนกระทั่งผู้มีอำนาจท่านทำ หรือประชาชนทั้งโลกพากันทำ มันก็อาจมีการพลิกแผ่นดินได้เหมือนกัน แม้เราจะไม่ได้พลิกเอง ผลก็เท่ากัน เราคงยังเจียมตัว และไม่ต้องอกแตกตายเพราะข้อนั้น"
กำลังใจที่อ่อนล้าโรยแรง ก็ได้ Recharge กลับมาใหม่ทันที!
คำสอนของท่านอาจารย์ สะกิดเตือนใจผม อย่าทำงานด้วย "จิตวุ่น" ต้องทำงานด้วย "จิตว่าง"
ใช่ แล้ว "จิตวุ่น" คือจิตที่สอดส่ายไปมาตามแรงกระเพื่อมของกิเลส ไม่ว่าจะเป็นความคาดหวังก็ตาม ความมีตัวกูของกูก็ตาม มันทำให้ "กำลังใจ" ของคนอ่อนลงได้ครับ เพราะจิตที่ส่งออกนอกอยู่ตลอดเวลา หาโอกาสโฟกัสหรือรวมพลังไม่เจอ สุดท้ายก็ต้องเลิกล้มไป
"จิตว่าง" คือจิตที่เพ่งอยู่กับงาน กับกุศลกรรม ที่ทำอยู่ด้วยความปล่อยวาง มีแต่การกระทำ ที่หามีผู้กระทำไม่ (No Doer behind doing) เป็นดวงจิตที่บริสุทธิ์ เปี่ยมพลังและพร้อมทำงานเสมอ และใครเข้าถึง หรือทำเรื่อง "ทำงานด้วยจิตว่าง" นี้เป็น พวกเขาจะคล้ายสร้างงาน ผลิตงานได้ ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ดูอย่างพระผู้สุปฏิปันโนสิ ท่านฉันมื้อเดียวด้วยซ้ำ กิเลสก็น้อยกว่าเราโข แต่ไฉน พระพวกนั้น สามารถทำงานได้ทั้งวันทั้งคืน ผลิตงานออกมามากมาย
ศึกษากันให้ดี จะพบว่า แรงขับ (Driving force) ทางปัญญานั้นมีพลังงานมากกว่าแรงขับทางกิเลสเยอะ นั่นคือเหตุปัจจัย ที่พระบางรูปอย่างท่านพุทธทาส จึงผลิตงานออกมามากมายเกินจะเชื่อได้ว่า ทำออกมาจากพระเพียงรูปเดียวเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นหนังสือธรรมโฆษณ์ series, เทปบันทึกคำเทศนาของท่าน, ลิขิตที่ท่านเขียนใส่หลังกระดาษปฏิทินที่มากมาย กระทั่งท่านดับขันธ์ไปร่วม ๑๗ ปีแล้ว ลูกศิษย์ยังนำเศษกระดาษโน้ตธรรมเหล่านั้น มาเรียบเรียง จัดหมวดหมู่ ตีพิมพ์ไม่หมดเลย ว่ากันว่า ท่านใช้เครื่องพิมพ์ดีดโบราณ (ที่แป้นพิมพ์หนักๆ ต้องใช้แรงนิ้วมากหน่อย) เป็นเครื่องมือ ทำให้ข้อนิ้วเสื่อมเมื่อครั้นปัจฉิมวัยของท่าน
ทำงานทุกชิ้น ทุกชนิดด้วยจิตว่าง เสร็จแล้วปล่อยวาง ไม่ผูกพันเป็นตัวกูของกู เสร็จแล้วเขยิบไปทำชิ้นใหม่ เช่นนี้ๆ เรื่อยไป "กำลังใจ" ก็ไม่หายไปไหน มีแต่จะเพิ่มเติมขึ้นมาทุกเมื่อเชื่อวัน ขอให้ทุกท่านมีกำลังใจในการทำสิ่งดีๆ เข้าถึงธรรม นำมาใช้ในวิถีชีวิตได้จริงๆ กันทุกท่านเทอญ ขอปิดท้ายด้วยกลอนของท่านพุทธทาสภิกขุ
จงทำงาน ทุกชนิด ด้วยจิตว่าง
ยกผลงาน ให้ความว่าง ทุกอย่างสิ้น
กินอาหาร ของความว่าง อย่างพระกิน
ตายเสร็จสิ้น แล้วในตัว แต่หัวที
ท่านผู้ใด ว่างได้ ดังว่ามา
ไม่มีท่า ทุกข์ทน หม่นหมองศรี
"ศิลปะ" ในชีวิต ชนิดนี้
เป็น "เคล็ด" ที่ใครคิดได้ สบายเอยฯ
"กำลังใจ" ห้ามหมด (๑) khaosod
โลกนี้ไม่สิ้นกลิ่นธรรม
โดยศิษย์อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก/ พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา
เสีย "เงินทอง" ถือว่าเสียเพียงหนึ่ง
สีย "ชื่อเสียง" ถือว่าเสียมากกว่าหนึ่ง
แต่หากสูญเสีย "กำลังใจ"
ถือว่าเสียทุกอย่าง.
สุภาษิตจีนโบราณ
(ขออภัยที่ไม่อาจหาพบนามผู้ประพันธ์)
แหม...อ่าน แล้วชอบมากครับ มันเป็นอะไรที่คนเราต้องให้กำลังใจตัวเองตลอดเวลานะครับ เพราะ "กำลังใจ" ที่สร้างได้ด้วยตัวเองตลอดเวลานั้น วิเศษที่สุดครับ ดียิ่งกว่าแบตเตอรี่ที่ชาร์จใหม่ได้ (Rechargeable Battery) อีกนะครับ เพราะการสร้างใหม่ซึ่งกำลังใจในตัวเรา ไม่ต้องการปลั๊กไฟ ไม่ต้องใช้แหล่งพลังงานด้านนอกแต่อย่างใด
บางคนอาจตั้งคำถามในใจ แล้วจะต้องทำยังไงล่ะ? ทำไมคนไทยท้อใจ หมดแรงใจกันง่ายจัง? ภูมิพลังชีวิตของพวกเราชาวพุทธทำไมอ่อนแอจังเลย?
ผมมีคำตอบให้ทั้งหมด พร้อมอุบายในการสร้าง "กำลังใจ" ด้วยครับ...
อุบายที่ ๑ ; โลกนี้ไร้เรื่องยาก หากเป็นคนใจถึง
ภาษิต จีนโบราณชิ้นนี้ ผมชอบมาก เห็นครั้งเดียวจำได้ไม่ลืมเลย (แต่ขออภัยที่หาชื่อผู้ประพันธ์ไม่พบ) "ใจ" เป็นนาย "กาย" เป็นบ่าว, โบราณว่าไว้ไม่ผิด พระพุทธเจ้าก็ตรัส "ใจ" เป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จลงได้ด้วยใจ
หาก "ใจสู้" แม้ร่างกายพิการแต่ก็ยังทำงานได้อย่างสำเร็จภาคภูมิ ตรงกันข้าม หาก "ใจไม่สู้" นิดๆ หน่อยๆ ก็ท้อถอย ทำอะไรก็ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ดังกับเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อนี้ แม้ร่างกายจะสมบูรณ์ครบ ๓๒ เป็นปกติ ก็อยู่อย่างรกโลก หายใจทิ้งไปวันๆ บางคนอายุเกือบ ๕๐ ปีแล้ว ยังขอเงินแม่กินอยู่เลย ก็ยังมีให้เห็นในสังคมไทย
ส่วนคนบางคน แม้อายุจะยังไม่มาก แต่ก็รู้จักคิดเองได้ สร้างกำลังใจให้ตัวเองได้ ตั้งแต่อายุ ๑๖-๑๗ ปี เด็กคนนี้ ไม่มีผู้ใหญ่ในครอบครัวให้คำชี้แนะ เกี่ยวกับเรื่องการสอบเข้ามหาวิทยาลัย (Entrance) เลย เนื่องด้วยครอบครัวสมัยก่อนไม่ค่อยอบอุ่น พ่อแม่ก็มีการศึกษาไม่สูง ซ้ำต้องทำมาหากิน มีลูกเป็นฝูง จึงต้องเลี้ยงกันไปแบบ "ตายฝัง ยังเลี้ยง" เด็กคนนี้ จึงพลาดการสอบเข้าครั้งแรก คือสอบเอ็นท์ไม่ติด คนเป็นพ่อ นอกจากจะไม่ช่วย ไม่ปลอบใจแล้ว ยังซ้ำเติมว่า
"ทำไม อ่านหนังสือตั้งเยอะ แล้วยังสอบไม่ติด?"
เด็ก วัยรุ่นคนนี้ รู้สึกเหมือนโดยคำพูดของพ่อตัวเอง ซัดเข้าเต็มหัวใจที่กำลังอ่อนล้า แม้คนเป็นพ่ออาจไม่มีเจตนา แต่มันก็ทำให้แย่ แทบหาหลักยึดไม่มี แทนที่จะท้อแท้ ประชดเลิกเรียน เลิกสอบไป หรือหนีออกจากบ้านไปเลย (เด็กวัยรุ่นสมัยนั้น ส่วนใหญ่ต้องเคยคิดเรื่องหนีออกจากบ้านอย่างน้อยก็ครั้งนึงในชีวิต) เขากลับแปลงความพ่ายแพ้ครั้งนี้ เป็นพลัง เขียนเป็นกลอนไว้ ให้กำลังใจตัวเอง...
โบยบิน สู่โลกกว้าง
หนทาง...ฉันกำหนด
แม้ไกลจนเลี้ยวลด
ไม่เคยหมด "กำลังใจ"
ตั้ง หน้าตั้งตาวางแผนสอบใหม่ โดยเริ่มจากการวิเคราะห์ข้อผิดพลาดที่ผ่านมา ทำไมเราถึงสอบไม่ติด แล้วแจกแจงออกมาเป็นวิชาๆ เทียบสถิติเก่าๆ เปอร์เซ็นต์ของคะแนนต่ำสุดในแต่ละคณะ แต่ละมหา'ลัย แล้วปรับกลยุทธ์การเลือก ติวกวดวิชาเพิ่มเพื่อสอบใหม่ ในปีถัดไป ในที่สุด ผลก็ติดคณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯ ตามที่ตัวเองตั้งใจไว้ เมื่อกลับไปบอกพ่อให้ทราบ...ปรากฏว่า พ่อตอบกลับ ด้วยทรรศนะที่คับแคบของท่านว่า
"อ้าว...ติดแล้วเหรอ ทำไมไม่ไปเรียน จุฬาฯ หรือธรรมศาสตร์ล่ะ แล้วไอ้วิศวะเนี่ย มันคืออะไรเหรอ?"
เด็ก ชายวัยรุ่นคนนั้นได้แต่ยิ้มๆ แล้วไม่ตอบอะไรออกไป เพราะมันเป็นคำถามที่ไม่ต้องการคำตอบอย่างแท้จริง และเขาก็รู้เส้นทางชีวิตของตัวเองแล้ว ทั้งหมดก็คือ "ใจ" ของตนนั่นเอง
หลาย คนอาจจะตั้งข้อสงสัย เหตุใดไปรู้ใจเด็กวัยรุ่นคนนั้นได้ถึงขนาดนี้ ผู้เขียนนั่งเทียนเขียนโม้เกินจริงหรือเปล่า? ก็คงต้องบอกว่า เด็กชายคนนี้เมื่อวันก่อน ก็คือผู้เขียนในปัจจุบันนั่นเอง!
อุบายที่ ๒ ; อยู่กับปัจจุบัน
"อดีต" ก็ได้ผ่านไปแล้ว อาลัยอาวรณ์ไปก็ไร้ประโยชน์,
"อนาคต" ก็ยังไม่มาถึง มัวกังวลบ่นพร่ำพรึงเพื่อประโยชน์อันใด
ขณะปัจจุบันนี้ หากลุกขึ้นทำสิ่งดีงามพิสุทธิ์ใส
ก็มั่นใจได้ว่า "อนาคต" ย่อมดีแน่นอน แล้วเมื่อกาลผ่านพ้นไป "อดีต" ก็จะต้องดีตามฯ
สูเจ้า จะโทษใครไปไยเล่า เจ้าก็เลือกทางชีวิตคิดสะระตะแล้ว ปราชญ์บางท่านว่า จริงๆ แล้ว อดีต และอนาคต ไม่มี มีแต่เพียงชั่วขณะปัจจุบัน แล้วผ่านไปๆ เป็นจุดๆๆๆ แต่สืบต่อจนเราอนุมานไปเองว่า เป็นช่วงเวลา คนที่คิดแบบนี้ได้ต้องเป็นนักฟิสิกส์แน่นอน
การอยู่กับปัจจุบันขณะ อาจจะยังยากสำหรับบางท่าน ผมจะพูดให้ง่ายเข้าว่า ให้เราทำงานปัจจุบันนี้ให้ดีที่สุดละกัน ชิ้นที่ผ่านมาแล้ว จะสำเร็จได้รับความชื่นชม ก็ไม่เหลิง ไม่ปลื้ม หรือจะได้รับคำตำหนิก็ไม่โกรธ ไม่แคร์ แต่รับไว้พิจารณาทั้ง ๒ กรณี หากแต่จิตในปัจจุบันขณะนี้เท่านั้น ที่โฟกัสอยู่กับแต่งานในปัจจุบัน การปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างในปัจจุบัน เท่านั้น สร้าง "กำลังใจ" ให้ตัวเอง ณ ขณะจิตที่กำลังทำงานนี้อยู่เท่านั้น นี้คืออยู่กับปัจจุบัน
อุบายที่ ๓ ; เพิ่มทัศนคติบวก ลดทัศนคติลบ (กำจัดเลยได้ยิ่งดี)
เมื่อ งานสัปดาห์หนังสือที่ผ่านมา พระอาจารย์สง่า (วัดปัญญานันทาราม) เล่าให้ฟังว่า...แหม คนเราสมัยนี้ มันคิดในแง่ลบกัน เก่งนะ วันๆ คิดแต่ว่า ตัวเองกำลังทุกข์เรื่องอะไร ทุกข์เรื่องโน้น ทุกข์เรื่องนี้ เต็มไปหมด พูดง่ายๆ คือ ทุกข์เก่ง...
บางคน แหมตื่นเช้ามา ยังไม่ทันทำอะไร ไปนั่งอยู่หน้าระเบียง ทำหน้ากลัดกลุ้มใจ เพื่อนบ้านผ่านไปเห็นก็ถามทักไปว่า
"เป็นอะไรเหรอ มานั่งทำหน้าอย่างนี้แต่เช้า?"
เขาตะโกนตอบกลับมา
"มันทุกข์น่ะ"
"ทุกข์เรื่องอะไรล่ะ?"
"ยังไม่รู้เลย ยังนึกไม่ออก...กำลังนึกอยู่ว่าวันนี้จะทุกข์เรื่องอะไรดี???"
ซะงั้น
นี่คือตัวอย่างสุดโต่ง ของการมีทัศนคติลบ อีกกรณีหนึ่ง พวกฝรั่งชอบเอามาพูด เห็นน้ำครึ่งแก้ว คนที่มีทัศนคติลบ (คิดลบ) มักจะพูดว่า
"น้ำหมดไปตั้งครึ่งหนึ่งแล้ว"
ส่วนคนที่คิดบวก จะพูดว่า
"น้ำยังเหลืออีกตั้งครึ่งแก้ว"
จึง เป็นที่มาของเรื่องอมตะเกี่ยวกับเซลส์แมน ๒ คน ที่ถูกส่งไปเปิดตลาดขายยกทรงที่เกาะบาหลี ต่างเวลากัน บางคนอาจเคยได้ยินมาแล้ว ก็ถือว่าเล่าสู่กันฟังละกันนะครับ
บริษัท ผลิตยกทรงแห่งหนึ่ง ส่งเซลส์แมนคนแรก ไปสำรวจตลาดที่เกาะบาหลีเป็นเวลา ๑ วัน สมัยนั้นสาวๆ ทั้งสาวแก่แม่ม่าย ไม่มีใครใส่ยกทรงกันเลย เดินโทงเทง ไหวตามความเป็นธรรมชาติของชาวเกาะ เมื่อครบกำหนด เซลส์แมนจึงเดินทางกลับมารายงานเจ้านายว่า
"ลืมเกาะนี้เสียเถิดครับ ไม่มีใครใช้ยกทรงเลย ขืนทำตลาดที่นั่น มีแต่เจ๊งกับเจ๊ง"
อีก ๑ เดือนถัดมา บริษัทเดียวกัน ได้ส่งเซลส์แมนคนใหม่ไฟแรง ไปที่เกาะเดียวกัน ด้วยวัตถุประสงค์เดียวกัน แต่เซลส์แมนคนนี้ กลับมารายงานว่า...
"เจ้า นายครับ ตลาดที่นั่นใหญ่มาก ยังไม่เคยมีใครใช้ยกทรงมาก่อนเลย เพียงแค่เราไปแนะนำ รณรงค์ให้เขาเห็นความจำเป็นในการใช้ยกทรง เราอาจสร้างโรงงานผลิตยกทรงที่นั่นได้เลยนะครับ!"
เข้าทำนอง...สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งเห็นโคลนตม คนหนึ่งเห็นดวงดาว
วันนี้พื้นที่หมด ครั้งหน้ามาต่ออุบายที่ ๓ กันต่อนะครับ ยังๆ ยังไม่จบ
วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ความอดทน khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
ผู้ มีความอดทนย่อมไม่เป็นอันตรายกับใครๆ มีแต่จะนำประโยชน์สุขมาให้กับผู้ที่คบหาสมาคมด้วยอย่างเดียว เพราะผู้มีความอดทนย่อมมีมงคลคือความเจริญในตนอยู่แล้ว จะประกอบกิจการทุกสิ่งล้วนทำด้วยปัญญาอันมีเหตุมีผลทั้งนั้น อีกทั้งเป็นผู้หนักแน่น ไม่หวั่นไหวได้ง่าย
ส่วนผู้ที่ไม่มีความอด ทนย่อมตรงกันข้าม คือ เมื่อได้ประสบกับอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจเข้าก็อาจจะแสดงกิริยาอาการอันไม่งาม ไม่น่าชมออกมาได้ทุกเวลา ทุกโอกาสสถานที่ และเมื่อเป็นเช่นนี้การประกอบกิจการทุกสิ่งทุกอย่าง หรือการคบหาสมาคมกับคนอื่น เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขต่อกันนั้น ก็ย่อมจะถึงกาลเสื่อมเสียไป ความอดทนท่านจำแนกไว้เป็น 3 ประการ คือ
1.อด ทนต่อความยากลำบาก หมายความว่า อดทนต่อทุกขเวทนาที่เกิดจากความเจ็บไข้ได้ป่วย เพราะทุกชีวิตที่เกิดมาแล้วย่อมไม่พ้นจากความแก่ ความเจ็บ และความตายไปได้ จำต้องประสบพบพานกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะยากจน หรือร่ำรวย
2.อดทนต่อ ความตรากตรำ หมายความว่า อดทนต่อความทุกข์ยากจากการทำงาน เพราะทุกคนสามารถดำรงชีพอยู่ได้ ก็เพราะอาศัยอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งผู้ที่จะได้สิ่งเหล่านี้มาเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิต จะต้องขยันประกอบอาชีพการงาน แต่ถ้าเป็นคนเกียจคร้าน ไม่ทำงาน ก็จะมีความเป็นอยู่ลำบาก หากมีความขยันหมั่นเพียร ไม่เกียจคร้าน ก็จะหาทรัพย์ได้
3.อดทนต่อความเจ็บใจ หมายความว่า อดทนต่อความโกรธที่มากระทบกระทั่ง เพราะทุกคนจะอยู่ลำพังคนเดียวไม่ได้ ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นหมู่คณะ เป็นครอบครัว ตลอดถึงเป็นประเทศชาติ ผู้อยู่ร่วมกันเช่นนี้บางครั้งอาจมีความกระทบกระทั่งกัน ทะเลาะวิวาทบาดหมางกันบ้าง เพราะต่างก็มีความเห็นแก่ตัวด้วยกันทั้งนั้น ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดความอดทนแล้ว ความทะเลาะวิวาทบาดหมางก็จะแตกแยกแผ่ขยายกว้างออกไป จนทำให้เสียหน้าที่การงานได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ประโยชน์สุขก็จะไม่เกิดขึ้น
ท่านผู้มีปัญญาพิจารณาถึงโทษที่เกิดขึ้นแล้วควรใช้ความอดทนเข้า ระงับความเจ็บใจ อันก่อให้เกิดความโกรธ จนสามารถให้เกิดเป็นเวรภัยแก่ตนและคนอื่นได้ เมื่อทำได้เช่นนี้แล้วก็ย่อมจะได้รับประโยชน์สุข ได้ชื่อว่าอดทนต่อความเจ็บใจ อันเป็นยอดของความอดทนทุกอย่าง ดังนั้น ผู้ที่มีขันติธรรม คือความอดทน เป็นผู้ปราศจากเวร นอกจากจะเป็นที่รักใคร่นับถือสำหรับมนุษย์ทั้งหลายแล้ว ยังเป็นที่รักใคร่นับถือของทวยเทพเทวดาทั้งหลาย ย่อมสามารถนำประโยชน์สุขมาให้แก่ตนเองและคนเหล่าอื่นได้อีกด้วย
พระเทพคุณาภรณ์
(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เป็นไปตามกรรม khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตรัสไว้ว่า โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรม
ประการที่ 1 โลกย่อมเป็นไปเพราะกรรม คำว่าโลกนี้ท่านหมายเอาทั้งที่อยู่อาศัยและผู้อยู่อาศัย เช่น มนุษยโลก โลกของมนุษย์ เทวโลก โลกของเทวดา พรหมโลก โลกของพรหม อากาศโลก โลกคือแผ่นดิน นี้เป็นสถานที่อยู่อาศัย ส่วนคำว่า สังขารโลก โลกคือสังขาร หมายเอาสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น และคำว่าสัตว์โลก โลกคือหมู่สัตว์ หมายเอามนุษย์และสัตว์ทุกประเภท ท่านกล่าวว่าย่อมเป็นไปเพราะกรรม คือ สถานที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ จะเสื่อมโทรมลง หรือจะดีขึ้น ก็อาศัยกรรมคือการกระทำนั่นเอง คือ บางครั้งเกิดจากธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด น้ำท่วม เป็นต้น ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินเป็นอันมาก แต่บางครั้งเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น น้ำในแม่น้ำลำคลองเน่าเสีย เป็นต้น เหล่านี้เกิดจากการกระทำของมนุษย์ การจะเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นเพียงใด ก็อยู่ที่การแก้ไขปรับปรุงพฤติกรรมของมนุษย์
ประการที่ 2 หมู่สัตว์ย่อมเป็นไปเพราะกรรม หมายเอามนุษย์และสัตว์อื่นๆ ทุกประเภท จะเป็นไปคือจะได้รับความสุขหรือทุกข์ ก็เพราะกรรม คือ การกระทำ พระพุทธเจ้า ตรัสว่า เจตนาเป็นกรรม คือ การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา มีความตั้งใจ ความจงใจ จึงเป็นกรรม กรรมนี้ สามารถแบ่งออกได้หลายประเภท คือ หากพิจารณาถึงมูลเหตุที่เป็นตัวชักนำให้ลงมือกระทำก็มี 2 อย่าง คือ กรรมดี และ กรรมชั่ว กรรมดีเกิดจากความไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญแล้วจึงกระทำ ส่วนกรรมชั่วนั้นเกิดจากความโลภ ความโกรธ และความหลง กรรมทั้ง 2 อย่างนี้ให้ผลต่างกันมาก คือ กรรมดีให้ผลเป็นความสุข ความเจริญ ส่วนกรรมชั่วให้ผลเป็นทุกข์ ความเดือดร้อน
ประการที่ 3 สัตว์ทั้งหลายถูกผูกไว้ในกรรม ทั้งกรรมดี ทั้งกรรมชั่ว ล้วนเป็นเหตุให้สัตว์ติดอยู่ ข้องอยู่ในโลกทั้งนั้น เพราะผลของกรรมดี ย่อมเป็นที่พอใจ อยากทำกรรมในลักษณะนั้นอีก เหมือนผลไม้ชนิดใด อร่อยถูกใจ ก็ย่อมซื้อหามาบริโภคอีก และผลของกรรมชั่ว ย่อมไม่เป็นที่พอใจ ก็จะแสวงหาวิธีหลีกเหลี่ยง โดยทำกรรมอื่นที่คิดว่าจะได้ผลเป็นที่พอใจ เมื่อมีใจติดข้องอยู่เช่นนี้ ยังไม่มีสติปัญญาพอที่จะหยุดกระแสของกรรมได้ ก็จะต้องเสวยสุขและทุกข์เรื่อยไป ลักษณะเช่นนี้จึงได้ชื่อว่า ถูกกรรมผูกไว้ ฉะนั้น หากบุคคลใด มีปัญญาพิจารณาเห็นทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายอยู่ในกระแสของกรรม ถูกกรรมชักนำให้ประสบทุกข์นานาประการ จะต้องปฏิบัติตนตามมรรคมีองค์ 8 เจริญสติปัฏฐานอยู่เสมอ ก็จะเป็นเหตุให้พ้นจากกองทุกข์ ประสบสุขสงบได้
เพราะฉะนั้น โลกคือสถานที่อยู่อาศัย และสัตว์โลกผู้อยู่อาศัย จะประสบความเสื่อมหรือความเจริญ ก็เพราะกรรมคือการกระทำ ทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ และที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งสามารถบรรเทาและเปลี่ยนแปลงได้ ด้วยสติปัญญาของมนุษย์ โดยพิจารณาหาเหตุและผลให้ถ่องแท้ แล้วพยายามละเหตุนั้นๆ เสีย ต่อแต่นั้น ก็จะตัดกระแสกรรมได้ทีละอย่างทีละชนิด เหมือนกับการถอดสลักลิ่มของรถออกทีละชิ้นๆ รถนั้นก็จะแล่นไปไม่ได้อีกต่อไป สภาพของรถก็จะหมดไป นั่นย่อมหมายความว่า ได้พ้นจากกองทุกข์ ประสบสันติสุขในที่สุด
พระเทพคุณาภรณ์
(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ทำบุญขึ้นบ้านใหม่ khaosod
คอลัมน์ ศาลาวัด
ใน พิธีการทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ถ้าเจ้าบ้านมีความประสงค์ที่จะประกอบพิธีตามทางศาสนาและมีการเชิญแขกให้มา ร่วมด้วย มีหลักที่จะต้องปฏิบัติ ดังนี้
กำหนดวันทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ให้เป็นที่แน่นอนและถ้าต้องการให้เป็นมงคลตามความเชื่อถือที่มีมาแต่โบราณ แล้ว พึงไปหารือกับผู้ที่มีความรู้ทางโหราศาสตร์ให้กำหนดวันและเวลาให้
เมื่อใกล้กับวันที่กำหนดไว้ ต้องเตรียมตกแต่งบ้านเรือนที่จะทำบุญขึ้นบ้านใหม่นั้นให้เรียบร้อยตามสมควร
เมื่อ กำหนดวันงานแน่นอนแล้ว ไปอาราธนาพระตามจำนวนที่ต้องการ ก่อนถึงวันงานอย่างน้อย 3-7 วัน การอาราธนานั้น ถ้าสามารถเขียนหรือพิมพ์เป็นฎีกานิมนต์ได้เป็นการดีที่สุด โดยบอกกำหนด วัน-เดือน-ปี และงานให้ละเอียด
จำนวนพระที่นิมนต์ ตามปกติจำนวนคือ 5 รูป 7 รูป 9 รูป แต่ส่วนมากนิยมนิมนต์ 9 รูป ถือกันว่าเลข 9 เป็นเลขมงคล
การ ตั้งโต๊ะหมู่บูชา นิยมจัดไว้ทางด้านขวามือของพระสงฆ์ โดยให้พระพุทธรูปหันพระพักตร์ไปด้านเดียวกับพระสงฆ์ ถ้าสถานที่ไม่พอก็ให้จัดตามความเหมาะสมกับสถานที่
พระพุทธรูปที่จะ นำมาตั้งโต๊ะหมู่บูชานั้น ไม่ให้มีครอบและเล็กจนเกินไปหรือใหญ่เกินไป มีแจกันดอกไม้ พานดอกไม้ จัด 3 หรือ 5 พาน แจกันจะใช้ 1-2 คู่ แล้วแต่ขนาดของโต๊ะ กระถางธูปให้ปักธูปไว้ 3 ดอก เชิงเทียน 1 คู่ พร้อมเทียน
ขันน้ำมนต์ จะใช้ขันหรือบาตรน้ำมนต์มีเชิงก็ได้ ใส่น้ำสะอาดพอควร มีเทียนขี้ผึ้งอย่างดี 1-2 เล่ม สำหรับพระทำน้ำพระพุทธมนต์
ด้าย สายสิญจน์ ใช้ด้ายดิบจับ 9 เส้น 1 ม้วน โยงรอบบ้านหรือบริเวณพิธี เวียนจากซ้ายไปขวา โยงเข้าหาพระประธานที่โต๊ะหมู่บูชา ไม่ควรเอาไปพันไว้ที่รอบองค์พระประธาน แต่ให้เวียนรอบฐานองค์พระประธานโยงมาที่ขันหรือบาตรน้ำมนต์
การปู อาสนะสำหรับพระสงฆ์ ควรใช้เสื่อหรือพรมปูเสียชั้นหนึ่ง ข้อสำคัญควรระวัง อย่าให้อาสนะพระสงฆ์กับอาสนะของคฤหัสถ์ฝ่ายเจ้าภาพเป็นอันเดียวกัน ควรปูลาดให้แยกจากกัน
เครื่องรับรองพระ มีกระโถน ภาชนะน้ำเย็น พานใส่หมากพลู วางไว้ทางด้านขวามือของพระสงฆ์เป็นรายรูป โดยถวายเมื่อพระสงฆ์เข้านั่งที่เรียบร้อยแล้ว
สำหรับแขกที่จะไปงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ควรแต่งกายให้เรียบร้อยและควรหาของขวัญไปกำนัลแด่เจ้าภาพตามสมควร
ทั้งนี้ ผู้เป็นแขกไม่พึงวิจารณ์บ้านใหม่ของเจ้าภาพให้เป็นไปในทางไม่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เกิดความไม่สบายใจ
ก่อนลากลับ ควรอวยพรและแสดงความปรารถนาให้เจ้าภาพอยู่บ้านใหม่ด้วยความสุข
พ่อแห่งชาติ khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
วัน ที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันสำคัญของปวงชนชาวไทย เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ "วันพ่อแห่งชาติ" และในฐานะที่พระองค์ทรงครองแผ่นดินโดยธรรม ทรงสละประโยชน์สุขส่วนพระองค์ เพื่อประโยชน์สุขแก่ประชาชนชาวไทยมาโดยตลอด
ธรรมะในวันนี้ จะได้กล่าวถึง พละ ซึ่งหมายถึง พลังของผู้ยิ่งใหญ่ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดงไว้ในขุททกนิกาย ชาดกซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ ได้แก่
1. กายพละ หมายถึง กำลังทางกาย คือ ทรงมีพระสุขภาพพลานามัยที่ดี ทรงพระปรีชาสามารถและชำนาญ ปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่างๆ ให้สำเร็จประโยชน์ด้วยดี
2. โภคพละ หมายถึง กำลังโภคสมบัติ คือ ทรงมีทุนทรัพย์บริบูรณ์ ทรงขวนขวายบำรุงกสิกรรม พาณิชยกรรม เป็นต้น อันเป็นทางเกิดแห่งโภคสมบัติต่างๆ เพียงพอแก่การดำรงชีวิตด้วยความสบายของข้าราชบริพารและประชาชนทั่วไป และดำเนินพระราชกรณียกิจได้อย่างไม่ติดขัด
3. อมัจจพละ หมายถึง กำลังข้าราชการ คือ ทรงมีที่ปรึกษาและข้าราชการระดับบริหารที่ทรงคุณวุฒิ มีความสามารถ และจงรักภักดี ซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติบ้านเมือง
4. อภิชัจจพละ หมายถึง กำลังความมีชาติสูง คือ ทรงกำเนิดในตระกูลสูง เป็นขัตติยชาติ ทรงเป็นที่นิยมเชิดชูของมหาชน ซึ่งเกิดขึ้นได้จากการที่ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบารมีมาแต่ปางก่อน และได้รับการฝึกอบรมมาแล้วเป็นอย่างดีตามประเพณีแห่งชาติตระกูลนั้น
5. ปัญญาพละ หมายถึง กำลังปัญญา คือ ทรงมีพระปรีชาสามารถ หยั่งรู้เหตุผล ผิดชอบ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ สามารถวินิจฉัยเหตุการณ์ทั้งภายในและภายนอกอันเป็นไปในปัจจุบันสมัย ทรงดำริการต่างๆ ให้ได้ผลเป็นอย่างดี
พละ หรือ กำลังทั้ง 5 ประการดังกล่าวมา ปัญญาพละ กำลังปัญญา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงจัดว่า เป็นกำลังสำคัญอันประเสริฐ เป็นยอดแห่งกำลังทั้งปวง เพราะเป็นเครื่องนำทางกำลังอื่นๆ ทุกอย่าง กายพละ กำลังทางกาย แม้จะเป็นกำลังอันสำคัญก็จริง แต่ทรงจัดเป็นความสำคัญประการสุดท้าย เพราะถ้าไม่มีกำลังอย่างอื่นมาช่วยควบคุม ก็อาจกลายเป็นกำลังที่ไม่ดีไปได้
ใน วโรกาสมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 5 ธันวาคม 2553 นี้ ขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนและปวงชนชาวไทย แสดงความกตัญญูกตเวทีด้วยการร่วมใจด้วยการประพฤติปฏิบัติตามแนวศีล 5 คือ
1. ไม่มุ่งร้ายทำลายผู้อื่น
2. ไม่ทุจริตฉ้อโกง
3. ไม่ประพฤติผิดในกาม
4. ไม่หลอกลวงกล่าวเท็จ
5. ไม่เกี่ยวข้องสิ่งเสพติดให้โทษ
ทั้ง นี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอถวายพระพรชัยมงคลให้พระองค์ทรงพระเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนาน ทรงพระเกษมสำราญตลอดจิรัฐิติกาล
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร / www.watdevaraj.com 02-281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 02-281-2430 end_of_the_skype_highlighting
วันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
รู้จักประมาณ khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
ใน หมู่มนุษย์และสัตว์ทุกจำพวก ต่างมีความปรารถนาต้องการความสุขด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะมนุษย์ซึ่งเป็นผู้มีสติปัญญาสูง มีความรู้ความสามารถมากกว่าสัตว์เหล่าอื่น เพราะว่ามนุษย์รู้จักสิ่งที่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ดังนั้น จึงดิ้นรนแสวงหาความสุขให้แก่ตนเอง ความปรารถนาหาความสุขนั้นมีทั้งถูกต้องและไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม เมื่อใดมนุษย์แสวงหาความสุขอย่างไม่มีขอบเขต ปล่อยให้เป็นไปตามอำนาจของกิเลส ความทุกข์ความเดือดร้อนก็จะเกิดขึ้นทั้งแก่ตนและผู้อื่น เพราะเป็นการดิ้นรนเกินขอบเขต เกินประมาณที่พอดี
คำว่าประมาณ หมายถึง การกะ กำหนด คาดคะเน คาดหมาย ในการประมาณนั้น ท่านแสดงการประมาณไว้ 3 ประการด้วยกัน คือ 1.ประมาณในการแสวงหา 2.ประมาณในการรับ และ 3.ประมาณในการบริโภค
ประการที่ 1 ประมาณในการแสวงหา สมเด็จพระบรมศาสดาทรงแสดงลักษณะการแสวงหาไว้ 2 อย่าง คือ 1.การแสวงหาอย่างประเสริฐ ได้แก่ การแสวงหาทางดับความทุกข์ ทั้งที่เป็นทุกข์ประจำสังขาร หรือทุกข์อื่นใด ล้วนไม่เป็นที่พึงประสงค์ของใครๆ มนุษย์ทั้งหลายทั้งในอดีตและปัจจุบันจึงแสวงหาทางดับทุกข์เหล่านั้น ทางดับทุกข์ดับกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง พระบรมศาสดาทรงตรัสความจริงอย่างประเสริฐ 4 ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เมื่อดำเนินตามหลักความจริงนี้แล้ว ย่อมสามารถสลัดออกจากกองทุกข์ สละภพ สละชาติได้ คือ ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏอีกต่อไป การแสวงหาอย่างนี้เรียกว่า การแสวงหาอย่างประเสริฐ 2.การแสวงหาอย่างไม่ประเสริฐ ได้แก่ การแสวงหาที่เป็นไปตามคดีโลก เช่น การแสวงหาเกียรติยศ ลาภ สุข สรรเสริญ ซึ่งเป็นที่ปรารถนาของชาวโลก จึงมีการดิ้นรนแสวงหากันมาก ถ้าผู้ใดแสวงหาไม่รู้ประมาณ แสวงหาในทางที่ไม่ถูกต้อง ความทุกข์ ความเดือดร้อนก็จักเกิดมีแก่ผู้นั้น
ประการ ที่ 2 ประมาณในการรับ การรับเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องการ โดยเฉพาะในสิ่งที่น่าปรารถนา จะเห็นได้ว่าเมื่อตอนที่เราเป็นเด็ก อยู่ในฐานะที่จะรับการอนุเคราะห์สงเคราะห์จากบิดามารดา แต่เมื่อเติบโตขึ้นมา มีการศึกษา มีงานทำแล้ว จะเป็นผู้รับฝ่ายเดียวดูจะไม่สมควร เพราะการคอยแบมือรับจากบิดามารดาอยู่ร่ำไปก็เป็นเด็กที่ไม่รู้จักโต ฉะนั้นจึงควรเป็นผู้รู้ประมาณในการรับ รู้ฐานะของตน การรู้จักความพอดี พอประมาณนั้น จะเป็นสื่อสร้างความนิยมชมชอบ เป็นที่เมตตาเอ็นดูของผู้ให้
ประการ ที่ 3 ประมาณในการบริโภค การรับประทานและการใช้สอยต้องรู้จักประมาณในการบริโภคใช้สอย การบริโภคอาหารนั้นไม่ควรมากหรือน้อยเกินไป คือควรกินอย่างพอประมาณ กินอย่างมีสติ ไม่มัวเมาในรสอาหาร ส่วนการใช้สอยทรัพย์ควรใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสูด โดยยึดหลักการเลี้ยงชีวิตพอสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้ ไม่ให้ฝืดเคืองนัก ไม่สุรุ่ยสุร่าย
ฉะนั้น ท่านสาธุชนทั้งหลายควรเป็นผู้รู้จักประมาณ คือความพอดี รู้ประมาณทั้งในการแสวงหา ทั้งในการรับ ทั้งในการบริโภคใช้สอย ให้พอดี พอเหมาะ พอควร ชีวิตก็จะมีแต่ความสุข ไม่มีความเดือดเนื้อร้อนใจในที่ทุกสถานในกาล ทุกเมื่อ
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร / www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
Citizen's Property From Khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
ชาว ไทยทุกคนได้นามว่าเป็นพลเมือง อันหมายความว่าผู้เป็นกำลังของเมือง เมืองไทยจะทรงอยู่ได้ก็ต้องอาศัยชาวไทยทุกคนเป็นกำลังเป็นเรี่ยวแรงช่วยกัน พยุงไว้ไม่ให้ล่มจม ชาวไทยทุกคนที่ได้ชื่อว่าเป็นพลเมืองของประเทศชาติและพระศาสนา ก็เพราะทำหน้าที่ของพลเมืองโดยสมบูรณ์ ทำตนให้พร้อมมูลด้วยคุณสมบัติ ของพลเมือง 3 ประการด้วยกันคือ 1.ความเป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ 2.ความเป็นผู้มีเกียรติ 3.ความเป็นผู้มีไมตรีต่อกัน
ประการที่ 1 ความเป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สมบัติในที่นี้ ท่านประสงค์เอาเฉพาะพัสดุ จำแนกออกเป็น 2 สิ่งคือ 1.ที่เป็นทรัพย์โดยตรง เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้สอย เป็นต้น จัดเป็นโภคทรัพย์ 2.สิ่งที่เป็นกลางสำหรับแลกเปลี่ยนโภคทรัพย์นั้น ได้แก่ เงินตรา เป็นต้น จัดเป็นธนทรัพย์ ทรัพย์เป็นกำลังในอันจะยังกิจ ที่จะพึงทำให้สำเร็จ ทั้งในส่วนของบุคคลและในส่วนของประเทศชาติ ในส่วนของบุคคล เช่น การเลี้ยงตน เลี้ยงครอบครัว สงเคราะห์ญาติ มิตร ทำบุญทำทาน เป็นต้น ในส่วนของประเทศชาติ เช่น การบำรุงให้ประเทศชาติเจริญ เสียภาษีอากร เป็นต้น กิจเหล่านี้ต้องอาศัยทรัพย์เข้ามาอุดหนุนเป็นส่วนใหญ่ อีกอย่างหนึ่ง การที่เราจะได้ทรัพย์มานั้น สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสไว้ว่า ต้องเป็นคนขยัน ทำให้เหมาะเจาะแก่กาลเทศะ และความเป็นผู้เอาใจใส่ไม่ทอดธุระ ย่อมหาทรัพย์ได้
ประการที่ 2 ความเป็นผู้มีเกียรติ หมายความว่า การอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะ ควรทำตนให้เป็นคนดี สมควรที่เขาจะพึงยกย่องนับถือ ถ้ายิ่งทำอุปการะให้แก่หมู่คณะด้วย ก็ยิ่งจะช่วยเพิ่มความนับถือของชุมชน นั้นจัดเป็นเกียรติ คือ ชื่อเสียงดี และเกียรตินั้นจะเกิดมีด้วยการดำเนินตนให้มีคุณสมบัติทัดเทียมกัน มีความเพียรหาเลี้ยงชีพของตนและครอบครัว มีสติรู้จักระมัดระวังรอบด้าน สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสว่า คนย่อมได้ชื่อเสียงเพราะความสัตย์ จะเห็นได้ว่า ผู้มีความซื่อสัตย์ มีวาจาเชื่อถือได้ ให้ปฏิญญาแก่ใครแล้ว ไม่กลับคำเสีย ไม่คิดร้ายต่อพวกพ้องและแผ่นดินถิ่นที่อยู่อาศัย บุคคลเช่นนี้ย่อมสามารถทำตนให้เป็นประโยชน์แก่หมู่คณะได้เป็นอย่างดี จึงนับว่าเป็นผู้มีเกียรติอย่างแท้จริง ฉะนั้น ผู้เป็นพลเมืองของประเทศชาติทุกคนจึงควรสร้างตนให้มีหลักฐาน มีความซื่อสัตย์สุจริต จึงสามารถ เป็นกำลังของบ้านเมืองได้โดยแท้
ประการ ที่ 3 ความเป็นผู้มีไมตรีต่อกัน คือ ความเป็นมิตรสหายกัน คนที่ไร้มิตรเมื่อมีกิจเกิดขึ้นก็ต้องขวนขวายทำตามลำพัง คนที่มีมิตรมากเพียงใด ชื่อว่า มีกำลังเพียงนั้น อีกอย่างหนึ่งไมตรีจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยธรรม 4 ประการคือ 1.ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กัน 2.เจรจากันด้วยคำไพเราะ 3.ช่วยกันทำกิจต่างๆ 4.วางตนสนิทสนมโดยความเป็นกันเอง ธรรม 4 ประการนี้ ผู้ฉลาดรู้จักใช้ให้เหมาะแก่กาลเวลาย่อมสามารถผูกไมตรีกับคนทั้งหลาย
คุณสมบัติ พลเมือง 3 ประการ คือ ความเป็นผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์สมบัติ ความเป็นผู้มีเกียรติ และความมีไมตรีต่อกัน ย่อมเป็นกำลังตั้งมั่นแห่งประเทศชาติ พลเมืองของประเทศชาติสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติเหล่านี้ ย่อมพาให้ประเทศชาติรุ่งเรือง ไม่เสื่อมถอยตกต่ำตลอดไป
พระเทพคุณาภรณ์
(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
วันอังคารที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
That's what friends are for.
And as far as I'm concerned
I'm glad I've got a chance to to say
That I do believe I love you
And if i, I should ever go away
Well than close your eyes
And try to feel the way we do today
And then if you can't remember
Keep smiling (smiling)
Keep shining (shining)
Knowing you can always count on me
For sure
That's what friends are for
For the good times (good times)
And the bad times (bad times)
I'll be on your side forevermore
That's what friends are for
Yeah
And i, though you heard it all before
Well I'll tell you one more time
So I can be completely sure
So you know how much I love
And if I should ever go away
Well then close your eyes and try
To feel the way we feel this day
And then if you can't remember
Keep smiling (smiling)
Keep shining (shining)
Knowing you can always count on me
For sure
That's what friends are for
Oh in good times (good times)
And in bad times (bad times)
I'll be on your side forevermore
That's what friends are for
วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
That's what friends are for (1) ? Khaosod
โลกนี้ไม่สิ้นกลิ้นธรรม
ศิษย์อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก-พิสุทธิ์ เกรียงบูรพา
อันเพื่อนดี มีหนึ่ง ถึงจะน้อย
ดีกว่าร้อย เพื่อนคิด ริษยา
เปรียบเหมือนเกลือ มีน้อย ด้อยราคา
ยังดีกว่า น้ำเค็ม เต็มทะเลฯ
ลอน โบราณบทนี้ ติดหูผมมาตั้งแต่สมัยเรียนหนังสือชั้น ม.ต้น คงเพราะ "โดนใจ" มาตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ยิน ด้วยชีวิตครอบครัวที่ไม่อบอุ่นนัก จึงต้องมีสถาบันเพื่อน เป็นสถาบันหลัก สถาบันหนึ่งในชีวิต ก็ว่าได้
คุณเพ็ญ (ขออนุญาตใช้นามแฝง) แฟนคอลัมน์ท่านหนึ่ง จุดประกายให้ผมเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา แฟนคอลัมน์ของอาจารย์เสฐียรพงษ์นั้น น่ารักทุกท่านครับ หลายคนส่งอีเมล์มาหาผม ขอให้อาจารย์หายไวๆ บ้าง ให้กำลังใจบ้าง แบ่งปันความคิดเห็นเรื่องต่างๆนานา ธรรมะบ้าง ชีวิตบ้าง ฯลฯ เหล่านี้ ล้วนเป็นการกระตุ้นให้โลกนี้ ไม่สิ้นกลิ่นธรรม ได้จริงๆ ครับ แม้ "กลิ่นธรรมะ" หรือ "กลิ่นผู้มีศีล" นั้น จะไม่หอมเตะจมูกเหมือนน้ำหอมแรงๆ หลายยี่ห้อ (ยี่ห้ออะไร ก็นึกกันเองนะครับ เพราะผู้เขียนไม่เคยใช้น้ำหอม) แต่ กลิ่นหอมเย็นใจของผู้มีศีล มีธรรมนั้น หอมทวนลม ไปเป็นระยะไกลหลายร้อยกิโลเมตรทีเดียว ดังนั้น คุณเพ็ญและทุกๆ ท่าน ช่วยสืบต่อแรงโมเมนตัมแห่งกลิ่นธรรมแห่งพระพุทธเจ้าได้จริงๆ ครับ
'เพื่อน' นั้นสำคัญไฉน?
"การคบเพื่อนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่จะนำชีวิตไปสู่ความเสื่อมความพินาศ หรือสู่ความเจริญงอกงาม พึงหลีกเลี่ยงมิตรเทียมและเลือกคบหาคนที่เป็นมิตรแท้"
(พระพรหมคุณาภรณ์ ป.อ. ปยุตฺโต พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ หน้า ๒๗๖)
มันเกี่ยวกับธรรมะยังไง?
"เกี่ยว" แน่นอนครับ เกี่ยวมากๆ ด้วย แม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังยกไว้ให้เป็นมงคลต้นๆ ในมงคล ๓๘ สูตรเลยทีเดียว ตามที่เรารู้กันว่า มงคล ๓๘ ค่อยๆ ไล่จากพื้นฐาน ขึ้นไปจนสูงสุดคือ มงคลที่ ๓๘ คือมีจิตเกษม หรือเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง แต่พื้นฐานที่สุดของการจะมั่นใจแน่ว่าเราอยู่บนเส้นทางกระแสแห่งพระนิพพาน ได้แน่ (On track) ไม่หลุดนอกเส้นทางไปได้ ก็ต้องเริ่มด้วยมงคล ๒ ประการแรกนี้ ที่ว่า...
๑.การไม่คบคนพาล (เพื่อนเลว)
๒.เลือกคบบัณฑิต (เพื่อนดี - กัลยาณมิตร)
เห็นไหมครับ พระพุทธองค์ทรงรอบคอบในการชี้ทางเราขนาดไหน ยกให้การไม่คบเพื่อนชั่วๆ ขึ้นมาเป็นอันดับแรก มงคลแรกกันเลย คล้ายๆ กับว่า หากยังหาเพื่อนดีๆ กัลยาณ มิตรในการคบหาไม่ได้ ก็ไม่สมควรจะคบเพื่อนชั่วๆ เพื่อนเลวๆ ไปพลางๆ ก่อนอยู่ดี คือให้อยู่คนเดียวไปก่อนดีกว่าหลวมตัวไปคบคนเลว ว่างั้น
แต่หากใครได้ศึกษาพระพุทธพจน์หรือในพระสูตรก็ดี มีหลายบท ก็กล่าวไว้ ว่าเพื่อนที่ดี หรือกัลยาณมิตร ที่เราฝากผีฝากไข้ ฝากเป็นฝากตายได้นั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ก็ได้ และกัลยาณมิตรองค์ที่ประเสริฐที่สุดที่พระพุทธเจ้าทรงแนะนำให้ถือเป็นหลัก ก็คือพระพุทธองค์นั่นเอง
"จงมีพระพุทธเจ้าเป็นดั่งกัลยาณมิตร"
เรื่องแบบนี้ ผมไม่ได้พูดเอาเองนะครับ พระพรหมคุณาภรณ์ท่านก็มีบัญญัติไว้ในประมวลศัพท์ (เล่มดังกล่าวข้างต้น) เช่นกัน...
กัลยาณมิตร คืออะไร "กัลยาณมิตร" คือบุคคลที่ช่วยชี้แนวทาง ชักจูงตลอดจนแนะนำสั่งสอน ชักนำผู้อื่นให้ดำเนินชีวิตที่ดีงาม ให้ประสบผลดี และความสุข ให้เจริญก้าวหน้า ให้พัฒนาในธรรม แม้จะเป็นบุคคลเสมอกัน (เช่น เพื่อนฝูง) หรือเป็นมารดา บิดา ครูอาจารย์ ตลอดทั้งพระสงฆ์ จนถึงพระพุทธเจ้า ก็นับว่าเป็นเพื่อน แต่เป็นเพื่อนใจดี เพื่อนมีธรรม
ด้วยเหตุนี้ ชีวิตผมจึงถือเอา "พระพุทธเจ้า" เป็นกัลยาณ มิตร อย่างท่านอาจารย์พุทธทาส เป็นต้น เป็นกัลยาณ มิตร ชีวิตจึงไม่เปล่าเปลี่ยว เงียบเหงาวังเวง แม้ขณะปลีกวิเวกอยู่ลำพังในป่าเขาลำเนาไพรก็ตาม
ดูยังไง ใครเป็นกัลยาณมิตร?
กัลยาณมิตรมีคุณสมบัติที่เรียกว่า "กัลยาณมิตรธรรม" หรือ ธรรมของกัลยาณมิตรมี ๗ ประการ คือ
๑.ปิโย คือ น่ารัก ด้วยมีเมตตา เป็นที่สบายจิตสนิทใจ ชวนอยากเข้าไปหา
๒.ครุ คือ น่าเคารพ ด้วยประพฤติหนักแน่นเป็นที่พึ่งอาศัย ได้ ให้รู้สึกอบอุ่นใจ
๓.ภาวนีโย คือ เจริญใจ ด้วยความเป็นผู้ฝึกฝนปรับปรุงตน (ภาวนา) ควรเอาอย่าง ให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ
๔.วัตตา คือ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงแนะนำ เป็นที่ปรึกษาที่ดี
๕.วจนกฺขโม คือ อดทนต่อถ้อยคำ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถาม ตลอดจนคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์
๖.คมฺภีรญฺจกถํ กตฺตา คือ แถลงเรื่องลึกล้ำได้ สามารถอธิบายเรื่องลึกลับซับซ้อนให้เข้าใจ และสอนให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป
๗.โน จฏฺฐาเน นิโยชเย คือ ไม่ชักนำไปอฐาน ไม่ชักจูงไปในทางเสื่อมเสียหรือเหลวไหลไม่สมควร
อ่าน ครบ ๗ คุณสมบัติของกัลยาณมิตรจบแล้ว อย่าเพิ่งทอดถอนใจ ว่า เฮ้อ...ในชีวิตนี้ อยู่มาจนจะเข้าโลงอยู่แล้ว ยังหาไม่มีเลย...โปรดอย่าคิดแบบนั้น ให้คิดใหม่ว่า...
อย่างน้อยตอนนี้ เราก็รู้คุณสมบัติของกัลยาณมิตรทั้ง ๗ แล้ว แม้จะหาไม่มีเพื่อนคนไหนเป็นแบบนั้น เราก็ควรเริ่มต้นใหม่เสียแต่บัดนี้ โดยทำตัวท่านเองนั่นแหละ ให้เป็นกัลยาณมิตรต่อผู้อื่น โดยเริ่มจากคนใกล้ตัวก่อน อย่างนี้จึงจะเรียก คิดบวก (Positive Thinking) แล้ว มันจะค่อยๆ เกิดแรงเหวี่ยง หรือโมเมนตัม รอบๆ ตัวคุณจะเริ่มตระหนักในความดีของคุณ นับเอาคุณเป็นหนึ่งในกัลยาณมิตรของเขา แล้วเพื่อนดีๆ จะดึงดูดซึ่งกันและกัน อันเป็นตรรกะเดียวกันกับเพื่อนเลวๆ ก็ดึงดูดซึ่งกัน ดังภาษิตที่ว่า...ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมารวมกัน ฉันใดก็ฉันนั้น นั่นเอง
That's what friends are for (2)? Khaosod
คอลัมน์ โลกนี้ไม่สิ้นกลิ่นธรรม
ตอน ที่แล้ว ผมยกเอาสเป๊กของกัลยาณมิตรทั้ง ๗ ข้อ มาให้ดูกันแล้วนะครับ (๑.น่ารัก ๒. น่าเคารพ ๓.น่าเจริญใจ ๔.เป็นที่ปรึกษาที่ดี ๕.อดทนต่อถ้อยคำ ๖.แถลงเรื่องล้ำลึกได้ อธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อนให้เข้าใจได้ และ ๗.ไม่ชักนำไปทางเสื่อมเสีย) จากนี้ไปลองนำไปเปรียบเทียบดู ก็คงจะเข้าใจได้เอง ว่าคนรอบๆ ตัวคุณ ใครเป็นกัลยาณมิตรแท้ ใครเป็นเพื่อนเทียม ใครที่น่าจะเป็น คิดว่าใช่ และกลับไม่ใช่กัลยาณมิตร ต้องลองเทียบคุณสมบัติกันเอาเอง
ของมันไม่แน่นะครับ ในหลายครอบครัว แม้จะเป็นญาติกันแท้ๆ บางคนเป็นพ่อ เป็นแม่ แต่กลับไม่ทำตัวเป็นกัลยาณมิตร เช่น ข่าวคราวในหน้าหนังสือพิมพ์ที่พวกเราก็คงเคยเจอมากมาย พ่อแท้ๆ ข่มขืนลูกสาว แม่แท้ๆ จับลูกสาวไปขายกิน ลูกบังเกิดเกล้ายักยอกสินทรัพย์ในธุรกิจให้คนนอกไปขาย เป็นต้น ใครได้อยู่ใกล้คนแบบนี้มีแต่ทุกข์ ภัยจะมาถึงตัว เช่นนี้ก็ถือว่าเป็นวิบากกรรม ก็แล้วกัน แต่อย่าได้ท้อใจไป เพราะชีวิตเราทุกคน พัฒนาได้ หากยึดถือพระ พุทธเจ้าเป็นดั่งกัลยาณมิตร อันจะพูดในรายละเอียดถัดไป
แฟนคอลัมน์ที่กลายเป็นกัลยาณมิตรของผม อย่างคุณเพ็ญ (นามสมมติ) ส่งอีเมล์เรื่องเพื่อน ๖ ประเภท (แนวจีน) มาให้ ผมพิจารณาดูก็น่าสนใจดี ถ้าเราเปิดใจกว้าง ลองอ่านดูจะเป็นไรไป เขาว่า...
๑. เพื่อนที่รู้ใจและห่วงคุณ
๒. เพื่อนที่มี "ลีลาชีวิต" คล้ายคุณ
๓. เพื่อนที่มีกลเม็ดแยบคายสมเป็น "ลูกพี่"
๔. เพื่อนที่คอยฉุด ช่วยเหลือ เตือนใจด้านการงาน
๕. เพื่อนที่มีลูกเล่นร้อยแปดพันเก้า
๖. เพื่อนที่มากประสบการณ์หรือแก่กว่าคุณ ๑๐ ปีขึ้นไป
อ่านไป คิดไป ก็พบว่า จริงๆ พวกเราก็ต่างมีเพื่อนไว้หลายประเภทเหมือนกันเนอะ แต่ไม่เคยมานั่ง Classify แบ่งหมวด แบ่งกลุ่มแบบนี้สักที ใน ๖ ประเภทนี้ ก็อาจปรากฏได้ในคนๆ เดียว หรือในคนๆ เดียว ก็อาจมีคุณสมบัติจัดอยู่ได้ในหลายๆ หมวดด้วยกัน...แต่ผมไม่แน่ใจ ไอ้ประเภทที่ ๕ นี่สิ เพื่อนที่เปี่ยมไปด้วยแท็กติก (Tricky Friends) แบบนั้น สมควรจะไปคบหาด้วยหรือไม่?
การคบหากัน แม้จะโดยบังเอิญแต่ละครั้ง จึงควรถนอมไว้ เพราะไม่ทราบว่า พลาดจากครั้งนี้ไปแล้ว คุณจะพบเขาอีกเมื่อไหร่ มันอาจจะเป็นครั้งเดียวที่เจอกันเลย ก็ได้ ขอให้ถนอมเพื่อนรอบข้าง มากยิ่งขึ้น นับแต่บัดนี้ ดังคนโบราณกล่าวไว้เป็นภาษิตว่า...
"อยู่คนเดียว ให้ระวังความคิด
อยู่กับมิตร ให้ระวังวาจา"
วจีกรรม ที่ไม่สำรวมและไม่ถูกกาลเทศะนั้น ทำมิตรภาพแตกย่อยยับมานับไม่ถ้วนแล้วครับ
"เพื่อนแท้...แม้พบแล้ว เพียงหนึ่ง เราจึงได้นอนตายตาหลับ"
ภาษิตทางเอเชียเรานี่แหละ นอนตายตาหลับคือหมดห่วงกังวลใดๆ เพราะมีกัลยาณมิตรเป็นที่พึ่งพิง ฝากผีฝากไข้ ฝากเป็นฝากตายได้หมด โดยเฉพาะกัลยาณมิตรที่รู้ธรรม อาจ สามารถปลอบประโลมเรายามทุกข์ท้อ เจ็บป่วย และทั้งสามารถแนะนำ "ความสงบ" นาทีสุดท้าย ก่อนร่างกาย ธาตุขันธ์จะแตกดับไปด้วยซ้ำ ดังเช่นเรื่อง "ท่านอิ๊กคิวซัง" บอกทางหลวงพ่อเจ้าอาวาส ก่อนดับขันธ์ และแนะนำ ซามูไร "ชินเอม่อนซัง" ก่อนดับจิต ทำให้บุคคลทั้งสองเข้าสู่กระแสพระนิพพาน เป็นอริยบุคคลได้ทัน
What friends are for?
ภาษิตฝรั่งว่าไว้ บ่งบอกว่าพวกเขาชอบใช้เพื่อนให้ทำโน่น นี่ นั่น ทำสารพัดให้เลยเนอะ ถึงได้กล่าวว่า
"จะมีเพื่อนไว้ทำไม? (ถ้าไม่ใช้มัน)"
แต่ภาษิตนี้ ก็ยังมีข้อดีอยู่ ตรงที่ว่า "เพื่อนแท้" นั้น มักพิสูจน์ได้ ในยามยาก ยามเกิดวิกฤตชีวิตจริง พึงสังวรใจให้ดีทุกท่าน เพื่อนเก่าแก่แม้จะคบกันมานาน ๒๐-๓๐ ปี มิอาจ การันตีได้ว่าเป็น "เพื่อนแท้" เสมอไป ยามปกติสุขนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างดูราบรื่น สันดานกำพืดแท้ของคน บางทีมันยังไม่ออกมา ต่อเมื่อคุณได้ประสบ เมื่อนั้นคุณจะเข้าใจ ว่า...
ใครคือเพื่อนที่คุณจะกล้าพาไปไต่เขาด้วยเชือกเส้นเดียวกันได้?
ในพุทธมติ ก็มีจัดคุณสมบัติง่ายๆ ครับ สำหรับนำไปใช้วิจัย กรณีที่ยังไม่ทราบใครเป็นกัลยาณมิตรหรือไม่ แยกเป็น ๒ กลุ่ม กลุ่มแรก ๔ ข้อสำหรับคนที่ไม่ควรคบ และกลุ่มหลัง ๔ ข้อสำหรับคนที่ไม่ควรคบ ดังนี้
คนที่ไม่ควรคบ
๑. คนปอกลอก พวกอ้าปากก็มีแต่ผลประโยชน์ ร่วมแต่สุข ทุกข์หัวหด เยอะมากในสังคมเรา
๒. คนดีแต่พูด สากลเขาเรียก "NATO" No Action Talk Only! ชอบทำให้คนหลงคารม วาดหวังลมๆ แล้งๆ ว่า จะทำอย่างนั้น อย่างนี้ให้ พวกนี้จะปากหวานเจี๊ยบ ที่แท้ก้นเปรี้ยว
๓. คนช่างประจบสอพลอ คนพวกนี้ สมัยก่อนมีในทุกชนชาติ ระยะหลังคงเหลือไว้มากทางโซนเอเชียของเรา และมีไม่น้อยในประเทศไทย ปราชญ์จึงเตือนไว้เสมอว่า คำสรรเสริญเยินยอนั้น น่ากลัวกว่า คำตำหนิติเตียนอีก เพราะว่ามองไม่เห็นอันตราย ประสงค์แฝงเร้น (Hidden agenda) ที่ซ่อนไว้ในคำสอพลอนั่นเอง
๔. คนชักชวนในทางเสื่อม คนพวกนี้จะมีรสนิยมไปในทางอบายอยู่แล้ว ชอบชักชวนเราไปในที่อโคจร เห็นกงจักรเป็นดอกบัว เยาวชนวันรุ่นต้องแยกแยะให้เป็น รู้หลบเป็นปีก รู้หลีกเป็นหาง และตัวเราเองก็ต้องมีหลักการ มีความเป็นตัวของตัวเองไว้ด้วย จึงจะรอดปลอดภัย, พูดถึงเรื่องนี้ ขอโอกาสยกตัวอย่าง ประสบการณ์ตรงให้ลูกหลานฟังไว้เป็นอุทาหรณ์
สมัยผมเป็นวัยรุ่น ค่อนข้างจะซน ครั้งหนึ่งเคยชวนเพื่อนสนิท ๔ คนโบกรถไปเที่ยวลำตะคอง กัน พอเล่นน้ำอย่างชุ่มฉ่ำได้ที่แล้ว ระหว่างขึ้นมาพักบนฝั่ง ผมต้องตกใจเมื่อเห็นเพื่อน ๒ ใน ๔ คน หยิบมวนบุหรี่มาคลี่เขี่ยเอาเส้นยาออก แล้วหยิบก้อนกัญชาเป็นแท่ง พร้อมอุปกรณ์เขียงเล็กๆ หั่นเป็นฝอย มวนเข้าไปแทนไส้บุหรี่แล้วพี้กัญชากันกลางวันแสกๆ กลางทุ่งริมฝั่งลำตะคอง เพื่อนคนที่ ๓ ไม่เอาด้วย แต่ไม่กล้าขัด จึงอาสาเป็นคนช่วยหั่น ผมขึ้นมาเป็นคนสุดท้าย ด้วยความที่เป็นคนโต้โผพามางานนี้ จึงโวยวายต่อว่าพวกเขา...
"ถ้ากูรู้ว่า เอากัญชามาสูบแบบนี้ จะไม่พามาเด็ดขาด"
เขาตอบสวน ทั้งๆ ที่ยังมีสติดีอยู่
"โธ่...ไอ้แอ๊ด เราเกิดมาเป็นลูกผู้ชาย มันต้องลองทุก อย่างสิ"
ผมก็แนะนำอย่างค่อนข้างแรงกลับไปเหมือนกัน
"แล้วทำไม พวกมึงไม่ลอง เอามีดคว้านท้อง แล้วสาวไส้ออกมาดูเล่นๆ ล่ะ เคยลองกันหรือยัง? มันจำเป็นต้องลองทุกอย่างด้วยหรือ?"
บทสนทนาจึงจบแค่ตรงนั้น หลังจากเหตุการณ์นั้นมา ผมก็ค่อยๆ ปลีกตัวเพื่อนแบบนั้นออกมา
นั่นแหละครับ คนที่ชักชวนไปในทางเสื่อม!
ตอนหน้ามาต่อกันที่ คนที่ควรคบเป็นเพื่อน และสามารถพัฒนาให้เป็นกัลยาณมิตรในชีวิตเราได้นะครับ
วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
แนวทางดำเนินชีวิต khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร / www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
บุคคล เกิดมาได้ดำเนินชีวิตเป็นไปอยู่ในโลกด้วยปัญญาที่มีติดตัวตั้งแต่เกิด ด้วยการสำเหนียกศึกษากำหนดจดจำจากบิดามารดาครูอาจารย์ ได้พินิจพิจารณาไตร่ตรองแล้วมารู้จักเหตุ คือมารู้จักว่า สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งสุข สิ่งนี้เป็นเหตุแห่งทุกข์ แล้วงดเว้นไม่ประกอบสิ่งที่เป็นเหตุแห่งทุกข์เสีย ขวนขวายประกอบแต่สิ่งที่เป็นเหตุแห่งสุขอย่างสม่ำเสมอ
บุคคลผู้ที่ เป็นบัณฑิตคือผู้ฉลาด ใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญไตร่ตรองด้วยอุบายที่แยบคายแล้ว มองเห็นเหตุที่เป็นข้อเปรียบเทียบพอเป็นแนวทางแห่งการดำเนินชีวิต 3 ประการ คือ
ประการที่ 1 มองเห็นความหมดสิ้นไปแห่งยาสำหรับหยอดตา ธรรมดายาหยอดตาสำหรับใช้หยอดบำบัดโรคตา ที่บรรจุในหลอด ถ้านำมาหยอดทีละหยดๆ นานไปน้ำยานั้นก็หมดไปจากหลอดที่บรรจุ เพราะไม่มีน้ำยาใหม่มาเพิ่มเติมฉันใด ทรัพย์สินเงินทองเครื่องอุปโภคบริโภคที่มีอยู่ หากบริโภคใช้สอยไปอย่างฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่ายแต่อย่างเดียว ไม่แสวงหามาเพิ่มเติมอย่างสม่ำเสมอแล้ว ก็ย่อมถึงความหมดสิ้นไปได้ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อจะใช้จ่ายทรัพย์สินสิ่งของเงินทองท่านก็ให้นึกถึงยาสำหรับหยอดเป็น เครื่องเตือนใจ
ประการที่ 2 มองเห็นการก่อขึ้นแห่งปลวกทั้งหลาย ปลวกนั้นเป็นสัตว์ที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ อาศัยความรักความสมัครสมานสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ร่วมใจกันคาบเอาดินตัวละเล็กตัวละน้อยมาทำที่อยู่อาศัยให้ใหญ่โตมั่นคงแข็ง แรงได้ ข้อนี้ฉันใดบุคคลที่เกิดมาในโลกนี้ทุกคนจะอยู่โดดเดี่ยวเดียวดายไม่ได้ จะต้องอยู่รวมกันเป็นหมู่เป็นกลุ่ม ฐานเบื้องต้นคือครอบครัว แต่ละครอบครัวก็ขยายออกไปเป็นหมู่บ้าน หลายหมู่บ้านก็รวมเข้าเป็นตำบล หลายตำบลก็รวมเข้าเป็นอำเภอ หลายอำเภอก็รวมเข้าเป็นจังหวัด หลายจังหวัดก็รวมเข้าเป็นประเทศ แต่ละกลุ่มก็ต้องมีหัวหน้าปกครองดูแล ถ้าแต่ละคนในหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด หรือประเทศชาติ มีความรักสมัครสมานสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ต่างมุ่งหน้าประกอบกิจทำงานตามหน้าที่ที่ตนมีที่ตนเป็น ดำรงชีวิตเป็นไปอย่างเรียบง่ายพอเหมาะพอควร ไม่ฟุ่มเฟือยสุรุ่ยสุร่าย เมื่อพื้นฐานของชีวิตมีความมั่นคงก็เป็นเหตุอุดหนุนให้หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด รวมถึงประเทศชาติ มีความมั่นคงไปด้วย ฉันนั้นเหมือนกัน
ประการ ที่ 3 มองเห็นการประมวลมาแห่งผึ้งทั้งหลาย ผึ้งเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ มีความสมัครสมานสามัคคีพร้อมเพรียงกัน ผึ้งแม้จะเป็นสัตว์ตัวเล็กๆ ก็จริง แต่ก็มีความสามารถในการ ทำรัง ทำน้ำหวาน เมื่อมีอันตรายก็พร้อมใจกันต่อสู้ป้องกัน เพราะความสมัครสมานสามัคคีนั่นเอง ผึ้งจึงสามารถทำรังและน้ำหวาน ใหญ่โตได้ ข้อนี้ฉันใด บุคคลที่ได้อัตภาพเกิดมาเป็นมนุษย์มีจิตใจสูง ดำรงคงอยู่ในปฐมวัยก็ดี มัชฌิมวัยก็ดี ปัจฉิมวัยก็ดี มีรูปร่างผิวพรรณอ้วนผอมสูงต่ำดำขาวก็ตาม ถ้าแต่ละคนมุ่งหน้าประกอบกิจการงานตามหน้าที่ของตน ตามกำลังความสามารถด้วยความพอใจรักการรักงาน มีความเพียรพยายามบากบั่นอย่างอาจหาญไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีจิตสนใจเอาใจจดจ่อต่องานที่ทำ ไม่ทอดทิ้งงาน และหมั่นตริตรอง พิจารณาหาเหตุผลในสิ่งที่ทำนั้น สามารถทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ ทำสิ่งที่ใหญ่ให้เล็ก ทำสิ่งที่ยากให้ง่าย ทำสิ่งที่ง่ายให้เรียบร้อยยิ่งขึ้น ข้อนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เพราะ ฉะนั้นเมื่อบุคคลผู้ฉลาด รู้เหตุ รู้ผล รู้จักตน รู้จักความพอดีพอประมาณ รู้จักกาลเวลา รู้จักเลือกคบคนดีเป็นเพื่อนร่วมคิดเป็นมิตรร่วมใจ มองเห็นข้อเปรียบเทียบแล้วนำมาเป็นแนวทางดำเนินชีวิต เลี้ยงชีพแต่พอเหมาะพอสมกับรายได้ รู้จักประหยัด ชีวิตในการอยู่ครองเรือนก็จะมีความสุขโดยแท้
วันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
รู้คุณและตอบแทนคุณ khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
คํา ว่า กตัญญู แปลว่า รู้คุณ รู้อย่างไรจึงจะเรียกว่ารู้คุณ ในทางปฏิบัตินั้นท่านหมายถึงการหาความดีหรือความสำคัญของคนหรือวัตถุนั้นให้ พบ ว่าบุคคลหรือสิ่งนั้นมีความสำคัญหรือดีอย่างไร และที่ว่าดีนั้นดีต่อใคร ดีต่อตัวเราดีต่อคนอื่นหรือดีต่อส่วนรวม มากน้อยแค่ไหน เพียงไร เมื่อได้พิจารณาด้วยปัญญาเห็นถ่องแท้แน่แล้วว่า บุคคลหรือสิ่งนั้นๆ มีคุณต่อเราท่านให้จดจำจารึกไว้ในดวงใจ ต่อไปวิธีหาก็มีจุดที่จะหาอยู่หลายจุดคือ 1.หาความดีในคน 2.หาความดีในวัตถุ 3.หาความดีในหน้าที่ 4.หาความดีในศัตรู หรือจะเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กตัญญูต่อคน กตัญญูต่อวัตถุ กตัญญูต่อหน้าที่ และกตัญญูต่อศัตรู
ประการ ที่ 1 กตัญญูต่อคน เบื้องต้นจะต้องกตัญญูต่อตัวเองก่อน การกตัญญูต่อตัวเองนั้น คือการปฏิบัติตามหลักธรรม โดยการทำงานในหน้าที่ของตนซึ่งมีอยู่ 2 อย่าง คือ 1.ทำให้ตัวเอง 2.ทำให้คนอื่น โดยยึดหลักทำดีให้ดี คือทำดีในงานทุกอย่างและให้ดีแก่คนทุกคน โดยทั่วไปแล้วคนเราอยากรับแต่สิ่งที่ดีๆ จากคนอื่น แต่เวลาเป็นผู้ให้ชอบให้ร้ายแก่คนอื่น นอกจากกตัญญูต่อตัวเองแล้ว ในทางพระพุทธศาสนาท่านจัดบุคคลที่จะต้องรู้คุณและตอบแทนคุณต่อกันไว้ 4 คู่ คือ 1.บิดามารดากับบุตรธิดา 2.ครูอาจารย์กับศิษย์ 3.พระราชากับพสกนิกร 4.พระศาสดากับศาสนิก
ประการที่ 2 กตัญญูต่อวัตถุ คำว่า วัตถุ หมายถึงสิ่งที่ไม่มี วิญญาณ ได้แก่ อาคารบ้านเรือน ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ไม้สอย ตลอดถึงต้นไม้ ธรรมดาวัตถุเหล่านั้นไม่มีเจตนาจะให้คุณแก่ใคร แต่คุณประโยชน์ที่เราได้รับจากสิ่งเหล่านั้นมากมาย เช่น ต้นไม้ เป็นวัตถุที่ค่อนข้างจะเห็นคุณยาก จึงมีคนบางพวกพากันตัดไม้ทำลายป่า จะเป็นเหตุให้เกิดความเดือดร้อน กันอยู่ทั่วไป
ประการที่ 3 กตัญญูต่อหน้าที่ หน้าที่การงานมีประจำทุกคนทุกเพศทุกวัย เป็นเด็กก็มีหน้าที่เรียนหนังสือ เป็นผู้ใหญ่กลางคนมีหน้าที่หาทรัพย์ตั้งหลักฐาน อยู่ในวัยชราก็มีหน้าที่แสวงหาบุญกุศล คนที่ทำหน้าที่ด้วยความรักความกตัญญูรู้คุณของงาน ก็จะมีแต่ความเจริญก้าวหน้า ตรงกันข้ามกับคนที่ไม่รักการงาน ไม่ตั้งใจทำงานหรือทำด้วยความสบประมาทงาน ย่อมหาความเจริญได้ยาก
ประการ ที่ 4 กตัญญูต่อศัตรู ศัตรูนั้นคือคนที่ไม่ปรารถนาดีต่อเรา ดูไปแล้วน่าจะไม่มีประโยชน์อะไร แต่ความเป็นจริง แล้วศัตรูนี่แหละทำให้คนมีความเข้มแข็ง เพราะต้องต่อสู้ด้วยปฏิภาณไหวพริบตลอดเวลา คำพูดที่ว่า ชีวิตคือการต่อสู้ ศัตรูคือยากำลังนั้น ถือว่าเป็นบทเรียนที่ดีและเป็นครูฝึกที่ดี คนที่ลำบากมาก่อนย่อมเอาตัวรอดได้ ดังนั้นคนที่มีศัตรูจึงเป็นคนที่เข้มแข็ง มีสติรอบคอบ สามารถที่จะเผชิญอุปสรรคศัตรูนั้นได้ แล้วก็จะเป็นผู้ชนะศัตรูนั้นได้ในที่สุด
เหตุดังนั้น ความเป็นผู้รู้คุณและตอบแทนคุณ เป็นเครื่อง หมายของคนดี สมตามพุทธพจน์ที่ว่า ความกตัญญูเป็นภูมิชั้นต้นของคนดี ฉะนั้น คนเราจะมีคุณธรรมอย่างอื่นมากมาย แค่ไหนก็ตาม ถ้าขาดคุณธรรมที่เป็นพื้นฐานแล้ว ก็ตั้งอยู่ไม่ได้นาน มีความสุขก็มีไม่นาน ท่านจึงเปรียบคุณธรรมข้อนี้ไว้ว่าเหมือนพื้นดิน เป็นที่รองรับสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกนี้ ถ้าขาดพื้นดินแล้วทุกอย่างก็มีไม่ได้ ผู้ที่ต้องการความสุขความเจริญจะต้องตั้งอยู่ในคุณธรรม 4 ประการนี้ ให้มั่นคง เพราะความเป็นผู้รู้คุณและตอบแทนคุณนั้นมีในผู้ใด ผู้นั้นก็ถือได้ว่าเป็นคนดีอย่างแน่นอน
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
www.watdevaraj.com 0-2281-2430
อริยสัจ4-แก้ปัญหาชีวิต khaosod
คอลัมน์ ศาลาวัด
'อริยสัจ 4 ประการ' เป็นวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งดำเนินการแก้ปัญหาตามเหตุผลตามเหตุปัจจัย คือ การแก้ปัญหาของบุคคลด้วยปัญญาของตัวบุคคลนั้นเอง โดยไม่ต้องอาศัยการดลบันดาลประทานพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
เป็นสัจธรรมความจริงที่เกี่ยวกับชีวิตของคนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่ใด อยู่ในเพศหรือภาวะใด จะต้องประสบด้วยกันทั้งสิ้น
ดัง นั้น เพื่อยืนยันถึงหลักอริยสัจว่าเป็นกระบวนการแก้ปัญหาทุกอย่างโดยเฉพาะในการ แก้ปัญหาชีวิตในสังคม จึงขอเสนอแนะนำหลักอริยสัจ 4 มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาชีวิตได้ตามลำดับขั้นตอน ดังนี้
ขั้นที่ 1 ทุกข์ ขั้นตัวปัญหา จัดเป็นขั้นแถลงหรือแสดงปัญหาที่จะต้องทำความเข้าใจและรู้รอบเขต กล่าวคือ ต้องรู้สภาพปัญหา ความไม่พอใจ ความติดขัดบกพร่องที่บุคคลได้ประสบหรือเกิดขึ้นในชีวิตของตน โดยต้องกำหนดรู้ ทำใจยอมรับ ทำความเข้าใจ และกำหนดขอบเขตของมันให้แจ่มชัดว่าเป็นปัญหาหรือไม่ เป็นปัญหาใหญ่หรือปัญหารอง
ขั้นที่ 2 สมุทัย ขั้นสาเหตุของปัญหา จัดเป็นขั้นวิเคราะห์และวินิจฉัยมูลเหตุของปัญหาซึ่งจะต้องแก้ไขกำจัดให้หมด สิ้นไป กล่าวคือ ต้องแสวงหาสาเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เป็นตัวก่อให้เกิดปัญหา หรือเกิดความติดขัดบกพร่องในชีวิตบุคคล โดยให้เฟ้นหาสาเหตุแห่งปัญหาหรือความทุกข์ต่างๆ ให้ถูกต้องชัดเจน และต้องเป็นสาเหตุต้นตอจริงๆ ที่เกิดจากตัวเองเป็นส่วนใหญ่ มิใช่ไปโทษโชคชะตา ซึ่งเป็นเรื่องนอกตัวออกไปทั้งหมด
ขั้นที่ 3 นิโรธ ขั้นดับปัญหา จัดเป็นขั้นชี้บอกภาวะปราศจากปัญหาซึ่งเป็นจุดหมายที่ต้องการ ให้เห็นว่าการแก้ปัญหานั้นเป็นไปได้ และจุดหมายนั้นควรเข้าถึงซึ่งจะต้องให้สำเร็จให้จงได้ หรือทำให้เป็นจริงเป็นจังขึ้นมา โดยกำหนดจุดหมายปลายทางที่แน่นอน พร้อมทั้งกำหนดจุดหมายและเป้าหมายรองไว้ด้วยว่าแต่ละขั้นตอนนั้นมีจุดหมาย และเป้าหมายเพียงใดแค่ไหน
ขั้นที่ 4 มรรค ขั้นลงมือแก้ปัญหา จัดเป็นขั้นกำหนดวิธีการและรายละเอียดที่จะต้องปฏิบัติในการลงมือแก้ปัญหา กล่าวคือ การลงมือปฏิบัติหรือดำเนินการตามวิธีการอย่างละเอียดเพื่อแก้ปัญหาไปตามขั้น ตอน โดยกำหนดวางวิธีการ วางแผนงานและรายการที่จะต้องทำให้ละเอียด เป็นต้น
พระ พุทธศาสนามีหลักการสำคัญอยู่ที่อริยสัจ 4 ประการ ที่จัดว่าเป็นแก่นเป็นแกน หรือเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพราะเป็นสัจธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้
พอใจ...กับสิ่งที่ตนมีอยู่ khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
มนุษย์ เราทุกคนที่เกิดมามีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ทุกชีวิตย่อมประสบกับปัญหาด้วยกันทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาส่วนตัวและปัญหาสังคม ปัญหาที่ประสบนั้น ต่างกันบ้าง เหมือนกันบ้าง จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนจะต้องต่อสู้ด้วยความพยายามอดทน เพื่อที่จะหาวิธีแก้ไขปัญหาชีวิตที่เกิดขึ้นแก่ตนอยู่ตลอดเวลา เพราะชีวิตที่ดีมีความสุขคือชีวิตที่สามารถแก้ปัญหาได้
สิ่งที่จำเป็นสำหรับชีวิตมนุษย์ ที่ต่างดิ้นรนแสวงหา คือ ปัจจัย 4 ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอำนวยความสุขอื่นๆ ในการแสวงหานั้น ไม่ควรแสวงหาจนเกินขอบเขต เกินความพอดี เกินความจำเป็น ควรรู้จักพอ เพราะใจของคนเราเมื่อตกไปสู่อำนาจของความอยาก ความรู้จักพอก็ไม่มี เหมือนไฟไม่มีวันอิ่มด้วยเชื้อ เมื่อไม่สามารถควบคุมความปรารถนาของใจไว้ได้ ยิ่งได้มาเท่าไร ก็อยากได้เพิ่มเป็นทวีคูณ การแสวงหาปัจจัยเพื่อสนองความอยากของตนเองเช่นนี้
นอกจากจะทำตัวให้เดือดร้อนแล้ว ยังก่อทุกข์ให้เกิดขึ้น ถ้าไม่สามารถจะควบคุมใจของตนเองไว้ได้ อาจแสวงหาในทางทุจริตได้ เท่ากับทำตนให้ตกเป็นทาสของความอยาก ในสภาวะสังคมปัจจุบัน ควรดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่าย เพราะการดำเนินชีวิตอย่างเรียบง่ายสามารถจะทำตนให้พ้นจากสภาพความวุ่นวาย สับสนนั้นได้
คุณธรรมที่สำคัญสำหรับปลูกฝังให้เกิดความรู้จักพอหรือความพอดีในใจนั้น คือ ความสันโดษ คำว่า สันโดษ แปลว่า ความยินดีด้วยของที่ตนมีอยู่ ท่านแบ่งไว้ 3 ลักษณะด้วยกันคือ
1. ยินดีพอใจในสิ่งที่ตนได้ในสิ่งที่ตนมี ได้เท่าไหร่ มีเท่าไหร่ ก็ยินดีเท่านั้น ในสภาวะในฐานะที่ตนกำลังมีกำลังเป็นหรือได้รับอยู่ เพื่อป้องกันความทุกข์ที่จะเกิดจากความผิดหวัง เพราะถ้าบุคคลไม่สามารถจะหยุดความพอใจของตนไว้ได้ เมื่อได้รับ หรือมีอะไรไม่พอใจในสิ่งที่ได้หรือสิ่งที่มี เมื่อความผิดหวังเกิดขึ้นแล้ว ความไม่ชอบใจก็เกิดตามมา ดังนั้น ควรฝึกใจให้มีความพอดี ยินดีตามมีตามได้ ความทุกข์ใจก็ไม่เกิด
2. ยินดีพอใจตามกำลังของตนที่มีอยู่ หมายความว่า ให้รู้จักประมาณในความรู้ความสามารถของตน กระตุ้นเตือนตนให้รู้จักใช้ความสามารถของตนให้เต็มที่ ไม่ให้เป็นคนเกียจคร้าน คุณธรรมข้อนี้สอนให้บุคคลมิให้เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ฝึกให้เกิดความขยันหมั่นเพียรในการใช้กำลังในทางที่ถูกให้พอดี
3. ยินดีพอใจในสิ่งที่สมควรและยินดีพอใจพอสมควร หมายถึง การใช้กำลังให้ได้มาซึ่งปัจจัย และปัจจัยนั้นต้องเป็นปัจจัยที่เหมาะสม คุณธรรมข้อนี้ สอนให้บุคคลรู้จักคำว่า อิ่ม คือ พอ เพราะมากไปกว่านี้ก็เกินความจำเป็นไร้ประโยชน์ เหมือนน้ำที่เต็มแก้ว เอาน้ำไปเติมใหม่ก็มีแต่จะล้นออกมา ใช้ประโยชน์ไม่ได้
ฉะนั้น ควรที่เราทุกคนจะมีความพอใจ พอดี พอเพียง ถ้าบุคคลมีคุณธรรมทั้ง 3 ประการนี้ประจำใจแล้ว จะอยู่ในสังคมใด ประเทศใด ก็ทำให้สังคมนั้น ประเทศนั้น มีความเจริญรุ่งเรือง มีความสงบสุขอย่างแท้จริง
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร / www.watdevaraj.com 0-2281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 0-2281-2430 end_of_the_skype_highlighting
วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
บัณฑิต khaosod
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
คํา ว่า บัณฑิต ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ท่านให้ความหมายว่า ผู้ทรงความรู้ ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ ฯลฯ ส่วนในทางธรรม ท่านกล่าวคำว่า บัณฑิต แปลว่า ผู้ดำเนินชีวิตไปในประโยชน์ทั้ง 3 คือ ประโยชน์ในโลกนี้ ประโยชน์ในโลกหน้า และ ประโยชน์อย่างยิ่ง
1.ประโยชน์ในโลกนี้ เรียกว่า ทิฏิฐธัมมิกัตถประโยชน์ ประโยชน์ในภพปัจจุบันทันตาเห็น ได้แก่ มีอาหารสมบูรณ์ไม่อดอยาก มีเครื่องนุ่งห่มเพียงพอ มีที่อยู่อาศัยถูกสุขลักษณะ มียารักษาโรคต่างๆ ทั้งหมดนี้เรียกว่า ปัจจัย 4 แปลว่า เครื่องอาศัยแห่งชีวิต ยังความสุขกายสบายใจให้เป็นไปในโลก ทุกเชื้อชาติ ทุกภาษา ทุกเพศ ทุกวัย ต้องอาศัยปัจจัยเหล่านี้ จะเป็นหญิงหรือบุรุษก็ตาม ถ้ามีปัญญาเห็นแจ้งในเหตุการณ์นั้นๆ แล้วไม่ประมาท ไม่มัวเมา ตั้งตนไว้ในคุณธรรม 4 ประการ คือ 1.ถึงพร้อมด้วยความหมั่นเพียร 2.ถึงพร้อมด้วยการรักษาทรัพย์ที่หามาได้ 3.คบเพื่อนดี และ 4.เลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่ตนหามาได้ จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม ถ้าดำรงอยู่ในคุณธรรม 4 ประการนี้ ได้ชื่อเป็นคนดี เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นบัณฑิตในโลกนี้
2.ประโยชน์ในโลกหน้า เรียกว่า สัมปรายิกัตถประ โยชน์ คนเราทุกคนเมื่อตายไปแล้วก็ต้องไปเกิดอีก เนื่อง จากกิเลสยังมีอยู่ เกิดในภพใดชาติใด ถ้าต้องการให้ร่ำรวย ต้องการให้มียศถาบรรดาศักดิ์สูง ต้องการไม่ให้มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน และต้องการให้เกิดดีที่สุด ต้องดำรงตนอยู่ในคุณธรรม 4 ประการ คือ 1.ถึงพร้อมด้วยศรัทธา คือ เชื่อถือสิ่งที่ควรเชื่อ เช่น เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แล้วละชั่วทำดี เป็นต้น 2.ถึงพร้อมด้วยศีล คือ รักษากายวาจา ให้เรียบร้อยดีไม่มีโทษ 3.ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน เป็นการเฉลี่ยสุขให้แก่ผู้อื่น และ 4.ถึงพร้อมด้วยปัญญา รู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น จะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม ถ้าตั้งตนอยู่ในคุณธรรม 4 ประการ นี้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นบัณฑิต เพราะเว้นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ถือ เอาแต่สิ่งที่เป็นสาระเป็นประโยชน์
3.ประโยชน์ อย่างยิ่ง เรียกว่า ปรมัตถประโยชน์ คือ พระนิพพาน นิพพาน แปลว่า ดับกิเลส คือ ดับความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้ที่เจริญอริยมรรคมีองค์ 8 เท่านั้นจึงจะดับกิเลสได้ ซึ่งเรียกว่า จิตตภาวนา หรือเรียกว่า กรรม ฐาน กรรมฐานนั้นมีอยู่ 2 อย่าง คือ 1.สมถกรรมฐาน และ วิปัสสนากรรมฐาน สมถกรรมฐาน กรรมฐานเป็นอุบายสงบใจ มีกรรมฐาน 40 อย่างใด อย่างหนึ่งเป็นอารมณ์ เช่น กสิณ 10 อสุภะ 10 อนุสสติ 10 เป็นต้น เพื่อให้ได้ฌาน แล้วจึงจะเอาฌานต่อเป็นวิปัสสนาได้ 2.วิปัสสนา กรรมฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา มีวิปัสสนาภูมิเป็นอารมณ์ ภูมิของวิปัสสนานั้น มีทั้งหมด 6 อย่าง คือ ขันธ์ 5 อายตนะ 12 ธาตุ 18 อินทรีย์ 4 ปฏิจจสมุปบาท 12 ย่อสั่นๆ ได้แก่ รูปนามนั่นเอง
ฉะนั้น ไม่ว่าจะเป็นหญิงหรือชายก็ตาม ถ้าดำเนินชีวิตไปในประโยชน์ทั้ง 3 ประการ ตามที่กล่าวมา ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้รู้ เป็นผู้ฉลาด เป็นบัณฑิต สมตามพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "มิใช่ว่า บุรุษจะเป็นบัณฑิตในที่ทั่วไป ก็หา มิได้ ถึงสตรีที่มีปัญญา เห็นประจักษ์ในเหตุการณ์นั้นๆ ก็เป็นบัณฑิตได้"
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร / www.watdevaraj.com 02-281-2430 begin_of_the_skype_highlighting 02-281-243
วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
ต้องทำอย่างที่พูด
หลัก ประการต่อมา ตรัสไว้ในทศพิธราชธรรม คือ หลักธรรมาภิบาลของผู้นำ ผู้นำต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ไม่โกงทั้งต่อหน้า ทั้งลับหลัง ไม่โกงทั้งด้วยความคิด ทั้งด้วยวาจา และด้วยการกระทำ
ทรงยกตัวอย่าง ว่า ผู้นำก็เหมือนโคจ่าฝูง หากโคจ่าฝูงว่ายตรง โคในฝูงก็ว่ายตรง หากโคจ่าฝูงว่ายคด โคในฝูงก็ว่ายคด ผู้นำฉันใด ผู้ตามก็ฉันนั้น ดังนั้น ผู้นำทุกคนจึงต้องถือเอาหลักอาชวะ คือ ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นนโยบายที่ หนึ่ง ไม่โกงเอง และสอง ต้องไม่เอื้อให้เกิดบรรยากาศของการโกงและไม่สนับสนุนคนโกง
นอกจาก นี้ ยังกำชับไว้อีกข้อหนึ่งในทศพิธราชธรรมข้อสุดท้ายที่ว่า อวิโรธนะ คือ ผู้นำต้องยึดมั่นอยู่ในความยุติธรรม ในการบริหารราชการแผ่นดิน ต้องยึดหลักความยุติธรรม กล่าวคือ ไม่มีสองมาตรฐาน กฎหมายต้องศักดิ์สิทธิ์สำหรับชนทุกชั้น
วันอาทิตย์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ทางภาระจำยอม khaosod
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
สมชาย สุรชาตรี ผู้อำนวยการสำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
กรณีการ โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินวัดไม่ว่าจะเป็นที่ตั้งวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ให้แก่ส่วน ราชการ ต้องดำเนินการผาติกรรม แต่หากชาวบ้านขอใช้ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์เป็นทางผ่านเข้าไปยังที่ดินของตน ซึ่งไม่มีทางออก (ที่ตาบอด) หรือมีแต่อยากจะผ่านที่ดินของวัด เพื่อเป็นทางเข้าออก
วัดและชาวบ้านต้องจัดทำสัญญาภาระจำยอม เรียกทางหรือถนนนั้นว่าทางภาระจำยอม
มีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาระจำยอมอยู่ 2 ประการด้วยกัน
ประเภท แรก ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1387 บัญญัติว่า "อสังหาริมทรัพย์อาจต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม โดยเจ้าของต้องยอมรับกรรมบางอย่างซึ่งกระทบถึงทรัพย์สินของตน หรือต้องงดเว้นการใช้สิทธิบางอย่างอันมีอยู่ในกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินนั้น เพื่อประโยชน์แก่อสังหาริมทรัพย์อื่นๆ"
ประการที่สอง มติมหาเถรสมาคมครั้งที่ 18/2540 วันที่ 30 มิถุนายน 2540 มีมติให้วัดต่างๆ ถือปฏิบัติพอสรุปได้ว่า หากวัดใดมีผู้ขอทำสัญญาเช่าที่ดินวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ของวัด เพื่อเป็นทางเข้าออกไม่ว่าจะกำหนดระยะเวลาเช่ากี่ปีก็ตาม ให้วัดจัดทำในลักษณะสัญญาภาระจำยอมเท่านั้น ในกรณีที่มีผู้ขอทำสัญญาและจดทะเบียนทางภาระจำยอมผ่านที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์
มีขั้นตอนดำเนินการ คือ เจ้าอาวาสจัดส่งแผนที่สังเขป ประกอบด้วย ตำแหน่งที่ตั้งวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ ที่ดินแปลงที่ขอทางภาระจำยอม ขนาดกว้างยาวของทางภาระจำยอม ระบุจำนวนเนื้อที่มีมาตราส่วนที่ชัดเจน สำเนาโฉนดที่ดินแปลงที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เงินบำรุงวัด หนังสือรับรองราคาประเมินที่ดินที่เป็นปัจจุบัน สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หนังสือยิน ยอมจากเจ้าอาวาสวัด ผ่านผู้ปกครองสงฆ์ตามลำดับจนถึงเจ้าคณะจังหวัด เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการพิจารณางบประมาณศาสนสมบัติกลางประจำ (พศป.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ
เมื่อสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ แจ้งมติให้วัดทราบแล้ว จึงจัดทำสัญญาภาระจำยอม
ข้อ แนะนำสำหรับวัดในการขอทางภาระจำยอม ก็คือ ทางภาระจำยอมซึ่งผ่านที่วัดหรือ ที่ธรณีสงฆ์ควรอยู่ชิดด้านใดด้านหนึ่งของเนื้อที่ทั้งหมด ถ้าผ่านกลางเนื้อที่จะทำให้วัดสูญเสียภูมิทัศน์หรือเสียเนื้อที่ไปโดยไม่จำ เป็น
บางรายผู้ขอทางภาระจำยอมมีที่ดินหลายแปลงที่ติดกับที่ดินวัด แต่แจ้งกับวัดว่ามีโฉนดเดียวแปลงเดียว ทำให้วัดเสียประโยชน์ในการคิดค่าบำรุง
หากส่วนราชการทำถนนผ่านที่วัด เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นสาธารณะ ควรดำเนินการผาติกรรม มิใช่ทางภาระจำยอม ถ้าเอกชนขอทางเข้าออกผ่านที่วัดหรือที่ธรณี สงฆ์ เรื่องนี้เป็นเรื่องขอทางภาระจำยอม ซึ่งต้องดำเนินการตามมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 18/2540 ดังได้กล่าวมาแล้ว
บทสวดพระปริตร khaosod
คอลัมน์ ศาลาวัด
บท สวดที่ผู้คนนิยมสวดกันทั่วไป นอกจาก "คาถาชินบัญชร" แล้ว ยังมี "บทสวดพระปริตร" ที่มีพลานุภาพครบถ้วน ทั้งเมตตามหานิยมและแคล้วคลาดปลอดภัย ในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายของคำ ปริตร (ปะหฺริด) ว่า ความต้านทาน, เครื่องป้องกัน ดังนั้น พระปริตร จึงมีความหมายว่า บทสวดเจริญพระพุทธมนต์ที่เป็นเครื่องป้องกันสิ่งอัปมงคลต่างๆ
บทสวด พระปริตร ได้จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ บทสวดเจ็ดตำนาน มี 7 พระปริตร คือ 1.มังคลปริตร 2.รัตนปริตร 3.เมตตปริตร 4.ขันธปริตร 5.โมรปริตร 6.ธชัคคปริตร 7.อาฏานาฏิยปริตร
ส่วนบทสวดสิบสองตำนาน โดยเพิ่มจากเจ็ดตำนานอีก 5 พระปริตร คือ 1.วัฏฏกปริตร 2.อังคุลิมาลปริตร 3.โพชฌังคปริตร 4.อภยปริตร 5.ชัยปริตร รวมเป็น 12 พระปริตร
นอกจากนี้ พระปริตรยังปรากฏอยู่ในคัมภีร์มิลินทปัญหา วิสุทธิมรรค และอรรถกถาต่างๆ โดยเพิ่มบทอิสิคิลิปริตร เป็นอีกหนึ่งพระปริตร
แต่ พระปริตรที่ปรากฏในบทสวดมนต์ไทย ฉบับปัจจุบันมี 12 พระปริตรเท่านั้น เนื่องจากบทอิสิคิลิปริตร เป็นพระปริตรที่กล่าวถึงพระปัจเจกพุทธเจ้าเท่านั้น ต่างกับพระปริตรอื่นที่แสดงคุณของพระรัตนตรัย
ในสมัยพุทธกาล เด็กคนหนึ่งจะถูกยักษ์จับกินภายใน 7 วัน พระพุทธองค์ ทรงแนะนำให้พระภิกษุสวดพระปริตรตลอดเจ็ดคืน และพระองค์ได้เสร็จไปสวดด้วยพระองค์เอง พอคืนที่แปด เด็กนั้นสามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติของอมนุษย์นั้นได้ มีอายุถึง 120 ปี มารดาจึงตั้งชื่อว่า อายุวัฑฒนกุมาร แปลว่า เด็กผู้มีอายุยืน ด้วยเหตุรอดพ้นจากอันตรายดังกล่าว
พระเถรานุเถระ ได้ให้คำแนะนำว่า การสวดและสดับฟังพระปริตรจะมีอานุภาพมาก เมื่อผู้สวดพระปริตรเพียบพร้อมด้วยหลัก 3 ประการคือ
1.ต้องตั้งจิตใจให้มีเมตตา โดยมุ่งประโยชน์แก่ผู้ฟัง
2.ต้องสวดไม่ผิด ออกเสียงพยัญชนะ สระ ตัวสะกดไม่ผิดเพี้ยนไปจากเดิม และรู้ความหมายของบทสวด
3.ไม่ เคยทำอนันตริยกรรม คือ ฆ่ามารดา บิดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต และทำสังฆเภท อีกทั้งต้องมีความเชื่อมั่นในอานุภาพพระปริตร สามารถคุ้มครองผู้ฟังได้
สำหรับผู้มีเวลาน้อย ควรสวดพระปริตรที่สั้นและสำคัญ ควรสวดพระปริตร 4 บท คือ เมตตปริตร ขันธปริตร โมรปริตร และอาฏานาฏิยปริตร
ส่วนผู้ที่มีสุขภาพไม่แข็งแรงหรือเจ็บป่วย ควรสวดโพชฌังคปริตร
ทั้งนี้ บทสวดมนต์พระปริตร มีอยู่ในหนังสือ 'มนต์พิธี' สามารถซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไปหรือตามร้านสังฆภัณฑ์ทั่วไป
บำเพ็ญบุญ khaosod
คอลัมน์ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
ขึ้น ชื่อว่าบุญ เป็นเรื่องที่สาธุชนควรประพฤติปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ถ้ารู้จักบำเพ็ญให้ถูกทางถูกหลักแล้ว ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญจริงๆ มิใช่ว่าจะมีบุญเฉพาะแต่ชื่อ
บุญไม่ใช่วัตถุอันจะพึงหยิบยกขึ้นให้ ผู้ใดผู้หนึ่งดูกันได้ด้วยดวงตา แต่บุญเป็นธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายในจิตของตน กล่าวโดยเหตุ ได้แก่กุศลกรรมอันเป็นเครื่องชำระจิตของตนให้ผ่องใส เป็นปัจจัยในการทำ การพูด การคิด เป็นไปในทางที่ดี
หลักการทำบุญนั้น ทำได้หลายอย่าง หลายวิธี เมื่อจะแสดงโดยย่อแล้ว มี 3 ประการ ด้วยกันคือ 1.ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน 2. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล 3. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
ประการที่ 1 ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน หมายถึง การให้สิ่งของเป็นทาน แก่พระสงฆ์ หรือคนโดยทั่วไปด้วยใจอันประณีต การที่บุคคลได้ทรัพย์หรือมีทรัพย์เป็นจำนวนก็ไม่รู้สึกว่าเพียงพอ คือไม่เพียงพอกับตัณหา คือโลภะ การเสียสละทรัพย์เพื่อบริจาคทานแม้เพียงเล็กน้อย เพื่อขจัดตัณหาคือความตระหนี่ เป็นทรัพย์ที่เกิดขึ้นภายในจิต การบริจาคทานเพื่อความทะยานอยากให้มั่งมีร่ำรวย เป็นวิธีที่ไม่จัดว่าได้บุญเต็มที่ เพราะการให้เช่นนั้นเป็นการให้เพียงกายแต่ใจไม่น้อมไปเพื่อบุญ ถ้ารู้จักบริจาคทานให้ถูกหลักในทางพระพุทธศาสนาแล้ว จักเป็นผู้ไม่งมงาย และการทำบุญนั้นก็ได้บุญจริงๆ
ประการที่ 2 สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล หมายถึง กิริยาที่บุคคลมีเจตนาสำรวมกายวาจาใจให้สงบเรียบร้อย ผู้ที่จะสามารถรักษาศีลให้บริสุทธิ์ได้ ต้องอาศัยเจตนางดเว้นเป็นหลัก คือ รู้จักละ รู้จักปล่อยวาง
ประการที่ 3 ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา หมายถึง การอบรมกุศลหรือคุณธรรมความดีทางจิต ทำจิตให้สงบจากกิเลสกามและอกุศลอย่างอื่นด้วยมนสิการ ทำจิตให้ตั้งอยู่แต่ในเรื่องของกัมมัฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่งจนจิตผ่องใสอยู่ แต่ในอารมณ์เดียว
ทาน ศีล ภาวนา ทั้ง 3 ประการนี้ บุคคลใดได้บำเพ็ญให้เกิดมีขึ้นในตน บุคคลนั้นชื่อว่าเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้ว และไม่ควรประมาทว่าเป็นบุญชั้นต่ำ จะมีผลน้อย แต่ถ้าทำบ่อยๆ บุญนั้นก็จะเพิ่มจำนวนมาก องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเตือนไว้ว่า บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่ามีประมาณน้อย จักไม่ให้ผล แม้หม้อน้ำย่อมเต็มได้ด้วยหยาดน้ำที่ตก ผู้มีปัญญาสั่งสมบุญอยู่แม้ทีละน้อยๆ ย่อมเต็มได้ด้วยบุญ และบุญทั้ง 3 ประเภทนี้ สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ทรงบำเพ็ญมาจนบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
เพราะ ฉะนั้น การบำเพ็ญบุญทั้ง 3 ประการนี้ เป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชน จะพึงปฏิบัติและดำเนินตามพระพุทธองค์ให้ถูกหลัก คือ บริจาคทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ตั้งใจปฏิบัติให้ถูกหลักธรรม จนเกิดความรู้สึกเกิดขึ้นในจิตของตนเองว่าได้ความสุข คือ ยึดถือธรรมเป็นหลัก ถ้าผู้ใดปฏิบัติได้จริงๆ เช่นนี้แล้ว เมื่อถึงคราวจะลาจากโลกนี้ไป บุญอันนั้นก็จะคอยรอต้อนรับผู้นั้นในโลกหน้า
ไม่ทำหน้าที่จะเอาแต่ประโยชน์ khaosod
คอลัมน์ คำพระ
พุทธทาส
"คน เห็นแก่ตัว มันขี้เกียจในการทำหน้าที่ แต่จะเอาประโยชน์มากกว่าคนที่ทำหน้าที่ จึงพูดเป็นอุปมาว่าจูงช้างลอดรูเข็มเสีย ยังง่ายกว่าไปชวนคนเห็นแก่ตัวมาทำประโยชน์ส่วนรวม"
วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วินัย (12) เรื่องใหญ่กว่าที่คิด khaosod
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
วินัย ในฐานะ...คนที่ยังไม่พัฒนา ไม่มีการศึกษา มองวินัยเป็นเรื่องของการบังคับ พอเริ่มมีการพัฒนา ก็มองว่าเป็นเครื่องฝึก เพื่อชีวิตในสังคมที่ดีงาม รับการฝึกด้วยใจยินดี เพื่อให้ชีวิตเจริญพัฒนา และสังคมมีสันติสุข พอพัฒนาดีแล้ว วินัยกลายเป็นเครื่องหมายรู้ร่วมกัน สำหรับการเป็นอยู่ร่วมในสังคม เพื่อให้ชีวิตและสังคมประสานสอดคล้องและเกื้อกูลกลมกลืน
ในสังคม ประชาธิปไตยที่แท้ วินัยจะเป็นอย่างนี้ ถ้าเราไม่พัฒนาคน สังคมประชา ธิปไตยซึ่งอยู่ได้ด้วยกฎ เกณฑ์ กติกา ก็จะเกิดมีความขัดแย้งกันระหว่างความหมายของ เสรีภาพกับวินัย แล้วสังคมนั้นก็จะต้องปั่นป่วน
ถ้าจะให้คนมีเสรีภาพในความหมายว่า ทำอะไรได้ตามชอบใจเท่าที่ไม่ละเมิดกฎหมาย หรือไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น มนุษย์ก็จะต้องวางกฎเกณฑ์กติกามากขึ้นๆ แล้วคนก็จะต้องอยู่ด้วยกฎ
พอ อยู่ด้วยกฎต่อไปนานๆ เข้า คำว่า กฎ ก็กลายเป็น กด กลายเป็นกดดัน หรือกดบีบบังคับ แล้วกดไปกดมา ในที่สุดสังคมประชา ธิปไตยก็ต้องยุติด้วยการเอากฎมากดแบบนี้ แล้วก็หนีการใช้อำนาจลงโทษไปไม่พ้น ผลที่สุดก็กลายเป็นเผด็จการด้วยกฎ/กด
ฉะนั้น ประชาธิปไตยนั้น ในที่สุด ถ้าคนไม่เข้าถึงสาระของประชาธิปไตย ก็จะกลายเป็นเผด็จการชนิดหนึ่ง คือเผด็จการด้วยกฎ อย่างที่ว่ามาแล้ว
องค์ประกอบร่วมในการเสริมสร้างวินัย
ขอ ทบทวนเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ความมีวินัย หรือตั้งอยู่ในวินัย ที่เรียกว่าศีลนั้น เป็นแสงเงินแสงทองอย่างหนึ่งของชีวิตที่ดีงาม หรือเป็นรุ่งอรุณของการศึกษา
ได้บอกไว้แล้วว่า แสงเงินแสงทอง นี้มี 7 อย่าง เหมือนกับสเปกตรัม คือ แสงนั้นประกอบด้วยสีต่างๆ 7 สี แสงอาทิตย์ตอนรุ่งอรุณ ก็ประกอบด้วยแสงเงินแสงทอง 7 สี กล่าวคือองค์ประกอบสำคัญ 7 ประการ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้
ในที่นี้จะไม่พูดหมด เพียงแต่ให้หลักการว่า องค์ประกอบอย่างหนึ่งจะเกิดขึ้นโดยสัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ซึ่งจะมาช่วยเสริมกัน ฉะนั้น ในการสร้างวินัย เราก็อาศัยองค์ประกอบในชุดของมันนี้มาช่วยหนุน องค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดมาก ขอพูดในที่นี้ 3 อย่าง คือ
1. กัลยาณมิตร ความมีกัลยาณมิตรนี้ช่วยมาก เพราะเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่าง เริ่มตั้งแต่การช่วยสร้างพฤติกรรมเคยชิน
กัลยาณมิตร เป็นบุคคลที่มีการฝึกฝนพัฒนาดีแล้ว ในความหมายหนึ่งก็คือ เขามีศีล มีวินัย ทำให้เด็กได้แบบอย่างที่ดี ถึงแม้เด็กไม่รู้ไม่เข้าใจ แต่พอกัลยาณมิตรทำอะไร แกก็ทำตาม แกก็ได้พฤติกรรมเคยชินที่มีวินัยไปเอง
กัลยาณมิตร นอกจากให้แบบอย่างที่ดีในด้านพฤติกรรมเคยชินแล้ว กัลยาณมิตรยังมีคุณสมบัติทางจิตใจด้วย โดยมีคุณธรรม เช่นเมตตา มีความรักความปรารถนาดี ทำให้เด็กศรัทธา เกิดความรัก อบอุ่นใจ สนิทใจ เมื่อคุณครูที่รักบอกให้ทำอะไร เด็กก็ยินดีปฏิบัติตามด้วยความรัก ด้วยศรัทธา จิตใจก็อบอุ่น มีความสุข
นอกจากนั้น คุณครูผู้เป็นกัลยาณมิตรก็มีปัญญารู้เหตุรู้ผล สามารถอธิบายให้เด็กรู้ด้วยว่า ที่เราทำกันอย่างนี้ ประพฤติอย่างนี้ มีเหตุผลอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร มีคุณค่าอย่างไร เด็กก็ได้พัฒนาปัญญาไปด้วย ทำให้พฤติกรรมยิ่งแนบแน่นสนิท เพราะฉะนั้น องค์ประกอบข้อกัลยาณมิตรจึงสำคัญมาก
2. ฉันทะ คือความรักดี ใฝ่ดี ใฝ่รู้ ใฝ่สร้างสรรค์ เด็กที่มีฉันทะจะใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ ปรารถนาในสิ่งที่ดีงาม ต้องการให้ชีวิตของตนดีงาม ต้องการให้ทุกสิ่งที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องดีงามไปหมด ต้องการให้สังคม ชุมชน โรงเรียนของตนดีงาม อยากให้ชั้นเรียนเรียบร้อยดีงาม อยากให้ความดีงามเกิดขึ้นในชีวิตในสังคม ความใฝ่ดีคือฉันทะนี้สำคัญมาก จัดเป็นแสงเงินแสงทองอีกอย่างหนึ่ง
ในข้อแรก เด็กยังต้องอาศัยกัลยาณมิตร ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก แต่พอฉันทะเกิดขึ้น เด็กก็ได้ปัจจัยภายในตัวเอง ตอนนี้เด็กมีแรงจูงใจใฝ่ดีใฝ่สร้างสรรค์อยู่ในตัว เด็กจะอยากทำทุกอย่างที่ดีงามและทำทุกอย่างที่ตนเข้าไปเกี่ยว ข้องให้ดีไปหมด
วินัย (13) เรื่องใหญ่กว่าที่คิด khaosod
คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตโต ป.ธ.๙)
วินัย ในฐานะ...วินัยนั้น เป็นเครื่องทำให้สังคมดีงาม ทำให้ชีวิตดีงาม พอเด็กรู้อย่างนี้เขามีความใฝ่ดีอยู่แล้ว ก็ปฏิบัติตามหรือฝึกตัวตามวินัยนั้นทันที
คนที่มีฉันทะนี้ อยากให้ทุกสิ่งที่ตนเข้าไปเกี่ยวข้องอยู่ในภาวะที่ดีที่สุดของมัน เมื่อเห็นเพื่อนมนุษย์ก็อยากให้เพื่อนมนุษย์นั้นอยู่ในภาวะที่ดีที่สุดของ เขา ความมีฉันทะต่อเพื่อนมนุษย์ก็แสดงออกเป็นเมตตา คืออยากให้เพื่อนมนุษย์อยู่ในภาวะที่เอิบอิ่มแข็งแรงสมบูรณ์มีความสุขอย่าง ดีที่สุดของเขา
ฉันทะนี้ดีอย่างยิ่ง จึงต้องสร้างขึ้นมา ถ้าฉันทะเกิดขึ้นก็เป็นแสงเงินแสงทองของชีวิต ไม่ว่าจะปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมอะไร ก็มีหวังสำเร็จ ถ้าฉันทะเกิดขึ้น
3.อัต ตสัมปทา แปลว่า การทำตนให้ถึงพร้อม หรือการทำตนให้เพียบพร้อมสมบูรณ์ หมายถึงการทำตนให้เข้าถึงความพร้อมสมบูรณ์แห่งศักยภาพของตน คือต้องการจะพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ หรือต้องการทำชีวิตของตนให้ถึงความสมบูรณ์ ซึ่งจะเกิดเป็นจิตสำนึกในการฝึกฝนพัฒนาตน หรือจิตสำนึกในการศึกษา
เมื่อ เด็กมีจิตสำนึกในการศึกษา มีจิตสำนึกในการพัฒนาตน หรือจิตสำนึกในการฝึกตน หรือจิตสำนึกในการเรียนรู้ขึ้นมาเมื่อไร ก็มีหวังที่จะก้าวหน้า เพราะเขาพร้อมที่จะรับและบุกฝ่าเดินหน้าไปในสิ่งที่ดีงามทุกอย่าง
ฉันทะนั้นใฝ่ดีอยู่แล้ว คราวนี้ยังแถมมีจิตสำนึกในการที่จะฝึกฝนพัฒนาตนอีก เด็กจะเรียนรู้ว่ามนุษย์เรานี้ไม่เหมือนสัตว์ทั้งหลายอื่น มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึกต้องพัฒนา เราจะต้องฝึกฝนพัฒนาตน
พระ พุทธศาสนาสอนว่า มนุษย์เป็น "ทัมมะ" คือเป็นสัตว์ที่จะต้องฝึกหรือฝึกได้ พระพุทธเจ้ามีพุทธคุณข้อหนึ่งว่า อนุตตโร ปุริส-ทัมมสารถิ ซึ่งเราท่องกันแม่น แปลว่า ทรงเป็นสารถีฝึกทัมมะ คือฝึกบุคคลหรือสัตว์ที่ต้องฝึก ผู้ยอดเยี่ยม
มนุษย์เรานี้จะดี จะประเสริฐ ก็ด้วยการฝึก มนุษย์มีศักยภาพในการฝึกสูงสุด ฝึกแล้วจะประเสริฐจนเป็นพุทธะก็ได้ ซึ่งแม้แต่เทวดาและพระพรหมก็น้อมนมัสการ
ฉะนั้นมนุษย์จะต้องมีความภูมิใจและมั่นใจในศักยภาพนี้ โดยมีจิตสำนึกในการฝึกตนและจะต้องพยายามฝึกตน
พอ สร้างจิตสำนึกในการฝึกตนขึ้นมาได้แล้วก็สบาย จิตสำนึกในการฝึกตนนี้เป็นแกนของการศึกษา ไม่ว่าจะเจออะไรก็จะมองเป็นเวทีของการฝึกตนไปหมด งานการ วิชาการ บทเรียน หรือประสบการณ์ สถาน การณ์อะไรก็ตาม เขาจะมองเป็นเครื่องฝึกตัวไปหมด
เมื่อ เด็กมีตัวอัตตสัมปทาแล้วเราก็สบายใจได้ คราวนี้ไม่ต้องไปจ้ำจี้จ้ำไชอะไรอีก เขาเจออะไรเขาจะมองเป็นโอกาสที่จะฝึกตน ที่จะทำให้เขาได้เรียนรู้ เขาจะสู้หมด งานยาก วิชาการยาก เขาจะชอบ เพราะอะไรก็ตามที่ยากก็จะยิ่งช่วยให้เขาได้ฝึกตนมาก
คนที่มี จิตสำนึกในการฝึกตน เจออะไรยากยิ่งวิ่งเข้าหา ส่วนคนทั่วไปที่ไม่มีจิต สำนึกนี้ พอเจองานยาก เจอวิชายากก็ถอย แล้วก็มีแต่ผลร้ายตามมา คือ
1.ไม่เต็มใจทำ เกิดความท้อแท้ ท้อถอย แล้วก็ขาดความสุข เสียสุขภาพจิต
2.ไม่ตั้งใจทำ ก็เลยทำอะไรไม่ค่อยได้ผล
ส่วน คนที่มีจิตสำนึกในการฝึกฝนพัฒนาตน พอเจออะไรที่ยากก็มองเห็นว่าเป็นเครื่องฝึกตัวที่จะทำให้พัฒนาตนได้มาก และเกิดความรู้สึกว่ายิ่งยากยิ่งได้มาก
ระหว่างของยากกับของง่าย เด็กพวกนี้จะเข้าหาของยาก เพราะยิ่งยากยิ่งได้มาก ทำให้ฝึกตนได้ดี เขาจะมองเห็นว่า ถ้าเราผ่านสิ่งที่ยากได้แล้วเราก็จะทำสิ่งที่ง่ายได้แน่นอน และจะทำให้เราได้สะสมประสบ การณ์ความชำนาญในการทำงานเพิ่มขึ้นๆ
ผลดีที่เกิดขึ้น คือ
1.มีความเต็มใจ พอใจ ยินดีที่จะทำ ซึ่งทำให้เขามีความสุขในการที่จะทำงาน หรือเล่าเรียนศึกษา
2.มีความตั้งใจ ซึ่งทำให้ทำได้ผล
พูดสั้นๆ ว่า งานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข นี้คือสิ่งที่พึงปรารถนาในการทำงาน
ถ้า ปลูกจิตสำนึกในการฝึกตนนี้ขึ้นมา แล้ว วินัยก็จะมีความหมายเป็นการฝึกตน ซึ่งทำให้การฝึกวินัยเป็นเรื่องง่าย ไม่ใช่เรื่องลำบากอะไร
เป็นอันว่าต้องสร้างจิตสำนึกในการฝึกตนนี้ เพื่อทำให้เด็กสู้กับสิ่งที่ยาก และเข้าหาสิ่งที่ยาก โดยมีความเต็มใจ และความสุข