การรับบิณฑบาต
คอลัมน์ ศาลาวัด
การบิณฑบาต ถือเป็นกิจวัตรของพระภิกษุ-สามเณรในพระพุทธศาสนา ในการออกเดินถือบาตร รับการถวายภัตตาหารหรือสิ่งของจากชาวบ้านในเวลาเช้า
สำหรับระเบียบปฏิบัติการรับบิณฑบาตของพระสงฆ์ มีดังนี้
การ อุ้มบาตร นิยมอุ้มบาตรประคองด้วยมือทั้งสอง ให้บาตรอยู่ระดับท้อง สูงกว่าประคดเอวขึ้นมา แต่ไม่นิยมอุ้มชูสูงขึ้นมาจนถึงอก และนิยมถือบาตรภายในจีวร โดยดึงจีวรด้านขวามือมาปิดบาตร นำออกมาเฉพาะเมื่อจะรับบิณฑบาตเท่านั้น
ขณะรับบิณฑบาต นิยมยืนตรง ห่างจากผู้ใส่บาตรประมาณ 1 ก้าว มือซ้ายรองรับบาตร มือขวาแหวกจีวรออกและเปิดฝาบาตร ประคองฝาบาตรเข้ากับข้างบาตร
การสะพายบาตร นิยมสะพายให้บาตรห้อยอยู่ข้างตัวด้านขวา มือขวาคอยประคองบาตรไว้ไม่ให้ส่ายไปส่ายมาขณะเดิน
ไม่นิยมไพล่หลังบาตรมาข้างหน้า เพราะจะทำให้เดินไม่สะดวก และไม่นิยมไพล่บาตรไปข้างหลัง ด้วยจะทำให้คล้ายคนหลังโกง
ขณะ รับบิณฑบาต นิยมยืนตรง ห่างจากผู้ใส่บาตรประมาณ 1 ก้าว มือซ้ายช่วยยกชายจีวรขึ้นแล้วจับสายโยกบาตร มือขวาเปิดฝาบาตรแล้วประคองฝาบาตรเข้ากับข้างบาตร
ส่วนวิธีการรับ บิณฑบาต ประคองบาตรด้วยมือทั้งสอง ยื่นออกไปเล็กน้อย ตาทอดมองในบาตร สำรวมจิตพิจารณาด้วยธาตุปฏิกูลปัจจเวกขณปาฐะ ว่า "ยถาปัจจยัง ปวัตตมานัง ธาตุมัตตเมเวตัง ยทิทัง ปิณฑปาโต ฯเปฯ" จนจบบท ไม่ส่งใจไปอื่น ไม่แสดงกิริยาอาการรีบร้อนจะจากไป ไม่นิยมมองดูหน้าผู้ใส่บาตรหรือชวนผู้ใส่บาตรสนทนาขณะที่กำลังรับบิณฑบาต
เมื่อ รับบิณฑบาตเสร็จแล้ว นิยมถอยหลังออกห่าง 1 ก้าว แล้วยืนตรงขณะที่ผู้ใส่บาตรยกมือไหว้ ตั้งจิตอธิษฐานให้พรว่า "เอวัง โหตุ ขอจงสำเร็จตามที่ปรารถนาเถิด" หรืออธิษฐานว่า "ขอจงมีความสุข ความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปเถิด" ดังนี้ เป็นต้น แล้วจึงเดิน จากไป
นิยม รับอาหารบิณฑบาตไปตามลำดับผู้รอคอยใส่บาตร และนิยมเข้ารับบิณฑบาตตามลำดับของพระภิกษุสามเณรที่มาถึงก่อนและหลัง ไม่นิยมลัดคิวตัดหน้าพระภิกษุสามเณรอื่นที่มารออยู่ก่อน
ขณะเดินไป บิณฑบาต นิยมมีสมณสารูปสำรวมกิริยาเรียบร้อย สำรวมกาย สำรวมตา สำรวมปาก ไม่เดินเร็ว หรือเชื่องช้าเกินไป ไม่เหลียวซ้ายแลขวาลอกแลก ไม่เที่ยวทักคนนี้คนนั้นอันแสดงถึงความไม่สำรวม
หรือไม่นิยมเดินพูดคุยกันระหว่างพระภิกษุสามเณรด้วยกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น