จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (11)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
นอก จากปรโตโฆษะและโยนิโสมนสิการแล้ว อันที่จริงยังมีองค์ประกอบแทรกที่มาช่วยหนุนอีก 5 ตัว ซึ่งอยู่ในกระบวนการฝึกขั้นก่อนที่จะเข้าสู่มรรคด้วย จึงรวมกันมีทั้งหมด 7 ตัว คือ 1.กัลยาณมิตตตา (ความมีกัลยาณมิตร) ได้แก่ ปรโตโฆษะที่ดี ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก ที่ได้กล่าวไปแล้ว 2.ศีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) คือ ความเป็นผู้มีวินัย หรือชีวิตที่มีระเบียบ หรือมีพฤติกรรมเคยชินที่ดี ซึ่งเกิดจากการใช้วินัยมาฝึกให้เกิดพฤติกรรมเคยชินที่ดี ด้วยการจัดระเบียบชีวิต และจัดระเบียบการอยู่ร่วมกันในสังคม ให้มีสภาพซึ่งเอื้อโอกาสต่อการที่จะดำเนินการพัฒนาต่อๆ ไป
3.ฉันท สัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยฉันทะ) คือ มีแรงจูงใจที่ถูกต้อง ได้แก่ความใฝ่รู้ใฝ่สร้างสรรค์ ต้องการเข้าถึงความจริง และทำสิ่งทั้งหลายให้ดีงามเป็นเลิศ ซึ่งเข้ามาทำหน้าที่แทนตัณหา 4.อัตตสัมปทา (ความทำตนให้ถึงพร้อม) คือการทำตนให้ถึงความสมบูรณ์แห่งศักยภาพของความเป็นมนุษย์ โดยมีจิตสำนึกในการที่จะฝึกฝนพัฒนาตนเองอยู่เสมอ 5.ทิฐิสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยหลักการแห่งความเชื่อถือ) คือเชื่อถือในหลักการแห่งเหตุผลหรือความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เมื่อมองอะไรก็มองตามเหตุปัจจัย ซึ่งทำให้การเรียนรู้เกิดขึ้น เพราะเป็นผู้ที่คิดหาเหตุผลอยู่ตลอดเวลา
6.อัปปมาทสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท) คือ ความกระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา มีสติ ไม่ปล่อยปละละเลย ไม่พลาดโอกาส โดยเฉพาะความมีจิตสำนึกตระหนักในความเปลี่ยนแปลง ซึ่งทำให้เห็นคุณค่า ของกาลเวลา และรู้จักใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ตลอดจนทำงานและพัฒนาชีวิตแข่งกับเวลา 7.โยนิโสมนสิการสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยโยนิโสมนสิการ) การรู้จักมนสิการ หรือรู้จักคิดรู้จักพิจารณาด้วยตนเอง ไม่มองอะไรข้ามๆ พร่าๆ คลุมๆ แต่รู้จักคิดสืบสาวหาเหตุปัจจัย แยกแยะให้เห็นองค์ประกอบ จับแง่ดีมาใช้ประโยชน์ได้ และรู้จักโยงให้เห็นองค์รวมหรือสร้างองค์ความรู้ความคิดใหม่ได้ ทำให้เกิดปัญญาที่เข้าถึงความจริง ได้ประโยชน์ และทำการสำเร็จ สนองความใฝ่รู้ และใฝ่สร้างสรรค์ได้โดยสมบูรณ์
องค์ประกอบหรือ ปัจจัยฝึกทั้ง 7 ตัวที่กล่าวมานั้น รวมเรียกว่าบุพนิมิตของมรรค เป็นเครื่องหมายบ่งบอกล่วงหน้าถึงการมาของมรรค เป็นจุดเริ่มที่จะนำเข้าสู่มรรค คือวิถีชีวิตที่ดีงามของผู้มีการศึกษา ในการศึกษานั้นเราเอาปัจจัยตัวแรกคือ กัลยาณมิตร มาช่วยชักนำ หรือกระตุ้นให้เกิดปัจจัยตัวอื่น ตั้งแต่ตัวที่ 2 จนถึงตัวที่ 7 การที่จะมีกัลยาณมิตรนั้น
จัดแยกได้เป็นการพัฒนา 2 ขั้นตอน ขั้นแรก กัลยาณมิตรนั้นเกิดจากผู้อื่นหรือสังคมจัดให้ ซึ่งจะทำให้เด็กอยู่ในภาวะที่เป็นผู้รับและยังมีการพึ่งพามาก แต่เมื่อเด็กพัฒนามากขึ้นก็จะเข้าสู่ขั้นที่สอง คือเด็กเกิดมีโยนิโสมนสิการ แล้วเขารู้จักเลือกหากัลยาณมิตรเอง โดยที่เขามองเห็นคุณค่าของแบบอย่างหรือแหล่งความรู้ที่ดี เขาจะนิยมแบบอย่างที่ดี รู้จักปรึกษาไต่ถาม เขาจะเลือกสรรหาคนที่จะเข้าไปปรึกษา รู้จักหาแหล่งความรู้ รู้จักเลือกอ่านหนังสือที่ดี รู้จักเลือกชมรายการโทรทัศน์ที่ดีมีประโยชน์ พัฒนาการในขั้นที่เขาเป็นฝ่ายเลือกหาและเข้าหากัลยาณมิตรเองนี้ เป็นความหมายของความมีกัลยาณมิตรที่ต้องการในที่นี้ และเมื่อถึงขั้นนี้แล้วเขาจะสามารถทำหน้าที่เป็นกัลยาณมิตรให้แก่ผู้อื่นได้ ด้วย ซึ่งเป็นจุดต่อสู่การมีส่วนร่วมใน การสร้างสรรค์สังคมที่ดีงามและการพัฒนาสังคม
ถ้าบุคคลมีปัจจัย 7 ข้อนี้แล้วก็เชื่อมั่นได้เลยว่าเขาจะมีชีวิตที่ดีงามและกระบวนการศึกษาจะ เกิดขึ้นอย่างแน่นอน เพราะปัจจัยเหล่านี้เป็นส่วนขยายของมรรค หรือของไตรสิกขานั้นเอง ที่ยื่นออกมาเชื่อมต่อเพื่อรับหรือดึงเอาคนเข้าสู่กระบวนการฝึกฝนพัฒนา มันเป็นตัวเร่ง เป็นตัวเสริมประสิทธิภาพ ที่จะนำเข้าสู่ไตรสิกขา และคอยเสริมให้การฝึกในไตรสิกขาได้ผลดี
วันพุธที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2554
จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (10) khaosod
จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (10)
คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
กระบวน การของการศึกษา หรือระบบการพัฒนาบุคคล กระบวนการที่จะพัฒนาบุคคลนั้นแยกได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อนเข้าสู่กระบวนการพัฒนา และขั้นตอนในกระบวนการพัฒนา แต่ละขั้นตอนมีหลักการสำคัญดังนี้
1.ขั้นนำสู่สิกขา คือขั้นก่อนที่จะเข้าสู่ไตรสิกขา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าขั้นก่อนมรรค เพราะมรรคหรือเรียกให้เต็มว่ามรรค มีองค์ 8 นั้น ก็คือ ไตรสิกขาที่มองในแง่เป็นวิถีชีวิตนั่นเอง หมายความว่า สิกขา คือการศึกษาหรือฝึกฝนพัฒนา มรรค คือวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตที่ดี ไตรสิกขา เป็นการศึกษาที่ฝึกฝนพัฒนาคน พัฒนาอย่างไร ก็เพื่อให้เขาดำเนินชีวิตได้อย่างนั้นนั่นเอง
เมื่อมองในแง่ของ มรรค ก็เริ่มจากสัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบซึ่งเป็นปัญญาในระดับหนึ่ง ปัญญาในขั้นนี้เป็นความเชื่อและความเข้าใจในหลักการทั่วๆ ไป โดยเฉพาะความเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย หรือการถือหลักการแห่งเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นความเชื่อถือที่เป็นฐานสำคัญของการพัฒนา ทำให้มีการพัฒนาต่อไปได้ ในทางตรงข้าม ถ้ามีความเชื่อมีทิฐิที่ผิด ก็จะตัดหนทางการพัฒนาไปเลย
เช่น ถ้าเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไรก็เป็นไปเองแล้วแต่โชค หรือเป็นเพราะการดลบันดาล ความเชื่ออย่างนี้ไม่เป็นสัมมาทิฐิ และถ้าเชื่ออย่างนี้แล้วก็ทำให้พัฒนาไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะพัฒนาไปทำไม ดังนั้น ในกระบวนการฝึกฝนพัฒนาบุคคลเมื่อเริ่มต้นจึงต้องมีปัญญาอยู่บ้าง นั่นคือปัญญาในระดับของความเชื่อในหลักการที่ถูกต้อง
คราวนี้สิ่ง ที่น่าพิจารณาต่อไป ก็คือว่า สัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นพื้นฐานหรือเป็นจุดเริ่มให้คนมีการฝึกฝนพัฒนาต่อไปได้นี้ จะเกิดขึ้นในตัวบุคคลได้อย่างไร คือมีปัญหาว่า ทำอย่างไรจะให้บุคคลเกิดมีสัมมาทิฐิ ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงปัจจัยแห่งสัมมาทิฐิ 2 ประการ 1.ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปรโตโฆษะ 2.ปัจจัยภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ
หลัก การนี้หมายความว่า การมีสัมมาทิฐิอาจจะเริ่มจากปัจจัยภายนอก เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้ใหญ่ หรือวัฒนธรรม ซึ่งทำให้บุคคลนั้นได้รับอิทธิพลจากความเชื่อ ความคิดนึก ความเข้าใจ ภูมิธรรมภูมิปัญญา และพฤติกรรมที่ถ่ายทอดต่อกันมา ถ้าสิ่งที่ได้รับจากการแนะนำสั่งสอนถ่ายทอดมานั้นเป็นสิ่งที่ดีงามถูกต้อง อยู่ในแนวทางของเหตุผล ก็เป็นจุดเริ่มของสัมมาทิฐิ ที่จะนำเข้าสู่กระแสการพัฒนาหรือกระบวนการฝึก
ในกรณีอย่างนี้ สัมมาทิฐิเกิดจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า ปรโตโฆษะ
ถ้า ไม่เช่นนั้น บุคคลอาจจะเข้าสู่กระแสการพัฒนาโดยเกิดปัญญาที่เรียกว่าสัมมาทิฐินั้นด้วย การใช้โยนิโสมนสิการ คือการรู้จักคิด รู้จักพิจารณาด้วยตนเอง แต่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าสู่กระแสการพัฒนาด้วยปรโตโฆษะ เพราะคนที่มีโยนิโสมนสิการแต่แรกเริ่มนั้นหาได้ยาก
คำว่า ปรโตโฆษะ ต่างระหว่างบุคคล ดังเช่นในหลักบุคคล 4 ประเภท และขึ้นอยู่แปลว่า เสียงจากผู้อื่น คืออิทธิพลจากภายนอก เป็นคำที่มีความหมายกลางๆ คืออาจจะดีหรือชั่ว ถูกหรือผิดก็ได้ ถ้าปรโตโฆษะนั้นเป็นบุคคลที่ดี เราเรียกว่า กัลยาณมิตร ซึ่งเป็นปรโตโฆษะชนิดที่กลั่นกรองแล้ว และเราได้เลือกสรรที่จะนำมาใช้งานจริงๆ ในการศึกษา ปรโตโฆษะโดยทั่วๆ ไปก็ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง ครูอาจารย์ สื่อมวลชน และการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในสังคม ถ้าบุคคลและสถาบันเหล่านี้เป็นปรโตโฆษะที่ดีก็จะนำเด็กไปสู่สัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ดีต่อไป
อย่างไรก็ตาม คนที่พัฒนาดีแล้วจะมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ พึ่งตนเองได้โดยมีอิสรภาพ แต่คุณสมบัตินี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเขารู้จักใช้ปัจจัยภายใน เพราะถ้าเขายังต้องอาศัยปัจจัยภายนอก ก็คือ การที่ยังต้องพึ่งพา ยังไม่มีอิสรภาพ จึงยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้น จุดเน้นจึงอยู่ที่ปัจจัยภายใน แต่เรานำเอาปัจจัยภายนอกมาเป็นตัวสื่อในเบื้องต้น เพื่อช่วยชักนำให้คนสามารถใช้โยนิโสมนสิการ จนมีปัจจัยภายในของตัวเขาเอง เมื่อเรารู้หลักนี้แล้วเราก็นำเอากัลยาณมิตรมาช่วยสร้างโยนิโสมนสิการให้คน นั่นคือเป็นการอาศัยปรโตโฆษะ โดยเฉพาะกัลยาณมิตรเป็นตัวนำให้เข้าถึง โยนิโสมนสิการ
คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
กระบวน การของการศึกษา หรือระบบการพัฒนาบุคคล กระบวนการที่จะพัฒนาบุคคลนั้นแยกได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนก่อนเข้าสู่กระบวนการพัฒนา และขั้นตอนในกระบวนการพัฒนา แต่ละขั้นตอนมีหลักการสำคัญดังนี้
1.ขั้นนำสู่สิกขา คือขั้นก่อนที่จะเข้าสู่ไตรสิกขา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าขั้นก่อนมรรค เพราะมรรคหรือเรียกให้เต็มว่ามรรค มีองค์ 8 นั้น ก็คือ ไตรสิกขาที่มองในแง่เป็นวิถีชีวิตนั่นเอง หมายความว่า สิกขา คือการศึกษาหรือฝึกฝนพัฒนา มรรค คือวิถีชีวิตหรือการดำเนินชีวิตที่ดี ไตรสิกขา เป็นการศึกษาที่ฝึกฝนพัฒนาคน พัฒนาอย่างไร ก็เพื่อให้เขาดำเนินชีวิตได้อย่างนั้นนั่นเอง
เมื่อมองในแง่ของ มรรค ก็เริ่มจากสัมมาทิฐิ คือความเห็นชอบซึ่งเป็นปัญญาในระดับหนึ่ง ปัญญาในขั้นนี้เป็นความเชื่อและความเข้าใจในหลักการทั่วๆ ไป โดยเฉพาะความเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย หรือการถือหลักการแห่งเหตุปัจจัย ซึ่งเป็นความเชื่อถือที่เป็นฐานสำคัญของการพัฒนา ทำให้มีการพัฒนาต่อไปได้ ในทางตรงข้าม ถ้ามีความเชื่อมีทิฐิที่ผิด ก็จะตัดหนทางการพัฒนาไปเลย
เช่น ถ้าเชื่อว่าสิ่งทั้งหลายจะเป็นอย่างไรก็เป็นไปเองแล้วแต่โชค หรือเป็นเพราะการดลบันดาล ความเชื่ออย่างนี้ไม่เป็นสัมมาทิฐิ และถ้าเชื่ออย่างนี้แล้วก็ทำให้พัฒนาไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะพัฒนาไปทำไม ดังนั้น ในกระบวนการฝึกฝนพัฒนาบุคคลเมื่อเริ่มต้นจึงต้องมีปัญญาอยู่บ้าง นั่นคือปัญญาในระดับของความเชื่อในหลักการที่ถูกต้อง
คราวนี้สิ่ง ที่น่าพิจารณาต่อไป ก็คือว่า สัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นพื้นฐานหรือเป็นจุดเริ่มให้คนมีการฝึกฝนพัฒนาต่อไปได้นี้ จะเกิดขึ้นในตัวบุคคลได้อย่างไร คือมีปัญหาว่า ทำอย่างไรจะให้บุคคลเกิดมีสัมมาทิฐิ ในเรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสถึงปัจจัยแห่งสัมมาทิฐิ 2 ประการ 1.ปัจจัยภายนอก ได้แก่ ปรโตโฆษะ 2.ปัจจัยภายใน ได้แก่ โยนิโสมนสิการ
หลัก การนี้หมายความว่า การมีสัมมาทิฐิอาจจะเริ่มจากปัจจัยภายนอก เช่น พ่อแม่ ครูอาจารย์ ผู้ใหญ่ หรือวัฒนธรรม ซึ่งทำให้บุคคลนั้นได้รับอิทธิพลจากความเชื่อ ความคิดนึก ความเข้าใจ ภูมิธรรมภูมิปัญญา และพฤติกรรมที่ถ่ายทอดต่อกันมา ถ้าสิ่งที่ได้รับจากการแนะนำสั่งสอนถ่ายทอดมานั้นเป็นสิ่งที่ดีงามถูกต้อง อยู่ในแนวทางของเหตุผล ก็เป็นจุดเริ่มของสัมมาทิฐิ ที่จะนำเข้าสู่กระแสการพัฒนาหรือกระบวนการฝึก
ในกรณีอย่างนี้ สัมมาทิฐิเกิดจากปัจจัยภายนอกที่เรียกว่า ปรโตโฆษะ
ถ้า ไม่เช่นนั้น บุคคลอาจจะเข้าสู่กระแสการพัฒนาโดยเกิดปัญญาที่เรียกว่าสัมมาทิฐินั้นด้วย การใช้โยนิโสมนสิการ คือการรู้จักคิด รู้จักพิจารณาด้วยตนเอง แต่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าสู่กระแสการพัฒนาด้วยปรโตโฆษะ เพราะคนที่มีโยนิโสมนสิการแต่แรกเริ่มนั้นหาได้ยาก
คำว่า ปรโตโฆษะ ต่างระหว่างบุคคล ดังเช่นในหลักบุคคล 4 ประเภท และขึ้นอยู่แปลว่า เสียงจากผู้อื่น คืออิทธิพลจากภายนอก เป็นคำที่มีความหมายกลางๆ คืออาจจะดีหรือชั่ว ถูกหรือผิดก็ได้ ถ้าปรโตโฆษะนั้นเป็นบุคคลที่ดี เราเรียกว่า กัลยาณมิตร ซึ่งเป็นปรโตโฆษะชนิดที่กลั่นกรองแล้ว และเราได้เลือกสรรที่จะนำมาใช้งานจริงๆ ในการศึกษา ปรโตโฆษะโดยทั่วๆ ไปก็ได้แก่ พ่อแม่ พี่น้อง ครูอาจารย์ สื่อมวลชน และการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากในสังคม ถ้าบุคคลและสถาบันเหล่านี้เป็นปรโตโฆษะที่ดีก็จะนำเด็กไปสู่สัมมาทิฐิ ซึ่งเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ดีต่อไป
อย่างไรก็ตาม คนที่พัฒนาดีแล้วจะมีคุณสมบัติที่สำคัญคือ พึ่งตนเองได้โดยมีอิสรภาพ แต่คุณสมบัตินี้จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเขารู้จักใช้ปัจจัยภายใน เพราะถ้าเขายังต้องอาศัยปัจจัยภายนอก ก็คือ การที่ยังต้องพึ่งพา ยังไม่มีอิสรภาพ จึงยังไม่สามารถพึ่งตนเองได้ ดังนั้น จุดเน้นจึงอยู่ที่ปัจจัยภายใน แต่เรานำเอาปัจจัยภายนอกมาเป็นตัวสื่อในเบื้องต้น เพื่อช่วยชักนำให้คนสามารถใช้โยนิโสมนสิการ จนมีปัจจัยภายในของตัวเขาเอง เมื่อเรารู้หลักนี้แล้วเราก็นำเอากัลยาณมิตรมาช่วยสร้างโยนิโสมนสิการให้คน นั่นคือเป็นการอาศัยปรโตโฆษะ โดยเฉพาะกัลยาณมิตรเป็นตัวนำให้เข้าถึง โยนิโสมนสิการ
วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554
จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (8) khaosod
จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (8)
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ใน การศึกษา คนทั่วไปมักแยกไม่ออกระหว่างความอยาก 2 ประเภทนี้ แล้วก็พูดกราดไปว่าความอยากเป็นสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ความอยากประเภทที่ 2 คือ ฉันทะนี้ เป็นความอยากที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำชีวิตไปสู่จุดหมายที่ดีงาม เป็นองค์ธรรมสำคัญมาก
ในการที่จะบำเพ็ญไตรสิกขา หรือทำสิ่งต่างๆ จะต้องมีฉันทะ ถ้าขาดฉันทะไปก็สำเร็จได้ยาก แต่ฉันทะต้องอาศัยปัญญา รู้ว่าอะไรดีมีคุณค่าเป็นประโยชน์แท้จริง ฉันทะ ก็อยากทำให้เกิดสิ่งนั้น ถ้าไม่มีปัญญาคือไม่รู้ฉันทะก็เกิดไม่ได้ ต่างจากตัณหาที่ไม่ต้องอาศัยปัญญา อะไรถูกตา ถูกหู ถูกลิ้น ถูกใจ ตัณหาก็อยากได้อยากเสพสิ่งนั้น ตัณหาจึงอยู่ด้วยกันกับอวิชชา แต่พอปัญญาเกิดขึ้นรู้ว่าสิ่งที่ถูกใจนั้นเป็นโทษเป็นอันตรายต่อชีวิตตัณหา ก็หายไป ปัญญารู้ว่าอะไรเป็นคุณเป็นประโยชน์แท้จริง
ฉันทะก็เกิด ขึ้นในสิ่งนั้น ดังนั้นปัญญาพัฒนาไป ฉันทะก็พัฒนาควบคู่ไปด้วย ในทางการศึกษา ถ้าจับจุดนี้ไม่ได้ ก็พูดได้เลยว่า การศึกษานั้นพลาด เสียหลักไปแล้วตั้งแต่ต้นทาง จึงยากจะสำเร็จผลด้วยดี
เพื่อให้ รู้จักแยกระหว่างความอยาก 2 ประเภทนี้ อาจให้ความหมายอย่างง่ายๆ ว่า 1.ตัณหา คือ ความอยากในรสชาติ ที่เวทนาบอกเสนอ (=ความอยากที่ไม่เกี่ยวกับการศึกษา) 2. ฉันทะ คือ ความอยากในคุณค่าที่ปัญญาบอกเสนอ (=ความอยากที่เกิดจากการศึกษา) คนเกิดมา ไม่ต้องมีการศึกษา ไม่ต้องมีความรู้ไม่ต้องพัฒนาเลย ก็มีตัณหา สามารถอยากเสพรสสุขเวทนา ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ แต่พฤติกรรม ที่เป็นไปตามบงการของตัณหา จะมีผลในทางเพิ่มทุกข์ ก่อปัญหาไม่คุ้มกับความสุขที่ได้
ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการศึกษาเพื่อ พัฒนาให้ไม่เป็นอยู่อย่างมืดบอดด้วยอวิชชา และวิ่งพล่านไปด้วยตัณหา เมื่อคนมีการศึกษาได้พัฒนาขึ้น เกิดปัญญารู้ว่าอะไรดีแท้จริง ก็เกิดฉันทะอยากใน สิ่งนั้น แล้วทำไปตามฉันทะนั้น ก็ทำให้ปัญหาไม่เกิดขึ้น หรือถ้ามีปัญหาก็แก้ปัญหานั้นได้ เรียกว่า ไร้ทุกข์ หรือปลอดทุกข์ (นิยมใช้กันมาว่าดับทุกข์) จากที่กล่าวมา จึงสรุปกระบวนการแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ได้เป็น 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 (ไร้การศึกษา): อวิชชา + ตัณหา -------------' พฤติกรรมสร้างทุกข์ (ก่อปัญหา)
แบบที่ 2 (มีการศึกษา): ปัญญา + ฉันทะ --------------' พฤติกรรมสลายทุกข์ (แก้ปัญหา)
กระบวน การแบบที่สองเป็นแนวทางในการพัฒนามนุษย์ คือทันทีที่มนุษย์รู้จักคิดเขาก็เริ่มมีการศึกษา และเมื่อนั้นปัญญาก็เกิดขึ้น ตัวแกนสำคัญของการพัฒนาก็คือปัญญา เพราะทำให้รู้จักสิ่งทั้งหลายและรู้ที่จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไร แต่พร้อมกับที่ปัญญาเกิดขึ้นนั้นก็มีการปรับตัวเกิดขึ้นทั้งองคาพยพ ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพครบทั่วองค์รวม คือมิใช่พัฒนาแต่ปัญญา พฤติกรรมก็พัฒนาด้วย พฤติกรรมจะเปลี่ยนไป แล้วจิตใจก็พัฒนาด้วย คือจิตใจเปลี่ยนไป
เช่นเปลี่ยนจากความอยากด้วยตัณหามาเป็นความอยาก ด้วยฉันทะเป็นต้น และมีความสุขความพอใจอย่างใหม่เกิดขึ้น นั่นคือพอใจเมื่อได้ทำตามที่ปัญญาบอก ได้ทำตามเหตุตามผลที่ดี เกิดความสุขความพอใจด้วยฉันทะ เป็นการพัฒนาจิตใจ เพราะฉะนั้น การพัฒนาจะเป็นไปพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน คือ พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา
การพัฒนาทั้ง 3 อย่างนี้จะต้องอิงอาศัยและเสริมซึ่งกัน และกัน จะแยกออกจากกันไม่ได้ในกระบวนการพัฒนามนุษย์ ถึงตอนนี้ เราสามารถให้ความหมายของการศึกษาได้ในระดับหนึ่งว่า การศึกษา คือการพัฒนาคนให้พ้นจากการมีชีวิตภายใต้บงการของตัณหาที่จะดิ้นรนแสวงหาสุข เวทนาและหลีกเลี่ยงทุกขเวทนา บนฐานของความไม่รู้คืออวิชชา ที่ทำให้เวียนวนอยู่ในตาข่ายของการก่อปัญหาเพิ่มทุกข์ ไปสู่การมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ซึ่งทำให้เกิดมีฉันทะ ที่จะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง
ทำให้เกิดความเป็นอิสระไร้ทุกข์ปราศจากปัญหา
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ใน การศึกษา คนทั่วไปมักแยกไม่ออกระหว่างความอยาก 2 ประเภทนี้ แล้วก็พูดกราดไปว่าความอยากเป็นสิ่งที่ไม่ดี ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ความอยากประเภทที่ 2 คือ ฉันทะนี้ เป็นความอยากที่ดี เป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำชีวิตไปสู่จุดหมายที่ดีงาม เป็นองค์ธรรมสำคัญมาก
ในการที่จะบำเพ็ญไตรสิกขา หรือทำสิ่งต่างๆ จะต้องมีฉันทะ ถ้าขาดฉันทะไปก็สำเร็จได้ยาก แต่ฉันทะต้องอาศัยปัญญา รู้ว่าอะไรดีมีคุณค่าเป็นประโยชน์แท้จริง ฉันทะ ก็อยากทำให้เกิดสิ่งนั้น ถ้าไม่มีปัญญาคือไม่รู้ฉันทะก็เกิดไม่ได้ ต่างจากตัณหาที่ไม่ต้องอาศัยปัญญา อะไรถูกตา ถูกหู ถูกลิ้น ถูกใจ ตัณหาก็อยากได้อยากเสพสิ่งนั้น ตัณหาจึงอยู่ด้วยกันกับอวิชชา แต่พอปัญญาเกิดขึ้นรู้ว่าสิ่งที่ถูกใจนั้นเป็นโทษเป็นอันตรายต่อชีวิตตัณหา ก็หายไป ปัญญารู้ว่าอะไรเป็นคุณเป็นประโยชน์แท้จริง
ฉันทะก็เกิด ขึ้นในสิ่งนั้น ดังนั้นปัญญาพัฒนาไป ฉันทะก็พัฒนาควบคู่ไปด้วย ในทางการศึกษา ถ้าจับจุดนี้ไม่ได้ ก็พูดได้เลยว่า การศึกษานั้นพลาด เสียหลักไปแล้วตั้งแต่ต้นทาง จึงยากจะสำเร็จผลด้วยดี
เพื่อให้ รู้จักแยกระหว่างความอยาก 2 ประเภทนี้ อาจให้ความหมายอย่างง่ายๆ ว่า 1.ตัณหา คือ ความอยากในรสชาติ ที่เวทนาบอกเสนอ (=ความอยากที่ไม่เกี่ยวกับการศึกษา) 2. ฉันทะ คือ ความอยากในคุณค่าที่ปัญญาบอกเสนอ (=ความอยากที่เกิดจากการศึกษา) คนเกิดมา ไม่ต้องมีการศึกษา ไม่ต้องมีความรู้ไม่ต้องพัฒนาเลย ก็มีตัณหา สามารถอยากเสพรสสุขเวทนา ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ แต่พฤติกรรม ที่เป็นไปตามบงการของตัณหา จะมีผลในทางเพิ่มทุกข์ ก่อปัญหาไม่คุ้มกับความสุขที่ได้
ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีการศึกษาเพื่อ พัฒนาให้ไม่เป็นอยู่อย่างมืดบอดด้วยอวิชชา และวิ่งพล่านไปด้วยตัณหา เมื่อคนมีการศึกษาได้พัฒนาขึ้น เกิดปัญญารู้ว่าอะไรดีแท้จริง ก็เกิดฉันทะอยากใน สิ่งนั้น แล้วทำไปตามฉันทะนั้น ก็ทำให้ปัญหาไม่เกิดขึ้น หรือถ้ามีปัญหาก็แก้ปัญหานั้นได้ เรียกว่า ไร้ทุกข์ หรือปลอดทุกข์ (นิยมใช้กันมาว่าดับทุกข์) จากที่กล่าวมา จึงสรุปกระบวนการแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ได้เป็น 2 แบบ คือ
แบบที่ 1 (ไร้การศึกษา): อวิชชา + ตัณหา -------------' พฤติกรรมสร้างทุกข์ (ก่อปัญหา)
แบบที่ 2 (มีการศึกษา): ปัญญา + ฉันทะ --------------' พฤติกรรมสลายทุกข์ (แก้ปัญหา)
กระบวน การแบบที่สองเป็นแนวทางในการพัฒนามนุษย์ คือทันทีที่มนุษย์รู้จักคิดเขาก็เริ่มมีการศึกษา และเมื่อนั้นปัญญาก็เกิดขึ้น ตัวแกนสำคัญของการพัฒนาก็คือปัญญา เพราะทำให้รู้จักสิ่งทั้งหลายและรู้ที่จะปฏิบัติต่อสิ่งนั้นอย่างไร แต่พร้อมกับที่ปัญญาเกิดขึ้นนั้นก็มีการปรับตัวเกิดขึ้นทั้งองคาพยพ ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพครบทั่วองค์รวม คือมิใช่พัฒนาแต่ปัญญา พฤติกรรมก็พัฒนาด้วย พฤติกรรมจะเปลี่ยนไป แล้วจิตใจก็พัฒนาด้วย คือจิตใจเปลี่ยนไป
เช่นเปลี่ยนจากความอยากด้วยตัณหามาเป็นความอยาก ด้วยฉันทะเป็นต้น และมีความสุขความพอใจอย่างใหม่เกิดขึ้น นั่นคือพอใจเมื่อได้ทำตามที่ปัญญาบอก ได้ทำตามเหตุตามผลที่ดี เกิดความสุขความพอใจด้วยฉันทะ เป็นการพัฒนาจิตใจ เพราะฉะนั้น การพัฒนาจะเป็นไปพร้อมกันทั้ง 3 ด้าน คือ พัฒนาพฤติกรรม พัฒนาจิตใจ และพัฒนาปัญญา
การพัฒนาทั้ง 3 อย่างนี้จะต้องอิงอาศัยและเสริมซึ่งกัน และกัน จะแยกออกจากกันไม่ได้ในกระบวนการพัฒนามนุษย์ ถึงตอนนี้ เราสามารถให้ความหมายของการศึกษาได้ในระดับหนึ่งว่า การศึกษา คือการพัฒนาคนให้พ้นจากการมีชีวิตภายใต้บงการของตัณหาที่จะดิ้นรนแสวงหาสุข เวทนาและหลีกเลี่ยงทุกขเวทนา บนฐานของความไม่รู้คืออวิชชา ที่ทำให้เวียนวนอยู่ในตาข่ายของการก่อปัญหาเพิ่มทุกข์ ไปสู่การมีชีวิตอยู่ด้วยปัญญา ซึ่งทำให้เกิดมีฉันทะ ที่จะปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายอย่างถูกต้อง
ทำให้เกิดความเป็นอิสระไร้ทุกข์ปราศจากปัญหา
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ไตรลักษณ์ khaosod
ไตรลักษณ์
คอลัมน์ ศาลาวัด
พระ ไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา เรียกรวมว่า พุทธธรรม เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือคัมภีร์บรรจุพุทธพจน์ 3 หมวด คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก
ในพระไตรปิฎก หมวดสุตตันตปิฎก เล่ม 10 สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค รโหคตสูตร
มีใจความตอนหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา 3 อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา (เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข) พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา 3 อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ (หมายความว่าเวทนาแต่ละชนิดล้วนเป็นทุกขลักษณะในไตรลักษณ์)
ทุกขลักษณะ หรือทุกข์ในไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) หมายถึง ลักษณะที่มีความไม่เที่ยง มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดานั่นเอง
ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ก็ล้วนมีลักษณะเช่นนี้ด้วย คือ เวทนาทุกชนิดล้วนเป็นทุกข์ (ทุกขลักษณะ)
คำว่า ไตรลักษณ์ นี้มาจากภาษาบาลีว่า "ติลกฺขณ"
ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่
1.อนิจจตา หรือ อนิจจัง (อนิจจลักษณะ) อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์
2.ทุกขตา หรือ ทุกขัง (ทุกขลักษณะ) อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์
3.อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง
ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือ กฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร
คอลัมน์ ศาลาวัด
พระ ไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา เรียกรวมว่า พุทธธรรม เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือคัมภีร์บรรจุพุทธพจน์ 3 หมวด คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก
ในพระไตรปิฎก หมวดสุตตันตปิฎก เล่ม 10 สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค รโหคตสูตร
มีใจความตอนหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา 3 อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา (เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข) พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา 3 อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ (หมายความว่าเวทนาแต่ละชนิดล้วนเป็นทุกขลักษณะในไตรลักษณ์)
ทุกขลักษณะ หรือทุกข์ในไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) หมายถึง ลักษณะที่มีความไม่เที่ยง มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดานั่นเอง
ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ก็ล้วนมีลักษณะเช่นนี้ด้วย คือ เวทนาทุกชนิดล้วนเป็นทุกข์ (ทุกขลักษณะ)
คำว่า ไตรลักษณ์ นี้มาจากภาษาบาลีว่า "ติลกฺขณ"
ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่
1.อนิจจตา หรือ อนิจจัง (อนิจจลักษณะ) อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์
2.ทุกขตา หรือ ทุกขัง (ทุกขลักษณะ) อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์
3.อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง
ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือ กฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร
ฟังธรรม khasod
ฟังธรรม
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
วันนี้ เป็นวันพระหรือวันฟังธรรม ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ยังอยู่ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำที่ ไม่จาริกไปที่ไหนๆ เพื่อปฏิบัติธรรมและศึกษาเล่าเรียนและให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปสั่งสมบุญกุศล และทำบุญได้อย่างเต็มที่
การบำเพ็ญบุญกุศล คุณงามความดี ในทางพระพุทธศาสนา ท่านแยกไว้หลายประการ แต่สรุปแล้ว มีอยู่ 3 อย่าง คือ ทาน ศีล และภาวนา
ทาน ได้แก่ การบริจาค แบ่งปันเสียสละ เมื่อได้บำเพ็ญ ให้บริบูรณ์เต็มที่แล้ว สามารถละหรือตัดกิเลส คือความโลภให้เบาบาง หรือให้หมดสิ้น ทำให้เกิดความสุข ความสงบใจได้
ศีล ได้แก่ การปฏิบัติกาย วาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม ในความสงบเรียบร้อย ตามกฎระเบียบ ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม และเมื่อได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์เต็มที่แล้ว สามารถละหรือตัดกิเลสคือความโกรธให้เบาบาง หรือให้หมดสิ้น ทำให้เกิดความสุข ความสงบใจได้
ภาวนา ได้แก่ การทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม เป็นการเจริญปัญญาหรือจิตใจ พัฒนาจิตใจเพื่อให้เข้าถึงทางแห่งชีวิตตามความเป็นจริง ให้รู้จักการดำเนินชีวิต ตลอดถึงปฏิบัติต่อตนและคนอื่นด้วยความถูกต้อง และเมื่อได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์เต็มที่แล้ว สามารถละหรือตัดกิเลสคือความหลงให้เบาบาง หรือให้หมดสิ้น ทำให้เกิดความสุข ความสงบใจได้
การฟังธรรม นอกจากจะเป็นการส่งเสริมคุณธรรมในส่วนแห่งทานและศีล อันเป็นบุญกุศลขั้นพื้นฐานและขั้นกลาง ที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว ยังเป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลในส่วนแห่งภาวนา อันเป็นบุญกุศลขั้นสูงสุด ที่ทำให้มีผลไพบูลย์ยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะการฟังธรรมนั้น เป็นการพัฒนาปัญญา หรือพัฒนาจิตใจ อันเป็นการพัฒนาในส่วนที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอานิสงส์แห่งการฟังธรรมไว้ 5 ประการ คือ
1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
2. ทำสิ่งที่ฟังแล้วไม่เข้าใจให้เข้าใจชัดขึ้น
3. บรรเทาความสงสัยเสียได้
4. ทำความเห็นให้ถูกต้อง
5. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
ดัง นั้น การฟังธรรม จึงมีอุปการะแก่ผู้ที่มุ่งบำเพ็ญคุณงามความดีเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเกื้อกูลแก่การพัฒนาความเป็นอยู่ของตน ครอบครัว ตลอดถึงสังคม ไม่ให้หลงทาง แต่ให้ดำเนินไปถูกทางอย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและทรงไว้ ซึ่งคุณธรรม
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร / www.watdevaraj.com
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
วันนี้ เป็นวันพระหรือวันฟังธรรม ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 9 ยังอยู่ในช่วงเทศกาลเข้าพรรษา พระภิกษุสงฆ์อยู่ประจำที่ ไม่จาริกไปที่ไหนๆ เพื่อปฏิบัติธรรมและศึกษาเล่าเรียนและให้พุทธศาสนิกชนทั่วไปสั่งสมบุญกุศล และทำบุญได้อย่างเต็มที่
การบำเพ็ญบุญกุศล คุณงามความดี ในทางพระพุทธศาสนา ท่านแยกไว้หลายประการ แต่สรุปแล้ว มีอยู่ 3 อย่าง คือ ทาน ศีล และภาวนา
ทาน ได้แก่ การบริจาค แบ่งปันเสียสละ เมื่อได้บำเพ็ญ ให้บริบูรณ์เต็มที่แล้ว สามารถละหรือตัดกิเลส คือความโลภให้เบาบาง หรือให้หมดสิ้น ทำให้เกิดความสุข ความสงบใจได้
ศีล ได้แก่ การปฏิบัติกาย วาจาให้ตั้งอยู่ในความดีงาม ในความสงบเรียบร้อย ตามกฎระเบียบ ประเพณีและวัฒนธรรมอันดีงาม และเมื่อได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์เต็มที่แล้ว สามารถละหรือตัดกิเลสคือความโกรธให้เบาบาง หรือให้หมดสิ้น ทำให้เกิดความสุข ความสงบใจได้
ภาวนา ได้แก่ การทำจิตใจให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรม เป็นการเจริญปัญญาหรือจิตใจ พัฒนาจิตใจเพื่อให้เข้าถึงทางแห่งชีวิตตามความเป็นจริง ให้รู้จักการดำเนินชีวิต ตลอดถึงปฏิบัติต่อตนและคนอื่นด้วยความถูกต้อง และเมื่อได้บำเพ็ญให้บริบูรณ์เต็มที่แล้ว สามารถละหรือตัดกิเลสคือความหลงให้เบาบาง หรือให้หมดสิ้น ทำให้เกิดความสุข ความสงบใจได้
การฟังธรรม นอกจากจะเป็นการส่งเสริมคุณธรรมในส่วนแห่งทานและศีล อันเป็นบุญกุศลขั้นพื้นฐานและขั้นกลาง ที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว ยังเป็นการเพิ่มพูนบุญกุศลในส่วนแห่งภาวนา อันเป็นบุญกุศลขั้นสูงสุด ที่ทำให้มีผลไพบูลย์ยิ่งขึ้นอีกด้วย เพราะการฟังธรรมนั้น เป็นการพัฒนาปัญญา หรือพัฒนาจิตใจ อันเป็นการพัฒนาในส่วนที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงแสดงอานิสงส์แห่งการฟังธรรมไว้ 5 ประการ คือ
1. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังในสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง
2. ทำสิ่งที่ฟังแล้วไม่เข้าใจให้เข้าใจชัดขึ้น
3. บรรเทาความสงสัยเสียได้
4. ทำความเห็นให้ถูกต้อง
5. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส
ดัง นั้น การฟังธรรม จึงมีอุปการะแก่ผู้ที่มุ่งบำเพ็ญคุณงามความดีเป็นอย่างมาก เพราะเป็นการเกื้อกูลแก่การพัฒนาความเป็นอยู่ของตน ครอบครัว ตลอดถึงสังคม ไม่ให้หลงทาง แต่ให้ดำเนินไปถูกทางอย่างมีคุณภาพ มีประสิทธิภาพและทรงไว้ ซึ่งคุณธรรม
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร / www.watdevaraj.com
เหตุสวดมนต์แล้ว ไม่เกิดพลานุภาพ khasod
เหตุสวดมนต์แล้ว ไม่เกิดพลานุภาพ
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
สํา หรับผู้ที่สวดพระพุทธมนต์และผู้ฟังการเจริญพระพุทธมนต์ หากกระทำด้วยจิตเลื่อมใส ไม่มีกิเลสมาครอบงำจิต ไม่มีกรรมหนักมาตัดรอน อีกทั้งยังไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย
พระพุทธมนต์ย่อมจะมีอานุภาพในการ บำบัดทุกข์โศกโรคภัย สามารถดับความเร่าร้อนกระวนกระวายใจ ป้องกันสิ่งอัปมงคล เจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา ตลอดกาลทุกเมื่อ
พระพุทธมนต์ที่สวดด้วยจิตเลื่อมใสเป็นสมาธิแน่วแน่ ย่อมแผ่อานุภาพคุ้มครองป้องกันตลอดทั้งหมู่ญาติ พวกพ้อง และบริวารทั้งหลาย
แม้พระพุทธมนต์ที่เจริญโดยยึดหลัก 2 ประการ จนเกิดอานุภาพ คือ จิตต้องมีเมตตา ไม่เห็นแก่ลาภ และอย่าให้จิตฟุ้งซ่านเจริญพระพุทธมนต์
แต่ก็ยังมีเหตุที่ทำให้อานุภาพไม่สามารถคุ้มครองป้องกันอยู่อีก อานุภาพนั้นจะไม่คุ้มครองป้องกัน เพราะเหตุ 4 ประการ
1.เมื่อผู้สวดหรือผู้ฟังการเจริญพระพุทธมนต์ ไม่มี ความเชื่อ ไม่มีความเลื่อมใสในอานุภาพแห่งพระพุทธมนต์
2.แม้ ผู้สวดหรือผู้ฟังพระพุทธมนต์มีความเชื่อความเลื่อมใสในอานุภาพแห่งพระพุทธ มนต์ แต่ในขณะที่เจริญพระพุทธมนต์มีกิเลสครอบงำ แล้วเจริญพระพุทธมนต์ เพราะเห็นแก่ลาภ ทำให้จิตใจวอกแวกฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ เช่นนี้ พระพุทธมนต์ก็ไม่มีอานุภาพในการต้านทาน
3.แม้ผู้สวดหรือผู้ฟังพระ พุทธมนต์จะมีความเชื่อ ความเลื่อมใส แล้วเจริญพระพุทธมนต์ด้วยจิตเป็นสมาธิมั่นคงแน่วแน่ ไม่วอกแวกฟุ้งซ่าน แต่หากมีกรรมหนัก คือ อนันตริยกรรมมาตัดรอนขัดขวาง พระพุทธมนต์ก็ไม่มีอานุภาพในการต้านทาน เพราะขณะนั้นกรรมกำลังให้ผลตามที่ผู้นั้นได้กระทำไว้
4.ถึงแม้ผู้สวด หรือผู้ฟังพระพุทธมนต์จะมีความเชื่อ ความเลื่อมใส แล้วเจริญพระพุทธมนต์ด้วยจิตเป็นสมาธิมั่นคงแน่วแน่ ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน และไม่มีกรรมหนัก มาตัดรอนขัดขวาง แต่หากผู้สวดหรือผู้ฟังถึงวาระสิ้น อายุขัยตามวัยของมนุษย์ อานุภาพของพระพุทธมนต์ก็จะ ไม่ต้านทาน ท่านเปรียบเหมือนคนถึงคราวสิ้นอายุขัย แม้จะได้รับการเยียวยารักษาจากหมอผู้เชี่ยวชาญ และด้วยยาขนานพิเศษอย่างไรก็ช่วยไม่ได้ ต้องเป็นไปตามธรรมดาของสังขารร่างกาย
ผู้ที่นำพระพุทธมนต์มาบริกรรม ภาวนา ในรูปแบบการเจริญพระพุทธมนต์ หากมุ่งหวังให้พระพุทธมนต์เป็น พระปริตรที่มีพลานุภาพในการต้านทาน จำเป็นต้องมีความเชื่อ ความเลื่อมใส ประกอบด้วยจิตเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มีจิตเป็นสมาธิไม่ฟุ้งซ่าน
แล้วกระทำสัจกิริยา คือ ตั้งสัจจะ อธิษฐานตามความเป็นจริง หากยังไม่สิ้นอายุขัย ไม่มีกรรมหนักมาขัดขวาง
พระพุทธมนต์ย่อมเกิดพลานุภาพในการต้านทานตามความมุ่งหวังทุกประการ
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
สํา หรับผู้ที่สวดพระพุทธมนต์และผู้ฟังการเจริญพระพุทธมนต์ หากกระทำด้วยจิตเลื่อมใส ไม่มีกิเลสมาครอบงำจิต ไม่มีกรรมหนักมาตัดรอน อีกทั้งยังไม่ถึงวาระสิ้นอายุขัย
พระพุทธมนต์ย่อมจะมีอานุภาพในการ บำบัดทุกข์โศกโรคภัย สามารถดับความเร่าร้อนกระวนกระวายใจ ป้องกันสิ่งอัปมงคล เจริญงอกงามในพระพุทธศาสนา ตลอดกาลทุกเมื่อ
พระพุทธมนต์ที่สวดด้วยจิตเลื่อมใสเป็นสมาธิแน่วแน่ ย่อมแผ่อานุภาพคุ้มครองป้องกันตลอดทั้งหมู่ญาติ พวกพ้อง และบริวารทั้งหลาย
แม้พระพุทธมนต์ที่เจริญโดยยึดหลัก 2 ประการ จนเกิดอานุภาพ คือ จิตต้องมีเมตตา ไม่เห็นแก่ลาภ และอย่าให้จิตฟุ้งซ่านเจริญพระพุทธมนต์
แต่ก็ยังมีเหตุที่ทำให้อานุภาพไม่สามารถคุ้มครองป้องกันอยู่อีก อานุภาพนั้นจะไม่คุ้มครองป้องกัน เพราะเหตุ 4 ประการ
1.เมื่อผู้สวดหรือผู้ฟังการเจริญพระพุทธมนต์ ไม่มี ความเชื่อ ไม่มีความเลื่อมใสในอานุภาพแห่งพระพุทธมนต์
2.แม้ ผู้สวดหรือผู้ฟังพระพุทธมนต์มีความเชื่อความเลื่อมใสในอานุภาพแห่งพระพุทธ มนต์ แต่ในขณะที่เจริญพระพุทธมนต์มีกิเลสครอบงำ แล้วเจริญพระพุทธมนต์ เพราะเห็นแก่ลาภ ทำให้จิตใจวอกแวกฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ เช่นนี้ พระพุทธมนต์ก็ไม่มีอานุภาพในการต้านทาน
3.แม้ผู้สวดหรือผู้ฟังพระ พุทธมนต์จะมีความเชื่อ ความเลื่อมใส แล้วเจริญพระพุทธมนต์ด้วยจิตเป็นสมาธิมั่นคงแน่วแน่ ไม่วอกแวกฟุ้งซ่าน แต่หากมีกรรมหนัก คือ อนันตริยกรรมมาตัดรอนขัดขวาง พระพุทธมนต์ก็ไม่มีอานุภาพในการต้านทาน เพราะขณะนั้นกรรมกำลังให้ผลตามที่ผู้นั้นได้กระทำไว้
4.ถึงแม้ผู้สวด หรือผู้ฟังพระพุทธมนต์จะมีความเชื่อ ความเลื่อมใส แล้วเจริญพระพุทธมนต์ด้วยจิตเป็นสมาธิมั่นคงแน่วแน่ ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน และไม่มีกรรมหนัก มาตัดรอนขัดขวาง แต่หากผู้สวดหรือผู้ฟังถึงวาระสิ้น อายุขัยตามวัยของมนุษย์ อานุภาพของพระพุทธมนต์ก็จะ ไม่ต้านทาน ท่านเปรียบเหมือนคนถึงคราวสิ้นอายุขัย แม้จะได้รับการเยียวยารักษาจากหมอผู้เชี่ยวชาญ และด้วยยาขนานพิเศษอย่างไรก็ช่วยไม่ได้ ต้องเป็นไปตามธรรมดาของสังขารร่างกาย
ผู้ที่นำพระพุทธมนต์มาบริกรรม ภาวนา ในรูปแบบการเจริญพระพุทธมนต์ หากมุ่งหวังให้พระพุทธมนต์เป็น พระปริตรที่มีพลานุภาพในการต้านทาน จำเป็นต้องมีความเชื่อ ความเลื่อมใส ประกอบด้วยจิตเมตตา ปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ มีจิตเป็นสมาธิไม่ฟุ้งซ่าน
แล้วกระทำสัจกิริยา คือ ตั้งสัจจะ อธิษฐานตามความเป็นจริง หากยังไม่สิ้นอายุขัย ไม่มีกรรมหนักมาขัดขวาง
พระพุทธมนต์ย่อมเกิดพลานุภาพในการต้านทานตามความมุ่งหวังทุกประการ
วันศุกร์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2554
พระคุณพ่อแม่ khaosod
พระคุณพ่อแม่
ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com
พ่อ แม่มีพระคุณมากมาย ท่านได้พรรณนาไว้ว่า เป็นพระพรหมของบุตรทั้งหลาย คือ พ่อแม่มีคุณธรรมเหมือนกับพระพรหม ที่เรียกว่า พรหมวิหารธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐของพระพรหม มี 4 ประการ คือ
1. มีความเอ็นดู ปรารถนาให้ลูกมีความสุข ความเจริญ
2. มีความสงสาร ต้องการจะให้ลูกที่มีความทุกข์พ้นจากความทุกข์
3. แสดงความยินดีด้วยความจริงใจ เมื่อลูกได้ดีมีสุข
4. วางเฉยไม่กังวล เมื่อทราบว่าลูกเติบใหญ่ ทำงานเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้แล้ว
หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อบุตรธิดา มีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ
1. ตักเตือนแนะนำพร่ำสอน ไม่ให้บุตรธิดาประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ อันจะเป็นเหตุนำทุกข์ภัยมาให้แก่ตนเอง
2. ฝึกหัดอบรมให้เป็นคนดี ประพฤติดี มีเมตตาประกอบด้วยศีลธรรมจรรยา ซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ทั้งของตนและคนอื่น
3. ให้ศึกษาวิทยาการต่างๆ มีการอ่าน การเขียน เป็นต้น เพื่อให้เกิดสติปัญญา
4. ให้ได้คู่ครองที่สมควร โดยการหาคู่ครองที่มีวัย มีคุณสมบัติทัดเทียม มีความประพฤติดี มีศีลธรรม สามารถเลี้ยงดูกันได้ตลอด
5. มอบทรัพย์สมบัติให้เป็นกรรม สิทธิ์ เพื่อครอบครองดูแลรักษาและใช้ในการเลี้ยงชีวิตต่อไป
ลูกๆ เมื่อทราบว่าพ่อแม่เป็นผู้มีพระ คุณ ควรตอบแทนท่านด้วยหน้าที่ 5 ประการ คือ
1. บำรุงเลี้ยงท่านทั้งทางกายและทางใจ ให้ท่านได้รับความสุขความสบาย
2. ช่วยทำการงานของท่าน ให้เหมือนกับงานของตนเอง
3. รักษาวงศ์ตระกูลให้ดี ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่ตระกูล
4. ประพฤติตนเป็นคนดี ให้ควรรับทรัพย์มรดกไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
5. เมื่อท่านล่วงลับไป ทำบุญอุทิศไปให้ท่าน แผ่ส่วนกุศลให้ท่านตามกาล
การ ที่พระพุทธศาสนาสอนให้มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยเฉพาะพ่อและแม่ เพราะท่านทั้งสอง เป็นผู้มีที่มีพระคุณต่อลูกอย่างใหญ่หลวง
ถ้าลูก เป็นคนดี มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ จะทำให้ท่านทั้งสองมีความสุขใจ อบอุ่นใจ ภูมิใจในลูกของตน และได้ชื่อว่าเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาติอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ประการหนึ่งในชาติของ
ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com
พ่อ แม่มีพระคุณมากมาย ท่านได้พรรณนาไว้ว่า เป็นพระพรหมของบุตรทั้งหลาย คือ พ่อแม่มีคุณธรรมเหมือนกับพระพรหม ที่เรียกว่า พรหมวิหารธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐของพระพรหม มี 4 ประการ คือ
1. มีความเอ็นดู ปรารถนาให้ลูกมีความสุข ความเจริญ
2. มีความสงสาร ต้องการจะให้ลูกที่มีความทุกข์พ้นจากความทุกข์
3. แสดงความยินดีด้วยความจริงใจ เมื่อลูกได้ดีมีสุข
4. วางเฉยไม่กังวล เมื่อทราบว่าลูกเติบใหญ่ ทำงานเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้แล้ว
หน้าที่ของพ่อแม่ที่มีต่อบุตรธิดา มีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ
1. ตักเตือนแนะนำพร่ำสอน ไม่ให้บุตรธิดาประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ อันจะเป็นเหตุนำทุกข์ภัยมาให้แก่ตนเอง
2. ฝึกหัดอบรมให้เป็นคนดี ประพฤติดี มีเมตตาประกอบด้วยศีลธรรมจรรยา ซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ทั้งของตนและคนอื่น
3. ให้ศึกษาวิทยาการต่างๆ มีการอ่าน การเขียน เป็นต้น เพื่อให้เกิดสติปัญญา
4. ให้ได้คู่ครองที่สมควร โดยการหาคู่ครองที่มีวัย มีคุณสมบัติทัดเทียม มีความประพฤติดี มีศีลธรรม สามารถเลี้ยงดูกันได้ตลอด
5. มอบทรัพย์สมบัติให้เป็นกรรม สิทธิ์ เพื่อครอบครองดูแลรักษาและใช้ในการเลี้ยงชีวิตต่อไป
ลูกๆ เมื่อทราบว่าพ่อแม่เป็นผู้มีพระ คุณ ควรตอบแทนท่านด้วยหน้าที่ 5 ประการ คือ
1. บำรุงเลี้ยงท่านทั้งทางกายและทางใจ ให้ท่านได้รับความสุขความสบาย
2. ช่วยทำการงานของท่าน ให้เหมือนกับงานของตนเอง
3. รักษาวงศ์ตระกูลให้ดี ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่ตระกูล
4. ประพฤติตนเป็นคนดี ให้ควรรับทรัพย์มรดกไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย
5. เมื่อท่านล่วงลับไป ทำบุญอุทิศไปให้ท่าน แผ่ส่วนกุศลให้ท่านตามกาล
การ ที่พระพุทธศาสนาสอนให้มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยเฉพาะพ่อและแม่ เพราะท่านทั้งสอง เป็นผู้มีที่มีพระคุณต่อลูกอย่างใหญ่หลวง
ถ้าลูก เป็นคนดี มีความกตัญญูต่อพ่อแม่ จะทำให้ท่านทั้งสองมีความสุขใจ อบอุ่นใจ ภูมิใจในลูกของตน และได้ชื่อว่าเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาติอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ประการหนึ่งในชาติของ
วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
อยู่ร่วมกัน khaosod
อยู่ร่วมกัน
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร / www.watdevaraj.com
การ อยู่ร่วมกับคนพาลทั้งหลาย นำทุกข์มาให้ในกาลทุกเมื่อ เหมือนอยู่ร่วมกันกับศัตรู ส่วนธีรชนคนมีปัญญามีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ
คนที่เกิดมาในโลกนี้ ไม่ว่ายากดีมีจน จะอยู่โดยลำพังผู้เดียวไม่ได้ จำต้องมีการคบหาสมาคมอยู่ร่วมกับผู้อื่น คนที่จะคบหาสมาคมอยู่ร่วมกันนั้น มีความแตกต่างกันออกไป คือเป็นคนชั่วก็มี เป็นคนดีก็มี การคบหาสมาคมนั้นย่อมมีผลแตกต่างกัน ถ้ามีเหตุให้คบหาสมาคมกับคนชั่วก็มีผลให้ได้รับความทุกข์ ถ้ามีเหตุให้คบคนดีก็มีผลให้ได้รับสุขเหมือนกัน ความทุกข์ความสุขจะเกิดมีขึ้นได้ เพราะการคบหาสมาคมอยู่ร่วมกันนั่นเองเป็นเหตุ
คำว่า คนชั่ว หมายถึง คนที่ดำรงชีพอยู่ด้วยอาการเพียงหายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น ไม่ดำรงชีพอยู่ด้วยปัญญา โดยลักษณะของคนชั่ว จะมีความประพฤติชั่ว เป็นสัญลักษณ์ เมื่อคิดก็คิดแต่ความคิดชั่ว เมื่อพูดก็พูดแต่คำพูดชั่ว และเมื่อทำก็ทำแต่กรรมชั่ว คนพาลนั้นมีความประพฤติเป็นไปเพื่อตัดประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคตอย่างเดียว
ส่วน ผู้ที่ดำเนินในประโยชน์ 2 อย่างในเบื้องต้นด้วยปัญญา ชื่อว่า คนดี มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นสัญลักษณ์ เป็นผู้รู้จักเหตุและผล ความประพฤติของบัณฑิตนั้นไม่วิปริตแปรผัน พึงเห็นสมด้วยพุทธภาษิตว่า บัณฑิตทั้งหลายอันความสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง
อีก อย่างหนึ่ง คนที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 ประการ มีเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้น ชื่อว่าเป็นคนดีเหมือนกัน คนดีนั้นเป็นผู้คิดดี พูดดีและทำดีเป็นเครื่องหมาย
ในคนชั่วและคนดี บุคคลผู้อยู่ร่วมสมาคมคบหาคนชั่ว ย่อมมีนิสัยของคนชั่วเป็นแบบอย่าง เพราะคนชั่วนั้น ย่อมแนะนำให้นิยมยินดีในทางทุจริตผิดศีลธรรม ส่วนคนผู้คบหาคนดีด้วยการเข้าไปมอบตนเป็นศิษย์ ยอมรับโอวาทคำสอน ไต่ถามสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ย่อมจะมีคนดีเป็นแบบอย่าง เพราะคนดี ย่อมจะแนะนำในทางที่สุจริตความดี
อนึ่ง ผู้ที่คบหาสมาคมกับคนชั่วแม้สิ้นกาลนาน ก็คุ้มครองรักษาตนไม่ได้ มีแต่จะยังตนและผู้ทำตามคำของเขาให้พินาศฉิบหาย ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมไม่ดี ส่วนผู้ที่คบหาสมาคมกับคนดี อยู่ร่วมกับคนดีแม้เพียงครั้งเดียว ย่อมคุ้มครองรักษาตนไว้ได้ ทั้งเป็นเหตุให้ถึงความเจริญในประโยชน์ใหญ่น้อยได้ ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมดี ดังภาษิตที่ว่า บุคคลคบคนใดๆ เป็นคนดีหรือไม่ดี มีศีลหรือไร้ศีล เขาย่อมตกอยู่ในอำนาจของคนนั้นๆ โดยแท้ บุคคลทำคนเช่นใดให้เป็นมิตรและคบหาสนิทกับคนเช่นใด เขาย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันทำให้เป็นเช่นนั้น
ผู้หวังความสุขความเจริญแก่ตน และพ้นจากภัยพิบัตินานาประการ อย่าได้คบหาสมาคมอยู่ร่วมกับคนพาล พึงหลีกเลี่ยงให้ห่างไกล แต่ควรจะคบหาสมาคมกับบัณฑิตให้ชิดใกล้ จะมีความปลอดภัยไร้ทุกข์ มีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่สิ้นสุด
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร / www.watdevaraj.com
การ อยู่ร่วมกับคนพาลทั้งหลาย นำทุกข์มาให้ในกาลทุกเมื่อ เหมือนอยู่ร่วมกันกับศัตรู ส่วนธีรชนคนมีปัญญามีการอยู่ร่วมเป็นสุข เหมือนสมาคมแห่งญาติ
คนที่เกิดมาในโลกนี้ ไม่ว่ายากดีมีจน จะอยู่โดยลำพังผู้เดียวไม่ได้ จำต้องมีการคบหาสมาคมอยู่ร่วมกับผู้อื่น คนที่จะคบหาสมาคมอยู่ร่วมกันนั้น มีความแตกต่างกันออกไป คือเป็นคนชั่วก็มี เป็นคนดีก็มี การคบหาสมาคมนั้นย่อมมีผลแตกต่างกัน ถ้ามีเหตุให้คบหาสมาคมกับคนชั่วก็มีผลให้ได้รับความทุกข์ ถ้ามีเหตุให้คบคนดีก็มีผลให้ได้รับสุขเหมือนกัน ความทุกข์ความสุขจะเกิดมีขึ้นได้ เพราะการคบหาสมาคมอยู่ร่วมกันนั่นเองเป็นเหตุ
คำว่า คนชั่ว หมายถึง คนที่ดำรงชีพอยู่ด้วยอาการเพียงหายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น ไม่ดำรงชีพอยู่ด้วยปัญญา โดยลักษณะของคนชั่ว จะมีความประพฤติชั่ว เป็นสัญลักษณ์ เมื่อคิดก็คิดแต่ความคิดชั่ว เมื่อพูดก็พูดแต่คำพูดชั่ว และเมื่อทำก็ทำแต่กรรมชั่ว คนพาลนั้นมีความประพฤติเป็นไปเพื่อตัดประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคตอย่างเดียว
ส่วน ผู้ที่ดำเนินในประโยชน์ 2 อย่างในเบื้องต้นด้วยปัญญา ชื่อว่า คนดี มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นสัญลักษณ์ เป็นผู้รู้จักเหตุและผล ความประพฤติของบัณฑิตนั้นไม่วิปริตแปรผัน พึงเห็นสมด้วยพุทธภาษิตว่า บัณฑิตทั้งหลายอันความสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง
อีก อย่างหนึ่ง คนที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 ประการ มีเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้น ชื่อว่าเป็นคนดีเหมือนกัน คนดีนั้นเป็นผู้คิดดี พูดดีและทำดีเป็นเครื่องหมาย
ในคนชั่วและคนดี บุคคลผู้อยู่ร่วมสมาคมคบหาคนชั่ว ย่อมมีนิสัยของคนชั่วเป็นแบบอย่าง เพราะคนชั่วนั้น ย่อมแนะนำให้นิยมยินดีในทางทุจริตผิดศีลธรรม ส่วนคนผู้คบหาคนดีด้วยการเข้าไปมอบตนเป็นศิษย์ ยอมรับโอวาทคำสอน ไต่ถามสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ ย่อมจะมีคนดีเป็นแบบอย่าง เพราะคนดี ย่อมจะแนะนำในทางที่สุจริตความดี
อนึ่ง ผู้ที่คบหาสมาคมกับคนชั่วแม้สิ้นกาลนาน ก็คุ้มครองรักษาตนไม่ได้ มีแต่จะยังตนและผู้ทำตามคำของเขาให้พินาศฉิบหาย ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมไม่ดี ส่วนผู้ที่คบหาสมาคมกับคนดี อยู่ร่วมกับคนดีแม้เพียงครั้งเดียว ย่อมคุ้มครองรักษาตนไว้ได้ ทั้งเป็นเหตุให้ถึงความเจริญในประโยชน์ใหญ่น้อยได้ ด้วยเหตุที่ตนถือเอากรรมดี ดังภาษิตที่ว่า บุคคลคบคนใดๆ เป็นคนดีหรือไม่ดี มีศีลหรือไร้ศีล เขาย่อมตกอยู่ในอำนาจของคนนั้นๆ โดยแท้ บุคคลทำคนเช่นใดให้เป็นมิตรและคบหาสนิทกับคนเช่นใด เขาย่อมเป็นคนเช่นนั้น เพราะการอยู่ร่วมกันทำให้เป็นเช่นนั้น
ผู้หวังความสุขความเจริญแก่ตน และพ้นจากภัยพิบัตินานาประการ อย่าได้คบหาสมาคมอยู่ร่วมกับคนพาล พึงหลีกเลี่ยงให้ห่างไกล แต่ควรจะคบหาสมาคมกับบัณฑิตให้ชิดใกล้ จะมีความปลอดภัยไร้ทุกข์ มีแต่ความสุขความเจริญยิ่งๆ ขึ้นไป ไม่สิ้นสุด
เหตุแห่งความฝัน khaosod
เหตุแห่งความฝัน
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้คนเราฝันไว้ 4 ประการ คือ
1.ธาตุ โขภะ คือ ธาตุในร่างกายกำเริบปั่นป่วนหรือเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย ความฝันเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อนอนผิดท่าหรือป่วยไข้ไม่สบาย จนบางครั้งทำให้นอนละเมอเพ้อพก จับไม่ได้ศัพท์เหมือนคนขาดสติ
เรื่อง ที่ฝันมักเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความน่ากลัวต่างๆ เช่น ฝันว่าตกจากภูเขาหรือตกจากที่สูง ถูกภูตผีปีศาจวิ่งไล่ หรือถูกสัตว์ร้ายวิ่งไล่กวดทำร้าย ในขณะที่วิ่งหนีมีความรู้สึกว่าวิ่งได้ช้ามาก ช้าจนบางครั้งเราต้องกระโดดสองขาแทนวิ่งเพื่อหนีจากสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว นั้น พอตื่นก็เหนื่อยแทบขาดใจ เหมือนวิ่งมาด้วยความเร็วหลายสิบกิโลเมตร
2.อนุ ภูตปุพพะ เป็นฝันเนื่องมาจากอารมณ์ที่ได้ประสบมา ความฝันชนิดนี้ เกิดจากจิตที่หมกมุ่นครุ่นคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ประสบมาในชีวิตประจำ วัน การประสบเหตุบางอย่างมา จิตจะเก็บเหตุการณ์นั้นไว้แล้ว กลายเป็นความฝัน
แม้ บางครั้ง เรามีความรู้สึกว่าลืมเหตุการณ์นั้นไปแล้ว แต่จิตยังคงเก็บเหตุการณ์นั้นไว้ในจิตใต้สำนึก เพียงแต่รอเวลาแสดงออกมาเท่านั้น เมื่อเหตุการณ์นั้นมาปรากฏในความฝัน จึงทำให้นึกขึ้นได้ทันที
อารมณ์นั้นอาจเป็นอารมณ์ที่เราประสบมาช้านานหรือเพิ่งจะผ่านไปในวันนั้น แล้วเก็บเอามาคิดรำพึงจนหลับไปก็ได้
3.เท วตูปสังหรณ์ คือ ความฝันที่เทวดานำมาเป็นสาเหตุที่จะบอกเล่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์บางอย่าง ให้ผู้ฝันรับรู้ ความฝันนั้นอาจเป็นไปต่างๆ ตามอำนาจการบันดาลของเทวดา
การ ที่จะฝันดีและเป็นผลดีตามอำนาจของเทวดานั้น ผู้ฝันต้องเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ด้วย การจะเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็ต้องเป็นผู้มีทาน คือ การให้แบ่งปันสิ่งของตามโอกาส มีศีล คือ ความสะอาดกาย สะอาดวาจา ความสงบเสงี่ยมอ่อนน้อมถ่อมตน และมีธรรมอันงาม คือ หมั่นขัดเกลาจิตใจให้สะอาดผ่องใส
คัมภีร์พระพุทธศาสนา กล่าวว่า ผู้มีศีลมีธรรมอันงามย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
4.บุพนิมิต คือ ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน เป็นความฝันที่เกิดด้วยอำนาจบุญกุศลและอำนาจบาปกรรม หรือเป็นบุพนิมิตแห่งการที่จะต้องเสวยผลแห่งบุญกุศลหรือบาปกรรมของบุคคล นั้นๆ
ความฝันที่เรียกว่า บุพนิมิต เป็นผลสืบเนื่องมาจากอำนาจบุญและบาปที่คนๆ นั้นได้สั่งสมและกระทำไว้ บันดาลให้ปรากฏเป็นลางบอกเหตุ พูดง่ายๆ คือ ถึงเวลาที่บุญหรือกรรมจะให้ผล
ก็จะเกิดนิมิตล่วงหน้า...
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนา ได้กล่าวถึงสาเหตุที่ทำให้คนเราฝันไว้ 4 ประการ คือ
1.ธาตุ โขภะ คือ ธาตุในร่างกายกำเริบปั่นป่วนหรือเกิดจากความผิดปกติทางร่างกาย ความฝันเช่นนี้มักจะเกิดขึ้นเมื่อนอนผิดท่าหรือป่วยไข้ไม่สบาย จนบางครั้งทำให้นอนละเมอเพ้อพก จับไม่ได้ศัพท์เหมือนคนขาดสติ
เรื่อง ที่ฝันมักเป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความน่ากลัวต่างๆ เช่น ฝันว่าตกจากภูเขาหรือตกจากที่สูง ถูกภูตผีปีศาจวิ่งไล่ หรือถูกสัตว์ร้ายวิ่งไล่กวดทำร้าย ในขณะที่วิ่งหนีมีความรู้สึกว่าวิ่งได้ช้ามาก ช้าจนบางครั้งเราต้องกระโดดสองขาแทนวิ่งเพื่อหนีจากสิ่งที่น่าสะพรึงกลัว นั้น พอตื่นก็เหนื่อยแทบขาดใจ เหมือนวิ่งมาด้วยความเร็วหลายสิบกิโลเมตร
2.อนุ ภูตปุพพะ เป็นฝันเนื่องมาจากอารมณ์ที่ได้ประสบมา ความฝันชนิดนี้ เกิดจากจิตที่หมกมุ่นครุ่นคิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ประสบมาในชีวิตประจำ วัน การประสบเหตุบางอย่างมา จิตจะเก็บเหตุการณ์นั้นไว้แล้ว กลายเป็นความฝัน
แม้ บางครั้ง เรามีความรู้สึกว่าลืมเหตุการณ์นั้นไปแล้ว แต่จิตยังคงเก็บเหตุการณ์นั้นไว้ในจิตใต้สำนึก เพียงแต่รอเวลาแสดงออกมาเท่านั้น เมื่อเหตุการณ์นั้นมาปรากฏในความฝัน จึงทำให้นึกขึ้นได้ทันที
อารมณ์นั้นอาจเป็นอารมณ์ที่เราประสบมาช้านานหรือเพิ่งจะผ่านไปในวันนั้น แล้วเก็บเอามาคิดรำพึงจนหลับไปก็ได้
3.เท วตูปสังหรณ์ คือ ความฝันที่เทวดานำมาเป็นสาเหตุที่จะบอกเล่าเรื่องราวหรือเหตุการณ์บางอย่าง ให้ผู้ฝันรับรู้ ความฝันนั้นอาจเป็นไปต่างๆ ตามอำนาจการบันดาลของเทวดา
การ ที่จะฝันดีและเป็นผลดีตามอำนาจของเทวดานั้น ผู้ฝันต้องเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ด้วย การจะเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายก็ต้องเป็นผู้มีทาน คือ การให้แบ่งปันสิ่งของตามโอกาส มีศีล คือ ความสะอาดกาย สะอาดวาจา ความสงบเสงี่ยมอ่อนน้อมถ่อมตน และมีธรรมอันงาม คือ หมั่นขัดเกลาจิตใจให้สะอาดผ่องใส
คัมภีร์พระพุทธศาสนา กล่าวว่า ผู้มีศีลมีธรรมอันงามย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
4.บุพนิมิต คือ ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน เป็นความฝันที่เกิดด้วยอำนาจบุญกุศลและอำนาจบาปกรรม หรือเป็นบุพนิมิตแห่งการที่จะต้องเสวยผลแห่งบุญกุศลหรือบาปกรรมของบุคคล นั้นๆ
ความฝันที่เรียกว่า บุพนิมิต เป็นผลสืบเนื่องมาจากอำนาจบุญและบาปที่คนๆ นั้นได้สั่งสมและกระทำไว้ บันดาลให้ปรากฏเป็นลางบอกเหตุ พูดง่ายๆ คือ ถึงเวลาที่บุญหรือกรรมจะให้ผล
ก็จะเกิดนิมิตล่วงหน้า...
วันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554
จะพัฒนาคนได้อย่างไร ตัดจากข่าวสด
จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (2)
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
แต่ สิ่งที่เป็นแกนกลางร่วมกันของกรรมทั้ง 3 ประการนี้ก็คือเจตจำนง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลความได้ว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม เจตนาในความหมายว่า เจตจำนง ความตั้งจิตคิดหมาย การเลือกตัดสินใจ ว่าจะเอาอย่างไร ในการกระทำ ในการพูดจาสื่อสารและในความคิดทุกกรณีมีเจตจำนงอยู่ ที่แท้กรรมก็คือตัวเจตจำนงนี้เอง และโลกมนุษย์นั้นถือว่าเป็นโลกแห่งเจตจำนง
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นและเป็นไปในโลกมนุษย์ คือ ในสังคมนั้น เกิดจากและเป็นไปตามเจตจำนงของมนุษย์ทั้งสิ้น เจตจำนงเป็นปัจจัยในระบบของธรรมชาติส่วนที่มนุษย์เป็นเจ้าของเรื่อง หรือเป็นผู้รับผิดชอบ โลกมนุษย์ในระบบของกฎธรรมชาติ พุทธศาสนาถือว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกฎธรรมชาติ เรียกว่าความเป็นไปตามเหตุปัจจัย และในระบบของความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นแยกได้เป็นกฎย่อยๆ เพื่อความสะดวกเป็น 5 กฎ ดังนี้
1. อุตุนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับความเป็นไปของโลกวัตถุ สิ่งทั้งหลายในโลกของวัตถุเป็นไปตามเหตุปัจจัยด้านกายภาพนี้ เช่น ดิน ฟ้า อากาศ ฤดูกาล การเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ เช่น โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ หมุนไปเท่านั้นกำหนดเป็นวันหนึ่ง หมุนไปเท่านี้กำหนดเป็นปีหนึ่ง ความเป็นไปอย่างนี้ถือว่าเกิดขึ้นและเป็นไปตามเหตุปัจจัย แต่เป็นเหตุปัจจัยที่ไม่มีเจตนา ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยในโลกของวัตถุนี้จะมีความสม่ำเสมอค่อนข้างแน่นอน เช่น โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ หมุนเวียนไปตามกฎธรรมชาติค่อนข้างลงตัวและสม่ำเสมอ
2. พีชนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับพืชพันธุ์ เช่น ความเจริญเติบโตของต้นไม้ ตั้งแต่มีเมล็ดพืชมาปลูกแล้วก็งอกงามกลายเป็นต้นพืช เมล็ดพืชอะไรก็ออกผลเป็นพืชชนิดนั้น แล้ว พืชชนิดนั้นก็จะมีความเป็นไปในชีวิตของมันอย่างนั้นๆ ตลอดจนเรื่องชีวิตของมนุษย์ การเกิดของมนุษย์ การแบ่งชาติพันธุ์ของมนุษย์
3. จิตนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการทำงานของจิต เช่นว่าจิตเป็นอย่างไร มีธรรมชาติเป็นอย่างไร มีการเกิดดับ มีการสืบต่ออย่างไร จิตที่มีคุณสมบัติอย่างนี้เข้ามาประ กอบแล้ว จะมีสภาพเป็นอย่างไร คุณสมบัติอย่างไหนเข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ในขณะจิตเดียวกัน ถ้าจิตมีคุณสมบัตินี้เกิดขึ้นจะมีคุณสมบัติอื่นอะไรเกิดขึ้นได้อีกบ้าง หรือถ้าอันนี้เกิดแล้วอันนั้นเกิดขึ้นด้วยไม่ได้เลย เป็นต้น
4. กรรมนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์หรือพูดให้กว้างว่าของสัตว์ทั้ง หลาย หมายถึงกฎเกณฑ์แห่งเจตจำนง หรือความเป็นเหตุเป็นผลในด้านพฤติกรรมมนุษย์ ที่เรียกว่ากฎแห่งกรรม พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในระบบความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามเหตุ ปัจจัยของธรรมชาติ เพราะฉะนั้น การกระทำของมนุษย์ก็จึงเป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งในกระบวนการของธรรมชาติด้วย
ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนาก็เป็นการเคลื่อนไหวที่เป็นไปตามกฎข้อที่ 1 คือ อุตุนิยาม แต่ถ้าการกระทำหรือเคลื่อนไหวนั้นเกิดจากเจตนาก็เข้าในกฎข้อ 4 คือ กรรมนิยามนี้ พฤติกรรมที่ประกอบด้วยเจตนานี้เป็นเหตุปัจจัยส่วนที่มนุษย์เป็นเจ้าของ เรื่อง และเป็นผู้รับผิดชอบอย่างเต็มที่ เพราะมนุษย์เป็นผู้ที่กำหนดเจตนาหรือกรรมของตนเองขึ้น แล้วเจต-จำนงหรือกรรมของตนเองก็มากำหนดชีวิตตลอดจนสังคมมนุษย์เองด้วย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและสังคม
เราตั้งจิตคิดหมาย มีเจตจำนงทำการอย่างไรแล้ว ตัวเจตจำนงหรือการกระทำต่างๆ นั้นก็ส่งผลกระทบต่อๆ กันออกไปในระบบความสัมพันธ์ของธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งในที่สุดผลเหล่านั้นทั้งหมดก็กระทบถึงตัวเราในฐานะที่อยู่ในระบบความ สัมพันธ์ของเหตุปัจจัยนั้นด้วย โลกมนุษย์นี้เป็นโลกแห่งเจตจำนง ความเป็นไปในชีวิต การประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ความเป็นไปในสังคม อารยธรรมของมนุษย์ ความเจริญและความเสื่อมต่างๆ เหล่านี้อยู่ในขอบข่ายของกฎแห่งกรรมที่มีลักษณะแตกต่างจากธรรมชาติ ส่วนอื่นๆ แต่ก็ถือว่าเป็นกฎธรรมชาติส่วนหนึ่ง
พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
แต่ สิ่งที่เป็นแกนกลางร่วมกันของกรรมทั้ง 3 ประการนี้ก็คือเจตจำนง ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า "เจตนาหํ ภิกฺขเว กมฺมํ วทามิ" แปลความได้ว่า เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม เจตนาในความหมายว่า เจตจำนง ความตั้งจิตคิดหมาย การเลือกตัดสินใจ ว่าจะเอาอย่างไร ในการกระทำ ในการพูดจาสื่อสารและในความคิดทุกกรณีมีเจตจำนงอยู่ ที่แท้กรรมก็คือตัวเจตจำนงนี้เอง และโลกมนุษย์นั้นถือว่าเป็นโลกแห่งเจตจำนง
ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นและเป็นไปในโลกมนุษย์ คือ ในสังคมนั้น เกิดจากและเป็นไปตามเจตจำนงของมนุษย์ทั้งสิ้น เจตจำนงเป็นปัจจัยในระบบของธรรมชาติส่วนที่มนุษย์เป็นเจ้าของเรื่อง หรือเป็นผู้รับผิดชอบ โลกมนุษย์ในระบบของกฎธรรมชาติ พุทธศาสนาถือว่าสิ่งทั้งหลายเป็นไปตามกฎธรรมชาติ เรียกว่าความเป็นไปตามเหตุปัจจัย และในระบบของความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนั้นแยกได้เป็นกฎย่อยๆ เพื่อความสะดวกเป็น 5 กฎ ดังนี้
1. อุตุนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับความเป็นไปของโลกวัตถุ สิ่งทั้งหลายในโลกของวัตถุเป็นไปตามเหตุปัจจัยด้านกายภาพนี้ เช่น ดิน ฟ้า อากาศ ฤดูกาล การเคลื่อนไหวของสิ่งต่างๆ เช่น โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ หมุนไปเท่านั้นกำหนดเป็นวันหนึ่ง หมุนไปเท่านี้กำหนดเป็นปีหนึ่ง ความเป็นไปอย่างนี้ถือว่าเกิดขึ้นและเป็นไปตามเหตุปัจจัย แต่เป็นเหตุปัจจัยที่ไม่มีเจตนา ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยในโลกของวัตถุนี้จะมีความสม่ำเสมอค่อนข้างแน่นอน เช่น โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ หมุนเวียนไปตามกฎธรรมชาติค่อนข้างลงตัวและสม่ำเสมอ
2. พีชนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับพืชพันธุ์ เช่น ความเจริญเติบโตของต้นไม้ ตั้งแต่มีเมล็ดพืชมาปลูกแล้วก็งอกงามกลายเป็นต้นพืช เมล็ดพืชอะไรก็ออกผลเป็นพืชชนิดนั้น แล้ว พืชชนิดนั้นก็จะมีความเป็นไปในชีวิตของมันอย่างนั้นๆ ตลอดจนเรื่องชีวิตของมนุษย์ การเกิดของมนุษย์ การแบ่งชาติพันธุ์ของมนุษย์
3. จิตนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการทำงานของจิต เช่นว่าจิตเป็นอย่างไร มีธรรมชาติเป็นอย่างไร มีการเกิดดับ มีการสืบต่ออย่างไร จิตที่มีคุณสมบัติอย่างนี้เข้ามาประ กอบแล้ว จะมีสภาพเป็นอย่างไร คุณสมบัติอย่างไหนเข้ากันได้และเข้ากันไม่ได้ในขณะจิตเดียวกัน ถ้าจิตมีคุณสมบัตินี้เกิดขึ้นจะมีคุณสมบัติอื่นอะไรเกิดขึ้นได้อีกบ้าง หรือถ้าอันนี้เกิดแล้วอันนั้นเกิดขึ้นด้วยไม่ได้เลย เป็นต้น
4. กรรมนิยาม คือ กฎธรรมชาติที่เกี่ยวกับการกระทำของมนุษย์หรือพูดให้กว้างว่าของสัตว์ทั้ง หลาย หมายถึงกฎเกณฑ์แห่งเจตจำนง หรือความเป็นเหตุเป็นผลในด้านพฤติกรรมมนุษย์ ที่เรียกว่ากฎแห่งกรรม พุทธศาสนาถือว่ามนุษย์เป็นส่วนหนึ่งอยู่ในระบบความสัมพันธ์ที่เป็นไปตามเหตุ ปัจจัยของธรรมชาติ เพราะฉะนั้น การกระทำของมนุษย์ก็จึงเป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งในกระบวนการของธรรมชาติด้วย
ถ้าเป็นการกระทำที่ไม่มีเจตนาก็เป็นการเคลื่อนไหวที่เป็นไปตามกฎข้อที่ 1 คือ อุตุนิยาม แต่ถ้าการกระทำหรือเคลื่อนไหวนั้นเกิดจากเจตนาก็เข้าในกฎข้อ 4 คือ กรรมนิยามนี้ พฤติกรรมที่ประกอบด้วยเจตนานี้เป็นเหตุปัจจัยส่วนที่มนุษย์เป็นเจ้าของ เรื่อง และเป็นผู้รับผิดชอบอย่างเต็มที่ เพราะมนุษย์เป็นผู้ที่กำหนดเจตนาหรือกรรมของตนเองขึ้น แล้วเจต-จำนงหรือกรรมของตนเองก็มากำหนดชีวิตตลอดจนสังคมมนุษย์เองด้วย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตและสังคม
เราตั้งจิตคิดหมาย มีเจตจำนงทำการอย่างไรแล้ว ตัวเจตจำนงหรือการกระทำต่างๆ นั้นก็ส่งผลกระทบต่อๆ กันออกไปในระบบความสัมพันธ์ของธรรมชาติทั้งหมด ซึ่งในที่สุดผลเหล่านั้นทั้งหมดก็กระทบถึงตัวเราในฐานะที่อยู่ในระบบความ สัมพันธ์ของเหตุปัจจัยนั้นด้วย โลกมนุษย์นี้เป็นโลกแห่งเจตจำนง ความเป็นไปในชีวิต การประดิษฐ์คิดสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ความเป็นไปในสังคม อารยธรรมของมนุษย์ ความเจริญและความเสื่อมต่างๆ เหล่านี้อยู่ในขอบข่ายของกฎแห่งกรรมที่มีลักษณะแตกต่างจากธรรมชาติ ส่วนอื่นๆ แต่ก็ถือว่าเป็นกฎธรรมชาติส่วนหนึ่ง
วันพุธที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ชื่อพายุ khaosod
ชื่อพายุ
คอลัมน์ คอลัมน์ที่13
พายุ หมุนเขตร้อน "นกเตน" ที่พัดถล่มตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ และหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พายุ นี้ ตั้งชื่อโดยประเทศลาว หมายถึง "นกกระเต็น" เป็นพายุที่เคยขึ้นฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 55 ราย
คำว่า "พายุหมุนเขตร้อน" เป็นคำทั่วๆ ไปที่ใช้เรียก "พายุหมุน" หรือ "พายุไซโคลน" ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร
นับตั้งแต่ พ.ศ.2493 นักพยากรณ์อากาศของสหรัฐอเมริกา จะตั้งชื่อพายุตามลำดับตัวอักษร และเริ่มตั้งเป็นชื่อผู้หญิงในปี พ.ศ.2496 แต่ภายหลังมีเสียงคัดค้านจากกลุ่มสิทธิสตรี จึงหันมาใช้ชื่อผู้ชายด้วยเมื่อปี พ.ศ.2522
กระทั่ง พ.ศ.2543 ประเทศสมาชิกคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) 14 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนใหม่ โดยส่งชื่อพายุในภาษาของตัวเองมาประเทศละ 10 ชื่อ มีทั้งชื่อสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ รวมทั้งคำที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และอาหาร
ทั้ง นี้มีกฎอยู่ว่า เมื่อพายุมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมากกว่า 63 ก.ม.ต่อช.ม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ แต่หากพายุลูกใดมีความรุนแรงเป็นพิเศษ ก็ให้ปลดชื่อพายุลูกนั้นออกไป แล้วตั้งชื่อใหม่แทน
สำหรับชื่อที่ประเทศสมาชิกคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นตั้งไว้มีทั้งหมด 140 ชื่อ แบ่งเป็น 5 ชุด ชุดละ 28 ชื่อ ไล่เรียงตามลำดับประเทศ
สำหรับชื่อ "พายุนกเตน" จัดอยู่ในชุดที่ 5 ซึ่งในชุดเดียว กันนี้ ประกอบด้วยชื่อพายุที่ตั้งโดยประเทศอื่นๆ ด้วย อาทิ
"สาลิกา" ตั้งโดยกัมพูชา หมายถึง นกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง "ไหหม่า" ตั้งโดยจีน หมายถึง ม้าน้ำ "มิอะริ" ตั้งโดยเกาหลีเหนือ หมายถึง เสียงสะท้อน "หมาง้อน" ตั้งโดยฮ่องกง เป็นชื่อยอดเขา แปลว่า อานม้า "โทะคาเงะ" ตั้งโดยญี่ปุ่น หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งจก ตุ๊กแก "นกเตน" ตั้งโดยลาว หมายถึง นกกระเต็น
"หมุ่ยฟ้า" ตั้งโดยมาเก๊า หมายถึง ดอกบ๊วย "เมอร์บุก" ตั้งโดยมาเลเซีย หมายถึง นกชนิดหนึ่ง "นันมา ดอล" ตั้งโดยไมโครนีเซีย หมายถึง โบราณสถานชื่อดังบนเกาะโปนเป "ตาลัส" ตั้งโดยฟิลิปปินส์ หมายถึง ความแหลม ความคม "โนรู" ตั้งโดยเกาหลีใต้ หมายถึง กวาง "กุหลาบ" ตั้งโดยไทย หมายถึง ดอกกุหลาบ
"โรคี" ตั้งโดยสหรัฐอเมริกา หมายถึง ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร "เซินกา" ตั้งโดยเวียดนาม หมายถึง นกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เป็นต้น
ข้อ ตกลงคือ พายุลูกถัดไปจะมีชื่อตามลำดับที่ตั้งไว้ เช่น พายุลูกปัจจุบันคือ นกเตน ลูกต่อไปก็จะชื่อ หมุ่ยฟ้า เมอร์บุก นันมาดอล ฯลฯ ไปตามลำดับ หากชื่อในชุดที่ 1 หมดก็ให้เริ่มที่ชื่อแรกในชุดที่ 2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนหมดชื่อสุดท้ายในชุดที่ 5 จึงนำชื่อพายุในชุดที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 หมุนกลับมาใช้ซ้ำอีก
คอลัมน์ คอลัมน์ที่13
พายุ หมุนเขตร้อน "นกเตน" ที่พัดถล่มตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์ และหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
พายุ นี้ ตั้งชื่อโดยประเทศลาว หมายถึง "นกกระเต็น" เป็นพายุที่เคยขึ้นฝั่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาแล้ว 3 ครั้ง ครั้งล่าสุดทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้วกว่า 55 ราย
คำว่า "พายุหมุนเขตร้อน" เป็นคำทั่วๆ ไปที่ใช้เรียก "พายุหมุน" หรือ "พายุไซโคลน" ที่มีถิ่นกำเนิดเหนือมหาสมุทรในเขตร้อนแถบละติจูดต่ำ แต่อยู่นอกเขตบริเวณเส้นศูนย์สูตร
นับตั้งแต่ พ.ศ.2493 นักพยากรณ์อากาศของสหรัฐอเมริกา จะตั้งชื่อพายุตามลำดับตัวอักษร และเริ่มตั้งเป็นชื่อผู้หญิงในปี พ.ศ.2496 แต่ภายหลังมีเสียงคัดค้านจากกลุ่มสิทธิสตรี จึงหันมาใช้ชื่อผู้ชายด้วยเมื่อปี พ.ศ.2522
กระทั่ง พ.ศ.2543 ประเทศสมาชิกคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (World Meteorological Organizations Typhoon Committee) 14 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา จีน เกาหลีเหนือ ฮ่องกง ญี่ปุ่น ลาว มาเก๊า มาเลเซีย ไมโครนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไทย เวียดนาม และสหรัฐอเมริกา ลุกขึ้นมาจัดระบบการตั้งชื่อพายุหมุนเขตร้อนใหม่ โดยส่งชื่อพายุในภาษาของตัวเองมาประเทศละ 10 ชื่อ มีทั้งชื่อสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติ รวมทั้งคำที่เกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก และอาหาร
ทั้ง นี้มีกฎอยู่ว่า เมื่อพายุมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางมากกว่า 63 ก.ม.ต่อช.ม. พายุนั้นจะถูกตั้งชื่อ แต่หากพายุลูกใดมีความรุนแรงเป็นพิเศษ ก็ให้ปลดชื่อพายุลูกนั้นออกไป แล้วตั้งชื่อใหม่แทน
สำหรับชื่อที่ประเทศสมาชิกคณะกรรมการพายุไต้ฝุ่นตั้งไว้มีทั้งหมด 140 ชื่อ แบ่งเป็น 5 ชุด ชุดละ 28 ชื่อ ไล่เรียงตามลำดับประเทศ
สำหรับชื่อ "พายุนกเตน" จัดอยู่ในชุดที่ 5 ซึ่งในชุดเดียว กันนี้ ประกอบด้วยชื่อพายุที่ตั้งโดยประเทศอื่นๆ ด้วย อาทิ
"สาลิกา" ตั้งโดยกัมพูชา หมายถึง นกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง "ไหหม่า" ตั้งโดยจีน หมายถึง ม้าน้ำ "มิอะริ" ตั้งโดยเกาหลีเหนือ หมายถึง เสียงสะท้อน "หมาง้อน" ตั้งโดยฮ่องกง เป็นชื่อยอดเขา แปลว่า อานม้า "โทะคาเงะ" ตั้งโดยญี่ปุ่น หมายถึง สัตว์เลื้อยคลานจำพวกจิ้งจก ตุ๊กแก "นกเตน" ตั้งโดยลาว หมายถึง นกกระเต็น
"หมุ่ยฟ้า" ตั้งโดยมาเก๊า หมายถึง ดอกบ๊วย "เมอร์บุก" ตั้งโดยมาเลเซีย หมายถึง นกชนิดหนึ่ง "นันมา ดอล" ตั้งโดยไมโครนีเซีย หมายถึง โบราณสถานชื่อดังบนเกาะโปนเป "ตาลัส" ตั้งโดยฟิลิปปินส์ หมายถึง ความแหลม ความคม "โนรู" ตั้งโดยเกาหลีใต้ หมายถึง กวาง "กุหลาบ" ตั้งโดยไทย หมายถึง ดอกกุหลาบ
"โรคี" ตั้งโดยสหรัฐอเมริกา หมายถึง ชื่อผู้ชายในภาษาชามอร์โร "เซินกา" ตั้งโดยเวียดนาม หมายถึง นกชนิดหนึ่ง ชอบร้องเพลง เป็นต้น
ข้อ ตกลงคือ พายุลูกถัดไปจะมีชื่อตามลำดับที่ตั้งไว้ เช่น พายุลูกปัจจุบันคือ นกเตน ลูกต่อไปก็จะชื่อ หมุ่ยฟ้า เมอร์บุก นันมาดอล ฯลฯ ไปตามลำดับ หากชื่อในชุดที่ 1 หมดก็ให้เริ่มที่ชื่อแรกในชุดที่ 2 ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ จนหมดชื่อสุดท้ายในชุดที่ 5 จึงนำชื่อพายุในชุดที่ 1, 2, 3, 4 และ 5 หมุนกลับมาใช้ซ้ำอีก
จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร khaosod#1
จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร(1)
คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ความ หมายของกรรม กรรม เป็นกระบวนการปรุงแต่งสร้างสรรค์ชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำหรือพฤติกรรมของมนุษย์ แต่คำว่ากรรมนั้น เมื่อจะพูดให้คนทั่วไปที่เป็นชาวบ้านเข้าใจ ก็ต้องพยายามพูดให้มองเห็นเป็นรูปธรรม และเมื่อไม่มีการศึกษาต่อไปให้ชัดเจนบางทีความหมายก็เขวหรือเพี้ยนไปจนกลาย เป็นมองว่า กรรมเหมือนกับเป็นชิ้นเป็นอันหรือเป็นของที่อยู่นอกตัวลอยมา
แต่ อันที่จริงแล้ว กรรม ก็คือการกระทำ แต่คำว่าการกระทำในที่นี้มีความหมายในทางวิชาการ ไม่ใช่แค่เป็นคำศัพท์สามัญคำหนึ่งเท่านั้น เริ่มด้วยความหมายง่ายๆ ในระดับที่กว้างที่สุด กรรม หรือการกระทำนั้น หมายถึง การงานอาชีพ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "คนจะเป็นชาวนาก็เพราะกรรม คนจะเป็นกษัตริย์ก็เพราะกรรม เป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม เป็นโจรก็เพราะกรรม"
แล้ว ก็มีคำขยายความว่า ใครทำนา ไถนา หว่านข้าว เพาะปลูกข้าว คนนั้นก็เป็นชาวนา ใครปกครองบ้านเมือง คนนั้นก็เป็นกษัตริย์ ใครเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าแผ่นดิน คนนั้นก็เป็นปุโรหิต ใครลักขโมยของผู้อื่นก็เป็นโจร ที่ว่าเป็นโจรเพราะกรรม หรือเป็นอะไรๆ เพราะกรรม มีความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัสแท้ๆ อย่างนี้ นี่คือกรรมตามความหมายของคำศัพท์ในระดับที่ง่ายๆ กว้างๆ มองเห็นในสังคมทั่วๆ ไป
ส่วน กรรม ในความหมายที่ละเอียดลึกลงไปก็คือ พฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏออกมาภายนอก ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมส่วนใหญ่ของบุคคลที่เรียกว่าอาชีพการงานนั้นด้วย และเมื่อเจาะลงไปให้ถึงตัวจริงก็จะเห็นว่าพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านี้ มาจากเจตจำนง ความคิดนึก ความตั้งจิตคิดหมาย การเลือกตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร ถ้าพฤติกรรมเป็นไปโดยไม่มีเจตจำนง ก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะฉะนั้น ในทางหลักวิชาแท้ๆ จึงถือว่า กรรม หมายถึง เจตจำนง หรือเจตนา ซึ่งเป็นทั้งที่มาและเป็นแกนของพฤติกรรมทุกอย่าง แต่ทว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของบุคคลจะปรากฏออกมาที่อาชีพการงาน
ดังนั้นโดยสรุป กรรมในความหมายง่ายๆ ก็คือ การงานอาชีพ แต่อันที่จริงแล้ว กรรม จะต้องครอบคลุมไปถึงพฤติกรรมการกระทำทั้งหมด และไม่ใช่เฉพาะที่แสดงออกมาทางกายเพียงอย่างเดียว ยังรวมถึงพฤติกรรมที่แสดงออกทางวาจา และการคิดนึก การคิดปรุงแต่งในใจด้วย ซึ่งเป็นไปด้วยเจตจำนง หรือเจตนา นี้เป็นความหมายของกรรมที่พร้อมสมบูรณ์ในทางพุทธศาสนา
ประเภทของกรรม จากความหมายของคำว่า กรรม ดังที่กล่าวมาแล้ว ในพุทธศาสนาจึงแบ่งกรรมออกเป็น 3 ด้าน คือ 1.กายกรรม ได้แก่การกระทำทางกาย ดังเช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ 2.วจีกรรม ได้แก่การกระทำทางวาจา ดังเช่น การพูด การสื่อสาร การเขียนหนังสือ 3.มโนกรรม ได้แก่ การกระทำทางใจ ดังเช่น ความคิด ความเชื่อ ความเห็น การยึดถือ มโนกรรม นี้ในพุทธศาสนาถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะมโนกรรมหรือการกระทำทางใจนี้หมายถึง กระบวนการคิดทั้งหมด ตั้งแต่ความคิดนึก การคิดปรุงแต่ง รวมทั้งความเชื่อถือ ความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยม แนวความคิด ทฤษฎี ลัทธิ อุดมการณ์ทั้งหลาย
ซึ่งทางพระใช้คำ รวมคำเดียวว่า "ทิฐิ" เช่น สัมมาทิฐิ มิจฉาทิฐิ เป็นต้น มโนกรรม คือ ทิฐินี้เป็นตัวกำหนดทิศทางและความเป็นไปของสังคม ตลอดจนอารยธรรมของมนุษยชาติทั้งหมด ดังเช่นแนวความคิดที่มุ่งจะพิชิตธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวบันดาลอยู่เบื้องหลังพัฒนาการของอารยธรรมตะวันตกที่เป็นมาจนถึง ปัจจุบัน
คอลัมน์ พระพรหมคุณาภรณ์
(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)
ความ หมายของกรรม กรรม เป็นกระบวนการปรุงแต่งสร้างสรรค์ชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องของการกระทำหรือพฤติกรรมของมนุษย์ แต่คำว่ากรรมนั้น เมื่อจะพูดให้คนทั่วไปที่เป็นชาวบ้านเข้าใจ ก็ต้องพยายามพูดให้มองเห็นเป็นรูปธรรม และเมื่อไม่มีการศึกษาต่อไปให้ชัดเจนบางทีความหมายก็เขวหรือเพี้ยนไปจนกลาย เป็นมองว่า กรรมเหมือนกับเป็นชิ้นเป็นอันหรือเป็นของที่อยู่นอกตัวลอยมา
แต่ อันที่จริงแล้ว กรรม ก็คือการกระทำ แต่คำว่าการกระทำในที่นี้มีความหมายในทางวิชาการ ไม่ใช่แค่เป็นคำศัพท์สามัญคำหนึ่งเท่านั้น เริ่มด้วยความหมายง่ายๆ ในระดับที่กว้างที่สุด กรรม หรือการกระทำนั้น หมายถึง การงานอาชีพ ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า "คนจะเป็นชาวนาก็เพราะกรรม คนจะเป็นกษัตริย์ก็เพราะกรรม เป็นปุโรหิตก็เพราะกรรม เป็นโจรก็เพราะกรรม"
แล้ว ก็มีคำขยายความว่า ใครทำนา ไถนา หว่านข้าว เพาะปลูกข้าว คนนั้นก็เป็นชาวนา ใครปกครองบ้านเมือง คนนั้นก็เป็นกษัตริย์ ใครเป็นที่ปรึกษาของพระเจ้าแผ่นดิน คนนั้นก็เป็นปุโรหิต ใครลักขโมยของผู้อื่นก็เป็นโจร ที่ว่าเป็นโจรเพราะกรรม หรือเป็นอะไรๆ เพราะกรรม มีความหมายที่พระพุทธเจ้าตรัสแท้ๆ อย่างนี้ นี่คือกรรมตามความหมายของคำศัพท์ในระดับที่ง่ายๆ กว้างๆ มองเห็นในสังคมทั่วๆ ไป
ส่วน กรรม ในความหมายที่ละเอียดลึกลงไปก็คือ พฤติกรรมทุกอย่าง ทั้งที่ปรากฏและไม่ปรากฏออกมาภายนอก ซึ่งรวมถึงพฤติกรรมส่วนใหญ่ของบุคคลที่เรียกว่าอาชีพการงานนั้นด้วย และเมื่อเจาะลงไปให้ถึงตัวจริงก็จะเห็นว่าพฤติกรรมทั้งหลายเหล่านี้ มาจากเจตจำนง ความคิดนึก ความตั้งจิตคิดหมาย การเลือกตัดสินใจว่าจะทำอย่างไร ถ้าพฤติกรรมเป็นไปโดยไม่มีเจตจำนง ก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะฉะนั้น ในทางหลักวิชาแท้ๆ จึงถือว่า กรรม หมายถึง เจตจำนง หรือเจตนา ซึ่งเป็นทั้งที่มาและเป็นแกนของพฤติกรรมทุกอย่าง แต่ทว่าพฤติกรรมส่วนใหญ่ของบุคคลจะปรากฏออกมาที่อาชีพการงาน
ดังนั้นโดยสรุป กรรมในความหมายง่ายๆ ก็คือ การงานอาชีพ แต่อันที่จริงแล้ว กรรม จะต้องครอบคลุมไปถึงพฤติกรรมการกระทำทั้งหมด และไม่ใช่เฉพาะที่แสดงออกมาทางกายเพียงอย่างเดียว ยังรวมถึงพฤติกรรมที่แสดงออกทางวาจา และการคิดนึก การคิดปรุงแต่งในใจด้วย ซึ่งเป็นไปด้วยเจตจำนง หรือเจตนา นี้เป็นความหมายของกรรมที่พร้อมสมบูรณ์ในทางพุทธศาสนา
ประเภทของกรรม จากความหมายของคำว่า กรรม ดังที่กล่าวมาแล้ว ในพุทธศาสนาจึงแบ่งกรรมออกเป็น 3 ด้าน คือ 1.กายกรรม ได้แก่การกระทำทางกาย ดังเช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย การใช้ร่างกายทำกิจกรรมต่างๆ 2.วจีกรรม ได้แก่การกระทำทางวาจา ดังเช่น การพูด การสื่อสาร การเขียนหนังสือ 3.มโนกรรม ได้แก่ การกระทำทางใจ ดังเช่น ความคิด ความเชื่อ ความเห็น การยึดถือ มโนกรรม นี้ในพุทธศาสนาถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะมโนกรรมหรือการกระทำทางใจนี้หมายถึง กระบวนการคิดทั้งหมด ตั้งแต่ความคิดนึก การคิดปรุงแต่ง รวมทั้งความเชื่อถือ ความคิดเห็น ทัศนคติ ค่านิยม แนวความคิด ทฤษฎี ลัทธิ อุดมการณ์ทั้งหลาย
ซึ่งทางพระใช้คำ รวมคำเดียวว่า "ทิฐิ" เช่น สัมมาทิฐิ มิจฉาทิฐิ เป็นต้น มโนกรรม คือ ทิฐินี้เป็นตัวกำหนดทิศทางและความเป็นไปของสังคม ตลอดจนอารยธรรมของมนุษยชาติทั้งหมด ดังเช่นแนวความคิดที่มุ่งจะพิชิตธรรมชาติ ซึ่งเป็นตัวบันดาลอยู่เบื้องหลังพัฒนาการของอารยธรรมตะวันตกที่เป็นมาจนถึง ปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)