วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

อนุโมทนา จากข่าวสด

อนุโมทนา

คอลัมน์ คอลัมน์ศาลาวัด
"คำอนุโมทนา" เป็นคำสอนหรือคำให้ศีลให้พรที่พระสงฆ์กล่าวให้แก่ผู้ถวายภัตตาหาร มีหลักฐานเชื่อได้ว่าในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์อยู่ คำอนุโมทนาอยู่ในระบบคำสอนทั้งสิ้น

ครั้นหลังพุทธปรินิพพาน เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่ขยายไปประเทศต่างๆ คำอนุโมทนาจึงค่อยๆ ขยายจากระบบคำสอนออกเป็นคำให้ศีลให้พรเพิ่มขึ้นอีกส่วนหนึ่งในภายหลัง

จากอดีตถึงปัจจุบัน "คำอนุโมทนา" ที่พระสงฆ์ไทยใช้อยู่ล้วนเป็นภาษาบาลี หากผู้ใดแปลคำอนุโมทนาได้หรือรู้คำที่ท่านผู้รู้แปลเป็นคำไทยไว้จะรู้เห็น ได้เองว่า คำอนุโมทนาที่พระภิกษุสงฆ์ใช้อยู่ ท่านจัดรวบรวมไว้ในหมวดอนุโมทนาวิธีในหนังสือสวดมนต์ฉบับหลวง มีทั้งคำสอนและคำให้ศีลให้พร ชื่อว่าเจริญรอยตามพระบรมพุทธานุญาต และตามจารีตที่กำหนดไว้แต่ปางก่อน

การที่พระภิกษุสงฆ์จะหาโอกาสถ่ายเทความรู้ให้แก่ประชาชนหรือทายกทายิกาแห่ง วัดนั้นๆ เพื่อให้เขาเหล่านั้นมีความสุขความเจริญ ก็กระทำได้ ในโอกาสที่ชุมนุมกันมากๆ เช่น วันพระหรือวันธรรมสวนะ ตอนเวลาที่พระภิกษุฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว ก่อนที่จะยถาสัพพีก็อนุโมทนาในโอกาสนั้น อันเป็นการอนุโมทนาในรูปแบบคำสอนตามพุทธานุญาต แต่ถ้าท่านผู้มีหน้าที่อนุโมทนาเห็นสมควรจะอนุโมทนาก่อนฉัน หรือในเวลาที่พระภิกษุรูปอื่นฉันอยู่ก็ย่อมกระทำได้

คำอนุโมทนาเป็นภาษาบาลีที่พรภิกษุสงฆ์เคยอนุโมทนาในวันพระ หรือวันธรรมสวนะในวัดของตนอย่างใดก็ยังคงเป็นไปตามนั้น ไม่มีการเปลี่ยนแปลงแต่ประการใด แต่ถ้าจะเพิ่มคำอนุโมทนาเป็นภาษาไทยให้อยู่ในขอบเขตแห่งหัวข้อ หรือหมวดเรื่องตามที่มหาเถรสมาคมจะได้กำหนดไว้ โดยอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

โดยปกติ การอนุโมทนาเป็นภาษาไทยเป็นหน้าที่ของเจ้าอาวาสแห่งวัดนั้นๆ จะถึงอนุโมทนา แต่ถ้าเจ้าอาวาสขัดข้องหรือเห็นเป็นการสมควรจะมอบหมายให้รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส หรือพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งทำหน้าที่อนุโมทนาแทนก็ได้ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่เจ้าอาวาสมอบหมาย

กำหนดเขตการอนุโมทนาเป็นภาษาไทยนั้น กำหนดในทุกวันพระหรือวันธรรมสวนะในเทศกาลเข้าพรรษา ในเวลาทายกทายิการ่วมประชุมทำบุญตักบาตร แต่ถ้าวัดใดเห็นสมควรจะขยายการอนุโมทนาเป็นภาษาไทยออกไปในทุกวันพระหรือวัน ธรรมสวนะในเวลานอกพรรษาหรือในวันที่ประชาชนมาร่วมบำเพ็ญกุศลในวัดเป็นการ พิเศษก็ย่อมกระทำได้ตามความเหมาะสม

กำหนดเวลาที่จะอนุโมทนาเป็นภาษาไทย ไม่ควรจะต่ำกว่า 10 นาที และไม่เกิน 30 นาที เว้นแต่ทายกทายิกาจะขอให้เพิ่มเวลาออกไปอีก

เมื่อจบการอนุโมทนาเป็นภาษาไทยแล้วจึงอนุโมทนาเป็นภาษาบาลีตามที่เคยปฏิบัติมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น