"กาลามสูตร" แปลว่า พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม
แคว้นโกศล (เรียกว่า เกสปุตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์
ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้
เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการคือ
1. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
2. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
3. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
8. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
9. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
10. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
เมื่อใด ท่านทั้งหลายพึงรู้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ ธรรมเหล่านี้ท่านผู้รู้สรรเสริญ
ธรรมเหล่านี้ใครสมาทานให้บริบูรณ์แล้ว เป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข
เมื่อนั้น ท่านทั้งหลายควรเข้าถึงธรรมเหล่านั้นอยู่
ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอน
ของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อนได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิด
หรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้
ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว
มีคนจำนวนไม่น้อย เชื่อถ้อยคำวาจาของผู้พูดที่เคยเชื่อถือมาก่อน พูดอะไรก็เชื่อตามหมด
เพราะฟังแล้วมีเหตุผล-ตรรกะน่าเชื่อ ยิ่งเข้ากันได้กับความคิดของตนเป็นทุนทำให้เชื่อเต็ม
ร้อยโดยมิลังเล สงสัยเคลือบแคลงแต่อย่างใด..อันตราย ครับ
ผู้เขียนอดเป็นห่วงเรื่องราวที่กล่าวตอนต้นไม่ได้ จึงนำเสนอ"กาลามสูตร" เพื่อสกิดเตือน
เพื่อนไทยที่รักชาติทั้งหลาย ก่อนที่บ้านเมืองวุ่นวายเสียหายเกินแก้ไข ครับ
☺ สื่อทีวี นับเป็นสื่อสารมวลชนที่ผู้คนเข้าถึงได้ง่าย ฝากถึงผู้ใช้สื่อสารทั้งหลายพึงสังวร
ให้จงหนักท่านทำตนเป็นเป็นสื่อแท้.สื่อเทียมหรือสื่อเสี้ยมกันแน่..สงสารผู้เสพสื่อบ้างนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น