วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

วัน เข้าพรรษา (ข่าวสด)

วัน เข้าพรรษา

คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา

ใกล้ถึงวันเข้าพรรษา ประจำปีพุทธศักราช 2553 เป็นวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนา เป็นพุทธานุญาตที่กำหนด ให้พระภิกษุอธิษฐานอยู่ประจำที่ ไม่จาริกไปค้างแรมตามสถานที่ต่างๆ เป็นเวลา 3 เดือนในฤดูฝน คือ ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เว้นแต่มีกิจจำเป็น

สำหรับในปี พ.ศ.2553 วันเข้าพรรษาจะตรงกับวันอังคารที่ 27 กรกฎาคม 2553

การอยู่จำพรรษา มี 2 ช่วง คือ

จำพรรษาต้น เรียกว่า ปุริมิกาวัสสูปนายิกา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 รวม 3 เดือน ถ้าปีไหนเป็นอธิกมาส คือ เดือน 8 มี 2 เดือน ให้เลื่อนการจำพรรษาไปเป็นวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง

จำพรรษาหลัง เรียกว่า ปัจฉิมิกาวัสสูปนายิกา เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 แต่ประเทศไทยเราไม่นิยมการจำพรรษาหลัง

การ ที่พระภิกษุหยุดการเดินทางไม่ไปค้างแรมในสถานที่อื่น โดยอธิษฐานอยู่จำพรรษาตลอดเวลา 3 เดือน ณ สถานที่ใดที่ หนึ่ง เว้นแต่มีกิจจำเป็น ทำให้เกิดประโยชน์ต่อพุทธศาสนิกชนและสังคม คือ

1.พุทธ ศาสนิกชนได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียนได้รับการอบรมสั่งสอนและฝึกกาย วาจา ใจ ตามหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา ได้บำเพ็ญบุญกุศลและคุณความดี มากขึ้น

2.การ อยู่จำพรรษาตลอดเวลา 3 เดือน เป็นระยะเวลานานพอสำหรับพุทธศาสนิกชนที่ตั้งใจสร้างคุณงามความดีให้เกิดขึ้น ในตน จึงเป็นโอกาสที่จะได้เริ่มต้น ลด ละ เลิกอบายมุข มีผลทำให้สังคมเกิดความสงบสุขร่มเย็น

กิจจำเป็นที่พระพุทธเจ้าทรง อนุญาตให้พระภิกษุไปค้างคืนที่อื่นได้คราวละไม่เกิน 7 วัน โดยไม่ถือว่าต้องอาบัติ เรียกว่า สัตตาหกรณียกิจ หรือเหตุพิเศษ 4 ประการ ได้แก่

1.เพื่อสหธรรมิก ทั้ง 5 คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร และสามเณรีป่วย หรือบิดามารดาป่วย ไปเพื่อจะพยาบาลไข้ได้

2.ไปเพื่อ จะยับยั้งเพื่อนสหธรรมิกที่อยากจะสึก มิให้สึกได้

3.ไปเพื่อกิจของ สงฆ์ เช่น หาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิ วิหาร ที่ชำรุดทรุดโทรม

4.ไปเพื่อ ฉลองศรัทธาของทายกที่เขาส่งตัวแทนมานิมนต์ ไปร่วมงานบำเพ็ญบุญหรือด้วยเหตุอื่นๆ ที่อนุโลมเข้ากับข้อใดข้อหนึ่งได้

วัน เข้าพรรษาและช่วงเทศกาลเข้าพรรษาเช่นนี้ สังคมไทยได้นำมาประยุกต์ให้เป็นจุดเริ่มต้นของการปรับปรุงพฤติกรรม ลด ละ เลิกอบายมุข เช่น การงดเหล้า บุหรี่ จนเกิดโครงการต่างๆ อาทิ โครงการงดเหล้าเข้าพรรษา

ผู้งดเว้นจากบาปความชั่วและอบายมุขต่างๆ ในระหว่างพรรษากาลแล้ว แม้ออกพรรษาแล้วก็ไม่ควรกลับไปกระทำหรือข้องแวะอีก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น