วันจันทร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2554

น้ำท่วม จากมติชน

ในช่วงเวลาที่สังคมไทยกำลังเผชิญหน้ากับสภาวะอุทกภัยครั้งใหญ่ มีบทความน่าสนใจหลายชิ้นถูกเขียนและเผยแพร่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เฟซบุ๊ก


มติชนออนไลน์ ขออนุญาตนำบทความ 2 ชิ้นที่ถูกเขียนขึ้นในเฟซบุ๊ก มาเผยแพร่ต่อ ณ ที่นี้ โดยบทความชิ้นแรกมีเนื้อหาแนะนำวิธีการนำเสนอข้อมูลเรื่องน้ำท่วมให้เข้าใจง่าย แก่รัฐบาลและศปภ. ส่วนบทความชิ้นที่สอง กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตในช่วงน้ำท่วม

"ท่วม ไม่ท่วม ท่วมที่ไหน ท่วมเมื่อไหร่ แค่ไหน" พอ


โดย Howhow Salwala


"ท่วม ไม่ท่วม ท่วมที่ไหน ท่วมเมื่อไหร่ แค่ไหน" พอ


- ไม่ควรใส่ข้อมูลทางเทคนิคเยอะ … เพราะประชาชนจะสับสน


และอาจจะนำไปสู่การวิเคาระห์ที่เกิดผลลัพธ์ในอีกทางได้


- คนที่ออกมาแถลงข่าว ควรมีคนเดียว คนเดิม ทุกครั้งยืนพื้น


อย่าออกมากันเป็นแผง (และสลับหน้ากันมา) จะช่วยให้คนที่ดู Focus ได้ว่าควรจะฟังใคร


ขอมืออาชีพ เช่นคุณ พงศพัศ พงษ์เจริญ หรือเด็ดขาดชัดเจนอย่างคุณ ปลอดประสพ


- ถ้าเกิดความผิดพลาดหรือการปรับเปลี่ยนข้อมูล


ต้องออกมาแก้ไขและแถลงอย่างเป็นทางการ


ชั่วโมงนี้ต้องการความชัดเจนตรงไปตรงมา

- ควรมีช่วงเวลาที่ชัดเจนในการนำเสนอ คนดูจะสามารถติดตามได้ เปิดมาทุกครั้งก็จะเจอ


ออกซ้ำหลังจากแถลงแล้ว 15 นาทีอีกครั้ง เพื่อย้ำ


ถ้ามีข่าวด่วนแทรก ให้ตัดเข้ามาได้ แต่ต้องขึ้นให้ชัดเจนว่าข่าวด่วน!

- Info Graphic ควรจะดูเรียบง่าย สะอาดชัดเจน … มีผังยืนพื้นเอาไว้


"ไม่ควรใช้แผนที่ปกติ" เพราะว่ามันดูยุ่งเหยิง มองยากสำหรับคนทั่วไป


หรือจะใช้วิธีสร้าง Template ขึ้นมาแล้ว วาดเอาตรงนั้นก็ได้


Minimalist มันจะง่ายต่อการทำความเข้าใจในภาวะฉุกเฉินครับ

- ทำ Template ลำดับการนำเสนอเอาไว้ ว่าต้องพูดอะไรเป็นลำดับ


และไล่ตามเขตให้ชัดเจน พูดเป็นเขตๆ ไป ไม่ควรกระโดดไปกระโดดมา


(ลองใช้ Template ที่พี่หาวใส่ไว้ในประโยคแรกก็ได้)


- ตอนนี้ปัญหาในการสื่อสาร อยู่ที่คนดูไม่สามารถหา Focus ได้ สิ่งที่ต้องการสื่อก็จะใช้การไม่ได้


- ให้ออกแถลงการณ์ทางเดียวในสื่อหลัก … สื่ออื่นเช่น Social Media ให้ใช้สำหรับรับข้อมูลเป็นหลัก


แถลงออกทางสื่อหลักแล้ว ค่อยนำไปกระจายต่อใน Social Media

- เพราะการใส่ข้อมูลออกมาทาง Social Media มากเกินไป จะขาดความเป็นเอกภาพของข้อมูล


มันจะกระจัดกระจายและตามหาต้นทางไม่ได้ และอาจมีเรื่องการเปลี่ยนแปลงสารจากการส่งต่อ

- และทางที่ดีที่สุดคือใช้ "โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ" ไม่ต้องกลัวว่าประชาชนจะแตกตื่น


การได้รับรู้ข่าวสารที่ชัดเจน จะนำไปสู่การเตรียมพร้อม และลดอาการตื่นตระหนกได้

----------

น้ำท่วม - ภัยจากการจัดการแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ท่วม) ภาคสอง


โดย A Journey through Science and Art


ภาคสอง ได้เวลาปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต


ช่วงน้ำท่วม


■ทำใจ เพราะหนทางข้างหน้าจะต้องลำบากแน่นอน มีสติ มองหาหนทางออกที่ดี ทั้งกับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด การช่วยเหลือจากภาครัฐหรือหน่วยงานต่างๆ มักมีขึ้นเพื่อการสร้างภาพ พึ่งตนเองได้ดีที่สุด


หากมีญาติพี่น้องอยู่ต่างจังหวัดในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำท่วม การย้ายไปพักอาศัยชั่วคราวดูเป็นทางออกที่ดีมาก การย้ายไปอยู่พื้นที่อพยพน่าจะเป็นทางเลือกสุดท้าย และเราก็ได้เรียนรู้แล้วว่า ภาครัฐไม่ได้เลือกศูนย์อพยพที่ปลอดภัยแน่นอน ทำให้ต้องมีการเคลื่อนย้ายคนอีก ดังนั้น ต้องเลือกพื้นที่อพยพที่ดี ไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง


การอาศัยบนชั้นสองของบ้าน เป็นทางออกชั่วคราว เพราะ ปัจจัยด้านไฟฟ้า ด้านน้ำสะอาด และสุขภัณฑ์ มนุษย์ปัจจุบันอยู่แบบไม่มีเทคโนโลยีไม่ได้อีกต่อไป โดยเฉพาะช่วงน้ำท่วม ให้ระวังว่า โดยส่วนมาก ชั้นสองของบ้านจะออกแบบให้มีทางเข้าออกทางเดียวโดยการขึ้นลงผ่านบันได ซึ่งจะถูกปิดโดยน้ำในกรณีน้ำขึ้นสูง จะทำให้ไม่มีทางออกถ้าติดตายด้วยเหล็กดัด


Logistic จะมีปัญหา การกักตุนสินค้าจะทำให้สินค้าขาดแคลน ปัจจุบันกระแสบริจาคทำให้สินค้าบางรายการขาดแคลนแบบไร้สติ คนที่ได้รับก็ไม่ได้ต้องการ เลือกไม่ได้ ได้มาก็จะทิ้ง


การผลิตในหลายๆ สินค้าจะหยุดชะงัก ขาดแคลน การกักตุนสินค้าจะทำให้สินค้าขาดแคลน ปัจจุบันกระแสบริจาคทำให้สินค้าบางรายการขาดแคลนแบบไร้สติ คนที่ได้รับก็ไม่ได้ต้องการ เลือกไม่ได้ ได้มาก็จะทิ้ง


ปัจจัยที่ห้า ที่ราคาสูงที่สุดในบ้าน ก็คือ รถ เมื่อน้ำท่วมจะมีปัญหาทันที ปัจจุบันมีวิธีการจัดการกับรถตอนน้ำท่วมหลายวิธี ตั้งแต่โฟม ไปจน ห่วงยาง หรือใช้แม่แรงยกรถแล้วใส่อิฐทีละล้อ วิธีที่แย่สุดคือ นำรถไปจอดที่อื่น ซึ่งมักสูงไม่พอและไม่มีการดูแล (ถูกโจรกรรม)


การคมนาคมจะลำบากมาก ให้ระวังไฟฟ้ารั่ว เพราะเพื่อนบ้านไม่ได้ระมัดระวังเหมือนเราทุกคน และพึงเรียนรู้ว่า การไฟฟ้าไม่ได้ตัดไฟอัตโนมัติกรณีน้ำท่วม และดูเหมือนการไฟฟ้าไม่ได้มีแผนหรือนโยบายเรื่องนี้เลย!


สัตว์ต่างๆ จะมีการหนีน้ำ บางพวกหลุดออกจากบริเวณกักขัง (จระเข้ งู) เช่นเดียวกันเรื่องสาธาณสุข โรคระบาด โรคติดต่อ โรคจากการแช่น้ำ หรือแม้แต่โรคประจำตัวที่ต้องหยูกยาพิเศษ พวกนี้ต้องระมัดระวังหาหนทางและเตรียมการที่ดีที่สุด


ของมีค่า พกได้พกไปด้วย จะได้ไม่ต้องห่วงบ้าน พกไม่ได้ เก็บในที่ที่คาดไม่ถึง และทำใจว่านี่เป็นสิ่งที่ต้องปลงหากหายไปหลังกลับมาที่บ้านแล้ว ให้แยกแยะให้ออกว่า สิ่งใดมีค่า สิ่งใดมีมูลค่า ตู้เย็น ทีวี มีมูลค่า แต่ไม่มีค่า ซื้อแพง ขายถูก ของพวกนี้ห้ามขน ให้ใช้วิธีคิดว่า ตอนไปเที่ยวนำสิ่งใดไป ให้นำไปเท่านั้น

ปรับตัวด้านการดำรงชีวิต


■เรียนรู้และเข้าใจธรรมชาติโดยเฉพาะเรื่องนิเวศ ให้เข้าใจว่า ปรัชญานิเวศ นั้นเน้นเรื่องฟังก์ชัน (หน้าที่ในระบบนิเวศ) การปรับตัวและความสัมพันธ์กันของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศ เมื่อทำลายองค์ประกอบใดในระบบนิเวศ จะมีผลตามมาเสมอ


ถึงเวลาต้องพึ่งตนเอง ภาครัฐจะไม่สามารถรับมือสถานการณ์ภัยพิบัติ และฟังก์ชันของภาครัฐคือป้องกันทรัพย์สินและผลประโยชน์ของภาครัฐและกลุ่มอำนาจรัฐก่อนป้องกันทรัพย์สินของประชาชน ถ้าต้องดำรงชีวิตเป็นระยะเวลานานในเขตน้ำท่วมจริงๆ ก็ปรับตัว ปรับใจ หาพื้นที่แห้งพ้นน้ำท่วมในบ้าน ปลอดภัยจากสัตว์หนีน้ำ ต้องหาแหล่งน้ำสะอาด เรื่องห้องน้ำห้องท่า ระบบแสงสว่าง ไฟฟ้า เครื่องปั่นไฟ เครื่องสูบน้ำ ระบบสื่อสาร บางคนนึกถึงการหาเรือ ซึ่งเป็นไปได้ แต่ให้นึกถึงเวลาน้ำลดว่าจะนำมันไปเก็บที่ไหนอย่างไร


ศึกษาฮวงจุ้ย ตามหลักวิทยาศาสตร์ ของบ้านและชุมชนของท่านเอง ทั้งทางน้ำ ทางลม ทางฝน ทางแดด ดูที่สูง ที่ต่ำ ที่ราบ นโยบายภาครัฐ (เช่น ฝั่งธนบุรียังไงก็ต้องจัดการให้ท่วมก่อนฝั่งกรุงเทพฯ) โดยเฉพาะที่ดินที่อยู่ติดทางน้ำ (ทั้งทะเล ชายหาด ลำคลอง แม่น้ำ ลำธาร ทะเลสาบ ฯลฯ)


ปรับตัวด้านเศรษฐศาสตร์


ค่าใช้จ่ายด้านการก่อสร้างจะสูงขึ้นมาก การซ่อมยานพาหนะ การซ่อมแซม ทำความสะอาดที่อยู่อาศัย


ภาวะว่างงานของตัวท่านเอง ตัวคนในชุมชนของท่าน (รวมทั้งงบประมาณวิจัยและพัฒนา)


เอกชนโดนกระทบมาก ให้ตระหนักประเด็นนี้ให้ดี


■ในบางพื้นที่ น้ำท่วมเป็นเวลานานมาก สัปดาห์ เดือน ต้องพิจารณาทบทวนประเด็นทั้งหมดโดยอาศัยกรอบเวลานี้ด้วย


หมายเหตุ อ่านบทความ "น้ำท่วม - ภัยจากการจัดการแบบตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ท่วม)" ตอนแรก ได้ที่นี่

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น