ปรองดอง
ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
สังคม ไทยของเราในปัจจุบันนี้ กำลังประสบปัญหานานาประการ ปัญหาเดิมๆ ก็ยังแก้ไม่หาย ปัญหาใหม่มากมายก็เกิดขึ้นเป็นระยะๆ นำมาซึ่งความไม่สงบเรียบร้อย และความรุ่มร้อนของผู้คนในสังคม
สาเหตุ สำคัญก็คือความขัดแย้งภายในใจ หรือความไม่พอใจในแนวคิด และวิถีปฏิบัติที่เป็นอยู่ ภาวะเช่นนี้เรียกว่า ไม่สมานฉันท์ หรือไม่ปรองดอง เพราะฉะนั้น เราจะต้องพยายามที่จะสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม ด้วยวิธีการต่างๆ ที่หลากหลาย แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ เพื่อความสงบสุขร่มเย็นของสังคมไทย
ในทางพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่จะทำให้เกิดความสมานฉันท์มี 6 ประการ คือ
ประการ ที่ 1 เมตตากายกรรม หมายถึง การแสดงออกต่อกันทางกายด้วยเมตตา หรือ การกระทำที่เป็นไปด้วยความหวังดีต่อกัน ไม่เบียดเบียนชีวิต ไม่เบียดเบียนทรัพย์สินกรรมสิทธิ์ และไม่ประพฤติผิดในคู่ครองของผู้อื่น ในทางตรงกันข้าม ก็พยายามแสดงออกในทางที่ดีต่อกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในยามวิกฤต และนับถือให้เกียรติต่อกันและกันทั้งต่อหน้าและลับหลัง
ประการที่ 2 เมตตาวจีกรรม หมายถึง การแสดงออกต่อกันทางวาจาด้วยความเมตตาหรือมีวาจาที่ประกอบไปด้วยความหวังดี ไม่พูดโกหกหลอกลวง ไม่พูดคำส่อเสียดเหยียดหยาม ไม่พูดคำหยาบและไม่พูดวาจาไร้สาระ พูดแต่ความจริง คำอ่อนหวาน คำสมานสามัคคี และคำที่มีสารประโยชน์
ประการที่ 3 เมตตามโนกรรม หมายถึง การมีความรู้สึกนึกคิดที่ประกอบด้วย ความเมตตา หรือมีใจประกอบด้วยความเมตตานั่นเอง ใจที่ประกอบด้วยความเมตตาก็คือ ใจที่ไม่คิดอิจฉาริษยา ปรารถนาอยากได้ของเขา ไม่คิดพยาบาทปองร้ายเขา และไม่หลงผิด เห็นชั่วเป็นดี เห็นดีเป็นชั่ว
ประการที่ 4 สาธารณโภคี หมายถึง การแบ่งบันกันบริโภคอุปโภคปัจจัยใช้สอยต่างๆ อย่างทั่วถึง กล่าวคือ เมื่อได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งมาโดยชอบธรรม ก็ไม่ตระหนี่ถี่เหนียว รู้จักจ่ายแจกแบ่งปันแก่กันและกัน มีน้ำใจเอื้อเฟื้อเอื้ออาทรต่อกันและกัน ตระหนักอยู่เสมอๆ ว่า "น้ำบ่อน้ำคลองยังไม่เป็นรองน้ำใจ กระจกเงาที่ว่าใส ยังเป็นรองน้ำใจ ที่ว่างาม"
ประการที่ 5 สีลสามัญญตา หมายถึง ความเป็นผู้เสมอกันด้วยศีล หรือ กฎกติกา กฎหมายที่ดีงามในหมู่คณะ กล่าวคือ สมาชิกในสังคมต้องตั้งมั่นอยู่ในกฏกฏิกาที่ดีงาม ทั้งในทางศาสนาคือศีล และทางสังคมคือกฎหมาย มีความเท่าเทียมกันในการแสดง ออกในทางที่สร้างสรรค์ตามกรอบตามกติกาของสังคม รวมไปถึงการสร้างกฎกติกาที่เท่าเทียมกันให้เกิดมีและปฏิบัติตามอย่างจริงจัง
ประการ ที่ 6 ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึง ความเป็นผู้เสมอกันด้วยความคิดเห็น มีความเห็นที่ดีงามเสมอกัน ข้อนี้เป็นหัวใจสำคัญของหลักความสมานฉันท์ เพราะหากมีความเห็นไม่ตรงกัน ขัดแย้งกันทางความคิดเห็นไม่ยอมลงรอยกันเสียที ก็ยากที่จะมีพฤติกรรมที่เป็นไปเพื่อความสมานฉันท์ได้ ปรับความเห็นให้สอดคล้องกันในทางที่ดี เรียกว่า สมานจุดร่วมสงวนจุดต่าง ร่วมแนวทางที่สร้างสรรค์
เพราะฉะนั้น บ้านเมืองของเราที่อาศัยอยู่ในแผ่นดินเดียวกัน แต่หากไม่ตั้งอยู่ในสาราณียธรรม คือ ขาดการแสดงออกที่ดีด้วยทางกาย ทางวาจา ทางใจ รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสมอกันด้วยกฎกติกา และมีความเห็นที่เสมอกัน เป็นไปในทางเดียวกันแล้ว ก็ย่อมยากที่จะสร้างความสมานฉันท์หรือนำมาซึ่งความสามัคคีในหมู่คณะได้ ทุกฝ่ายควรมาคิดกันว่า เราจะสร้างจิตสำนึกแห่งหลักธรรมนี้ให้เกิดขึ้นในสังคมอย่างไร หากสามารถช่วยกันอย่างจริงจัง เชื่อว่าสังคมแห่งความสมานฉันท์ปรอง ดองย่อมมีขึ้นและมั่นคงยั่งยืนอย่างแน่นอน
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2554
ภัยจากการทะเลาะวิวาท khaosod
ภัยจากการทะเลาะวิวาท
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
การพูดขัดแย้งกัน พูดไม่ตรงกัน โต้เถียงกัน ทะเลาะวิวาทกัน พูดไม่ถูกใจกัน ขัดผลประโยชน์กัน เป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางกัน เป็นเหตุทำร้ายร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน วงศ์ตระกูลเผ่าพันธุ์และประเทศชาติของกันและกัน
ท่านกล่าวว่ามูลเหตุสำคัญๆ ของการทะเลาะวิวาท มี 3 ประการ คือ
1.วิวาทกันเพราะทรัพย์สมบัติ ผลประโยชน์
2.วิวาทกันเพราะเชื้อชาติ ผิวพรรณ วงศ์ตระกูล
3.วิวาทกันเพราะลัทธิความเชื่อถือทางศาสนาและการเมือง
ประการที่ 1 วิวาทกันเพราะทรัพย์สมบัติ เพราะคนเราต่างก็มีความโลภปรารถนาเพื่อความสุขความสบายของตนของครอบครัวของหมู่ชนของตนเอง มีความเห็นแก่ตน เห็นแก่ได้ด้วยกันเป็นส่วนมาก ถ้าการแสวงหาเพื่อให้ได้มาโดยทางธรรม โดยสัมมาชีพ ไม่แย่งชิงเบียดเบียนเอาของคนอื่นมาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม การวิวาทกัน การทะเลาะกันก็ไม่เกิดขึ้น แต่ตรงกันข้าม ความวิวาทบาดหมางกันก็เกิดขึ้น เป็นภัยเบียดเบียนกัน แท้ที่จริงวัตถุสมบัติต่างๆ นี้ก็เป็นของมีประจำโลก เป็นเสมือนของที่ยืมเขามาใช้ชั่วคราว ถ้าหากว่าเราจะไปเอามาโดยไม่ชอบธรรม บาปกรรมก็จะเกิดตามเรา ไปก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนสิ้นกาลนาน หลายภพหลายชาติ
ประการที่ 2 วิวาทกันเพราะเชื้อชาติ ผิวพรรณ วงศ์ตระกูล อันนี้เป็นภัยอันตรายก่อให้เกิดความไม่สงบสุข อาฆาตพยาบาทเบียดเบียนกันโดยถือว่าคนชาตินั้น คนผิวสีนั้น คนที่เกิดในวงศ์ตระกูลนั้น เคยทะเลาะกันมา เคยรบกันมา คนยุคต่อมาหรือคนรุ่นหลังบางทีก็เกิดไม่ทันเหตุการณ์เหล่านั้นก็ยังเอามาเป็นข้อพิพาทบาดหมางกัน วิวาทกันทำร้ายทำลายกันไม่มีความสงบสุข ไม่สามารถจะปรองดองสามัคคีกันได้ มีให้เห็นเป็นตัวอย่างมากมาย คนต่างเชื้อชาติกันบางทีก็รบราฆ่าฟันกันมาเป็นหลายชั่วอายุคน หลายร้อยปี บ้านเมืองอยู่กันอย่างไม่สงบสุข บางทีก็ปรารภผิวพรรณ ชาติตระกูลที่แตกต่างกัน เกิดการดูถูกกัน ทำร้ายกันไม่รู้จักจบจักสิ้น
ประการที่ 3 วิวาทกันเพราะลัทธิความเชื่อถือทางศาสนาและการเมือง การวิวาทกันด้วยเหตุนี้ ย่อมรุนแรง ยิ่งลึก เพราะเป็นเรื่องของทิฐิมานะ อาศัยอำนาจของอวิชชาความไม่รู้เข้าต่อสู้ประหัตประหารกัน ใครที่ไม่มีความเชื่อเหมือนตน ก็กล่าววิวาทะกัน ไม่ได้พูดกันอย่างมีเหตุมีผล เอาความเชื่อเป็นที่ตั้ง เมื่อพวกชนหมู่อื่นไม่เชื่อเหมือนตนก็ถือเป็นศัตรู แม้จะไม่รู้จักกันก็ต้องเบียดเบียนรบรากันมาเป็นร้อยเป็นพันปี ขาดสันติภาพ สันติสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสความวิวาทโดยความเป็นภัย เพราะย่อมก่อให้เกิดแต่ทุกข์โทษโดยประการต่างๆ สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นแก่ครอบครัว หมู่คณะ ชุมชน และประเทศชาติ
ฉะนั้นการทะเลาะวิวาทเป็นภัยเป็นไปเพื่อความหายนะอย่างใหญ่หลวง เป็นการทำลายความสามัคคี ความสงบสุข หยุดการพัฒนา มีแต่ความหวาดระแวง การทำมาหากินก็ลำบาก เกิดความทุกข์ยาก ทำให้โลกไม่น่าอยู่เต็มไปด้วยภัยอันตราย เป็นการก่อเวรให้แก่กันและกัน ยากที่จะสงบสุขลงได้ เพราะกลายเป็นการจองเวรแก่กันและกันไป
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
การพูดขัดแย้งกัน พูดไม่ตรงกัน โต้เถียงกัน ทะเลาะวิวาทกัน พูดไม่ถูกใจกัน ขัดผลประโยชน์กัน เป็นเหตุให้เกิดความบาดหมางกัน เป็นเหตุทำร้ายร่างกาย จิตใจ ทรัพย์สิน วงศ์ตระกูลเผ่าพันธุ์และประเทศชาติของกันและกัน
ท่านกล่าวว่ามูลเหตุสำคัญๆ ของการทะเลาะวิวาท มี 3 ประการ คือ
1.วิวาทกันเพราะทรัพย์สมบัติ ผลประโยชน์
2.วิวาทกันเพราะเชื้อชาติ ผิวพรรณ วงศ์ตระกูล
3.วิวาทกันเพราะลัทธิความเชื่อถือทางศาสนาและการเมือง
ประการที่ 1 วิวาทกันเพราะทรัพย์สมบัติ เพราะคนเราต่างก็มีความโลภปรารถนาเพื่อความสุขความสบายของตนของครอบครัวของหมู่ชนของตนเอง มีความเห็นแก่ตน เห็นแก่ได้ด้วยกันเป็นส่วนมาก ถ้าการแสวงหาเพื่อให้ได้มาโดยทางธรรม โดยสัมมาชีพ ไม่แย่งชิงเบียดเบียนเอาของคนอื่นมาเป็นของตนโดยไม่ชอบธรรม การวิวาทกัน การทะเลาะกันก็ไม่เกิดขึ้น แต่ตรงกันข้าม ความวิวาทบาดหมางกันก็เกิดขึ้น เป็นภัยเบียดเบียนกัน แท้ที่จริงวัตถุสมบัติต่างๆ นี้ก็เป็นของมีประจำโลก เป็นเสมือนของที่ยืมเขามาใช้ชั่วคราว ถ้าหากว่าเราจะไปเอามาโดยไม่ชอบธรรม บาปกรรมก็จะเกิดตามเรา ไปก่อให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อนสิ้นกาลนาน หลายภพหลายชาติ
ประการที่ 2 วิวาทกันเพราะเชื้อชาติ ผิวพรรณ วงศ์ตระกูล อันนี้เป็นภัยอันตรายก่อให้เกิดความไม่สงบสุข อาฆาตพยาบาทเบียดเบียนกันโดยถือว่าคนชาตินั้น คนผิวสีนั้น คนที่เกิดในวงศ์ตระกูลนั้น เคยทะเลาะกันมา เคยรบกันมา คนยุคต่อมาหรือคนรุ่นหลังบางทีก็เกิดไม่ทันเหตุการณ์เหล่านั้นก็ยังเอามาเป็นข้อพิพาทบาดหมางกัน วิวาทกันทำร้ายทำลายกันไม่มีความสงบสุข ไม่สามารถจะปรองดองสามัคคีกันได้ มีให้เห็นเป็นตัวอย่างมากมาย คนต่างเชื้อชาติกันบางทีก็รบราฆ่าฟันกันมาเป็นหลายชั่วอายุคน หลายร้อยปี บ้านเมืองอยู่กันอย่างไม่สงบสุข บางทีก็ปรารภผิวพรรณ ชาติตระกูลที่แตกต่างกัน เกิดการดูถูกกัน ทำร้ายกันไม่รู้จักจบจักสิ้น
ประการที่ 3 วิวาทกันเพราะลัทธิความเชื่อถือทางศาสนาและการเมือง การวิวาทกันด้วยเหตุนี้ ย่อมรุนแรง ยิ่งลึก เพราะเป็นเรื่องของทิฐิมานะ อาศัยอำนาจของอวิชชาความไม่รู้เข้าต่อสู้ประหัตประหารกัน ใครที่ไม่มีความเชื่อเหมือนตน ก็กล่าววิวาทะกัน ไม่ได้พูดกันอย่างมีเหตุมีผล เอาความเชื่อเป็นที่ตั้ง เมื่อพวกชนหมู่อื่นไม่เชื่อเหมือนตนก็ถือเป็นศัตรู แม้จะไม่รู้จักกันก็ต้องเบียดเบียนรบรากันมาเป็นร้อยเป็นพันปี ขาดสันติภาพ สันติสุข องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสความวิวาทโดยความเป็นภัย เพราะย่อมก่อให้เกิดแต่ทุกข์โทษโดยประการต่างๆ สร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นแก่ครอบครัว หมู่คณะ ชุมชน และประเทศชาติ
ฉะนั้นการทะเลาะวิวาทเป็นภัยเป็นไปเพื่อความหายนะอย่างใหญ่หลวง เป็นการทำลายความสามัคคี ความสงบสุข หยุดการพัฒนา มีแต่ความหวาดระแวง การทำมาหากินก็ลำบาก เกิดความทุกข์ยาก ทำให้โลกไม่น่าอยู่เต็มไปด้วยภัยอันตราย เป็นการก่อเวรให้แก่กันและกัน ยากที่จะสงบสุขลงได้ เพราะกลายเป็นการจองเวรแก่กันและกันไป
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
วันเสาร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554
สาระชีวิต khaosod
สาระชีวิต
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
สิ่ง ที่ไม่เป็นแก่นสารหรือไม่มีสารประโยชน์ในโลกนี้มีมากมาย แต่เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็มีอยู่ 3 อย่าง คือ 1.ชีวิต 2.ร่างกาย 3.ทรัพย์สมบัติ
ชีวิต ได้แก่ ความเป็นอยู่ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงร่างกายให้ดำรงชีพอยู่ และเป็นเครื่องหมายแห่งการเป็นการตายของสัตว์โลก เมื่อชีวิตยังไม่ดับ สัตว์ก็ชื่อว่ายังไม่ตาย เมื่อชีวิตดับลงแล้ว สัตว์ก็ชื่อว่าตายแล้ว อันลักษณะของชีวิตนี้ เป็นของไม่คงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ย่อมหมดเปลืองไปตามวันคืนที่ล่วงไป แม้ว่าชีวิตจะดับเหมือนกันหมดก็จริง แต่ก็มีข้อแตกต่างกัน กล่าวคือชีวิตของคนบางคนยืนยาว ชีวิตของบางคนเกิดมายังไม่ทันไรก็ตายเสียแล้ว แต่การที่ชีวิตจะยาวหรือสั้นนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ใครๆ จะนึกปรารถนาเอาได้ตามใจตนเอง เพราะเป็นเรื่องของกุศลและอกุศล เช่น ชีวิตของคนบางคนเศร้าหมองก็มี ผ่องใสก็มี ขมขื่นก็มี สดชื่นก็มี ทั้งนี้ก็เป็นเพราะความประพฤติเรียบร้อยดีงามหรือความประพฤติไม่ดีไม่งาม ด้วยเหตุนี้เองชีวิตจึงจัดว่าเป็นของหาแก่นสารมิได้
ร่างกาย ได้แก่ อวัยวะน้อยใหญ่ความกันเข้าเป็นอัตภาพ เรียกตามบัญญัติว่า สัตว์บ้าง บุคคลบ้าง อันร่างกายนี้เป็นของไม่ถาวร พอเกิดขึ้นแล้วก็ตกอยู่ใต้อำนาจของชราพยาธิมรณะชราทำให้แก่ให้ทรุดโทรม ทุพพลภาพ ความแก่ความเจ็บความตายเป็นภัยที่ใครๆ นี้ไม่สามารถจะหนีพ้นได้ เพราะเป็นตัวทุกข์ประจำสังขาร ยังเป็นสังขารอยู่ตราบใด ก็ต้องประสบทุกข์ภัยเหล่านี้ตราบนั้น ด้วยเหตุนี้ ร่างกายจึงเป็นสิ่งที่หาสาระแก่นสาร อะไรไม่ได้เลย
ทรัพย์สมบัติ ได้แก่ บรรดาเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งหมด อันเป็นอุปการะแก่ชีวิตและร่างกาย ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สมบัติย่อมเป็นของที่ทุกคนปรารถนา เพราะผู้มีทรัพย์มากก็มีสุขมาก ผู้มีทรัพย์น้อยก็มีสุขน้อย ด้วยเหตุนี้เองทุกคนจึงกล้าลงทุนลงแรงและพากเพียรพยายามประกอบงานโดยไม่เห็น แก่ความเหนื่อยเมื่อยล้า แต่ทรัพย์สมบัติเหล่านี้ล้วนเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นสิ่งสมมติในโลกใบนี้เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์สมบัติจึงจัดเป็นอสาระหาแก่นสารอะไรไม่ได้เลย
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสสิ่งที่เป็นสาระหรือคุณภาพแห่งชีวิตอันแท้จริง ไว้ 5 ประการ คือ
1.ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อโดยใช้ปัญญาคอยควบคุม สิ่งที่ควรเชื่อนั้นคือเชื่ออะไร? ในทางพระพุทธศาสนาท่านสอนให้เชื่อกรรมคือการกระทำของตนเอง คือ เชื่อว่าทำดีให้ผลดีเป็นความสุข ทำชั่วให้ผลเป็นความทุกข์ เป็นต้น
2.ศีล หมายถึง การรักษามารยาททางกายและวาจาให้เรียบร้อยดีงาม เว้นจากการเบียดเบียนกันและกันด้วยกายวาจา
3.สุ ตะ หมายถึง การสดับตรับฟังตลอดจนถึงการอ่าน บ้านเมืองของเราจะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ก็ต้องอาศัยพลเมืองมีความรู้มี คุณธรรม ฟังอ่านในสิ่งที่เป็นประโยชน์ แล้วนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
4.จา คะ หมายถึง การเสียสละทรัพย์สมบัติของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และเสียสละ คือ ลดละเลิก อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อันเป็นกิเลสภายในใจ
5. ปัญญา หมายถึง ความรอบรอบรู้เฉลียวฉลาด ปัญญานี้นับว่า เป็นคุณธรรมสำคัญที่สุด มีศรัทธาความเชื่อ แต่ปราศจากปัญญาก็ถือว่าเข้าข่ายงมงาย รักษาศีลโดยปราศจากปัญญาก็รักษาอย่างไม่ถูกต้อง ดังนั้นปัญญาจึงนับว่าสำคัญยิ่งทั้งในทางโลกและทางธรรม ทำให้ชีวิตมีแก่นสารสาระอย่างแท้จริง
คุณธรรมทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่มีสาระ บุคคลใดสามารถทำให้เกิดมีขึ้นในตน บุคคลนั้นย่อมสามารถทำตนให้มีสาระแก่นสาร มีคุณภาพที่ดี ย่อมประสบความสงบร่มเย็นทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ท่านสาธุชนทั้งหลาย จงอย่าเสียเวลากับสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสารสาระเลย รีบหันมายึดเอาสิ่งที่เป็นแก่นสารสาระตามหลักทางพระพุทธศาสนา จะทำให้ชีวิตของท่านทั้งหลายมีคุณ ภาพที่ดี มีประโยชน์แก่ตนเองและสังคม และเป็นการปฏิบัติธรรมทางศาสนาอย่างแท้จริง
พระเทพคุณาภรณ์(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
watdevaraj@hotmail.com 02-281-2430
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
สิ่ง ที่ไม่เป็นแก่นสารหรือไม่มีสารประโยชน์ในโลกนี้มีมากมาย แต่เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็มีอยู่ 3 อย่าง คือ 1.ชีวิต 2.ร่างกาย 3.ทรัพย์สมบัติ
ชีวิต ได้แก่ ความเป็นอยู่ เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงร่างกายให้ดำรงชีพอยู่ และเป็นเครื่องหมายแห่งการเป็นการตายของสัตว์โลก เมื่อชีวิตยังไม่ดับ สัตว์ก็ชื่อว่ายังไม่ตาย เมื่อชีวิตดับลงแล้ว สัตว์ก็ชื่อว่าตายแล้ว อันลักษณะของชีวิตนี้ เป็นของไม่คงที่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน ย่อมหมดเปลืองไปตามวันคืนที่ล่วงไป แม้ว่าชีวิตจะดับเหมือนกันหมดก็จริง แต่ก็มีข้อแตกต่างกัน กล่าวคือชีวิตของคนบางคนยืนยาว ชีวิตของบางคนเกิดมายังไม่ทันไรก็ตายเสียแล้ว แต่การที่ชีวิตจะยาวหรือสั้นนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ใครๆ จะนึกปรารถนาเอาได้ตามใจตนเอง เพราะเป็นเรื่องของกุศลและอกุศล เช่น ชีวิตของคนบางคนเศร้าหมองก็มี ผ่องใสก็มี ขมขื่นก็มี สดชื่นก็มี ทั้งนี้ก็เป็นเพราะความประพฤติเรียบร้อยดีงามหรือความประพฤติไม่ดีไม่งาม ด้วยเหตุนี้เองชีวิตจึงจัดว่าเป็นของหาแก่นสารมิได้
ร่างกาย ได้แก่ อวัยวะน้อยใหญ่ความกันเข้าเป็นอัตภาพ เรียกตามบัญญัติว่า สัตว์บ้าง บุคคลบ้าง อันร่างกายนี้เป็นของไม่ถาวร พอเกิดขึ้นแล้วก็ตกอยู่ใต้อำนาจของชราพยาธิมรณะชราทำให้แก่ให้ทรุดโทรม ทุพพลภาพ ความแก่ความเจ็บความตายเป็นภัยที่ใครๆ นี้ไม่สามารถจะหนีพ้นได้ เพราะเป็นตัวทุกข์ประจำสังขาร ยังเป็นสังขารอยู่ตราบใด ก็ต้องประสบทุกข์ภัยเหล่านี้ตราบนั้น ด้วยเหตุนี้ ร่างกายจึงเป็นสิ่งที่หาสาระแก่นสาร อะไรไม่ได้เลย
ทรัพย์สมบัติ ได้แก่ บรรดาเครื่องอุปโภคบริโภคทั้งหมด อันเป็นอุปการะแก่ชีวิตและร่างกาย ขึ้นชื่อว่าทรัพย์สมบัติย่อมเป็นของที่ทุกคนปรารถนา เพราะผู้มีทรัพย์มากก็มีสุขมาก ผู้มีทรัพย์น้อยก็มีสุขน้อย ด้วยเหตุนี้เองทุกคนจึงกล้าลงทุนลงแรงและพากเพียรพยายามประกอบงานโดยไม่เห็น แก่ความเหนื่อยเมื่อยล้า แต่ทรัพย์สมบัติเหล่านี้ล้วนเป็นของไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นสิ่งสมมติในโลกใบนี้เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ ทรัพย์สมบัติจึงจัดเป็นอสาระหาแก่นสารอะไรไม่ได้เลย
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ทรงตรัสสิ่งที่เป็นสาระหรือคุณภาพแห่งชีวิตอันแท้จริง ไว้ 5 ประการ คือ
1.ศรัทธา หมายถึง ความเชื่อต่อสิ่งที่ควรเชื่อโดยใช้ปัญญาคอยควบคุม สิ่งที่ควรเชื่อนั้นคือเชื่ออะไร? ในทางพระพุทธศาสนาท่านสอนให้เชื่อกรรมคือการกระทำของตนเอง คือ เชื่อว่าทำดีให้ผลดีเป็นความสุข ทำชั่วให้ผลเป็นความทุกข์ เป็นต้น
2.ศีล หมายถึง การรักษามารยาททางกายและวาจาให้เรียบร้อยดีงาม เว้นจากการเบียดเบียนกันและกันด้วยกายวาจา
3.สุ ตะ หมายถึง การสดับตรับฟังตลอดจนถึงการอ่าน บ้านเมืองของเราจะเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าได้ก็ต้องอาศัยพลเมืองมีความรู้มี คุณธรรม ฟังอ่านในสิ่งที่เป็นประโยชน์ แล้วนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
4.จา คะ หมายถึง การเสียสละทรัพย์สมบัติของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น และเสียสละ คือ ลดละเลิก อารมณ์โลภ อารมณ์โกรธ อารมณ์หลง อันเป็นกิเลสภายในใจ
5. ปัญญา หมายถึง ความรอบรอบรู้เฉลียวฉลาด ปัญญานี้นับว่า เป็นคุณธรรมสำคัญที่สุด มีศรัทธาความเชื่อ แต่ปราศจากปัญญาก็ถือว่าเข้าข่ายงมงาย รักษาศีลโดยปราศจากปัญญาก็รักษาอย่างไม่ถูกต้อง ดังนั้นปัญญาจึงนับว่าสำคัญยิ่งทั้งในทางโลกและทางธรรม ทำให้ชีวิตมีแก่นสารสาระอย่างแท้จริง
คุณธรรมทั้ง 5 ประการ ดังกล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่มีสาระ บุคคลใดสามารถทำให้เกิดมีขึ้นในตน บุคคลนั้นย่อมสามารถทำตนให้มีสาระแก่นสาร มีคุณภาพที่ดี ย่อมประสบความสงบร่มเย็นทั้งในโลกนี้และในโลกหน้า ท่านสาธุชนทั้งหลาย จงอย่าเสียเวลากับสิ่งที่ไม่เป็นแก่นสารสาระเลย รีบหันมายึดเอาสิ่งที่เป็นแก่นสารสาระตามหลักทางพระพุทธศาสนา จะทำให้ชีวิตของท่านทั้งหลายมีคุณ ภาพที่ดี มีประโยชน์แก่ตนเองและสังคม และเป็นการปฏิบัติธรรมทางศาสนาอย่างแท้จริง
พระเทพคุณาภรณ์(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. ๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
watdevaraj@hotmail.com 02-281-2430
วันเสาร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2554
เคล็ดลับความสุข khaosod
เคล็ดลับความสุข
คอลัมน์ ศาลาวัด
มนุษย์ เราทุกคนล้วนอยากมีชีวิตที่ดี และมีความสุขด้วยกัน ทั้งนั้น แต่น่าแปลกว่า ในขณะที่เราต้องการความสุข หรือ ความสบายกายสบายใจ มนุษย์เรากลับดำเนินชีวิตที่พาตัวเราเองไปสู่หนทางแห่งความทุกข์เสียเป็น ส่วนใหญ่ และมีทุกข์ไม่จบสิ้น
ในทางพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงมีแนวทางให้พุทธศาสนิกชนได้เลือกปฏิบัติ
เป็น "เคล็ดลับแห่งความสุข" ที่แม้มิใช่ธรรมะโดยตรง แต่ก็เป็นกลวิธีที่เราทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสุขในเบื้องต้น
1.ต้อง รู้จักการเป็นผู้ให้ พระพุทธเจ้าบอกว่า "ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้" นั่นหมายความว่า ใครก็ตามที่เป็นผู้ให้ ย่อมสร้างไมตรีให้เกิดขึ้นในใจของผู้รับ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี และเป็นมิตรต่อกัน
2.หากัลยาณมิตร การมีเพื่อนที่ดี ย่อมทำให้ชีวิตของเรามีความสุขและมีความหมายยิ่งขึ้น เพราะอย่างน้อยเมื่อเราประสบความสำเร็จ ก็มีเพื่อนร่วมแสดงความยินดีด้วยอย่างจริงใจ หรือหากผิดหวัง พลาดพลั้งในชีวิตกัลยาณมิตรก็จะช่วยปลุกปลอบให้กำลังใจ หรือคอยแนะนำช่วยเหลือ
3.ใช้ชีวิตเรียบง่าย ต้องรู้จักประมาณตนในทุกเรื่อง อย่าตกเป็นทาสของลัทธิบริโภคนิยม ที่ต้องวิ่งตามโลกไม่ได้หยุดได้หย่อน เพราะจะทำให้เราเหนื่อยเกินไป และสร้างความท้อแท้ให้แก่ชีวิตได้ง่าย
4.คาดหวังให้น้อยลง ชีวิตคนเราที่เป็นทุกข์สารพัดทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการคาดหวัง ความคาดหวังเหล่านี้ทำให้เราต้องพบกับความผิดหวังอยู่เสมอ ดังนั้น จงตั้งความหวัง ในสิ่งที่เป็นไปได้ และไม่ยากจนเกินความสามารถของเรา หากไม่ได้ดังหวังก็ต้องหัดปลงเสียบ้าง
5.ลดความโกรธหรือความเกลียด ที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ให้น้อยลง ด้วยการอย่ามัวแต่เพ่งจับผิด แต่ให้ใช้หลักเมตตาและให้อภัย โดยเฉพาะกับคนหรือสัตว์ หรือหากยังทำใจเมตตาไม่ได้ อย่างน้อยก็ให้วางเฉย
6.จงรักและพอใจงาน ที่ทำ การที่เราจะรักงานที่เราทำได้ เราจะต้องพยายามศึกษาหาความรู้ในงานของเรา เพื่อให้รู้จักงานของเราอย่างถ่องแท้ จนพัฒนางานให้ก้าวหน้า อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จและความภาคภูมิใจให้แก่ตัวเราเองได้
7.ทำตน ใฝ่รู้อยู่เสมอ เช่น อ่านหนังสือทุกชนิด เรียนคอมพิวเตอร์ อบรมภาษา ฯลฯ เพราะจะทำให้เราไม่ล้าสมัย หรือตกยุค แต่จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวาอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นคนอมทุกข์ เหงาหงอย เพราะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับใครก็ได้
เคล็ดลับแห่งความสุข เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ยาก แต่สิ่งสำคัญ คือ ควรที่จะเริ่มต้นทำความตั้งใจเสียแต่บัดนี้
คอลัมน์ ศาลาวัด
มนุษย์ เราทุกคนล้วนอยากมีชีวิตที่ดี และมีความสุขด้วยกัน ทั้งนั้น แต่น่าแปลกว่า ในขณะที่เราต้องการความสุข หรือ ความสบายกายสบายใจ มนุษย์เรากลับดำเนินชีวิตที่พาตัวเราเองไปสู่หนทางแห่งความทุกข์เสียเป็น ส่วนใหญ่ และมีทุกข์ไม่จบสิ้น
ในทางพุทธศาสนา พระพุทธองค์ทรงมีแนวทางให้พุทธศาสนิกชนได้เลือกปฏิบัติ
เป็น "เคล็ดลับแห่งความสุข" ที่แม้มิใช่ธรรมะโดยตรง แต่ก็เป็นกลวิธีที่เราทุกคนสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อให้เกิดความสุขในเบื้องต้น
1.ต้อง รู้จักการเป็นผู้ให้ พระพุทธเจ้าบอกว่า "ผู้ให้ ย่อมผูกไมตรีไว้ได้" นั่นหมายความว่า ใครก็ตามที่เป็นผู้ให้ ย่อมสร้างไมตรีให้เกิดขึ้นในใจของผู้รับ ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี และเป็นมิตรต่อกัน
2.หากัลยาณมิตร การมีเพื่อนที่ดี ย่อมทำให้ชีวิตของเรามีความสุขและมีความหมายยิ่งขึ้น เพราะอย่างน้อยเมื่อเราประสบความสำเร็จ ก็มีเพื่อนร่วมแสดงความยินดีด้วยอย่างจริงใจ หรือหากผิดหวัง พลาดพลั้งในชีวิตกัลยาณมิตรก็จะช่วยปลุกปลอบให้กำลังใจ หรือคอยแนะนำช่วยเหลือ
3.ใช้ชีวิตเรียบง่าย ต้องรู้จักประมาณตนในทุกเรื่อง อย่าตกเป็นทาสของลัทธิบริโภคนิยม ที่ต้องวิ่งตามโลกไม่ได้หยุดได้หย่อน เพราะจะทำให้เราเหนื่อยเกินไป และสร้างความท้อแท้ให้แก่ชีวิตได้ง่าย
4.คาดหวังให้น้อยลง ชีวิตคนเราที่เป็นทุกข์สารพัดทุกวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากการคาดหวัง ความคาดหวังเหล่านี้ทำให้เราต้องพบกับความผิดหวังอยู่เสมอ ดังนั้น จงตั้งความหวัง ในสิ่งที่เป็นไปได้ และไม่ยากจนเกินความสามารถของเรา หากไม่ได้ดังหวังก็ต้องหัดปลงเสียบ้าง
5.ลดความโกรธหรือความเกลียด ที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ให้น้อยลง ด้วยการอย่ามัวแต่เพ่งจับผิด แต่ให้ใช้หลักเมตตาและให้อภัย โดยเฉพาะกับคนหรือสัตว์ หรือหากยังทำใจเมตตาไม่ได้ อย่างน้อยก็ให้วางเฉย
6.จงรักและพอใจงาน ที่ทำ การที่เราจะรักงานที่เราทำได้ เราจะต้องพยายามศึกษาหาความรู้ในงานของเรา เพื่อให้รู้จักงานของเราอย่างถ่องแท้ จนพัฒนางานให้ก้าวหน้า อันจะนำมาซึ่งความสำเร็จและความภาคภูมิใจให้แก่ตัวเราเองได้
7.ทำตน ใฝ่รู้อยู่เสมอ เช่น อ่านหนังสือทุกชนิด เรียนคอมพิวเตอร์ อบรมภาษา ฯลฯ เพราะจะทำให้เราไม่ล้าสมัย หรือตกยุค แต่จะรู้สึกกระปรี้กระเปร่า มีชีวิตชีวาอยู่ตลอดเวลา ไม่เป็นคนอมทุกข์ เหงาหงอย เพราะมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เข้ากับใครก็ได้
เคล็ดลับแห่งความสุข เป็นเรื่องง่ายๆ ไม่ยาก แต่สิ่งสำคัญ คือ ควรที่จะเริ่มต้นทำความตั้งใจเสียแต่บัดนี้
ลมปาก khaosod
ลมปาก
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
บรรดา อวัยวะของคนเรานั้น เมื่อพูดถึงความสำคัญก็สำคัญทุกอย่าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากนั้นคือปาก ปากมีหน้าที่เป็นกองสื่อสารอย่างหนึ่ง มีหน้าที่เป็นที่ลำเลียงอย่างหนึ่ง เพราะเราจะรู้ความประสงค์หรือเรื่องราวของกันและกันได้ก็ต้องอาศัยปากเป็น กองสื่อสารให้ ส่งภาษาให้กันฟังรู้เรื่อง และเราเจริญเติบโตเป็นผู้เป็นคนก็ต้องอาศัยปากกินอาหารลำเลียงส่งอาหารเข้า ไปหล่อเลี้ยงร่างกายหล่อเลี้ยงชีวิต
ข้อว่าปากเป็นกองสื่อสารคือทำ หน้าที่ติดต่อให้ถึงกัน ก็คือทำหน้าที่พูดส่งภาษาให้กันฟัง ซึ่งมีทั้งดีทั้งร้าย โดยมีลักษณะเป็นยอดอาวุธ เมื่อกล่าวถึงอาวุธแล้ว อาวุธใดๆ ก็ตามในโลกนี้ จะวิเศษล้ำเลิศไปกว่าอาวุธคือปากเป็นไม่มี เราจะใช้พูดให้เป็นหรือให้ตายก็ได้ ลิ้นคนมักตัดคอคน ลิ้นคนทำคนบาดเจ็บมากกว่าดาบ บาดแผลเกิดขึ้นแล้วยังมีวันหาย แต่ความเจ็บใจเพราะลิ้นบาดนั้นยากมากที่จะหาย คำสั่งคำเดียวออกจากปลายลิ้น ย่อมเป็นยมราชแห่งชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ พูดสั้นๆ จะตายก็อยู่ที่ปลายลิ้น จะมีศรีสง่าก็อยู่ที่ปลายลิ้น แม้จะผูกมิตรพวกพ้องไว้ได้ก็อยู่ที่ปลายลิ้น
เมื่อกล่าวถึงลมแล้ว ลมมีอยู่สองอย่างคือ
1. ลมบก เช่น ลมทะเล ลมใต้ฝุ่น เป็นต้น
2. ลมปาก ปากของคนเรานั้นถือว่าเป็นยอดลม ลมที่เขาร่ำลือกันว่าร้ายแรงหนักหนา สามารถพัดพาเอาอาคารบ้านเรือนให้ปลิวกระจุยกระจายไปได้ แต่ก็ยังสู้ลมปากไม่ได้ ลมปากนี้ถึงบทดีก็ดีเหลือหลาย ถึงบทร้ายก็ร้ายฉกาจฉกรรจ์ ลมปากดีเปล่งออกมาแม้เพียงคำเดียวก็มีค่าควรเมืองเกิดเป็นเงินเป็นทอง สามารถให้คนมีความรักใคร่เคารพนับถือกัน ให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้ากัน และสามารถพัดให้คนวิวาทกันกลับเป็นมิตรกันได้ ส่วนลมปากพ่นพิษออกมาแม้เพียงคำเดียว สามารถทำให้เกิดการทะเลาะกัน ไม่สามัคคีกัน ฉะนั้นลมนอกที่ว่าแรงยังสู้ลมปากคนไม่ได้
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปากของคนเราไว้ 3 ประเภท คือ
1. คูถภาณี คนปากเหม็น คือ คนที่เห็นแก่ตัวเอง ไม่เห็นแก่ส่วนรวม เห็นแก่ลาภเล็กๆ น้อยๆ เมื่อถูกถาม แม้ไม่รู้ก็บอกว่ารู้ หรือรู้อยู่ก็บอกว่าไม่รู้ เป็นคนพูดไม่จริงทั้งๆ ที่รู้
2. ปุปผภาณี คนปากหอม คือ คนที่ไม่เห็นแก่ตัว และไม่เห็นแก่ลาภสักการะเพียงเล็กน้อย เมื่อถูกถามแม้ไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ รู้เห็นอย่างไรก็บอกไปอย่างนั้น
3. มธุภาณี คนปากหวาน คือ คนพูดวาจาดีงามไพเราะเพราะพริ้งอ่อนหวานสละสลวย ชวนให้คนอื่นชอบฟัง รักใคร่พอใจ
อีก ประเภทหนึ่ง คนปากอัปมงคล ซึ่ง ชอบพูดแต่วาจาทุพภาษิต คือพูดชั่วฆ่าตัวเอง เช่น พูดเกินตัว พูดแข็งกระด้าง พูดกระทบกระแทก พูดเหน็บแนม พูดเสียดสีให้เขาได้รับความเจ็บใจ พูดยุยงให้เขาแตก แยกกัน เป็นต้น คนเช่นนี้ ปากเป็นอัปมงคล เป็นผู้ไม่ควรจะสนทนาปราศรัย ลักษณะปากอัปมงคลนี้ คือ ปากทุจริตนั่นเอง คนชนิดนี้เมื่อจะกล่าวแล้วมี 4 จำพวก คือ
1. คนปากปด คือ ชอบพูดแต่คำไม่จริง เช่น พูดคำจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง พูดหลอกลวงบ้าง พูดอำพรางอันเป็นการหักล้างประโยชน์อันจะพึงได้ ท่านแสดงเหตุแห่งการพูดปดไว้ถึง 9 ประการ คือ
1.1. พูดปดเพราะจะให้ต้นพ้นภัย
1.2. พูดปดเพราะจะเลี่ยงเอาชีวิตรอด
1.3. พูดปดเพราะจะเปลื้องตนจากการเบียดเบียนของมนุษย์
1.4. พูดปดเพราะจะเอาชนะ
1.5. พูดปดเพราะไว้อำนาจ
1.6. พูดปดเพราะจะแก้ความมัวหมองของตนเอง
1.7. พูดปดเพราะจะถูกจำจอง
1.8. พูดปดเพราะพูดเหลาะแหละ
1.9. พูดปดเพราะจะให้คนตั้งอยู่ในความดี
2. คนปากส่อเสียด คือ คนชอบพูดยุยงให้คนสองฝ่ายแตกร้าวกัน
3. คนปากหยาบ คือ คนชอบพูดให้ผู้ถูกว่าได้รับความเจ็บใจ
4. คนปากเพ้อเจ้อ คือ คนชอบพูดเหลวไหล พูดฟุ้งเฟ้อเลื่อนลอยไม่มีน้ำหนัก ไม่รู้จักเวลาที่ควรพูด ไม่พูดอาศัยธรรม อาศัยหลักการหรือหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น ท่านสาธุชนทั้งหลายควรสำรวมระวังในการที่จะพูด และควรพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์ คำที่สร้างความสมานฉันท์ คำที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ก็จะทำให้ครอบครัวก็ดี สังคมก็ดี แม้แต่ประเทศชาติของเราก็ดี จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
บรรดา อวัยวะของคนเรานั้น เมื่อพูดถึงความสำคัญก็สำคัญทุกอย่าง แต่มีสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากนั้นคือปาก ปากมีหน้าที่เป็นกองสื่อสารอย่างหนึ่ง มีหน้าที่เป็นที่ลำเลียงอย่างหนึ่ง เพราะเราจะรู้ความประสงค์หรือเรื่องราวของกันและกันได้ก็ต้องอาศัยปากเป็น กองสื่อสารให้ ส่งภาษาให้กันฟังรู้เรื่อง และเราเจริญเติบโตเป็นผู้เป็นคนก็ต้องอาศัยปากกินอาหารลำเลียงส่งอาหารเข้า ไปหล่อเลี้ยงร่างกายหล่อเลี้ยงชีวิต
ข้อว่าปากเป็นกองสื่อสารคือทำ หน้าที่ติดต่อให้ถึงกัน ก็คือทำหน้าที่พูดส่งภาษาให้กันฟัง ซึ่งมีทั้งดีทั้งร้าย โดยมีลักษณะเป็นยอดอาวุธ เมื่อกล่าวถึงอาวุธแล้ว อาวุธใดๆ ก็ตามในโลกนี้ จะวิเศษล้ำเลิศไปกว่าอาวุธคือปากเป็นไม่มี เราจะใช้พูดให้เป็นหรือให้ตายก็ได้ ลิ้นคนมักตัดคอคน ลิ้นคนทำคนบาดเจ็บมากกว่าดาบ บาดแผลเกิดขึ้นแล้วยังมีวันหาย แต่ความเจ็บใจเพราะลิ้นบาดนั้นยากมากที่จะหาย คำสั่งคำเดียวออกจากปลายลิ้น ย่อมเป็นยมราชแห่งชีวิตและทรัพย์สินของมนุษย์ พูดสั้นๆ จะตายก็อยู่ที่ปลายลิ้น จะมีศรีสง่าก็อยู่ที่ปลายลิ้น แม้จะผูกมิตรพวกพ้องไว้ได้ก็อยู่ที่ปลายลิ้น
เมื่อกล่าวถึงลมแล้ว ลมมีอยู่สองอย่างคือ
1. ลมบก เช่น ลมทะเล ลมใต้ฝุ่น เป็นต้น
2. ลมปาก ปากของคนเรานั้นถือว่าเป็นยอดลม ลมที่เขาร่ำลือกันว่าร้ายแรงหนักหนา สามารถพัดพาเอาอาคารบ้านเรือนให้ปลิวกระจุยกระจายไปได้ แต่ก็ยังสู้ลมปากไม่ได้ ลมปากนี้ถึงบทดีก็ดีเหลือหลาย ถึงบทร้ายก็ร้ายฉกาจฉกรรจ์ ลมปากดีเปล่งออกมาแม้เพียงคำเดียวก็มีค่าควรเมืองเกิดเป็นเงินเป็นทอง สามารถให้คนมีความรักใคร่เคารพนับถือกัน ให้อยู่เย็นเป็นสุขทั่วหน้ากัน และสามารถพัดให้คนวิวาทกันกลับเป็นมิตรกันได้ ส่วนลมปากพ่นพิษออกมาแม้เพียงคำเดียว สามารถทำให้เกิดการทะเลาะกัน ไม่สามัคคีกัน ฉะนั้นลมนอกที่ว่าแรงยังสู้ลมปากคนไม่ได้
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงปากของคนเราไว้ 3 ประเภท คือ
1. คูถภาณี คนปากเหม็น คือ คนที่เห็นแก่ตัวเอง ไม่เห็นแก่ส่วนรวม เห็นแก่ลาภเล็กๆ น้อยๆ เมื่อถูกถาม แม้ไม่รู้ก็บอกว่ารู้ หรือรู้อยู่ก็บอกว่าไม่รู้ เป็นคนพูดไม่จริงทั้งๆ ที่รู้
2. ปุปผภาณี คนปากหอม คือ คนที่ไม่เห็นแก่ตัว และไม่เห็นแก่ลาภสักการะเพียงเล็กน้อย เมื่อถูกถามแม้ไม่รู้ก็บอกว่าไม่รู้ รู้เห็นอย่างไรก็บอกไปอย่างนั้น
3. มธุภาณี คนปากหวาน คือ คนพูดวาจาดีงามไพเราะเพราะพริ้งอ่อนหวานสละสลวย ชวนให้คนอื่นชอบฟัง รักใคร่พอใจ
อีก ประเภทหนึ่ง คนปากอัปมงคล ซึ่ง ชอบพูดแต่วาจาทุพภาษิต คือพูดชั่วฆ่าตัวเอง เช่น พูดเกินตัว พูดแข็งกระด้าง พูดกระทบกระแทก พูดเหน็บแนม พูดเสียดสีให้เขาได้รับความเจ็บใจ พูดยุยงให้เขาแตก แยกกัน เป็นต้น คนเช่นนี้ ปากเป็นอัปมงคล เป็นผู้ไม่ควรจะสนทนาปราศรัย ลักษณะปากอัปมงคลนี้ คือ ปากทุจริตนั่นเอง คนชนิดนี้เมื่อจะกล่าวแล้วมี 4 จำพวก คือ
1. คนปากปด คือ ชอบพูดแต่คำไม่จริง เช่น พูดคำจริงบ้าง ไม่จริงบ้าง พูดหลอกลวงบ้าง พูดอำพรางอันเป็นการหักล้างประโยชน์อันจะพึงได้ ท่านแสดงเหตุแห่งการพูดปดไว้ถึง 9 ประการ คือ
1.1. พูดปดเพราะจะให้ต้นพ้นภัย
1.2. พูดปดเพราะจะเลี่ยงเอาชีวิตรอด
1.3. พูดปดเพราะจะเปลื้องตนจากการเบียดเบียนของมนุษย์
1.4. พูดปดเพราะจะเอาชนะ
1.5. พูดปดเพราะไว้อำนาจ
1.6. พูดปดเพราะจะแก้ความมัวหมองของตนเอง
1.7. พูดปดเพราะจะถูกจำจอง
1.8. พูดปดเพราะพูดเหลาะแหละ
1.9. พูดปดเพราะจะให้คนตั้งอยู่ในความดี
2. คนปากส่อเสียด คือ คนชอบพูดยุยงให้คนสองฝ่ายแตกร้าวกัน
3. คนปากหยาบ คือ คนชอบพูดให้ผู้ถูกว่าได้รับความเจ็บใจ
4. คนปากเพ้อเจ้อ คือ คนชอบพูดเหลวไหล พูดฟุ้งเฟ้อเลื่อนลอยไม่มีน้ำหนัก ไม่รู้จักเวลาที่ควรพูด ไม่พูดอาศัยธรรม อาศัยหลักการหรือหลักฐานใดๆ ทั้งสิ้น
เพราะฉะนั้น ท่านสาธุชนทั้งหลายควรสำรวมระวังในการที่จะพูด และควรพูดแต่คำที่เป็นประโยชน์ คำที่สร้างความสมานฉันท์ คำที่ประกอบไปด้วยคุณธรรม ก็จะทำให้ครอบครัวก็ดี สังคมก็ดี แม้แต่ประเทศชาติของเราก็ดี จะมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองต่อไป
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
วันศุกร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2554
พุทธโอสถ khaosod
พุทธโอสถ
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
ใน โลกนี้ก็ยังมีโรคอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจะรักษาด้วยวิธีสมัยใหม่หรือ กินยาอย่างไรก็ไร้ผล จนทำให้ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดเกิดความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ
โรคที่ว่าเขาบอกว่าเป็นโรคเกิดจากกิเลสตัณหา ยังทำให้เกิดโรคทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด
ตำรับ ยาแก้โรคดังกล่าว เรียกว่า พุทธโอสถ ช่วยบรรเทาอาการของโรคหรือถ้าใช้อย่างสม่ำเสมอ ร่างกายก็อาจสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้เอง จนโรคร้ายหายไปได้ในที่สุด
ยา พุทธโอสถ เป็นตำรับยาของพระพุทธองค์ ที่เก่าแก่และค้นพบมาแล้วกว่า 2,500 ปี เป็นยาวิเศษที่มีหลายขนาน และหลายสูตร สุดแต่ผู้ป่วยต้องการรักษาโรคใด ดังได้ยกตัวอย่าง เช่น
โรคอิจฉาริษยา โรคนี้เมื่อเกิดกับผู้ใด จะเกิดความร้อนรุ่ม ธาตุไฟในตัวจะเพิ่มมากกว่าปกติ อาการของโรคนี้มีหลายระดับ และแต่ละคนก็จะแสดงออกไม่เหมือนกัน
ทางแก้และยารักษา ส่วนใหญ่ผู้ที่เกิดโรคอิจฉาริษยานั้น มักอยู่บนสมมติฐาน 2 ประการ คือ
ประการแรกเกิดจากความน้อยเนื้อต่ำใจ คิดว่าตัวเองด้อยกว่าผู้อื่น เช่น จนกว่า สวยน้อยกว่า เก่งน้อยกว่า ฯลฯ
ประการ ที่สอง เกิดจากการคิดว่าตัวเองดีกว่าผู้อื่น แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับหรือได้ในสิ่งที่ตนเองคิดว่าน่าจะต้องได้มากกว่า ผู้อื่น เช่น คิดว่าตัวเองทำงานเก่ง ฉลาด น่าจะต้องได้รับตำแหน่งที่คาดหวัง แต่กลับไม่ได้
ดังนั้น ตำรับยาที่จะแก้โรคนี้ได้ ต้องใช้สูตรที่ชื่อว่า ความเมตตา คือ การรู้จักรักตนเองและผู้อื่น ให้เป็น มีความปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ที่ทำงานหรือแม้แต่กับศัตรู
วิธีใช้ เมื่อตื่นนอนทุกเช้า ให้รินความเมตตาออกมาจากใจ สัก 1 ช้อนโต๊ะแล้วกินก่อนอาหารเช้า จะทำให้เรามองโลกด้วยความสดชื่น ไม่ไปคอยจับผิดผู้อื่นให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจต่อกัน ทำอะไรกับใคร ก็จะทำด้วยความรัก
เพราะความเมตตาจะเป็นเหมือนน้ำที่ช่วยดับธาตุไฟ อันร้อนรุ่มกลุ้มใจให้ลดน้อยลง และหากจะให้หายเร็วยิ่งขึ้น อาจจะเพิ่มกลางวัน เย็น และก่อนนอนอีกครั้งละ 1 ช้อนชา พร้อมฝึกลมหายใจ ด้วยการหายใจเข้า หายใจออก คือ ให้เห็นแก่ตัวให้น้อยลง และเห็นแก่คนอื่นให้มากขึ้น
ไม่นานโรคอิจฉาริษยาก็จะลดน้อยถอยลงไป
พุทธ โอสถ สามารถทั้งแก้และกันโรคที่จะทำให้เกิดทุกข์ได้อย่างแท้จริง อยู่ที่ว่าเราจะเชื่อมั่นในยาขนานนี้แล้วปฏิบัติตาม หรือจะปล่อยให้โรคคุกคามเราต่อไป
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
ใน โลกนี้ก็ยังมีโรคอีกจำนวนไม่น้อยที่ไม่สามารถจะรักษาด้วยวิธีสมัยใหม่หรือ กินยาอย่างไรก็ไร้ผล จนทำให้ผู้ป่วยและคนใกล้ชิดเกิดความทุกข์ทรมานทั้งร่างกายและจิตใจ
โรคที่ว่าเขาบอกว่าเป็นโรคเกิดจากกิเลสตัณหา ยังทำให้เกิดโรคทุกข์ไม่มีที่สิ้นสุด
ตำรับ ยาแก้โรคดังกล่าว เรียกว่า พุทธโอสถ ช่วยบรรเทาอาการของโรคหรือถ้าใช้อย่างสม่ำเสมอ ร่างกายก็อาจสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้เอง จนโรคร้ายหายไปได้ในที่สุด
ยา พุทธโอสถ เป็นตำรับยาของพระพุทธองค์ ที่เก่าแก่และค้นพบมาแล้วกว่า 2,500 ปี เป็นยาวิเศษที่มีหลายขนาน และหลายสูตร สุดแต่ผู้ป่วยต้องการรักษาโรคใด ดังได้ยกตัวอย่าง เช่น
โรคอิจฉาริษยา โรคนี้เมื่อเกิดกับผู้ใด จะเกิดความร้อนรุ่ม ธาตุไฟในตัวจะเพิ่มมากกว่าปกติ อาการของโรคนี้มีหลายระดับ และแต่ละคนก็จะแสดงออกไม่เหมือนกัน
ทางแก้และยารักษา ส่วนใหญ่ผู้ที่เกิดโรคอิจฉาริษยานั้น มักอยู่บนสมมติฐาน 2 ประการ คือ
ประการแรกเกิดจากความน้อยเนื้อต่ำใจ คิดว่าตัวเองด้อยกว่าผู้อื่น เช่น จนกว่า สวยน้อยกว่า เก่งน้อยกว่า ฯลฯ
ประการ ที่สอง เกิดจากการคิดว่าตัวเองดีกว่าผู้อื่น แต่กลับไม่ได้รับการยอมรับหรือได้ในสิ่งที่ตนเองคิดว่าน่าจะต้องได้มากกว่า ผู้อื่น เช่น คิดว่าตัวเองทำงานเก่ง ฉลาด น่าจะต้องได้รับตำแหน่งที่คาดหวัง แต่กลับไม่ได้
ดังนั้น ตำรับยาที่จะแก้โรคนี้ได้ ต้องใช้สูตรที่ชื่อว่า ความเมตตา คือ การรู้จักรักตนเองและผู้อื่น ให้เป็น มีความปรารถนาดีต่อตนเองและผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว ที่ทำงานหรือแม้แต่กับศัตรู
วิธีใช้ เมื่อตื่นนอนทุกเช้า ให้รินความเมตตาออกมาจากใจ สัก 1 ช้อนโต๊ะแล้วกินก่อนอาหารเช้า จะทำให้เรามองโลกด้วยความสดชื่น ไม่ไปคอยจับผิดผู้อื่นให้เกิดความขุ่นข้องหมองใจต่อกัน ทำอะไรกับใคร ก็จะทำด้วยความรัก
เพราะความเมตตาจะเป็นเหมือนน้ำที่ช่วยดับธาตุไฟ อันร้อนรุ่มกลุ้มใจให้ลดน้อยลง และหากจะให้หายเร็วยิ่งขึ้น อาจจะเพิ่มกลางวัน เย็น และก่อนนอนอีกครั้งละ 1 ช้อนชา พร้อมฝึกลมหายใจ ด้วยการหายใจเข้า หายใจออก คือ ให้เห็นแก่ตัวให้น้อยลง และเห็นแก่คนอื่นให้มากขึ้น
ไม่นานโรคอิจฉาริษยาก็จะลดน้อยถอยลงไป
พุทธ โอสถ สามารถทั้งแก้และกันโรคที่จะทำให้เกิดทุกข์ได้อย่างแท้จริง อยู่ที่ว่าเราจะเชื่อมั่นในยาขนานนี้แล้วปฏิบัติตาม หรือจะปล่อยให้โรคคุกคามเราต่อไป
ความสุข khaosod
ความสุข
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
เมื่อ พูดถึงความสุข เป็นสิ่งที่ทุกท่านทุกคนอยากจะมีอยากจะเป็น อยากจะครอบครองความสุขเอาไว้ ไม่อยากให้ความสุขจากไป แต่ไม่มีใครเลยมีความสุขฝ่ายเดียว ไม่เคยมีความทุกข์ และไม่เคยมีใครเลยมีความทุกข์อย่างเดียว ไม่เคยได้รับความสุข ทุกท่านทุกคนต่างก็มีความสุขความทุกข์กันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าใครจะทุกข์มากทุกข�น้อย สุขมากสุขน้อยกว่ากันเท่านั้นเอง
ใน ทางพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องของความสุขเอาไว้มากมาย และความสุขที่จะได้รับนั้น ต้องประกอบด้วยฐานะ 4 ประการ คือ
ประการ ที่ 1 สุขเกิดแต่การมีทรัพย์ เพราะทรัพย์เป็นเหตุให้ปลื้มใจ คือ ความสมบูรณ์ในปัจจัย 4 คนมีทรัพย์ย่อมได้รับความสุข แต่ถ้ามีทรัพย์ ไม่รู้ในการที่จะใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ ก็หาความสุขมิได้ มีแต่ความเดือดร้อน กังวลใจในการรักษาทรัพย์สมบัติที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น อีกทั้งไม่รู้วิธีการบริหารทรัพย์ ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ชอบ ทรัพย์นอกจากไม่เพิ่มพูนขึ้นแล้ว ยังจะไม่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ อีกด้วย
ประการ ที่ 2 สุขเกิดแต่การใช้จ่ายทรัพย์บริโภค ผู้ที่ไม่มีปัญญา ย่อมจับจ่ายใช้สอยทรัพย์โดยไม่คำนึงถึงความหมดเปลือง กล่าวคือการไม่รู้จักประมาณการใช้จ่ายทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สมบัติก็มีแต่อันจะต้องสิ้นไปหมดไป ถูกทำลายไปโดยปราศจากประโยชน์
ส่วน ผู้มีปัญญาย่อมใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ รู้จักประมาณในการใช้จ่าย รู้จักการบริหารในทรัพย์สมบัติของตน ให้เกิดประโยชน์ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย ให้เป็นไปแต่พอเหมาะพอควร ให้เกิดความพอดีกับกำลังทรัพย์ที่มีอยู่ ให้พอเหมาะกับรายได้ที่ตนได้รับ และให้เหลือพอที่จะอดออม เป็นทุนสะสมสำหรับชีวิตครอบครัว
ประการที่ 3 สุขเกิดแต่การไม่ต้องเป็นหนี้ หนี้คือสิ่งที่ตกค้างจะต้องชำระเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งแล้ว ทำให้เกิดความทุกข์อีกด้วย คนมีหนี้จะเกิดอาการหวาดผวา นอนไม่หลับ ฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ คนมีหนี้สินมากๆ สังคมจะขาดความเชื่อถือ ไม่เป็นที่ยอมรับ ยิ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาหรือตามที่กฎหมายกำหนด ก็จะกลายเป็นคนล้มละลาย เพราะฉะนั้น การไม่เป็นหนี้ใคร จึงเป็นความสุข
ประการ ที่ 4 สุขเกิดแต่การทำงานที่ปราศจากโทษ ผู้ที่ทำงานปราศจากโทษย่อมจะมีความสุข เพราะเป็นงานที่สุจริต ไม่ผิดต่อกฎหมาย ไม่ผิดต่อศีลธรรม ไม่เป็นที่เดือดร้อนแก่ใครๆ คนที่ทำงานที่ปราศจากโทษนั้น ย่อมได้รับความสุข ความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ เพราะไม่ต้องหวาดผวา ไม่เหมือนกับคนที่ทำงานทุจริต ผิดกฎหมาย ประกอบไปด้วยโทษ เขาย่อมหวาดกลัวในขณะที่ทำ และเดือดร้อนในขณะที่ทำเสร็จแล้ว
ความสุขดังกล่าวมา จะเกิดมีขึ้นได้ก็ต้องอาศัยความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันเพื่อช่วยกันสร้าง ประเทศชาติบ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรือง อย่าเอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนกันและกัน ให้คำนึงถึงส่วนรวมคือประเทศชาติเป็นสำคัญ เพราะเมื่อประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองแล้ว เราก็มีความสุข อยู่เย็นเป็นสุขโดยถ้วนหน้า
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
เมื่อ พูดถึงความสุข เป็นสิ่งที่ทุกท่านทุกคนอยากจะมีอยากจะเป็น อยากจะครอบครองความสุขเอาไว้ ไม่อยากให้ความสุขจากไป แต่ไม่มีใครเลยมีความสุขฝ่ายเดียว ไม่เคยมีความทุกข์ และไม่เคยมีใครเลยมีความทุกข์อย่างเดียว ไม่เคยได้รับความสุข ทุกท่านทุกคนต่างก็มีความสุขความทุกข์กันทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าใครจะทุกข์มากทุกข�น้อย สุขมากสุขน้อยกว่ากันเท่านั้นเอง
ใน ทางพระพุทธศาสนา องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนเรื่องของความสุขเอาไว้มากมาย และความสุขที่จะได้รับนั้น ต้องประกอบด้วยฐานะ 4 ประการ คือ
ประการ ที่ 1 สุขเกิดแต่การมีทรัพย์ เพราะทรัพย์เป็นเหตุให้ปลื้มใจ คือ ความสมบูรณ์ในปัจจัย 4 คนมีทรัพย์ย่อมได้รับความสุข แต่ถ้ามีทรัพย์ ไม่รู้ในการที่จะใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ ก็หาความสุขมิได้ มีแต่ความเดือดร้อน กังวลใจในการรักษาทรัพย์สมบัติที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น อีกทั้งไม่รู้วิธีการบริหารทรัพย์ ให้เป็นประโยชน์ในทางที่ชอบ ทรัพย์นอกจากไม่เพิ่มพูนขึ้นแล้ว ยังจะไม่เป็นประโยชน์ต่อคนอื่นๆ อีกด้วย
ประการ ที่ 2 สุขเกิดแต่การใช้จ่ายทรัพย์บริโภค ผู้ที่ไม่มีปัญญา ย่อมจับจ่ายใช้สอยทรัพย์โดยไม่คำนึงถึงความหมดเปลือง กล่าวคือการไม่รู้จักประมาณการใช้จ่ายทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สมบัติก็มีแต่อันจะต้องสิ้นไปหมดไป ถูกทำลายไปโดยปราศจากประโยชน์
ส่วน ผู้มีปัญญาย่อมใช้จ่ายทรัพย์ให้เป็นประโยชน์ รู้จักประมาณในการใช้จ่าย รู้จักการบริหารในทรัพย์สมบัติของตน ให้เกิดประโยชน์ ไม่ฟุ่มเฟือย ไม่สุรุ่ยสุร่าย ให้เป็นไปแต่พอเหมาะพอควร ให้เกิดความพอดีกับกำลังทรัพย์ที่มีอยู่ ให้พอเหมาะกับรายได้ที่ตนได้รับ และให้เหลือพอที่จะอดออม เป็นทุนสะสมสำหรับชีวิตครอบครัว
ประการที่ 3 สุขเกิดแต่การไม่ต้องเป็นหนี้ หนี้คือสิ่งที่ตกค้างจะต้องชำระเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งแล้ว ทำให้เกิดความทุกข์อีกด้วย คนมีหนี้จะเกิดอาการหวาดผวา นอนไม่หลับ ฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ คนมีหนี้สินมากๆ สังคมจะขาดความเชื่อถือ ไม่เป็นที่ยอมรับ ยิ่งไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามสัญญาหรือตามที่กฎหมายกำหนด ก็จะกลายเป็นคนล้มละลาย เพราะฉะนั้น การไม่เป็นหนี้ใคร จึงเป็นความสุข
ประการ ที่ 4 สุขเกิดแต่การทำงานที่ปราศจากโทษ ผู้ที่ทำงานปราศจากโทษย่อมจะมีความสุข เพราะเป็นงานที่สุจริต ไม่ผิดต่อกฎหมาย ไม่ผิดต่อศีลธรรม ไม่เป็นที่เดือดร้อนแก่ใครๆ คนที่ทำงานที่ปราศจากโทษนั้น ย่อมได้รับความสุข ความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ เพราะไม่ต้องหวาดผวา ไม่เหมือนกับคนที่ทำงานทุจริต ผิดกฎหมาย ประกอบไปด้วยโทษ เขาย่อมหวาดกลัวในขณะที่ทำ และเดือดร้อนในขณะที่ทำเสร็จแล้ว
ความสุขดังกล่าวมา จะเกิดมีขึ้นได้ก็ต้องอาศัยความสามัคคีร่วมมือร่วมใจกันเพื่อช่วยกันสร้าง ประเทศชาติบ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรือง อย่าเอารัดเอาเปรียบเบียดเบียนกันและกัน ให้คำนึงถึงส่วนรวมคือประเทศชาติเป็นสำคัญ เพราะเมื่อประเทศชาติเจริญรุ่งเรืองแล้ว เราก็มีความสุข อยู่เย็นเป็นสุขโดยถ้วนหน้า
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)