วันเสาร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554

มงคลแห่งความเจริญ khaosod

มงคลแห่งความเจริญ

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด


ใน มงคลสูตร 38 ประการ ที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสไว้ มงคลคาถาที่ 5 มีความว่า การให้ทาน การประพฤติเป็นธรรม การสงเคราะห์หมู่ญาติ การทำงานที่ไม่มีโทษ ทั้ง 4 ประการนี้เป็นอุดมมงคล มีอธิบายดังต่อไปนี้

คำ ว่า ทาน คือ การให้ ได้แก่ ความที่บุคคลมีเจตนาผ่องใสไม่โลภไม่ตระหนี่ รู้จักอารีเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจกว้างใหญ่ไพศาล สามารถนำสิ่งของของตนออกบริจาคเป็นทาน จำแนกออกเป็น 3 ประการ คือ อามิสทาน ธรรมทาน และอภัยทาน

อามิสทาน ได้แก่ การให้ด้วยอามิสคือสิ่งของ เช่น อาหาร น้ำดื่ม ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เป็นต้น

ธรรม ทาน ได้แก่ การให้ธรรมเป็นทาน คือ แนะนำสั่งสอนให้ผู้อื่นตั้งอยู่ในธรรมหรือกล่าวธรรมให้ผู้อื่นฟังด้วยจิต เป็นกุศล เพื่อหวังผลให้ผู้อื่นตั้งตนอยู่ในธรรม รู้ทั่วถึงธรรม อันจัดเป็นอุบายให้ดำรงชีวิตอยู่ในทางที่ชอบและประกอบในสัมมาปฏิบัติ เป็นการให้ที่มีผลมากกว่าการให้ทั้งปวง ดังพุทธพจน์ที่ว่า "การให้ธรรมเป็นทาน ย่อมชนะการให้ทั้งปวง"

อภัยทาน ได้แก่ การให้อภัย คือความเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีภัยในบุคคลและสัตว์ทั้งหลาย ด้วยการไม่ฆ่า ไม่ล้างผลาญเบียดเบียนชีวิต ทรัพย์สมบัติ และกรรมสิทธิ์ของกันและกัน ด้วยหวังผลคือความสุขอิสระในชีวิต ในสมบัติ และในกรรมสิทธิ์ของกันและกัน อันเป็นความผาสุกที่ทุกคนปรารถนา ดังพุทธพจน์ที่ว่า "ความไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน ย่อมอยู่เป็นสุขในโลก"

คำ ว่า ธรรมจริยา คือ การประพฤติธรรม คนที่มีธรรมจริยานั้นเรียกว่า ธรรมจารี ผู้ประพฤติธรรมเป็นปกติ การประพฤติธรรมพอสรุปได้เป็น 2 คือ

1.ประพฤติ เป็นธรรม หมายถึง ทำความประพฤติของตนให้ถูกต้องและให้ดียิ่งขึ้น เช่น คนเรียนหนังสือ ก็ให้เรียนให้ถูกให้ดี ทำค้าขายก็ทำให้ถูกให้ดี และพยายามทำให้ถูกให้ดีต่อๆ ไป

2.การประพฤติตามธรรม หมายถึง การฝึกอบรมตนตามแนวทางของธรรมะให้สูงขึ้นตามลำดับ เช่น ไม่เคยรักษาศีลก็ฝึกรักษาศีล ไม่เคยบำเพ็ญภาวนา ไม่เคยสวดมนต์ไหว้พระก็ฝึกทำ อย่างนี้เรียกว่าประพฤติตามธรรมคือการทำถูกทำดี ไม่ว่าใครจะอยู่ในหน้าที่การงานอย่างไร งานทุกอย่างย่อมต้องการความถูกต้องและความดีทั้งนั้น การทำให้ถูกทำให้ดีนั้นก็จะได้ผลดี

คำว่า การสงเคราะห์ญาติ หมายถึง การรวมน้ำใจญาติให้เป็นปึกแผ่น ไม่ให้แตกแยกกระจัด กระจายกัน วิธีสงเคราะห์ก็ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ประการ คือ

1.การให้ปันสิ่งของ

2.การพูดจาแต่คำน่ารัก

3.การบำเพ็ญประโยชน์แก่กัน

4.การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย

คำว่า งานที่ไม่มีโทษ หมายถึง

1.งานทำความดีทางกาย เรียกว่า กายสุจริต

2.งานทำความดีทางวาจา เรียกว่า วจีสุจริต

3.งานทำความดีทางใจ เรียกว่า มโนสุจริต

งาน ที่ไม่มีโทษ ก็คืองานทั้ง 3 ทางที่ว่านี้ เป็นงานที่ไม่ผิดกฎหมาย ไม่ผิดประเพณี ไม่ผิดศีลและไม่ผิดธรรม ถ้างานใดไม่ผิดทั้ง 4 อย่างนี้ก็จัดเป็นการงานที่ไม่มีโทษ เป็นงานสูงสุดหาที่ติไม่ได้ทั้งทางโลกและทางธรรม งานที่ไม่มีโทษทำให้เกิดผลประโยชน์เป็นบุญอยู่เนืองนิตย์ บุคคลผู้บำเพ็ญ เมื่อได้แลเห็นกิจที่ตนทำสำเร็จประโยชน์แก่ผู้อื่น ก็ย่อมชุ่มชื่นเบิกบานใจได้โสมนัส เพราะรู้สึกว่ากิจที่ตนทำไม่ไร้ผล

เพราะ ฉะนั้น บุคคลผู้ประพฤติปฏิบัติตามมงคลแห่งความเจริญ 4 ประการ คือการให้ การบริจาคด้วยความยินดี การประพฤติธรรม ด้วยการทำตนให้เป็นชาวพุทธ การสงเคราะห์ญาติตามกำลัง และขวนขวายประกอบการงานที่ไม่มีโทษ ดังกล่าวมา ชื่อว่าได้ยึดถือประโยชน์อันเป็นมงคลคือเหตุแห่งความเจริญก้าวหน้าในชีวิต ไว้ได้แล

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

พระพรหมของลูก khaosod

พระพรหมของลูก

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด


บุคคลผู้ที่เป็นบิดามารดา สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสยกย่องไว้ในพรหมสูตร แห่งติกนิบาตและจตุกกนิบาต อัง คุตตรนิกายว่า "พฺรหฺมาติ ภิกฺขเว มาตาปิตูนเมตํ อธิวจนํ เป็นต้น แปลความว่า ภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหม นั่น เป็นชื่อของบิดามารดา เพราะบิดามารดา เป็นผู้มีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยงดูและเป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ดังนี้"

พระคุณ ของพ่อแม่มีมากมาย แต่จะขอยกพระคุณของพ่อแม่ ที่ท่านได้พรรณนาไว้ว่า เป็นพระพรหมของบุตรทั้งหลาย คือ พ่อแม่มีคุณธรรมเหมือนกับพระพรหม ที่เรียกว่า พรหมวิหารธรรม แปลว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างประเสริฐ เป็นเครื่องอยู่ของพระพรหม มี 4 ประการ คือ

1. เมตตา มีความเอ็นดู ปรารถนาให้บุตรธิดามีความสุข ความเจริญ

2. กรุณา มีความสงสาร ต้องการจะให้บุตรธิดาที่มีความทุกข์พ้นจากความทุกข์

3. มุทิตา แสดงความยินดีด้วยความจริงใจเมื่อบุตรธิดาได้ดีมีสุข

4. อุเบกขา วางเฉย ไม่ขวนขวายกังวล เมื่อทราบว่าบุตรธิดาเติบใหญ่ มีงานทำเลี้ยงตัวเองและครอบครัวเป็นหลักฐานแล้ว

หน้าที่ของพระพรหม คือ พ่อแม่ที่มีต่อบุตรธิดา มีอยู่ด้วยกัน 5 ประการ คือ

1. ห้ามจากความชั่ว โดยการตักเตือนแนะนำพร่ำสอน ไม่ให้บุตรธิดาประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ อันจะเป็นเหตุนำทุกข์ภัยมาให้แก่ตนเอง

2. ให้ตั้งอยู่ในความดี โดยการฝึกหัดอบรมให้เป็นคนดี ประพฤติดี มีเมตตา ประกอบด้วย ศีลธรรมจรรยา ซื่อสัตย์สุจริตต่อหน้าที่ทั้งของตนและคนอื่น

3. ให้ได้รับการศึกษาศิลปวิทยา โดยการให้ศึกษาวิทยาการต่างๆ มีการอ่าน การเขียน เป็นต้น เพื่อให้เกิดสติปัญญา

4. ให้ได้คู่ครองที่สมควร โดยการหาคู่ครองที่มีวัย มีคุณสมบัติทัดเทียม มีความประพฤติดี มีศีลธรรม สามารถเลี้ยงดูกันได้ตลอด

5. มอบทรัพย์มรดกให้ในเวลาที่สมควร โดยการมอบทรัพย์สมบัติให้เป็นกรรมสิทธิ์ เพื่อครอบครองดูแลรักษาและใช้ในการเลี้ยงชีวิตต่อไป

บุตรธิดา เมื่อได้ทราบว่าพ่อแม่เป็นผู้มีพระคุณ ก็ควรตอบแทนท่านด้วยกิจ 5 ประการ คือ

1. ท่านเลี้ยงมาต้องเลี้ยงท่านตอบ โดยการบำรุงทั้งทางกาย และทางใจให้ท่านได้รับความสุขความสบาย

2. ช่วยทำกิจของท่าน โดยการช่วยทำการงานให้เหมือนกับงานของตนเอง

3. ดำรงวงศ์ตระกูล โดยการรักษาวงศ์ตระกูลให้ดี ไม่นำความเสื่อมเสียมาสู่ตระกูล

4. ประพฤติตนให้ควรรับทรัพย์มรดก โดยการประพฤติตนเป็นคนดี ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย

5. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศไปให้ท่าน โดยการ จัดบำเพ็ญกุศลทักขิณานุปทานให้ท่าน แผ่ส่วนกุศลให้ท่านตามกาล

การ ที่พระพุทธศาสนาสอนให้มีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ โดยเฉพาะพ่อและแม่ เพราะท่านทั้งสอง เป็นผู้มีที่มีพระคุณต่อลูกอย่างใหญ่หลวง ถ้าลูกเป็นคนดีมีความกตัญญูต่อพ่อแม่ จะทำให้ท่านมีความสุขใจ อบอุ่นใจ ภูมิใจในลูกของตน และได้ชื่อว่าเป็นการรักษาวัฒนธรรมอันดีงามของชาติอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญ ประการหนึ่งในชาติของเราไว้

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2554

"ฝูงแกะที่มีราชสีห์นำ ดีกว่าฝูงราชสีห์ที่มีแกะนำ" from http://iseehistory.socita.com

"ฝูงแกะที่มีราชสีห์นำ ดีกว่าฝูงราชสีห์ที่มีแกะนำ"

จอมพล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ฯ ทรงพระนิพนธ์ถึงคุณวุฒิของฮานนิบาลไว้ในหนังสือเล่มเดิม ว่า คุณวุฒิของฮันนิบาลในทางยุทธศาสตร์ และทางยุทธวิธี นั้น ดังต่อไปนี้

๑) ตั้งความมุ่งหมายในชั้นต้นถูกต้อง คือคิดทำลายกองทัพข้าศึกเสียก่อน ฮันนิบาลไม่ได้ตีเมืองโรมเพราะรู้สึกว่ากองทัพโรมันยังไม่สิ้นกำลังแท้

๒) เมื่อตั้งความมุ่งหมายขึ้นแล้วพยายามดำเนินไปหาความมุ่งหมายนั้นจงได้ ไม่โอนเอนไปจากความมุ่งนั้นเลย คือถึงเมื่อมีโอกาศมีช่องที่จะไปตีเมืองโรมได้ก็ไม่ไป เพราะรู้สึกเสียว่าถึงตีเมืองหลวงได้แล้วแต่กองทัพโรมันยังมีอยู่การสงคราม ก็ไม่สิ้นสุดอยู่นั่นเอง

๓) สามารถที่จะจัดฐานทัพใหม่ได้เสมอ คือเกลี้ยกล่อมชาติต่างๆ ให้เป็นมิตร์ของตน และส่งเสบียงอาหารให้กองทัพไม่อดอยาก และกลับได้ทหารเพิ่มเติมเสียซ้ำ ฮันนิบาลอยู่ในอิตาเลีย ๑๕ ปี โดยไม่ต้องรับความอุดหนุนจากบ้านเมืองเพราะใช้เมืองข้าศึกนั้นเองเป็นฐาน ทัพ เป็นที่หาเสบียง

๔) มีอุบายอันดีทำให้ทหารรักใคร่นับถือฟังบังคับบัญชาโดยแน่นอนยิ่ง ทหารไม่ได้คิดเอาใจออกหากเลยจนครั้งเดียว และทหารนั้นใช่ว่าพวกเดียวคณะเดียวกันเมื่อไร ล้วนต่างชาติ ต่างภาษาทั้งสิ้น

๕) ตริตรองการที่ตนจะกระทำนั้นให้ถูกกับนิไสยของข้าศึกที่สืบทราบได้โดยแน่นอน

๖) ใช้กลศึกหลายอย่างต่างพันธ์

๗) รู้จักอาไศรยลักษณภูมิประเทศให้เป็นประโยชน์แก่กองทัพตน (เทรบเบีย ทเลสาปตราซิเมน)

๘) รู้จักใช้ทหารม้า

๙) เข้าตีข้าศึกโดยแรงแต่ต้นใช้กำลังเกือบทั้งหมดพร้อมกันแต่แรก ทั้งโอบปีกตีปีกด้วย

๑๐) ได้คิดแก้ไขวิธีรบของ ฟาลังให้ดียิ่งขึ้น คือให้ทหารราบของตน ใช้อาวุธของทหารโรมัน และคิดเติมแนวที่ ๒ ที่ ๓ ที่ให้เป็นแนวหนุนของแนวที่ ๑ นั้นขึ้น

การที่ ฮันนิบาลได้รบชะนะกองทัพโรมันหลายหนหลายครั้งนั้น ก็เป็นเพราะตัวฮันนิบาลมีปัญญาสามารถดีกว่าแม่ทัพโรมันต่างๆ ประวัติของฮันนิบาลเป็นสิ่งที่ทำให้เห็นได้ชัดว่า การบังคับบัญชากองทัพในสนามรบเป็นสิ่งสำคัญ และเป็นกำลังของกองทัพอันหนึ่ง ในการที่กองทัพคาร์ธาโกทำสงครามกับโรมันคราวนี้ กำลังแรงกล้าของกองทัพคาร์ธาโกก็อยู่ที่คุณวุฒิความดีของแม่ทัพนั้นเป็นที่ ตั้ง ฝ่ายโรมันมีจำนวนทหารก็มากกว่า วิธีรบของเลงิโอหรือก็ดีกว่าวิธีรบของฟาลัง ทหารโรมันก็กล้าหาญและคล่องแคล่วมั่นคงกว่าทหารของฮันนิบาล แต่ถึงกระนั้นก็ดีฮันนิบาลยังรบชะนะได้ เพราะความสามารถของตนโดยฉเพาะเท่านั้น

แต่นั้นมา ชาวโรมันจึงได้กล่าวความเป็นคำสุภาษิตว่า

"ฝูงแกะที่มีราชสีห์นำ ดีกว่าฝูงราชสีห์ที่มีแกะนำ"


บทเรียนจากการสงคราม

ชาวโรมันและการปกครองแบบโรมันมีลักษณะดีกว่าชาวคาร์เธจ ชาวโรมันโดยมาก กตัญญูซื่อสัตย์ต่อชาติของตน ยินดีที่จะรบและตายให้แก่ชาติ ส่วนชาวคาร์เธจมุ่งแต่ทางการค้า สร้างความร่ำรวยคิดว่าจ้างชาวต่างชาติไปรบดีกว่า แม้มีแม่ทัพที่ดีมีความสามารถก็ไม่สนับสนุน

ถึง แม้ว่าฮานนิบาลจะทำการรบได้ผลดี มีความคิดใช้กลยุทธใหม่ต่างจากการรบที่แม่ทัพท่านก่อนๆ เคยปฏิบัติกันมาในอดีต จนได้รับคำสรรเสริญยกย่องว่าเป็นบิดาหรือบ่อเกิดแห่งยุทธศาสตร์เพราะความ สามารถเฉพาะตัว ทั้งๆ ที่ถูกขัดขวางจากรัฐบาลด้วยซ้ำไป หากรัฐบาลคาร์เธจคิดสนับสนุนกองทัพของตนแล้ว อาณาจักรคาร์เธจอาจจะไม่เหลือเพียงชื่อ และทรากเช่นที่เป็นอยู่ก็เป็นได้

ถึง กระนี้กระนั้นกระไรก็ตาม นักประวัติศาสตร์โบราณยืนยันว่า ชนชาติโบราณต่อมายังเห็นว่า ฮานนิบาลเก่งกาจสามารถกว่าสกิปิโอ และว่าสกิปิโอได้เรียนยุทธศาสตร์จากฮานนิบาล

"เรื่อง ของฮานนิบาลทำให้เราเห็นได้ว่า มหาบุรุษหรือแม่ทัพแม้จะเก่งกาจเพียงใดก็ดี แต่ถ้าไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนที่ดีจริงแล้ว มหาบุรุษผู้นั้นในที่สุดก็ทำอะไรไม่ได้ ฉะนั้น ความดีและความสามารถของประชาชนทั่วไปจึงสำคัญอย่างยิ่ง การอบรมและการศึกษาของกุลบุตรกุลธิดาของชาติทั้งชาติเพื่อจะให้มีประชาชนดี พอที่จะสนับสนุนมหาบุรุษหรือหมู่ผู้คนที่จะเป็นผู้นำ จึงเป็นของสำคัญอย่างยิ่งเหลือที่จะพรรณนาได้"

ชีวะประวัติของฮานนิบาล จอมทัพแห่งกรุงคาร์เธจ พันตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์

วันจันทร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2554

คำพูด khaosod

คำพูด

ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร/ www.watdevaraj.com 0-2281-2430


คน โบราณพูดว่า ปากเป็นเอก หมายความว่า คนจะสามัคคีปรองดองกันได้ ก็เพราะการพูด จะแตกสามัคคีกัน ก็เพราะคำพูด ทั้งการที่จะยกทรัพย์สินเงินทองให้ผู้อื่นก็ดี การจะรบราฆ่าฟันกันก็ดี การที่สามีภรรยาหย่าร้างกันก็ดี ล้วนแล้วเกิดเพราะคำพูดทั้งนั้น เพราะฉะนั้นการที่ท่านกล่าวว่า ปากเป็นเอก ก็เพื่อเตือนผู้พูดให้ระมัดระวังคำพูด ซึ่งคำพูดที่ดี ท่านเรียกว่า วาจาสุภาษิต

อันวาจาที่จะเป็นสุภาษิตได้นั้น จะต้องประกอบด้วยองค์ 5 ประการ คือ

1. พูดตามกาล คือพูดถูกกาละ เทศะ

2. พูดแต่คำสัตย์

3. พูดแต่คำไพเราะอ่อนหวาน

4. พูดคำที่ประกอบด้วยประโยชน์

5. พูดด้วยจิตมีเมตตา

พูดถูกกาละ เทศะ กาละ ได้แก่ เวลา เทศะ ได้แก่ สถานที่ ก่อนที่จะพูด ก็ต้องดูเวลาก่อนว่าเวลานี้เขาพูดเรื่องอะไรกัน เช่น เขาพูดเรื่องเกี่ยวกับการทำสาธารณ ประโยชน์ ควรทำอย่างนี้อย่างนั้น มีประโยชน์อย่างนั้นอย่างนี้ แต่กลับไปพูดตรงกันข้ามเสียว่าไม่มีประโยชน์ ถ้าพูดถูกกาละ เทศะ ก็มีประโยชน์ จัดเป็นวาจาสุภาษิต

พูดแต่คำสัตย์ คำสัตย์ตรงกันข้ามกับคำเท็จ ผู้พูดคำเท็จย่อมขาดความเชื่อถือของคนทั้งหลายส่วนคำสัตย์นั้นดี มีประโยชน์ ดังคำว่า "คำสัตย์เป็นวาจาไม่ตาย" คือคนใดพูดคำสัตย์และเป็นประ โยชน์แก่ผู้อื่น แม้ตัวจะตาย แต่คำพูดนั้นก็ไม่ตาย

พูดไพเราะอ่อนหวาน ซึ่งเป็นที่ชอบใจของคนทุกชั้น มารดาบิดาเจรจากับบุตรธิดาด้วยคำอ่อนหวาน คำนั้นย่อมจับใจของบุตรธิดา ทำให้เกิดความรัก บุตรธิดาผู้รู้จักพูด ก็ย่อมเป็นที่รักของมารดาบิดา ท่านผู้เป็นใหญ่ฉลาดในการปฏิสันถาร กล่าวคำทักทายปราศรัยโปรยปรายแก่ผู้น้อยทั่วหน้า ย่อมยังตนให้เป็นที่รักนับถือของคนทั้งหลาย อาจยังผู้น้อยให้มีแก่ใจทำงานด้วยความภักดี อันวาจาไพเราะอ่อนหวาน เปรียบดังอาหารมีโอชารส ยังผู้กินให้พอใจ ติดใจ ต้องการกินอีก

พูดคำที่ประกอบด้วยประโยชน์ คือ เมื่อจะพูดแต่ละครั้งก็ให้เกิดประโยชน์แก่ผู้ฟัง เช่นพูดชี้ชวนให้ผู้ฟังมีความขยันทำงาน โดยชี้โทษของความเกียจคร้านให้ผู้ฟังเห็นว่า เป็นเหตุให้ยากจน ไม่มีคนนับถือ มีแต่ความลำบาก และชี้คุณของความขยัน อดทนทำงานโดยสุจริต คือ มีทรัพย์สมบัติ สามารถตั้งตัวได้ ไม่ลำบาก มีคนเคารพนับถือ หรือพูดแนะนำให้ผู้ฟังเกิดอุตสาหะ คือ ทำสิ่งที่ไม่ผิดกฎหมายและศีลธรรม ทั้งทางตรงและทางอ้อม และพูดแนะนำให้ผู้ฟังกลัวบาป คือ ความผิด ซึ่งมีผลตรงกันข้ามกับบุญ คือ ความดี

พูดด้วยจิตเมตตา คือผู้พูดมีเมตตาอยู่ในใจ ปรารถนาดีแก่ผู้ฟัง ไม่ใช่ปรารถนาร้าย เพราะการไม่เบียดเบียนกัน เป็นสุขด้วยกันทั้งสองฝ่าย ดังคำสอนว่า "ความไม่เบียดเบียนกันเป็นสุขในโลก" เป็นความจริงถ้ามนุษย์เราเว้นจากการเบียด เบียนกัน มีเมตตาต่อกัน ต่างฝ่ายต่างทำมาหากินตามฐานะของตน ไม่ต้องกังวลถึงภยันตรายอันจะพึงมีเพราะความเบียดเบียน จะนั่ง จะนอน จะยืน จะเดิน ก็เป็นสุข

ดังนั้น ผู้พูดแต่คำที่ดี ไพเราะ ย่อมจะทำให้ผู้ที่ได้ยิน ได้ฟัง เกิดความชื่นใจ สบายใจ สุขใจ ทำให้คนรักใคร่นับถือ แต่ถ้าตรงกันข้าม คือพูดชั่ว นอกจากจะทำให้ตนเองเสียชื่อเสียงแล้ว ย่อมกลับทำลายคนรอบข้างในทางอ้อมอีกด้วย

หลักธรรมนำชีวิต khaosod

หลักธรรมนำชีวิต

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด


ใน ปัจจุบันนี้ คนเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนนั้นน้อมนำเอาหลักธรรมหมวดไหน หรือข้อไหนมาเป็นเครื่องนำทาง เพื่อให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ซึ่งหลักธรรมที่หลายท่านได้นำมาเป็นหลักในการดำเนินชีวิตนั้น ก็มีอยู่มากมาย แต่ในที่นี้จะขอกล่าวถึงธรรมะที่เมื่อนำไปประพฤติปฏิบัติกันแล้ว สามารถอำนวยความสุข หรือประโยชน์สุขให้ได้ในปัจจุบัน

ประโยชน์หรือความสุขในปัจจุบันนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะให้ประพฤติตาม ธรรมะ 4 ประการ คือ

ข้อ 1 อุฏฐานสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียรในการประกอบอาชีพ หน้าที่การงาน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีความเข้าใจ มีความรับผิดชอบในการงานที่ได้รับมอบหมาย รู้จักคิดใช้ปัญญา สอดส่องพิจารณาการงาน เป็นผู้ขยันไม่เกียจคร้านในการงานนั้น ไม่ว่าการงานนั้นๆ จะมากหรือน้อย ก็สามารถจัดดำเนินการให้ได้ผลดี

ข้อ 2 อารักขสัมปทา ได้แก่ ถึงพร้อมด้วยการรักษาคือ มีโภคทรัพย์และผลงาน ที่ตนหามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร ด้วยกำลังงานของตน และด้วยความชอบธรรม หามาได้โดยธรรม ก็ต้องรู้จักดูแล รักษา และคุ้มครองโภคทรัพย์เหล่านั้นไว้ได้พร้อมมูล มิให้เป็นอันตรายหรือสูญหาย เสื่อมหายไป

ข้อ 3 กัลยาณมิตตตา ได้แก่ คบคนดีเป็นมิตร รู้จักกำหนดคนในถิ่นที่อาศัยคือ อยู่อาศัยในบ้านหรือถิ่นหนตำบลใด ย่อมดำรงตน เลือกสนทนากับบุคคลในบ้านหรือถิ่นหนตำบลนั้น ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณธรรม มีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญา ข้อ 4 สมชีวิตา ได้แก่ มีความเป็นอยู่ หรือการดำเนินชีวิตได้อย่างเหมาะสมคือ รู้จักกำหนดรายรับ รายจ่ายแล้วเลี้ยงชีวิตอย่างพอเหมาะ เมื่อมีทรัพย์ก็ไม่ใช้จ่ายให้ฟุ่มเฟือยเกินฐานะ หรือไม่ให้ประหยัดเกินไปนัก

การที่คนเราพยายามแสวงหาทรัพย์ด้วยความขยันหมั่นเพียร และรักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ด้วยความสุจริตนั้น จำต้องใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เป็นประโยชน์ เช่น บำรุงเลี้ยงดูบิดามารดา บุตร ภรรยา ให้มีความสุข บำรุงเพื่อนสนิท มิตรสหายให้มีความสุข เสียสละแบ่งปันด้วยการสงเคราะห์ญาติ หรือทำบุญให้ทานตามโอกาส

ดัง นั้น ผู้ที่นำเอาหลักธรรม 4 ประการดังกล่าวนี้ มาเป็นเครื่องนำในการดำเนินชีวิต ย่อมสามารถที่จะอำนวยประโยชน์สุขในปัจจุบันให้เกิดขึ้นได้

ใครที่อยากจะให้ชีวิตมีแต่ความสุข ความเจริญ ก็ต้องรู้จักขยันหา รักษาดี มีกัลยาณมิตร เลี้ยงชีวิตให้เหมาะสม ดีนักแล



พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙)

เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร

www.watdevaraj.com 0-2281-2430

ความซื่อสัตย์ khasod

ความซื่อสัตย์

คอลัมน์ ศาลาวัด


มีพุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า "สจฺเจน กิตฺตี ปปฺโปติ" แปลว่า "คนเราจะบรรลุถึงเกียรติได้เพราะความซื่อสัตย์"

ความ ซื่อสัตย์ เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ

ทั้งนี้ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

การ ไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง เช่น นักเรียนนักศึกษาตั้งใจจะอ่านหนังสือสอบ แล้วก็ไม่อ่าน เพราะมัวไปเที่ยวเล่น ดูหนัง ผลเสียคือ เราอาจจะสอบตก ซึ่งหากเราขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ในระยาวเราอาจจะกลายเป็นคนขาดระเบียบ กลายเป็นคนทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต

การไม่ซื่อสัตย์ต่อครอบ ครัว เช่น ไปมีชู้ มีกิ๊ก ติดพันนักร้องนักแสดง มีความสัมพันธ์กับคนที่มีครอบครัวแล้ว แม้จะไม่ต้องรับผิดชอบเลี้ยงดู แต่ก็จะทำให้ละเลยต่อลูกเมีย หรือสามี สร้างปัญหาในชีวิต ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของผู้อื่น

การไม่ซื่อสัตย์ต่อ หน้าที่การงาน เช่น เป็นข้าราชการ ทหาร ตำรวจใช้อำนาจในทางมิชอบ กระทำทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือครอบครัว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและบ้านเมืองดังที่เราจะเห็นกันอยู่

การ ไม่ซื่อสัตย์ต่อมิตร หากไม่ซื่อตรงต่อกันแล้ว ก็ย่อมจะแตกความสามัคคี ทำให้เราไม่มีเพื่อน หรืออยู่ในสังคมได้ยากเพราะกลัวคนอื่นจะหักหลังเราตลอดเวลา

การซื่อ สัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากชาติอยู่ไม่ได้ ประชาชนคนในชาติก็อยู่ไม่ได้ และหากชาติล่มสลาย ก็คือพวกเราที่จะกลายเป็นคนไร้แผ่นดิน

ตัวอย่างข้างต้น คงจะทำให้เห็นแล้วว่า ความซื่อสัตย์ เป็นสิ่งสำคัญ หากขาดความซื่อสัตย์แล้ว สังคมคงยุ่งเหยิง ไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน

ถ้า ขาดในระดับบุคคลก็จะกลายเป็นคนไม่น่าเชื่อถือและมีปัญหาอยู่ตลอดเวลา ส่วนในระดับประเทศ ก็จะไร้ซึ่งเกียรติภูมิ เป็นที่ดูถูกของชาติอื่น

ซึ่ง ความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ รวมไปถึงการมี สัจจะ พูดจริงทำจริง ไม่โกหกหรือพูดเหลวไหล คนเช่นนี้ไปที่ใด ย่อมเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นคนมีเกียรติ

ข้อสำคัญ ถ้าทุกคนทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมจะทำให้สังคม และประเทศชาติมีความมั่นคง สงบสุข

วันเสาร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2554

ธรรมะย่อมชนะอธรรม khaosod

ธรรมะย่อมชนะอธรรม

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด


บุคคลผู้ประกอบด้วยหลักธรรม 4 ประการ อันได้แก่ 1.สัจจะ 2.ธรรมะ 3.ธิติ 4.จาคะ ย่อมชนะอธรรม คือข้าศึกหรืออุปสรรคปัญหาต่างๆ ได้

1.สัจจะ ได้แก่ ความจริง แบ่งเป็น 2 อย่าง คือ 1.จริงใจ 2.จริงวาจา

จริง ใจ ได้แก่ การตั้งใจมั่น คือ มีจิตจำนงที่จะทำการสิ่งใด ก็พยายามทำไปจนการสิ่งนั้นสำเร็จสมประสงค์ แม้จะมีอุป สรรคอันใดเข้ามาขัดขวาง ก็ไม่ย่อท้อ หวาด หวั่นต่ออุปสรรคอันตรายนั้นๆ ดุจภูเขาศิลาล้วนมีแท่งทึบ ไม่หวั่นไหวเพราะลมและแดด ฉะนั้น

ส่วน จริงวาจา คือ เจรจาแต่คำจริง ไม่นำเอาสิ่งเท็จมาหลอกลวงให้ชาวโลกลุ่มหลง เจรจาคำใดไปแล้วก็มั่นคงไม่กลับกลอก เป็นวาจาที่คงที่

การ เจรจาถ้อยคำจริงนั้น ง่ายกว่าการพูดเท็จ ไม่ต้องกลัวจะผิด แต่การพูดเท็จนั้นต้องระวังตัว เพราะว่ากลัวเขาจะจับพิรุธได้ คน ที่ชอบพูดเท็จมักจะเอาตัวไม่รอด สักวันหนึ่งเขาต้องจับได้ ต่อไปก็ไม่มีใครเชื่อถือ ยิ่งคำเท็จนั้นเป็นการหลอกลวงให้ผู้อื่นเสื่อมเสียจากประโยชน์ด้วยแล้ว ก็จะทำให้ผู้คนหมดความเคารพนับถือ คุณธรรมใดๆ ที่เคยมีอยู่ ก็จะพลอยสูญสิ้นไปด้วย เพราะตนเองขาดสัจจะคือความจริง

2.ธรรมะ แปลว่า สภาพผู้ทรงไว้ คือทรงผู้ปฏิบัติไว้ ผู้ใดประพฤติธรรม ธรรมก็ย่อมรักษาผู้นั้นไว้ ไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว

ความ จริง คำว่า ธรรมะ เป็นคำกลางๆ มีมาแล้วแต่โบราณกาล หากแต่ขาดผู้ปรีชาญาณเลือกสรรเอามาใช้ เป็นได้ทั้งส่วนดีและส่วนชั่ว ถ้าต้องการหมายความข้างดีก็เติมคำว่ากุศล เข้าเป็นกุศลธรรม หมายถึงธรรมส่วนข้างดี เมื่อกล่าวโดยทางธรรมก็คือสุจริต เช่น ความประพฤติชอบด้วยกาย วาจา และใจ ถ้าต้องการหมายความข้างชั่ว ก็เติมคำว่า อกุศล เข้าเป็นอกุศลธรรม หมายถึงธรรมส่วนข้างชั่ว เมื่อกล่าวโดยทางธรรม ก็คือ ทุจริต เช่น ความประพฤติชั่วด้วยกาย วาจาและใจ

3.ธิติ แปลว่า ความเพียรเป็นเครื่องตั้งมั่น ได้แก่ความพยายาม ความบากบั่น ความก้าวหน้า บุคคลผู้พากเพียรเพื่อจะตั้งตัวในทางใดทางหนึ่ง ถ้ายังไม่ทันได้ลุถึงสิ่งนั้นๆ ไม่ควรถอยหลังควรพยายามต่อไป เพราะมีบางท่านว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น เมื่อพยายามทำไปแล้วแม้จะไม่สำเร็จผลที่หมายก็ยังได้รับความสบายใจว่า ตนเองได้ทำจนสุดกำลังความสามารถแล้ว

ผู้ปฏิบัติธรรมก็เหมือนกัน เมื่อได้สมา ทานศีลอย่างเคร่งครัดแล้วบำเพ็ญปฏิบัติภาวนาอย่างแข็งแรงแล้ว ก็ไม่ควรละการสมาทานนั้นๆ ควรพากเพียร บากบั่นต่อไป ประพฤติให้ยั่งยืนจนกว่าจะได้รับผล

4.จาคะ ได้แก่ การบริจาคทรัพย์ ธรรม ดาผู้คนอยู่ด้วยกันเป็นหมู่ ต้องมีการสง เคราะห์เกื้อกูลกันตามฐานะ ในตระกูลหนึ่ง มารดาบิดากับบุตร สามีกับภรรยา ญาติกับญาติ มิตรกับมิตร ยังต้องเจือจานกันด้วยการให้สิ่งของ การให้อย่างนี้ นับว่าการสงเคราะห์เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจกัน เพราะบุคคลผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้

หลักธรรมทั้ง 4 ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ นี้ เมื่อมีในบุคคลผู้ใด ย่อมทำให้บุคคลผู้นั้น เป็นผู้มีความสัตย์ มีธรรม เมื่อจะประกอบกิจการใดๆ ก็ตั้งใจทำจริงไม่ย่อท้อ มีความพากเพียรพยายาม ไปจนกว่าประโยชน์จะสำเร็จ บุคคลเช่นนี้ ย่อมไม่เป็นที่รังเกียจของใครๆ แม้ผู้ที่เป็นศัตรูอยู่ก่อน เมื่อได้ประสบอัธยาศัยอันดีงาม ย่อมละจากความเป็นศัตรู มีแต่จะอุปถัมภ์ค้ำชูให้ได้รับความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป

ดังนั้น ท่านผู้ที่ได้ยึดถือ ประพฤติ ปฏิบัติตนตามหลักธรรมดังกล่าวมานี้ ย่อมได้ชื่อว่า เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง มีปกติประพฤติตามธรรมแล

วันพฤหัสบดีที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554

ปุถุชน 3 ประเภท

โอวาทของ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร


ปุถุชน 3 ประเภท

1. อันธพาลปุถุชน บุคคล ที่เป็นผู้มีตาใจบอดมืดสนิท มองไม่เห็นสัจจะเอาเลย เรียกว่าเป็นอันธพาลปุถุชน ปุถุชนผู้เป็นอันธพาล คือเป็นผู้เขลาไม่รู้เหมือนอย่างคนตาบอด

2. ปุถุชนสามัญ บุคคลเมื่อมีความรู้ขึ้นรางๆ เมื่อได้สดับฟังธรรมคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมศาสดาที่ชี้ให้รู้จักทุกข์ ให้รู้จักเหตุให้เกิดทุกข์ ให้รู้จักความดับทุกข์ ให้รู้จักทางปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ก็เกิดความรู้ความเห็นขึ้นรางๆ แม้จะไม่แจ่มชัดนักตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา สามารถที่จะละความชั่ว กระทำความดีได้ตามสมควร ความเป็นอันธพาลก็ย่อมหายไป มาเป็นปุถุชนสามัญ

3. กัลยาณปุถุชน บุคคลเมื่อได้ปฏิบัติชอบยิ่งขึ้น มีดวงตาแจ่มใสขึ้น มองเห็นสัจจะตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแจ่มชัดขึ้น สัจจะทั้ง 4 มีทุกขสัจจะเป็นต้น ปรากฏถนัดขึ้น แต่ยังไม่ถึงขั้นมรรค ซึ่งเป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ความเป็นปุถุชนสามัญก็หายไป เลื่อนเป็นกัลยาณปุถุชน คือปุถุชนผู้ที่เป็นคนดีคนงาม มีความมั่นคงในธรรมตามคำสั่งสอนของสมเด็จพระบรมศาสดา จิตใจของกัลยาณปุถุชน ย่อมแจ้งชัดขึ้นในสัจจะทั้ง 4 นี้ตามที่สมเด็จพระบรมศาสดาทรงสั่งสอนไว้ จึงเป็นข้อที่ผู้ปฏิบัติพระพุทธศาสนาทุกคน จะพึงตั้งใจฟัง ตั้งใจพิจารณาให้ตระหนักชัด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปุถุชน แปลว่า ผู้มีกิเลสหนา คือคนปกติที่ยังมีกิเลส, คนธรรมดาสามัญ, คนที่ยังมิได้บรรลุธรรมเป็นพระอริยะ

กัลยาณปุถุชน หมายถึงคนธรรมดาที่มีกัลยาณธรรม ประพฤติปฏิบัติดีงาม มีคุณธรรมสูง ได้แก่ คนที่เรียกกันว่ามีศีลมีธรรม มั่นคงอยู่ในศีลในธรรมดำรงชีวิตด้วยการทำมาหากินอย่างสุจริต มีความซื่อสัตย์ อดทน ขยันหมั่นเพียร มีจิตใจงดงาม เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน

กัลยาณปุถุชน จัดเป็นบุคคลที่มีคุณธรรมสูง แม้จะมิได้เป็นอริยบุคคล แต่ได้รับความเคารพนับถือและยกย่องสรรเสริญจากบุคคลทั่วไป

อ้างอิง


วันเสาร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2554

ใจมีธรรมะ khaosod

ใจมีธรรมะ

คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com 0-2281-2430


คน ที่มีความรู้ความสามารถเพียงอย่างเดียว อาจจะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่ไม่อาจเป็นที่รัก นับถือของคนรอบข้างได้ ด้วยเพราะปราศจากคุณธรรมที่ควรจะมีไว้ในตนเอง ดังภาษิตที่ว่า "ความรู้ คู่คุณธรรม" นั่นเอง

มีธรรมะหมวดหนึ่ง ชื่อว่า อธิษฐานธรรม คือ ธรรมะอันเป็นฐานที่มั่นของบุคคล หรือ ที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ธรรมะในใจ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ นั่นก็คือ

1. ปัญญา แปลว่า ความรู้ชัด รู้ทั่ว เช่น การศึกษาเล่าเรียน จะเรียนรู้อะไรสักอย่างหนึ่งก็จะต้องศึกษาในเรื่องนั้นๆ ให้เข้าใจ แจ่มแจ้ง ชัดเจน จึงจะเรียกได้ว่า สำเร็จประโยชน์ในการเรียน ไม่มีความบกพร่อง จนในที่สุดก็สามารถที่จะรู้เหตุและผลของสิ่งต่างๆ ได้ตามความ เป็นจริง และปัญญานี้จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเหตุ 3 ประการ คือปัญญาเกิดจากการฟัง ปัญญาเกิดจากการคิด และปัญญาเกิดจากการอบรม

2. สัจจะ แปลว่า ความจริง คือ จริงใจ ประพฤติสิ่งใดก็ให้ทำจริง เช่น ตั้งใจไว้ว่าจะศึกษาเล่าเรียน จะปฏิบัติกิจอย่างหนึ่งอย่างใด ก็ต้องทำอย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคเข้ามาเบียดเบียน ขัดขวาง ก็จะต้องใช้ความพยายามฟันฝ่าอุปสรรคเหล่านั้นให้ได้ จนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการ ดังภาษิตที่ว่า "คนได้เกียรติ เพราะความสัตย์"

3. จาคะ แปลว่า ความเสียสละ ได้แก่ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ เริ่มต้นตั้งแต่การเสียสละ ให้ปันสิ่งของแก่คนอื่น จนถึงการสละกิเลสที่มีอยู่ในตน

4. อุปสมะ แปลว่า ความสงบ คือ สงบกาย สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบคือ กิเลส ระงับความขัดข้อง วุ่นวายอันเกิดจากการถูกกิเลสเข้าครอบงำเสียได้ ทำให้จิตใจมีแต่ความสงบ ปราศจากกิเลส ความเศร้าหมองใจ

การคบหากัน จำต้องมีสัจจะ ความจริงใจซื่อสัตย์ต่อกัน จึงจะได้รับการยกย่องนับถือ ต้องมีจาคะ เสียสละแบ่งปัน การอยู่ร่วมในสังคมหมู่มาก ย่อมที่จะกระทบกระทั่งกันบ้าง จำต้องมีความสงบใจ ชีวิตจึงจะประสบแต่ความสุขตลอดไป

ดังนั้น ธรรมะทั้ง 4 ประการนี้ ถ้าอบรมให้เกิดมีขึ้นในจิตใจหรือตั้งธรรมะ 4 ประการนี้ไว้ในใจแล้ว ก็สามารถที่จะทำให้ชีวิตประสบกับสมบัติอันจะพึงมี พึงได้ต่อไปในอนาคต

รู้เท่าทัน khaosod

รู้เท่าทัน

คอลัมน์ ศาลาวัด


เมื่อ คราวที่แล้ว ได้นำข้อคิดจาก 'พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี' (ว.วชิรเมธี) ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย แสดงทรรศนะต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นนั้น ให้บทเรียนแก่คนทั่วโลกมากมาย

ครั้งนี้ยังมีต่ออีกบทหนึ่งคือ การรู้เท่าทันธรรมดาของโลก สัจธรรมที่เกิดขึ้นนั้นสำหรับรู้ เมื่อรู้เท่าทันแล้ว ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เรียกว่าจริยธรรมสำหรับปฏิบัติ ฉะนั้น มนุษย์ควรจะเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ใน 2 ส่วน

ส่วนที่หนึ่งเป็นส่วนของสัจธรรมที่เราจะต้องรู้ให้เท่าทันธรรม ชาติ อันเป็นธรรมดาของโลก

และ ส่วนที่สอง เมื่อเรารู้เท่าทันสัจธรรมนั้นแล้ว เราจะปรับเนื้อปรับตัวอย่างไร เพื่อที่จะอยู่ร่วมกับโลกและธรรมชาติของโลกให้อยู่รอดปลอดภัยอย่างดีที่สุด โดยที่ทั้งเราและทั้งโลกต่างก็ไม่ทำร้ายซึ่งกันและกัน

เมื่อเปรียบ เทียบอายุของมนุษย์กับอายุของโลกที่มีอายุเป็นล้านๆ ปีนั้น กล่าวได้ว่ามนุษย์เพิ่งจะมาถึงโลกใบนี้เมื่อวานนี้เท่านั้น ดังนั้น จึงยังมีอะไรอีกมากที่มนุษย์ยังไม่รู้จักเกี่ยวกับโลก มนุษย์เป็นเพียงแค่คนแปลกหน้าสำหรับโลกใบนี้

แต่น่าเสียดายที่ว่า มนุษย์ส่วนใหญ่กลับไม่ได้คิดเช่นนี้ เพราะต่างก็มีความเข้าใจผิดคิดว่าเรารู้จักโลกนี้ดีมาก เราเป็นนายของโลก และเราจะช่วงใช้โลกนี้อย่างไรก็ได้ จากฐานคิดที่ผิดเหล่านี้

ผลก็ คือ บ่อยครั้งที่เกิดวิกฤตต่างๆ มนุษย์ได้รับความวิบัติวอด วายมากมาย ทั้งๆ ที่มีหลายสิ่งหลายอย่างเคยเกิดขึ้นแล้ว แต่มนุษย์ก็ดูเหมือนกับไม่รู้จักสรุปบทเรียน เพราะลึกๆ แล้วมนุษย์เชื่อมั่นว่าตนเองสามารถบริหารจัดการโลกใบนี้ได้ ซึ่งเป็นฐานคิดแห่งความประมาท ซึ่งเป็นทรรศนะที่ผิด

ดังนั้น คุณธรรมที่ควรจะทำที่สุดในตอนนี้ กล่าวโดยสรุปมี 3 เรื่อง คือ

1.รู้เท่าทันธรรมดาของโลก และสิ่งแวดล้อมว่ามีแง่ดีแง่งามอย่างไร มีคุณอย่างไรและมีโทษอย่างไร

2.รู้เท่าทันทรรศนะที่ผิด ที่มนุษย์มีต่อโลกและธรรมชาติ และจากนั้นก็ปรับเปลี่ยนทรรศนะนั้น มาปฏิบัติต่อโลกและธรรมชาติอย่างถูกต้อง

3.ดำรง ชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท เพราะเมื่อเราดำรงชีวิตอยู่ด้วยความไม่ประมาท เราเห็นว่าภัยธรรมชาติมาถึง เห็นว่ามันเสียหาย ก็คงจะเสียหายน้อยกว่าคนที่ไม่ได้เตรียม ให้เตรียมรับมืออยู่เสมอ

เมื่อเราทำความเข้าใจแล้ว เราจะได้เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา และนั่นคือทางออกที่เราควรประพฤติปฏิบัติในเวลานี้