ปริจจาคะ
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร www.watdevaraj.com
คําว่า ปริจาคะ แปลว่า สละรอบ มีความหมายเป็น 3 อย่าง คือ
ประการที่ 1 ปริจจาคะ หมายถึง การให้ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือเกื้อกูลด้วยวัตถุสิ่งของโดยไม่หวังผลตอบแทน
เช่น รัฐบาลสร้างถนน สร้างสะพาน สร้างบ่อน้ำ สร้างโรงพยาบาล สร้างสถานศึกษา เป็นสาธารณประโยชน์
ประการที่ 2 ปริจจาคะ หมายถึง ความมีใจกว้าง ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
อดทนฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นได้ ความรู้จักแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง
ประการที่ 3 ปริจจาคะ หมายถึง สละความสุขสบายและผลประโยชน์ส่วนตน
การบริจาค เสียสละความสุขสำราญ สละชีวิตของตนเพื่อประโยชน์ของประชาชนและความสงบสุขของบ้านเมือง
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญด้วยพระบารมี พร้อมทั้งราชธรรมจริยาปริจจาคะ
ในส่วนปรหิตปฏิบัติ คือ เหตุผลสำคัญที่นำให้เข้าถึงความเจริญในการปกครองประเทศให้วัฒนาสถาพร ดังจะเห็นได้จากพระราชกรณียกิจนานัปการที่ได้ทรงปฏิบัติตลอดมา ดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อันนับจะประมาณมิได้ เช่น
- โครงการฝนหลวงที่ได้พระราช ทานแนวพระดำริตั้งแต่พุทธศักราช 2498
- โครงการอุทยานสมุนไพรพุทธมณฑล
- โครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
- โครงการฟื้นฟู และอนุรักษ์ป่าทุ่งทะเลฯ จังหวัดกระบี่
- โครงการอนุรักษ์ไม้และสัตว์ป่าบ้านแม่ต๋ำ จังหวัดลำปาง
- โครงการขุดสระกักเก็บน้ำ ตามทฤษฎีใหม่ จังหวัดกาฬสินธุ์
- โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ "เศรษฐกิจแบบพอเพียง"
- โครงการทุนเล่นเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย อันเป็นการสนับสนุนพระภิกษุสามเณรในการศึกษาพระพุทธศาสนา เพื่อให้ปริยัติคงอยู่ อันเป็นเหตุให้ปฏิบัติและปฏิเวธ อยู่สืบไปตราบนานเท่านาน
โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ยกมาเป็นตัวอย่าง จากที่ได้ดำเนินการอยู่นับไม่ถ้วนในปัจจุบัน เป็นการแสดงให้เห็นพระราชจริยาวัตรสอดคล้องกับความหมายแห่ง ปริจจาคะ ที่หมายถึงการให้ การเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ การช่วยเหลือเกื้อกูลด้วยวัตถุสิ่งของโดยไม่หวังผลตอบแทน
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประยุกต์หลักปริจจาคะธรรม เพื่อการปกครองประเทศชาติ ทรงเป็นพุทธมา มกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก ทรงแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และทรงอาศัยการถวายความเห็นข้อแนะนำจากคณะองคมนตรีเป็นสำคัญ
เป็นการแสดงให้เห็นพระราชจริยาวัตรสอดคล้องกับความหมายแห่ง ปริจจาคะ ประการที่ 2 ที่หมายถึง ความมีใจกว้าง ยอมรับความคิดของผู้อื่น อดทนฟังข้อวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นได้ ความรู้จักแสวงจุดร่วมสงวนจุดต่าง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น