ความซื่อสัตย์
คอลัมน์ ศาลาวัด
มี พุทธภาษิตบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า "สัจเจน กิตตี ปัปโปติ" แปลว่า "คนเราจะบรรลุถึงเกียรติได้เพราะความสัตย์" หมาย ความว่า คนที่จะมีเกียรติ ย่อมต้องเป็นคนที่มีความสัตย์ซื่อ จึง จะเป็นที่ยอมรับนับถือของคนในสังคมได้อย่างจริงใจ โดยไม่ต้อง เสแสร้งแกล้งทำ
'ความซื่อสัตย์' เป็นคุณธรรมที่จำเป็นต่อทุกสังคม ไม่ว่าจะเป็นความซื่อสัตย์ในระดับไหนก็ตาม จะต้องมีการปลูกฝังหรือสอนเยาวชนรุ่นหลังให้ประพฤติปฏิบัติ ทั้งนี้ หากคนในสังคมขาดคุณธรรมข้อนี้เมื่อใด สังคมก็จะวุ่นวาย ไม่สงบ คนจะเอารัดเอาเปรียบกัน และเห็นแก่ตัวมากขึ้น จนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย
การไม่ซื่อสัตย์ต่อตนเอง หากเราขาดความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และผัดผ่อนไปเรื่อยๆ ในระยาวเราอาจจะกลายเป็นคนขาดระเบียบ ขาดความตั้งใจ กลายเป็นคนทำอะไรไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต
การไม่ซื่อสัตย์ต่อครอบ ครัว สร้างปัญหาในชีวิต ก่อให้เกิดความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังเป็นที่ดูถูกเหยียดหยามของผู้อื่น หากเป็นหัวหน้าไปมีสัมพันธ์กับลูกน้อง ก็จะทำให้ลูกน้องคนอื่นๆ ขาดความเชื่อถือ หรือหัวหน้าระดับสูงขึ้นไปไม่ให้ความไว้วางใจ เป็นต้น
การ ไม่ซื่อสัตย์ต่อหน้าที่การงาน เช่น หากเป็นข้าราชการใช้อำนาจในทางมิชอบ กระทำทุจริต หรือแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือครอบครัว ก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนและบ้านเมืองดังที่เราจะเห็นกันอยู่ใน ปัจจุบัน เป็นต้น ซึ่งล้วนแล้วแต่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ตนเองและผู้เกี่ยวข้องทั้งสิ้น
การ ไม่ซื่อสัตย์ต่อมิตร ซึ่งความเป็นมิตรนั้นจะคงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไปก็ต้องมีความซื่อสัตย์ ไม่คิดคดทรยศต่อกัน มิตรภาพจึงจะยาวนาน หากไม่ซื่อตรงต่อกันแล้ว ก็ย่อมจะแตกความสามัคคี ทำให้เราไม่มีเพื่อน หรืออยู่ในสังคมได้ยากเพราะกลัวคนอื่นจะหักหลังเราตลอดเวลา เป็นต้น
การ ซื่อสัตย์ต่อประเทศชาติ เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะหากชาติอยู่ไม่ได้ ประชาชนคนในชาติก็อยู่ไม่ได้ และหากชาติล่มสลาย พวกเราที่จะกลายเป็นคนไร้แผ่นดิน
ความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ ยังรวมไปถึงการมีสัจจะ พูดจริงทำจริง ไม่โกหกหรือพูดเหลวไหล พูดคำไหนเป็นคำนั้นด้วย คนเช่นนี้ไปที่ใด ย่อมเป็นที่เคารพนับถือว่าเป็นคนมีเกียรติ ข้อสำคัญ ถ้าทุกคนทำหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ย่อมจะทำให้สังคม และประเทศชาติมีความมั่นคง สงบสุข
วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
สัปปุริส khaosod
สัปปุริส
คอลัมน์ ศาลาวัด
คําว่า "สัปปุริส" เป็นคำบาลี มีความหมายว่า คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา
คุณสมบัติของคนดี หรือ สัปปุริสธรรม 7 ประการ คือ
1.ความ รู้จักธรรม หรือรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการหรือบรรลุจุดหมายอันนั้นๆ
2.ความรู้จัก อรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือรู้จักผล (อัตถัญญุตา) คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำ หรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง ดังนี้เป็นต้น
3.ความรู้จักตน (อัตตัญญุตา) คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
4.ความรู้จัก ประมาณ (มัตตัญญุตา) คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น
5.ความ รู้จักกาล (กาลัญญุตา) คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่ควรหรือจะต้องใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน หรือปฏิบัติการต่างๆ เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลาให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
6.ความรู้จักบริษัท (ปริสัญญุตา) คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น
7.ความรู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา) คือ แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักบุคคลผู้ยิ่งและผู้หย่อน หมายความว่า ผู้ยิ่งคือดี ผู้หย่อนคือไม่ดี วิธีเลือก คือ แยกบุคคลออกเป็น 2 พวก พวกใดใคร่เห็นผู้ประเสริฐ ใคร่ฟังธรรมตั้งใจฟังจำได้ พิจารณาเนื้อความธรรมที่จำได้ รู้ทั่วถึงผลถึงเหตุแล้วปฏิบัติธรรมตามสมควร เพื่อประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น พวกนี้นับว่าดี น่าสรรเสริญควรคบ ส่วนพวกที่ตรงกันข้าม เป็นคนไม่ดี น่าตำหนิ ไม่ควรคบ เมื่อคัดเลือกออกแล้ว ก็คบเฉพาะกับคนดี ไม่คบคนไม่ดี จึงจะเป็นคนดี
เป็นมงคลชีวิตโดยแท้
คอลัมน์ ศาลาวัด
คําว่า "สัปปุริส" เป็นคำบาลี มีความหมายว่า คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา
คุณสมบัติของคนดี หรือ สัปปุริสธรรม 7 ประการ คือ
1.ความ รู้จักธรรม หรือรู้จักเหตุ (ธัมมัญญุตา) คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการหรือบรรลุจุดหมายอันนั้นๆ
2.ความรู้จัก อรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือรู้จักผล (อัตถัญญุตา) คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำ หรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้าง ดังนี้เป็นต้น
3.ความรู้จักตน (อัตตัญญุตา) คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป
4.ความรู้จัก ประมาณ (มัตตัญญุตา) คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น
5.ความ รู้จักกาล (กาลัญญุตา) คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่ควรหรือจะต้องใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน หรือปฏิบัติการต่างๆ เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลาให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น
6.ความรู้จักบริษัท (ปริสัญญุตา) คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น
7.ความรู้จักบุคคล (ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา) คือ แปลว่า ความเป็นผู้รู้จักบุคคลผู้ยิ่งและผู้หย่อน หมายความว่า ผู้ยิ่งคือดี ผู้หย่อนคือไม่ดี วิธีเลือก คือ แยกบุคคลออกเป็น 2 พวก พวกใดใคร่เห็นผู้ประเสริฐ ใคร่ฟังธรรมตั้งใจฟังจำได้ พิจารณาเนื้อความธรรมที่จำได้ รู้ทั่วถึงผลถึงเหตุแล้วปฏิบัติธรรมตามสมควร เพื่อประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น พวกนี้นับว่าดี น่าสรรเสริญควรคบ ส่วนพวกที่ตรงกันข้าม เป็นคนไม่ดี น่าตำหนิ ไม่ควรคบ เมื่อคัดเลือกออกแล้ว ก็คบเฉพาะกับคนดี ไม่คบคนไม่ดี จึงจะเป็นคนดี
เป็นมงคลชีวิตโดยแท้
คำขานนาค จากข่าวสด
คำขานนาค
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
คอลัมน์หน้าต่างศาสนา
ในพิธีการขออุปสมบทเป็นพระภิกษุของชายไทย พิธีบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ) และพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง) มีขั้นตอนที่คล้ายกัน แตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น
ลำดับคำขอบรรพชา-อุปสมบท เริ่มจากคำขอขมาโทษก่อนขอศีล คำขอไตรสรณคมน์-ศีล คำขอนิสัย สวดถามอันตรยิกธรรม และคำขออุปสมบท
ทั้ง นี้ ในขั้นตอนการสวดถามอันตรยิกธรรม (กล่าวเหมือนกันทั้งแบบมหานิกายและธรรมยุต) พระคู่สวดจะถาม และผู้บวชกล่าวรับ มีใจความ ดังนี้
พระคู่สวดว่า...นาคขานว่า...
กุฏฐัง (เธอเป็นโรคเรื้อนไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
คัณโฑ (เธอเป็นโรคฝีเรื้อรัง อีสุกอีใสไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
กิลาโส (เธอเป็นกลากเกลื้อนเชื้อโรคติดต่อไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
โสโส (เธอเป็นหอบหืดไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
อปมาโร (เธอเป็นโรคลมบ้าหมูไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
มนุสโสสิ (เธอเป็นมนุษย์ไหม) อามะ ภันเต (เป็น ขอรับ)
ปุริโสสิ (เธอเป็นบุรุษไหม) อามะ ภันเต (เป็น ขอรับ)
ภูชิสโสสิ (เธอเป็นอิสระไหม) อามะ ภันเต (เป็น ขอรับ)
อนโณสิ (เธอไม่เป็นหนี้ใครแล้วหนีมาบวชนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
นสิ ราชภโฏ (เธอไม่หนีราชการมาบวชนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
อนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ (เธอได้รับอนุญาตจากพ่อแม่แล้วนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ปริปุณณวีสติวัสโสสิ (เธอมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง (เธอมีบาตร จีวรครบแล้วนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ใน ข้อที่ถามว่า ปุริโสสิ (เธอเป็นบุรุษ/เธอเป็นชายเต็มร้อยไหม) หากรับว่า "อามะ ภันเต (ขอรับ เจ้าข้าฯ)" ก็จะเป็นการผิดศีล เสียตั้งแต่ก่อนจะได้บวชค่ะ และเข้าใจว่าโดยสถานภาพจะทำให้การบวชเป็นโมฆะด้วย
ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 มีปรากฏความ เรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท ดังนี้
ใน สมัยพุทธกาล บัณเฑาะก์คนหนึ่งบวชในสำนักภิกษุ ได้เข้าไปหาภิกษุหนุ่มและสามเณร พูดเชิญชวนให้กระทำมิดีมิร้าย พระภิกษุและสามเณรทั้งหลายจึงกล่าวว่าติเตียน
ต่อมาบัณเฑาะก์ได้เข้า ไปหาพวกคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า พูดชวนให้กระทำมิดีมิร้าย พวกคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้าจึงเพ่งโทษติเตียน และกล่าวโพนทะนาว่า พระภิกษุสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ล้วนแต่เป็นบัณเฑาะก์ ส่วนพระภิกษุที่มิใช่บัณเฑาะก์ก็ประทุษร้ายบัณเฑาะก์ด้วยกัน
พระภิกษุทั้งหลายได้ทราบความจากพวกคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า จึงกราบทูลพระพุทธเจ้า
สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย"
คอลัมน์ หน้าต่างศาสนา
คอลัมน์หน้าต่างศาสนา
ในพิธีการขออุปสมบทเป็นพระภิกษุของชายไทย พิธีบวชแบบมหานิกาย (อุกาสะ) และพิธีบวชแบบธรรมยุต (เอสาหัง) มีขั้นตอนที่คล้ายกัน แตกต่างกันในรายละเอียดปลีกย่อยเท่านั้น
ลำดับคำขอบรรพชา-อุปสมบท เริ่มจากคำขอขมาโทษก่อนขอศีล คำขอไตรสรณคมน์-ศีล คำขอนิสัย สวดถามอันตรยิกธรรม และคำขออุปสมบท
ทั้ง นี้ ในขั้นตอนการสวดถามอันตรยิกธรรม (กล่าวเหมือนกันทั้งแบบมหานิกายและธรรมยุต) พระคู่สวดจะถาม และผู้บวชกล่าวรับ มีใจความ ดังนี้
พระคู่สวดว่า...นาคขานว่า...
กุฏฐัง (เธอเป็นโรคเรื้อนไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
คัณโฑ (เธอเป็นโรคฝีเรื้อรัง อีสุกอีใสไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
กิลาโส (เธอเป็นกลากเกลื้อนเชื้อโรคติดต่อไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
โสโส (เธอเป็นหอบหืดไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
อปมาโร (เธอเป็นโรคลมบ้าหมูไหม) นัตถิ ภันเต (ไม่เป็น ขอรับ)
มนุสโสสิ (เธอเป็นมนุษย์ไหม) อามะ ภันเต (เป็น ขอรับ)
ปุริโสสิ (เธอเป็นบุรุษไหม) อามะ ภันเต (เป็น ขอรับ)
ภูชิสโสสิ (เธอเป็นอิสระไหม) อามะ ภันเต (เป็น ขอรับ)
อนโณสิ (เธอไม่เป็นหนี้ใครแล้วหนีมาบวชนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
นสิ ราชภโฏ (เธอไม่หนีราชการมาบวชนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
อนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ (เธอได้รับอนุญาตจากพ่อแม่แล้วนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ปริปุณณวีสติวัสโสสิ (เธอมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง (เธอมีบาตร จีวรครบแล้วนะ) อามะ ภันเต (ใช่ ขอรับ)
ใน ข้อที่ถามว่า ปุริโสสิ (เธอเป็นบุรุษ/เธอเป็นชายเต็มร้อยไหม) หากรับว่า "อามะ ภันเต (ขอรับ เจ้าข้าฯ)" ก็จะเป็นการผิดศีล เสียตั้งแต่ก่อนจะได้บวชค่ะ และเข้าใจว่าโดยสถานภาพจะทำให้การบวชเป็นโมฆะด้วย
ในพระไตรปิฎก เล่มที่ 4 พระวินัยปิฎก เล่มที่ 4 มหาวรรค ภาค 1 มีปรากฏความ เรื่องห้ามบัณเฑาะก์มิให้อุปสมบท ดังนี้
ใน สมัยพุทธกาล บัณเฑาะก์คนหนึ่งบวชในสำนักภิกษุ ได้เข้าไปหาภิกษุหนุ่มและสามเณร พูดเชิญชวนให้กระทำมิดีมิร้าย พระภิกษุและสามเณรทั้งหลายจึงกล่าวว่าติเตียน
ต่อมาบัณเฑาะก์ได้เข้า ไปหาพวกคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า พูดชวนให้กระทำมิดีมิร้าย พวกคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้าจึงเพ่งโทษติเตียน และกล่าวโพนทะนาว่า พระภิกษุสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรเหล่านี้ล้วนแต่เป็นบัณเฑาะก์ ส่วนพระภิกษุที่มิใช่บัณเฑาะก์ก็ประทุษร้ายบัณเฑาะก์ด้วยกัน
พระภิกษุทั้งหลายได้ทราบความจากพวกคนเลี้ยงช้างเลี้ยงม้า จึงกราบทูลพระพุทธเจ้า
สมเด็จ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า "ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนุปสัมบัน คือ บัณเฑาะก์ ภิกษุไม่พึงให้อุปสมบท ที่อุปสมบทแล้วต้องให้สึกเสีย"
วันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ที่พึ่ง 5 ประการ khaosod
ที่พึ่ง 5 ประการ
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
สังคม ในปัจจุบัน ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของตนเอง เหมือนกับหมู่มนุษย์ที่ลอยคออยู่ในทะเลที่ยังมองไม่เห็นฝั่ง มองไม่เห็นจุดหมายปลายทาง ในท่ามกลางแห่งอันตรายรอบตัว ต่างคนต่างแหวกว่ายอยู่บนเกลียวคลื่นแห่งชีวิต เพื่อหาที่พึ่งให้ตัวเอง บางคนก็ไปยึดเอาที่พึ่งผิดๆ คือไปยึดเอาอบายมุข หรือยาเสพติด ชีวิตที่เคยเป็นสุขต้องมาเป็นทุกข์เพราะขาดที่พึ่งในทางที่ถูกต้อง การดำรงชีวิตอยู่อย่างมีที่พึ่งอย่างถูกต้อง ท่านได้สรุปย่อไว้ 5 ประการด้วยกัน คือ 1.พึ่งตน 2.พึ่งคน 3.พึ่งคุณ 4.พึ่งบุญ 5.พึ่งพระ
ประการ ที่ 1 พึ่งตน ได้แก่ คนเราทุกคนเกิดมาในเบื้องต้น ก็จะต้องพึ่งพ่อแม่คอยเลี้ยงดูประคับประคองกว่าจะเติบโตขึ้นมา แต่พ่อแม่ท่านไม่ได้อยู่กับเราตลอด ต่อไปเราก็จะต้องพึ่งตนเอง การที่เราพึ่งตนเองจะต้องมีจุดยืนของชีวิตที่ถูกต้องและแน่นอน ไม่หวั่นไหวไปตามกระแสสังคมที่นิยมผิดๆ การที่เราพึ่งตนเองได้นั้น ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ไม่ประมาท ในวัยและในชีวิต
ประการ ที่ 2 พึ่งคน หมายถึง พึ่งบุคคล เช่น ยามเด็กก็พึ่งพ่อแม่ ยามเรียนหนังสือก็ต้องพึ่งครูอาจารย์ ยามขัดสนเงินทองอาจจะขอหยิบยืมญาติสนิทมิตรสหาย
ประการที่ 3 พึ่งคุณ หมายถึง คุณธรรมหรือคุณงามความดีของตัวเรา บุคคลที่พึ่งพาอาศัยคุณธรรมมักจะประสบความสำเร็จในชีวิต และนำพาชีวิตไปได้ตลอดรอดฝั่ง เช่นบุคคลที่มีคุณธรรม คือ ความไม่ประมาท จะทำอะไรก็มีสติอยู่ทุกเมื่อ ความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นก็มีน้อย หรือไม่มีเลย
ประการที่ 4 พึ่งบุญ หมายถึง บุญ ที่เราสร้างสมมา ไม่ว่าจะเป็นบุญที่เกิดจากการให้ บุญที่เกิดจากการรักษาศีล บุญที่เกิดจากการเจริญเมตตาภาวนา บุญนี้จะคอยหนุนนำเรา ในเมื่อเราประสบเหตุต่าง ๆ
ประการที่ 5 พึ่งพระ หมายถึง พระสงฆ์ และพระธรรมคำสอน พระสงฆ์ เช่น ยามจะแต่งงาน ให้พระดูฤกษ์แต่งงาน พอลูกคลอดออกมาก็พึ่งพระให้ตั้งชื่อให้เพื่อความเป็นสิริมงคล โตขึ้นมาก็พึ่งพระฝากให้บวชเณร บวชพระ ให้พระคอยอบรมสั่งสอน และสุดท้ายเมื่อถึงยามตาย ก็พึ่งพระจัดงานเรื่องต่างๆ ส่วนพึ่งพระธรรม คือ หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา
เพราะฉะนั้น คนเราควรหาที่พึ่ง 5 ประการนี้ เพราะผู้ใดไม่มีที่พึ่ง ไม่มีคุณธรรมประจำใจ พึ่งตนเองก็ไม่ได้ พึ่งคนอื่นก็ไม่ได้ พึ่งคุณธรรมก็ไม่ได้ พึ่งบุญก็ไม่ได้ พึ่งพระก็ไม่ได้ จะอยู่ในโลกนี้อย่างมีทุกข์ ละโลกนี้ไปแล้ว ก็เป็นทุกข์ในปรโลก
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
สังคม ในปัจจุบัน ยังมีคนอีกจำนวนมากที่ต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อความอยู่รอดของตนเอง เหมือนกับหมู่มนุษย์ที่ลอยคออยู่ในทะเลที่ยังมองไม่เห็นฝั่ง มองไม่เห็นจุดหมายปลายทาง ในท่ามกลางแห่งอันตรายรอบตัว ต่างคนต่างแหวกว่ายอยู่บนเกลียวคลื่นแห่งชีวิต เพื่อหาที่พึ่งให้ตัวเอง บางคนก็ไปยึดเอาที่พึ่งผิดๆ คือไปยึดเอาอบายมุข หรือยาเสพติด ชีวิตที่เคยเป็นสุขต้องมาเป็นทุกข์เพราะขาดที่พึ่งในทางที่ถูกต้อง การดำรงชีวิตอยู่อย่างมีที่พึ่งอย่างถูกต้อง ท่านได้สรุปย่อไว้ 5 ประการด้วยกัน คือ 1.พึ่งตน 2.พึ่งคน 3.พึ่งคุณ 4.พึ่งบุญ 5.พึ่งพระ
ประการ ที่ 1 พึ่งตน ได้แก่ คนเราทุกคนเกิดมาในเบื้องต้น ก็จะต้องพึ่งพ่อแม่คอยเลี้ยงดูประคับประคองกว่าจะเติบโตขึ้นมา แต่พ่อแม่ท่านไม่ได้อยู่กับเราตลอด ต่อไปเราก็จะต้องพึ่งตนเอง การที่เราพึ่งตนเองจะต้องมีจุดยืนของชีวิตที่ถูกต้องและแน่นอน ไม่หวั่นไหวไปตามกระแสสังคมที่นิยมผิดๆ การที่เราพึ่งตนเองได้นั้น ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลที่เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ไม่ประมาท ในวัยและในชีวิต
ประการ ที่ 2 พึ่งคน หมายถึง พึ่งบุคคล เช่น ยามเด็กก็พึ่งพ่อแม่ ยามเรียนหนังสือก็ต้องพึ่งครูอาจารย์ ยามขัดสนเงินทองอาจจะขอหยิบยืมญาติสนิทมิตรสหาย
ประการที่ 3 พึ่งคุณ หมายถึง คุณธรรมหรือคุณงามความดีของตัวเรา บุคคลที่พึ่งพาอาศัยคุณธรรมมักจะประสบความสำเร็จในชีวิต และนำพาชีวิตไปได้ตลอดรอดฝั่ง เช่นบุคคลที่มีคุณธรรม คือ ความไม่ประมาท จะทำอะไรก็มีสติอยู่ทุกเมื่อ ความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นก็มีน้อย หรือไม่มีเลย
ประการที่ 4 พึ่งบุญ หมายถึง บุญ ที่เราสร้างสมมา ไม่ว่าจะเป็นบุญที่เกิดจากการให้ บุญที่เกิดจากการรักษาศีล บุญที่เกิดจากการเจริญเมตตาภาวนา บุญนี้จะคอยหนุนนำเรา ในเมื่อเราประสบเหตุต่าง ๆ
ประการที่ 5 พึ่งพระ หมายถึง พระสงฆ์ และพระธรรมคำสอน พระสงฆ์ เช่น ยามจะแต่งงาน ให้พระดูฤกษ์แต่งงาน พอลูกคลอดออกมาก็พึ่งพระให้ตั้งชื่อให้เพื่อความเป็นสิริมงคล โตขึ้นมาก็พึ่งพระฝากให้บวชเณร บวชพระ ให้พระคอยอบรมสั่งสอน และสุดท้ายเมื่อถึงยามตาย ก็พึ่งพระจัดงานเรื่องต่างๆ ส่วนพึ่งพระธรรม คือ หลักธรรมคำสั่งสอนในทางพระพุทธศาสนา
เพราะฉะนั้น คนเราควรหาที่พึ่ง 5 ประการนี้ เพราะผู้ใดไม่มีที่พึ่ง ไม่มีคุณธรรมประจำใจ พึ่งตนเองก็ไม่ได้ พึ่งคนอื่นก็ไม่ได้ พึ่งคุณธรรมก็ไม่ได้ พึ่งบุญก็ไม่ได้ พึ่งพระก็ไม่ได้ จะอยู่ในโลกนี้อย่างมีทุกข์ ละโลกนี้ไปแล้ว ก็เป็นทุกข์ในปรโลก
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.๙)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร
watdevaraj@hotmail.com 0-2281-2430
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)