วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ไม่ ทำหน้าที่เอาแต่ประโยชน์ (ข่าวสด)

ไม่ ทำหน้าที่เอาแต่ประโยชน์
คอลัมน์ คำพระ
พุทธทาส
"คน เห็นแก่ตัวมันขี้เกียจในการทำหน้าที่ แต่จะเอาประโยชน์มากกว่าคนที่ทำหน้าที่ จึงพูดเป็นอุปมาว่าจูงช้างลอดรูเข็มเสียยังง่ายกว่าไปชวนคนเห็นแก่ตัวมาทำ ประโยชน์ส่วนรวม"

วันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ธรรม ที่ควรตั้งไว้ในใจ (ข่าวสด)

ธรรม ที่ควรตั้งไว้ในใจ
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
คนที่มีความรู้ความสามารถเพียงอย่าง เดียว อาจจะทำการงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงไปได้ แต่ไม่สามารถที่จะเป็นที่รัก เป็นที่นับถือของคนรอบข้างได้ เพราะปราศจากคุณธรรมที่สมควรจะมีไว้ในตนเอง ดังภาษิตที่ว่า "ความรู้ คู่คุณธรรม" นั่นเอง
ธรรมะหมวดหนึ่ง ที่เรียกว่า อธิษฐานธรรม คือ ธรรมอันเป็นฐานที่มั่นคงของบุคคล หรือที่เรียกกันง่ายๆ ว่า ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า มีอยู่ด้วยกัน 4 ประการ นั่นก็คือ
ประการที่ 1 ปัญญา แปลว่า ความรู้ชัด รู้ทั่ว เช่น การศึกษาเล่าเรียน จะเรียนรู้อะไรสักอย่างหนึ่งก็จะต้องศึกษาในเรื่องนั้นๆ ให้เข้าใจ แจ่มแจ้ง ชัดเจน จึงจะเรียกได้ว่า สำเร็จประโยชน์ในการเรียน ไม่มีความบกพร่อง จนในที่สุดก็สามารถที่จะรู้เหตุและผลของสิ่งต่างๆ ได้ตามความเป็นจริง และปัญญานี้ จะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ สุตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการฟัง จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิด และ ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการอบรม
ประการที่ 2 สัจจะ แปลว่า ความจริง คือ จริงใจ ประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้ทำจริง เช่น ตั้งใจไว้ว่า จะศึกษาเล่าเรียน จะปฏิบัติกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ต้องทำอย่างจริงจัง ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคเข้ามาเบียดเบียน ขัดขวาง ก็จะต้องใช้ความพยายามฝ่าฟันอุปสรรคเหล่านั้นให้ได้ จนสามารถบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่ต้องการ และความจริงใจนี้จะต้องแสดงต่อบุคคลอื่นทางกาย วาจาและใจ อีกทั้งเวลาจะทำ พูดและคิด ก็จะต้องมีแต่ความจริง คนจริงต่อหน้าที่ ต่อเวลา ต่อบุคคล ย่อมมีแต่คนเคารพนับถือ ยกย่อง ดังภาษิตที่ว่า "คนได้เกียรติ เพราะความสัตย์"
ประการที่ 3 จาคะ แปลว่า ความสละ ได้แก่ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ เริ่มต้นตั้งแต่การเสียสละ ให้ปันสิ่งของแก่คนอื่น จนถึงการสละกิเลสที่มีอยู่ในตน เช่น เมื่อตั้งใจจะทำความดี แต่มีตัวกิเลสมากั้นไว้ ไม่ให้ทำความดีนั้น ซึ่งกิเลสตัวนี้ก็ได้แก่ นิวรณ์ 5 คือ
1. พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบ ซึ่งเมื่อไม่ได้ ใจก็ไม่สงบ ควรสละเสีย ด้วยการพิจารณาร่างกายของตนและคนอื่น ให้เป็นสิ่งที่ไม่งาม น่าเกลียด
2. ปองร้ายผู้อื่น ผู้ที่มีแต่ความพยาบาทจะไม่มีความสุข มีแต่ความเดือดร้อน ควรสละเสียด้วยการนึกถึงคุณความดีของผู้นั้น แล้วยึดหลัก เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา เข้าช่วย
3. ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม ผู้ที่เล่าเรียน หรือทำงานแล้วไม่สำเร็จตามประสงค์ เพราะถูกถีนมิทธะครอบงำ ทำให้ง่วงซึม ใจลอย ควรสละเสียด้วยการระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เป็นต้น
4. ความฟุ้งซ่านและรำคาญ จิตใจของคนเราเป็นสิ่งที่รักษาได้ยาก ย่อมจะดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา เหมือนปลาที่เขาโยนขึ้นไว้บนบก ควรสละเสียด้วยการบำเพ็ญปฐวีกสิณ เป็นต้น
5. ความลังเลไม่ตกลงใจได้ คือ มีความลังเลสงสัย ไม่แน่ใจในธรรมะว่าถูกหรือผิด ดีหรือชั่ว มีความสงสัยในพระพุทธเจ้า เป็นต้น ควรสละเสียด้วยการบำเพ็ญธาตุกรรมฐาน 4 คือ ธาตุดิน เป็นต้น
ประการที่ 4 อุปสมะ แปลว่า ความสงบ คือ สงบกาย สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ คือ กิเลส ระงับความขัดข้อง วุ่นวายอันเกิดจากการถูกกิเลส เข้าครอบงำเสียได้ ทำให้จิตใจมีแต่ความสงบ ปราศจากกิเลส ความเศร้าหมองใจ
คนทุกคนที่เกิดมา ล้วนไม่มีสิ่งใดติดตัวมา เมื่อโตขึ้น ก็สั่งสมสติปัญญา จนสามารถที่จะสร้างความเจริญให้แก่ตนเองโดยลำดับ การคบหากันก็จะมีมากขึ้น จำต้องมีสัจจะ ความจริงใจซื่อสัตย์ต่อกัน จึงจะได้รับการยกย่องนับถือ ต้องมีจาคะ เสียสละให้ปัน การอยู่ร่วมในสังคมหมู่มาก ย่อมที่จะกระทบกระทั่งกันบ้าง จำต้องมีความสงบใจ ไม่ปล่อยให้จิตใจตกไปในอำนาจกิเลส ชีวิตจึงจะประสบแต่ความสุขตลอดไป

วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ปล่อยวาง&งานสำเร็จ สามไตร จากข่าวสด

คนที่ทำด้วยความรู้เข้าใจถึงสัจธรรม อย่างที่พูดกันว่ารู้เท่าทันความจริงนั้น ใจจะมีปัญญากำกับ ไม่ถูกความยึดติดบีบคั้น จะทำอะไรก็ทำด้วยใจที่โปร่งโล่งและทำได้ผลดี ทั้งใจก็สบายและงานก็สำเร็จด้วย
ข้อ 1 ทำให้กระตือรือร้นมีชีวิตชีวา และชีวิตมีคุณค่า
ข้อ 2 ทำให้ทำการอะไรก็สำเร็จ
ข้อ 3 ทำให้จิตใจโล่งสบายผ่องใส มีความสุข
แต่คนที่ไม่เป็น ไม่รู้จักใช้หลักอนิจจัง บางคนทำใจได้ ใจสบาย แต่งานไม่สำเร็จ ก็เสื่อม เพราะว่าปล่อยวาง แล้วกลายเป็นปล่อยปละละเลย พอปล่อยปละละเลยก็คือประมาท กลายเป็นเสียเลย ปฏิบัติผิดหลักพุทธศาสนา
ต้องระวัง ปล่อยวาง กับปล่อยปละละเลย เป็นคนละอย่าง
ปล่อยวาง คือใจเป็นอิสระ นี่ดี
แต่ ปล่อยปละละเลย คือ ประมาท นี่ร้ายที่สุด
ท่านให้ปล่อยวางทางใจ แต่เรื่องการงานอะไรที่ต้องทำนี้หยุดไม่ได้ ต้องทำ มีปัญหาต้องแก้ ทั้งแก้ด้วยความไม่ประมาท และแก้ให้ตรงเหตุปัจจัย แล้วจะได้ทั้งสองอย่าง ดังที่ว่า :
ปัญหาก็แก้ได้ ใจก็สบายด้วย หรืองานก็ได้ผล คนก็เป็นสุข
คน บางพวกมีความไม่ประมาท เพียรพยายามจริงจัง แต่จิตใจเต็มไปด้วยความเครียด ความยึดมั่น ความวุ่นวายใจ เดือดร้อนใจ ทำงานก้าวหน้าไปได้ ไม่ประมาท แต่ใจมีความทุกข์ เครียดมาก นี่เสียไปด้านหนึ่ง
สำหรับพุทธศาสนิกชน ต้องได้ทั้งสองอย่าง ทั้งความเพียรพยายามความเจริญก้าวหน้า ก็ได้ด้วยความไมประมาท และความสบายใจ ที่เป็นอยู่และทำงานด้วยจิตใจโล่ง โปร่ง เบา ก็ได้ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความจริงของธรรม
แถมด้วยข้อ สาม คือทำได้ผลงานสำเร็จ เพราะทำตรงกับเหตุปัจจัย
อันนี้เป็นคติ จากอนิจจัง
ทุกข์ที่อยู่ตามธรรมชาติของมัน
อย่าเอาเข้ามาบีบ คั้นให้เป็นทุกข์ของเรา
2.ต่อไป คติจากทุกขัง ก็สัมพันธ์กับอนิจจังนั่นแหละ ทุกขังนี้ท่านอธิบายว่า สภาวะของสิ่งทั้งหลายนั้นถูกเหตุปัจจัยนั่นแหละบีบคั้น สิ่งทั้งหลายมันอยู่ด้วยเหตุปัจจัยมากมายหลายอย่าง จึงเป็นธรรมดาว่าเหตุปัจจัยต่างๆ ก็ย่อมขัดแย้งกัน สิ่งทั้งหลายที่เป็นไปตามเหตุปัจจัยจึงถูกบีบคั้นให้คงอยู่อย่างเดิมไม่ได้
เหมือน กับที่เราเห็นได้ทั่วไปแม้แต่ผิวๆ เผินๆ ว่า เมื่อสิ่งทั้งหลายแต่ละอย่างเปลี่ยนแปลงไป ก็เกิดความขัดแย้งซึ่งกันและกัน ไม่มีอะไรที่จะคงทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป
ภาวะที่คงทนอยู่ในสภาพ เดิมไม่ได้ เพราะมีความบีบคั้นกดดันด้วยปัจจัยต่างๆ ที่ขัดแย้งนี้ เรียกว่าทุกขัง สิ่งทั้งหลายมีสภาพนี้เสมอกันหมด
ในเมื่อทุกขังมันเป็นธรรมชาติของมันอยู่ภายนอก เราจะปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติของมันได้ไหม อย่าให้มันมาเป็นทุกขังในใจเรา คืออย่าไปเก็บไปยึดฉวยเอาเข้ามาบีบคั้นใจของเรา เออ ตอนนี้ซิที่มันยาก
จุด พลาดก็คือ ทุกขังในธรรมชาติข้างนอกนี่มันไม่อยู่แต่ข้างนอก มันกลับมาเป็นทุกขังในใจของเราด้วย ตอนนี้แหละคือข้อเสีย

วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

กุศลกรรมบถ 10 ประการ (สารชมรมศาสนาและการกุศล)

กุศลกรรมบถ 10 ประการ
- การสร้างกุศลทางกาย วาจา และใจ รวม 10 ประการ ซึ่งแบ่งเป็นการ
กระทำทางกาย (กายกรรม) 3 ประการ ทางวาจา (วจีกรรม ) 4 ประการ และทางใจ
(มโนกรรม) อีก 3 ประการ อธิบายง่ายๆและโดยย่อ ดังนี้
1. การสร้างกุศลทางกาย 3 ประการ ได้แก่
1.1 ไม่ฆ่าสัตว์ด้วยตนเอง ไม่ยุหรือสนับสนุนหรือส่งเสริมให้คนอื่นฆ่าสัตว์ และ
ไม่มีความยินดีที่คนอื่นได้ทำการฆ่าสัตว์
1.2 ไม่เอาทรัพย์สินของคนอื่นมาเป็นของตน โดยเจ้าของมิได้ให้การอนุญาตไม่ยุ
หรือสนับสนุน หรือส่งเสริมให้คนอื่นกระทำเช่นว่า และไม่มีความยินดีที่คนอื่นได้กระทำ
การเช่นว่า
1.3 ไม่ละเมิดทางเพศ ในบุตร ภริยา สามีของผู้อื่น ไม่ยุหรือสนับสนุนหรือ
ส่งเสริมให้คนอื่นกระทำเช่นว่า และไม่ยินดีที่คนอื่นได้กระทำเช่นนั้น
2. การสร้างกุศลทางวาจา 4 ประการ ได้แก่
2.1 ไม่พูดโกหกหลอกลวง
2.2 ไม่พูดจาหยาบคาย ให้สะเทือนใจแก่ผู้รับฟัง หรือทำให้ผู้ฟังโกรธ
2.3 ไม่พูดจาส่อเสียด ยุยง ให้ผู้อื่นแตกร้าวกัน ไม่นินทาให้ร้ายคนอื่น
2.4 ไม่พูดเรื่องไร้ประโยชน์
ทั้ง 4 ประการ รวมถึงการไม่ยุ ไม่สนับสนุน ไม่ส่งเสริมให้ผู้อื่นพูดเช่นว่า และไม่มี
ความยินดีที่คนอื่นพูดในลักษณะดังกล่าว
3. การสร้างกุศลทางใจ 3 ประการ ได้แก่
3.1 ไม่คิดอยากได้ของผู้อื่นโดยที่เจ้าของไม่อนุญาต ไม่คิดลักขโมย ไม่คิดยื้อแย่ง
ไม่คิดคดโกง ไม่คิดทุจริตใดๆ
3.2 ไม่คิดผูกอาฆาตพยาบาท ไม่จองเวรจองกรรมกับผู้ใด ไม่คิดทำร้ายผู้ใดใน
ทุกกรณี
3.3 ไม่ต่อต้านคัดค้านคำสอนของพระพุทธองค์
ความรู้สึกนึกคิด 3 ประการนี้ รวมถึงการไม่ยุ ไม่สนับสนุน ไม่ส่งเสริมให้ใครคิด
ในลักษณะดังกล่าว และไม่มีความยินดีที่ใครคิดเช่นว่านั้น
ผู้ที่ปฏิบัติกุศลกรรมบถ 10 ประการเป็นปกติ อย่างแย่ที่สุดก็เกิดใหม่เป็น
มนุษย์ที่มีความสมบูรณ์พูลสุข มิฉะนั้น ก็ไปอยู่ในสวรรค์ภูมิ พรหมภูมิ หรือไปสู่
แดนนิพพานได้ในที่สุด ไม่มีทางไปอยู่ในดินแดนนรกภูมิ หรือไปรับทุกขเวทนา
อย่างแสนสาหัสในนรกภูมิแน่นอน

คนชั่ว -- ข่าวสด(ธรรมะวันหยุด)

คนชั่ว หมายถึง คนที่ดำรงชีพอยู่ด้วยอาการเพียงหายใจเข้า หายใจออกเท่านั้น ไม่ดำรงชีพอยู่ด้วยปัญญา โดยลักษณะของคนชั่ว จะมีความประพฤติชั่ว เป็นสัญลักษณ์ เมื่อคิดก็คิดแต่ความคิดชั่ว เมื่อพูดก็พูดแต่คำพูดชั่ว และเมื่อทำก็ทำแต่กรรมชั่ว คนพาลนั้นมีความประพฤติเป็นไปเพื่อตัดประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคต ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ทั้ง 2 คือ ประโยชน์ในปัจจุบันและอนาคตอย่างเดียว

ส่วน ผู้ที่ดำเนินในประโยชน์ 2 อย่างในเบื้องต้นด้วยปัญญา ชื่อว่า คนดี มีความประพฤติดีปฏิบัติชอบเป็นสัญลักษณ์ เป็นผู้รู้จักเหตุและผล ความประพฤติของบัณฑิตนั้นไม่วิปริตแปรผัน พึงเห็นสมด้วยพุทธภาษิตว่า บัณฑิตทั้งหลายอันความสุขหรือทุกข์ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่แสดงอาการขึ้นลง

อีกอย่างหนึ่ง คนที่ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ 10 ประการ มีเว้นจากการฆ่าสัตว์ เป็นต้น ชื่อว่าเป็นคนดีเหมือนกัน คนดีนั้นเป็นผู้คิดดี พูดดีและทำดีเป็นเครื่องหมาย

โลกธรรม 8

โลกธรรม 8 หมายถึง เรื่องของ โลกมีอยู่ประจำกับชีวิต สังคมและโลกของมนุษย์เป็นความจริงที่ทุกคนต้องประสบ
ด้วยกันทั้งนั้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม ข้อแตกต่างคือ ใครประสบมาก ประสบน้อย
ช้าหรือเร็ว โลกธรรมแบ่งออกเป็น 8 ชนิด จำแนกออกเป็น 2 ฝ่ายควบคู่กันและมีความหมายตรงข้ามกัน คือ

1. โลกธรรมฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- ได้ลาภ หมายความว่า ได้ผลประโยชน์ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ได้บ้านเรือนหรือที่สวน ไร่นา
- ได้ยศ หมายความว่า ได้รับแต่งตั้งให้มีฐานันดรสูงขึ้น ได้ตำแหน่ง ได้อำนาจเป็นใหญ่เป็นโต
- ได้รับสรรเสริญ คือ ได้ยิน ได้ฟัง คำสรรเสริญคำชมเชย คำยกยอ
- ได้สุข คือ ได้ความสบายกาย สบายใจ ได้ความเบิกบาน ร่าเริง ได้ความบันเทิงใจ

2. โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ ฝ่ายที่มนุษย์ไม่พอใจมี 4 เรื่อง คือ
- เสียลาภ หมายความว่า ลาภที่ได้มาแล้วเสียไป
- เสื่อมยศ หมายถึง ถูกลดความเป็นใหญ่ ถูกถอดออกจากตำแหน่ง ถูกถอดอำนาจ
- ถูกนินทา หมายถึง ถูกตำหนิติเตียนว่าไม่ดี มีใครพูดถึง ความไม่ดีของเราในที่ลับหลังเรียกว่าถูกนินทา
- ตกทุกข์ คือ ได้รับความทุกข์ทรมานกายทรมานใจ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ผู้นับถือศาสนาพุทธ จากข่าวสด

ผู้ นับถือศาสนาพุทธ
คอลัมน์ ศาลาวัด
พุทธบริษัท นับเป็นศาสนบุคคล เป็นองค์กรบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่ช่วยกันดำรงรักษาสืบทอดหลักธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้าให้คงอยู่ตลอดไป โดยมีหน้าที่ศึกษา ปฏิบัติ เผยแผ่ และปกป้องพระสัทธรรม แบ่งเป็น 2 ฝ่าย คือ
1.พุทธบริษัทฝ่ายบรรพชิต ได้แก่ กลุ่มภิกษุและภิกษุณี
2.พุทธบริษัทฝ่ายคฤหัสถ์ ได้แก่ กลุ่มอุบาสกและอุบาสิกา
ต่อมา ภายหลังพุทธปรินิพพาน คำว่า พุทธบริษัท นี้ มีคำที่บัญญัติใช้เรียกแทน โดยมีความหมายใกล้เคียงกันหรือใช้แทนกันได้อีก 1 คำ คำบัญญัติดังกล่าวนี้ได้แก่คำว่า "พุทธศาสนิกชน"
คำว่า พุทธศาสนิกชน พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2552 ให้ความหมายว่า ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนา
ในหนังสือ คำวัด หน้า 692 พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9 ราชบัณฑิต) ให้ความหมายว่า
"พุทธ ศาสนิกชน แปลว่า คนที่นับถือพระพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชน หมายถึงคนที่ตกลงใจน้อมรับนับถือพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำตัวประจำชีวิต ยินดีที่จะปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา เต็มใจที่จะปฏิบัติตามหลักธรรม คือ เว้นจากการทำความชั่ว ทำแต่ความดี และทำจิตใจให้หมดจดจากกิเลส ด้วยการบำเพ็ญบุญในพระพุทธศาสนา"
"พุทธ ศาสนิกชนที่พึงประสงค์ คือ ผู้ปฏิบัติตนให้เป็นผู้รู้ผู้ฉลาด ตื่นตัวอยู่เสมอ ไม่งมงาย ไม่ประมาท ไม่หลงไปตามกระแสกิเลส"
พุทธ ศาสนิกชน จึงหมายถึงบุคคลผู้มีพระพุทธศาสนาเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจ ด้วยการน้อมนำหลักธรรมในพระพุทธศาสนามาประพฤติปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ในวิถี ชีวิตประจำวัน
เป็นคำบัญญัติขึ้นภายหลังพุทธปรินิพพาน มีความหมายกว้างครอบคลุมถึงศาสนบุคคลในพระพุทธศาสนาทั้งหมด ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์
นอกจากนี้ ยังมีคำแสดงถึงความเป็นพุทธบริษัทหรือความเป็นพุทธศาสนิกชนอีก 1 คำ คือ คำว่า "พุทธมามกชน" แปลว่า ชนผู้รับนับถือพระพุทธเจ้าเป็นศาสดาของตน แต่ท่านพระโบราณา จารย์กำหนดให้มีความหมายจำกัดความเฉพาะพุทธบริษัทฝ่ายฆราวาสเท่านั้น คือไม่นิยมใช้กับพุทธบริษัทฝ่ายบรรพชิต
ในหนังสือศาสนพิธี เล่ม 1 หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาชั้นตรี หมวดกุศลพิธี ตอนว่า ด้วยพิธีแสดงตนเป็นพุทธมามกะ จำกัดความให้แคบลงไปอีก โดยกำหนดว่า
"ใน กรณีที่คฤหัสถ์ผู้นั้นรับฟังธรรมแล้วมีความเลื่อมใส แต่ไม่ต้องการบวช เพียงเปล่งวาจา ขอถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ถ้ามีอายุเกิน 15 ปีขึ้นไป เป็นผู้ชายเรียกว่า อุบาสก เป็นผู้หญิงเรียกว่า อุบาสิกา"
"ถ้า มีอายุต่ำกว่า 15 ปีลงมาจนถึง 12 ปี หรือมีอายุระหว่าง 12-15 ปี เป็นผู้ชายเรียกว่า พุทธมามกะ เป็นผู้หญิงเรียกว่า พุทธมามิกา"

อนิจจัง สามไตร จาก ข่าวสด

ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากหลักอนิจจังนี้ ต้องทำให้ได้ 3 ชั้น คือ

1.ให้เกิดความไม่ประมาท เร่งทำกิจที่ควรทำ

2.ให้ทำตามเหตุปัจจัย และแก้ไขปัญหาที่เหตุปัจจัย

3.อยู่ ด้วยปัญญาที่ทำให้จิตใจปลอดโปร่ง โล่งเบา และปล่อยวาง ไม่บีบคั้นตนเอง