วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2555

สงเคราะห์เพื่อนบ้าน khaosod


สงเคราะห์เพื่อนบ้าน

ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร / www.watdevaraj.com


คําว่า สงเคราะห์ หมายความว่า การช่วยเหลือกัน มี 2 อย่าง คือ



1.สงเคราะห์ด้วยอามิส



2.สงเคราะห์ด้วยธรรม



ประการที่ 1 การสงเคราะห์ด้วยอามิส ได้แก่ การช่วยเหลือด้วยอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค หรือทรัพย์สินเงินทองในเมื่อเพื่อนบ้านขัดสน อันเกิดแต่ข้าวยากหมากแพง บ้านถูกไฟไหม้ ประสบภัยน้ำท่วม หรือถูกโรคภัยเบียดเบียน ไม่สามารถทำการงานได้ ซึ่งบ่ายหน้ามาหา ไม่ทำนิ่งเฉยหรือดูถูกเหยียดหยาม แต่ให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลตามฐานะ เพื่อให้เขาคลายทุกข์มีความสุขได้บ้าง



ประการที่ 2 การสงเคราะห์ด้วยธรรม ได้แก่ การแนะนำพร่ำสอนให้เขารู้จักบาปบุญคุณโทษ ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ พยายามป้องกันมิให้เพื่อนบ้านประพฤติผิด เมื่อเพื่อนบ้านถลำตัวเข้าไปอยู่ในทางแห่งความผิดก็พยายามแก้ไข ถ้าสามารถจะทำได้ก็นำเขาออกจากทางแห่งความผิดนั้นเสีย เมื่อเพื่อนบ้านเดินอยู่ในทางที่เรียบร้อยคือถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ก็ยินดีส่งเสริมให้กำลังใจ



การสงเคราะห์ผู้อื่นก็เพื่อผูกใจของผู้ได้รับการช่วยเหลือให้คิดถึง นึกถึง สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแนะไว้ให้ยึดธรรมะ 4 ข้อ คือ



ข้อที่ 1 ทาน ได้แก่ การอุดหนุนจุนเจือ สงเคราะห์ ช่วยเหลือด้วยทรัพย์หรือวัตถุสิ่งของ เช่น อาหาร เสื้อผ้า เป็นต้น บุคคลผู้มีอัธยาศัยกว้างขวาง ไม่คับแคบ สงเคราะห์อนุเคราะห์แก่ผู้ควรสงเคราะห์ มีใจประกอบด้วยเมตตาเช่นนี้ หรือผู้ที่เพียบพร้อมด้วยทรัพย์สมบัติ มีจิตใจเอื้อเฟื้อแก่มหาชน เช่น สร้างถนน ขุดคลอง ทำสะพาน เป็นสาธารณะแก่หมู่ชนเช่นนี้ ย่อมได้รับความรักเคารพนับถือ สมานไมตรีไว้ทุกชั้น ดังคำว่า ?ผู้ให้ย่อมผูกไมตรีไว้ได้?



ข้อที่ 2 ปิยวาจา ได้แก่ การเจรจาวาจาที่ไพเราะอ่อนหวาน ย่อมเป็นที่พอใจของชนทุกชั้น เพราะเป็นคำพูดจับใจ ชวนให้ฟัง ให้เกิดอุตสาหะ พยายามทำการงานและสมานไมตรี แม้ผู้เป็นนายจ้าง ถ้าเป็นผู้รู้จักพูดเอาใจลูกน้องให้ทำการงานหนักๆ หรือยากลำบาก ก็ประสบความสำเร็จได้ด้วยความชื่นบานของเขาและสมความประสงค์ของตน ดังคำว่า ?เปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ?



ข้อที่ 3 อัตถจริยา ได้แก่ ประพฤติสิ่งเป็นประโยชน์แก่กัน งดเว้นสิ่งที่เป็นโทษ อันทำให้เกิดความเสียหายแก่กัน ไม่ทำเรื่องอย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้อื่นต้องเสียหาย เช่น ในเรื่องของชื่อเสียง หรือทรัพย์สมบัติ ผู้ที่ไม่ทำให้ผู้อื่นต้องเดือดร้อนเสียหาย จะโดยทางตรงหรือทางอ้อมเช่นนี้ ย่อมได้รับความเคารพนับถือจากผู้อื่น เป็นเหตุให้ผู้อื่นเห็นอกเห็นใจ



ข้อที่ 4 สมานัตตตา ได้แก่ ความเป็นผู้ประพฤติตนเสมอต้นเสมอปลาย เคยเคารพนับถือกันมาอย่างใดก็ดำรงตนให้เป็นปกติอย่างนั้น เคยช่วยเหลือกันมาอย่างใดก็ช่วยเหลือกันอย่างนั้น ไม่ดูถูก เหยียดหยามในเมื่อฝ่ายหนึ่งต่ำต้อยกว่าตน ไม่ว่าจะด้วยตำแหน่งหน้าที่ หรือทรัพย์สินเงินทอง



ผู้มีคุณธรรม 4 ประการดังกล่าวมานี้ ชื่อว่าสามารถผูกใจผู้อื่นไว้ได้และได้อานิสงส์ดังต่อไปนี้



1.มีเครื่องยึดเหนี่ยวน้ำใจผู้อื่น ไว้ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น