จิตอาสา : ภาวนาแห่งรักที่ยิ่งใหญ่
หน้าต่างศาสนา
พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ วัดสระเกศ
วิกฤตน้ำท่วมผ่านไปแล้ว แม้ว่ายังมีส่วนที่จะต้องซ่อมแซมแก้ไขหลายแห่ง และหลายสิ่งต้องสลายหายไปกับน้ำ
แต่วันนี้ทุกคนเริ่มที่จะเก็บกู้และสร้างชีวิตใหม่ขึ้นมาด้วยความอุตสาหะ พยายามด้วยแรงกายแรงใจ ค่อยต่อเติมปรับปรุงสิ่งที่เสียไปให้สามารถกลับมาสู่สภาพเดิมให้เร็วที่สุด
โดยเฉพาะจิตใจ เมื่อทำใจได้บ้างแล้วทุกอย่างก็ค่อยดีขึ้น
มีกระแสหนึ่งซึ่งมาพร้อมน้ำท่วม แต่น้ำลดกระแสนี้ก็ยังไม่หมดไป นั่นคือ กระแสของกลุ่มคนที่มีใจอยากจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในยามวิกฤต ซึ่งคนเหล่านี้นอกจากจะบริจาคทรัพย์แล้วยังเสียสละกำลังกายด้วยแรงใจของตนเอง แสดงออกในแนวทางต่างๆ ที่ตนสามารถทำได้ เพื่อบรรเทาความทุกข์ของพี่น้องผู้ประสบภัย
หลายกลุ่มที่แม้น้ำลดลงแล้ว แต่ยังเคลื่อนไหวในงานอาสาด้านอื่น ด้วยหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น เป็นการเจริญจิตตภาวนา พัฒนาตนด้วยการช่วยคนพัฒนา
จิตอาสาคนหนึ่งบอกว่า "ดีใจที่ได้มีโอกาสทำอะไรดีๆ ให้กับผู้อื่น ตนเองก็ได้ประสบการณ์ชีวิต ทั้งการทำงานร่วมกับคนอื่น การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เป็นการฝึกทักษะชีวิต ฝึกจิตใจให้เป็นคนเข้มแข็ง มีความรักต่อเพื่อนมนุษย์ โดยเราไม่ต้องสนใจว่าเขาเหล่านั้นเป็นใคร"
การทำงานจิตอาสามีหลักในการภาวนาอยู่ 4 ประการ เรียกว่า พรหมวิหาร คือ
เมตตา คือ เป็นอยู่ด้วยความรัก ตระหนักในคุณค่าของชีวิตตนเองและผู้อื่น
กรุณา คือ ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เป็นการนำความรักให้โลกได้สัมผัส ภายในจิตใจมีความสว่างที่สามารถส่องแสง ให้ทางและให้โอกาสแก่ผู้อื่นสามารถลุกขึ้นและเดินได้ด้วยตนเอง
มุทิตา คือ ความร่วมเบิกบานในงานแห่งความสุข เรียนรู้ที่จะแบ่งปันหรือแชร์ความสุขร่วมกับผู้อื่น ไม่ใช่ช่วยเขาเพื่อสุขเรา แต่เพื่อพ้นทุกข์ร่วมกัน
อุเบกขา คือ การเรียนรู้ที่จะยอมรับความเป็นจริง ยามเมื่อหลายสิ่งไม่เป็นดั่งใจหมาย เข้าใจและทำใจได้ในการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขที่เป็นไปตามเหตุและผล อดทนและปล่อยวางได้พร้อมทั้งฝึกฝืนใจเพื่อที่จะก้าวเดินต่อไปในภารกิจข้างหน้า
ในวันนี้กลุ่มคนจิตอาสายังคงทำงานบนพื้นฐานของการเรียนรู้และพัฒนาจิตใจด้วยพรหมวิหารธรรม และการภาวนาแห่งรักที่ไม่มีเงื่อนไข
มีเพียงหัวใจดวงน้อยๆ ที่ค่อยๆ ต่อเติมความดีที่ยิ่งใหญ่ น่าอนุโมทนา...
วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555
คนว่าง่าย from khaosod
คนว่าง่าย
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
คคลที่ว่านอนสอนง่าย ประกอบด้วยลักษณะอาการอย่างนี้ คือ
1.มีความอดทนในการฟังคำสอน
2.รับคำสอนด้วยอาการเคารพ
3.ไม่คิดโต้แย้งในทันที
4.ตั้งใจฟัง
5.ปวารณาตัวให้ผู้อื่นตักเตือนสั่งสอนได้
บุคคลผู้ว่ายากสอนยาก มีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคนว่านอนสอนง่าย ไม่ทำตามโอวาทที่ท่านผู้รู้ได้แสดงไว้ ย่อมถึงความพินาศ ทั้ง 2 ประเภทมีลักษณะต่างกัน คือ
ผู้ว่ายาก เป็นคนเชื่อมั่นตัวเองสูง ถือตัวว่าวิเศษดีกว่าคนอื่น ยกตนข่มท่าน จะพูดจะเจรจาก็แสดงให้เห็นว่ามีโทสะระคนอยู่ในถ้อยคำ เมื่อผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนด้วยความหวังดีก็โต้เถียง
คนว่ายากนั้น ย่อมพบความพินาศอยู่ร่ำไป เพราะประพฤติแต่ความเสียหาย ไม่ได้ทำตามโอวาทของท่านผู้รู้ เช่น ในวัยเด็ก บุตรธิดาและศิษย์ไม่เชื่อฟังคำตักเตือนสั่งสอนของบิดามารดา ครูอาจารย์ ครั้นเจริญวัยความว่ายากก็เจริญขึ้น ถึงกับละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง เป็นเหตุให้ได้รับโทษตามสมควร
ผู้ว่านอนสอนง่าย ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวไว้ในอนุมานสูตรแห่งมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ว่า เมื่อผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนอยู่ โดยทางที่ถูกที่ควรก็ประกอบด้วยความอดกลั้น ตั้งใจฟังโดยความเคารพเอื้อเฟื้อ ถูกผู้อื่นตักเตือนก็ไม่มีความโกรธ ความเสียใจ เป็นคนไม่ลบหลู่ท่าน ไม่ยกตนเทียมท่าน ไม่เป็นผู้ริษยาและโอ้อวด มีมารยาทอันสุภาพเรียบร้อย ไม่หัวดื้อถือตัว
ผู้ที่ประกอบด้วยความเป็นผู้ว่านอนสอนง่ายย่อมเห็นผู้ชี้ความผิดของตนเสมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ชี้ความผิดด้วยเจตนาดี
ผู้ว่าง่าย เมื่อท่านผู้รู้เห็นความประพฤติที่ไม่สมควร หรือความพลาดพลั้ง อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนแล้วว่ากล่าวแนะนำ ตักเตือน สมควรที่จะบอกกล่าวให้โอกาส เพื่อให้ท่านตักเตือนตนอีกในโอกาสต่อไป ที่เห็นตนประพฤติไม่สมควร และเกิดความพลาดพลั้ง
เมื่อให้โอกาสแล้วท่านย่อมสำคัญว่าสมควรที่จะช่วยตักเตือน สั่งสอนไป แต่บางคนเห็นความประพฤติที่ไม่สมควร หรือความพลั้งพลาดของผู้ที่อยู่ภายใต้ความปกครองของตนแล้ว มัวแต่เกรงใจไม่อาจที่จะว่ากล่าวตักเตือน บุคคลเช่นนี้ไม่ชื่อว่า เป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้
ส่วนผู้ใดเห็นโทษผิดเสียหายของผู้อื่นแล้วข่มขู่คุกคาม ประณามทำโทษ หรือเนรเทศเสียจากที่อยู่ตามสมควรแก่โทษ ครั้นแล้วให้ศึกษาเพื่อประพฤติดี ประพฤติชอบต่อไป บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าเป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร / www.watdevaraj.com
คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด
คคลที่ว่านอนสอนง่าย ประกอบด้วยลักษณะอาการอย่างนี้ คือ
1.มีความอดทนในการฟังคำสอน
2.รับคำสอนด้วยอาการเคารพ
3.ไม่คิดโต้แย้งในทันที
4.ตั้งใจฟัง
5.ปวารณาตัวให้ผู้อื่นตักเตือนสั่งสอนได้
บุคคลผู้ว่ายากสอนยาก มีลักษณะที่ตรงกันข้ามกับคนว่านอนสอนง่าย ไม่ทำตามโอวาทที่ท่านผู้รู้ได้แสดงไว้ ย่อมถึงความพินาศ ทั้ง 2 ประเภทมีลักษณะต่างกัน คือ
ผู้ว่ายาก เป็นคนเชื่อมั่นตัวเองสูง ถือตัวว่าวิเศษดีกว่าคนอื่น ยกตนข่มท่าน จะพูดจะเจรจาก็แสดงให้เห็นว่ามีโทสะระคนอยู่ในถ้อยคำ เมื่อผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนด้วยความหวังดีก็โต้เถียง
คนว่ายากนั้น ย่อมพบความพินาศอยู่ร่ำไป เพราะประพฤติแต่ความเสียหาย ไม่ได้ทำตามโอวาทของท่านผู้รู้ เช่น ในวัยเด็ก บุตรธิดาและศิษย์ไม่เชื่อฟังคำตักเตือนสั่งสอนของบิดามารดา ครูอาจารย์ ครั้นเจริญวัยความว่ายากก็เจริญขึ้น ถึงกับละเมิดไม่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง เป็นเหตุให้ได้รับโทษตามสมควร
ผู้ว่านอนสอนง่าย ท่านพระมหาโมคคัลลานเถระกล่าวไว้ในอนุมานสูตรแห่งมัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ว่า เมื่อผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนอยู่ โดยทางที่ถูกที่ควรก็ประกอบด้วยความอดกลั้น ตั้งใจฟังโดยความเคารพเอื้อเฟื้อ ถูกผู้อื่นตักเตือนก็ไม่มีความโกรธ ความเสียใจ เป็นคนไม่ลบหลู่ท่าน ไม่ยกตนเทียมท่าน ไม่เป็นผู้ริษยาและโอ้อวด มีมารยาทอันสุภาพเรียบร้อย ไม่หัวดื้อถือตัว
ผู้ที่ประกอบด้วยความเป็นผู้ว่านอนสอนง่ายย่อมเห็นผู้ชี้ความผิดของตนเสมือนผู้บอกขุมทรัพย์ให้ ชี้ความผิดด้วยเจตนาดี
ผู้ว่าง่าย เมื่อท่านผู้รู้เห็นความประพฤติที่ไม่สมควร หรือความพลาดพลั้ง อันจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ตนแล้วว่ากล่าวแนะนำ ตักเตือน สมควรที่จะบอกกล่าวให้โอกาส เพื่อให้ท่านตักเตือนตนอีกในโอกาสต่อไป ที่เห็นตนประพฤติไม่สมควร และเกิดความพลาดพลั้ง
เมื่อให้โอกาสแล้วท่านย่อมสำคัญว่าสมควรที่จะช่วยตักเตือน สั่งสอนไป แต่บางคนเห็นความประพฤติที่ไม่สมควร หรือความพลั้งพลาดของผู้ที่อยู่ภายใต้ความปกครองของตนแล้ว มัวแต่เกรงใจไม่อาจที่จะว่ากล่าวตักเตือน บุคคลเช่นนี้ไม่ชื่อว่า เป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้
ส่วนผู้ใดเห็นโทษผิดเสียหายของผู้อื่นแล้วข่มขู่คุกคาม ประณามทำโทษ หรือเนรเทศเสียจากที่อยู่ตามสมควรแก่โทษ ครั้นแล้วให้ศึกษาเพื่อประพฤติดี ประพฤติชอบต่อไป บุคคลเช่นนี้ชื่อว่าเป็นผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร / www.watdevaraj.com
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)