"หลักชาวพุทธ" อันพึงถือเป็นบรรทัดฐาน มีดังต่อไปนี้
หลักชาวพุทธ
1.หลักการ
1.ฝึกแล้วคือเลิศมนุษย์ : ข้าฯ มั่นใจว่า มนุษย์จะประเสริฐเลิศสุดแม้กระทั่งเป็นพุทธได้ เพราะฝึกตนด้วยสิกขา คือการศึกษา
2.ใฝ่พุทธคุณเป็นสรณะ : ข้าฯ จะฝึกตนให้มีปัญญา มีความบริสุทธิ์ และมีเมตตากรุณา ตามอย่างองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
3.ถือธรรมะเป็นใหญ่ : ข้าฯ ถือธรรม คือความจริง ความถูกต้อง ดีงาม เป็นใหญ่ เป็นเกณฑ์ตัดสิน
4.สร้างสังคมให้เยี่ยงสังฆะ : ข้าฯ จะสร้างสังคมตั้งแต่ในบ้าน ให้มีสามัคคี เป็นที่มาเกื้อกูลร่วมกันสร้างสรรค์
5.สำเร็จด้วยกระทำกรรมดี : ข้าฯ จะสร้างความสำเร็จด้วยการกระทำที่ดีงามของตน โดยพากเพียรอย่างไม่ประมาท
2.ปฏิบัติการ
ข้าฯ จะนำชีวิต และร่วมนำสังคมประเทศชาติ ไปสู่ความดีงามและความสุขความเจริญ ด้วยการปฏิบัติดังต่อไปนี้
ก) มีศีลวัตรประจำตน
1.บูชาบูชนีย์ : มีปกติกราบไหว้ แสดงความเคารพ ต่อพระรัตนตรัย บิดามารดา ครูอาจารย์ และบุคคลที่ควรเคารพ
2.มีศีลห่างอบาย : สมาทานเบญจศีล ให้เป็นนิจศีลคือหลักความประพฤติประจำตัว ไม่มืดมัวด้วยอบายมุข
3.สาธยายพุทธมนต์ : สวดสาธยายพุทธวจนะหรือบทสวดมนต์ โดยเข้าใจความหมาย อย่างน้อยก่อนนอนทุกวัน
4.ฝึกฝน จิตด้วยภาวนา : ทำจิตใจให้สงบ ผ่องใส เจริญสมาธิ อันค้ำจุนสติที่ตื่นตัว หนุนปัญญาที่รู้ทั่วชัดเท่าทัน และอธิษฐานจิตเพื่อจุดหมายที่เป็นกุศล วันละ 5-10 นาที
วันจันทร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2554
วันเสาร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2554
ศีลส่งให้สูง khaosod
ศีลส่งให้สูง
คอลัมน์ ธรรมวันหยุด
คํา ว่า "ศีล" คือ การสำรวมระวังกายและวาจา ให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ กล่าวคือ เจตนางดเว้นจากความประพฤติปฏิบัติที่เป็นการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อนเสียหาย
ศีล นั้นคู่กับ ธรรม ศีลเป็นข้อห้าม ส่วนธรรมเป็นข้อปฏิบัติ ดังเช่น เบญจศีล เป็นข้อห้ามประพฤติปฏิบัติอันเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 5 ข้อสำหรับฆราวาสผู้ครองเรือน ได้แก่ 1. ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต 2. ห้ามลักฉ้อหรือคดโกง 3. ห้ามประพฤติผิดในกาม 4. ห้ามพูดปด 5. ห้ามเสพสุราและสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เบญจ กัลยาณธรรม คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นคุณธรรมของคนดี 5 ข้อ ตรงกันข้ามกับความประพฤติผิดศีล ได้แก่ 1. ความเป็นผู้มีเมตตากรุณาธรรมต่อผู้อื่น ไม่คิดประหัตประหารกัน 2. การให้ทานและการประกอบสัมมาอาชีวะ 3. ความมีสันโดษในคู่ครองของตน 4. การกล่าวแต่วาจาที่จริง 5. การมีสติสัมปชัญญะ รู้ผิดชอบชั่วดี รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริง
อานิสงส์ ของการรักษาศีล คือ ความสำรวมระวังกาย และวาจาให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษนั้นมีมาก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสอานิสงส์ของศีล มีเป็นต้นว่า 1. บุคคล ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเจริญด้วยโภค ทรัพย์ มีความไม่ประมาทเป็นเหตุ 2. กิตติ ศัพท์อันงามของผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งขจรไป 3. ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าสู่บริษัทหรือสมาคมใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คฤหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เคอะเขินเข้าไป 4. ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำกาลกิริยา คือไม่หลงตาย และ 5. ผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล หลังจากตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ส่วนผู้ประพฤติผิดศีล ย่อมได้รับผลตรงกันข้าม กล่าวคือ ชีวิตย่อมหาความเจริญและสันติสุขแท้จริงมิได้ ย่อมนับวันแต่จะถึงความเสื่อมแห่งชีวิต และย่อมได้ประสบแต่ความทุกข์เดือดร้อนเพราะผลแต่อกุศลกรรมที่ตนประพฤติผิด ศีล ผิดธรรมนั้น มากน้อยตามความหนักเบาแห่งบาปอกุศลที่ตนกระทำ ผิดศีล
บัณฑิต ผู้รู้ มีสติปัญญาอันเห็นชอบ จึงเป็นผู้มีศีล และรักษาศีลให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ย่อมเจริญด้วยโภคทรัพย์ กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งขจรไป จะเข้าสู่บริษัทหรือสมาคมใดๆ ย่อมเป็นผู้องอาจ เป็นผู้ไม่หลงทำกาลกิริยา คือ ไม่หลงตาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้
พระเทพคุณาภรณ์
(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
www.watdevaraj.com
0-2281-2430
คอลัมน์ ธรรมวันหยุด
คํา ว่า "ศีล" คือ การสำรวมระวังกายและวาจา ให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษ กล่าวคือ เจตนางดเว้นจากความประพฤติปฏิบัติที่เป็นการเบียดเบียนตนเอง และผู้อื่นให้เดือดร้อนเสียหาย
ศีล นั้นคู่กับ ธรรม ศีลเป็นข้อห้าม ส่วนธรรมเป็นข้อปฏิบัติ ดังเช่น เบญจศีล เป็นข้อห้ามประพฤติปฏิบัติอันเป็นการเบียดเบียนตนเองและผู้อื่น 5 ข้อสำหรับฆราวาสผู้ครองเรือน ได้แก่ 1. ห้ามฆ่าสัตว์ตัดชีวิต 2. ห้ามลักฉ้อหรือคดโกง 3. ห้ามประพฤติผิดในกาม 4. ห้ามพูดปด 5. ห้ามเสพสุราและสิ่งเสพติดมึนเมาให้โทษเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
เบญจ กัลยาณธรรม คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นคุณธรรมของคนดี 5 ข้อ ตรงกันข้ามกับความประพฤติผิดศีล ได้แก่ 1. ความเป็นผู้มีเมตตากรุณาธรรมต่อผู้อื่น ไม่คิดประหัตประหารกัน 2. การให้ทานและการประกอบสัมมาอาชีวะ 3. ความมีสันโดษในคู่ครองของตน 4. การกล่าวแต่วาจาที่จริง 5. การมีสติสัมปชัญญะ รู้ผิดชอบชั่วดี รู้บาป-บุญ คุณ-โทษ รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อม แห่งชีวิตตามที่เป็นจริง
อานิสงส์ ของการรักษาศีล คือ ความสำรวมระวังกาย และวาจาให้เรียบร้อยดี ไม่มีโทษนั้นมีมาก สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสอานิสงส์ของศีล มีเป็นต้นว่า 1. บุคคล ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมเจริญด้วยโภค ทรัพย์ มีความไม่ประมาทเป็นเหตุ 2. กิตติ ศัพท์อันงามของผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ย่อมฟุ้งขจรไป 3. ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล จะเข้าสู่บริษัทหรือสมาคมใดๆ จะเป็นขัตติยบริษัทก็ตาม พราหมณบริษัทก็ตาม คฤหบดีบริษัทก็ตาม สมณบริษัทก็ตาม ย่อมเป็นผู้องอาจ ไม่เคอะเขินเข้าไป 4. ผู้มีศีล ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทำกาลกิริยา คือไม่หลงตาย และ 5. ผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล หลังจากตายไปย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์
ส่วนผู้ประพฤติผิดศีล ย่อมได้รับผลตรงกันข้าม กล่าวคือ ชีวิตย่อมหาความเจริญและสันติสุขแท้จริงมิได้ ย่อมนับวันแต่จะถึงความเสื่อมแห่งชีวิต และย่อมได้ประสบแต่ความทุกข์เดือดร้อนเพราะผลแต่อกุศลกรรมที่ตนประพฤติผิด ศีล ผิดธรรมนั้น มากน้อยตามความหนักเบาแห่งบาปอกุศลที่ตนกระทำ ผิดศีล
บัณฑิต ผู้รู้ มีสติปัญญาอันเห็นชอบ จึงเป็นผู้มีศีล และรักษาศีลให้บริสุทธิ์อยู่เสมอ ย่อมเจริญด้วยโภคทรัพย์ กิตติศัพท์อันงามย่อมฟุ้งขจรไป จะเข้าสู่บริษัทหรือสมาคมใดๆ ย่อมเป็นผู้องอาจ เป็นผู้ไม่หลงทำกาลกิริยา คือ ไม่หลงตาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ได้
พระเทพคุณาภรณ์
(โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9)
เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
www.watdevaraj.com
0-2281-2430
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)